โควิด-19 เปลี่ยนระบบการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมทั่วโลก ให้ต้องเว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงการสัมผัส แม้แต่การจับจ่ายใช้สอยก็ต้องเลี่ยงไม่จับต้องตัวเงิน เทคโนโลยีการใช้จ่ายผ่านระบบดิจิทัลจึงมีบทบาทมากขึ้น
อาลีเพย์ แพลตฟอร์มชำระเงินออนไลน์และโมบายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ยกตัวอย่างตลาดในเอเชียว่า ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้เงินสดเป็นหลักในการชำระเงิน แต่ในช่วงล็อคดาวน์ การใช้เงินสดลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้คนหันมาใช้บริการออนไลน์และโมบายวอลเล็ตมากขึ้น โดยในเดือนมีนาคม บริการที่ใช้งานมากที่สุดคือ จีแคช วอลเล็ต ผู้ให้บริการโมบายวอลเล็ตชั้นนำในฟิลิปปินส์ มีปริมาณการทำธุรกรรมทั้งหมดเพิ่มกว่า 30% นอกจากนั้น ทัชแอนโก (Touch ’n Go) ในมาเลเซีย และ บีแคช (bKash) ในบังคลาเทศ ก็กลายป็นเครื่องมือสำคัญทางการเงินในช่วงวิกฤติโควิด-19
สำหรับประเทศไทย จากมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมและความตื่นตัวของสาธารณะกับการไม่สัมผัสกัน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้จ่ายของผู้บริโภค บริการอีวอลเล็ตอย่างทรูมันนี่ จึงเติบโตอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยในเดือนมีนาคม จำนวนผู้ใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลใหม่เพิ่มขึ้น 25% ปริมาณการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 25% และการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์เพิ่มขึ้น 10%-25% ขึ้นอยู่กับหมวดหมู่บริการ
ทรูมันนี่ วอลเล็ต (TrueMoney Wallet) เป็นระบบกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์แบบเติมเงินรายใหญ่สุดของไทย ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ที่สุดของผู้ให้บริการชำระเงินดิจิทัลที่ไม่ใช่ธนาคาร ทั้งในแง่ของประชาชนผู้ใช้บริการ และร้านค้า โดยมีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในเดือนมีนาคม ทั้งในแง่ของการชำระเงินออนไลน์และการเพิ่มขึ้นของลูกค้าใหม่
คุณมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ผู้ให้บริการ ทรูมันนี่ อีวอลเล็ต กล่าวว่า ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรน่า ซึ่งทำให้คนทำงานจากที่บ้านมากขึ้น และมีความตื่นตัวในการหลีกเลี่ยงการติดต่อกัน รวมถึงการใช้ธนบัตรและเหรียญ จึงทำให้การชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้แต่ในร้านค้าปลีกอย่างแม็คโครและเซเว่น ก็มีการใช้จ่ายผ่านระบบอีวอลเล็ตเพิ่มขึ้นด้วย
การเติบโตนี้ได้รับแรงหนุนจากผู้บริโภคที่ไม่ใช่บัตรเครดิต หันมาชำระเงินผ่านระบบอีวอลเล็ต รวมถึงการใช้เวอร์ชัวร์การ์ดแบบเติมเงินที่สามารถใช้จ่ายผ่านเครือข่ายการชำระเงินระหว่างประเทศของมาสเตอร์การ์ด โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 2,000 บาทต่อบัตร ขณะที่จำนวนการซื้อและเงินที่จ่ายแต่ละครั้งมีแนวโน้มสูงขึ้น
สำหรับหมวดหมู่ที่มีจำนวนการใช้จ่ายมากที่สุด คือการเติมเงินผ่านอินเทอร์เน็ต การซื้อเนื้อหาดิจิทัลหรือเพื่อความบันเทิง โดยเฉพาะ Netflix รายการเกมที่ซื้อผ่าน Google Play Store และ Apple Store การซื้อสินค้าที่ 7-Eleven รวมถึงการสั่งอาหารมาส่งที่บ้านและการใช้ระบบอีคอมเมิร์ซ ที่มีการทำธุรกรรมผ่าน Foodpanda เพิ่มขึ้น 25% และผ่าน Lazada เพิ่มขึ้น 40% ส่วนหมวดหมู่ที่มีการใช้จ่ายมากที่สุดในแง่ของมูลค่าคือการจ่ายบิลและการขายปลีก
ตามข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ทรูมันนี่มีผู้ใช้งาน 13 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1 ล้านบัญชี จาก 12 ล้านผู้ใช้งาน เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา กลุ่มผู้ใช้เปลี่ยนจากส่วนใหญ่ที่เป็นนักเรียน ไปเป็นผู้ใช้งานช่วงอายุที่กว้างขึ้นตั้งแต่ 10 ถึง 60 ปี โดยพนักงานและผู้ใช้งานวัยกลางคน คิดเป็น 35% ของผู้ใช้งานทั้งหมด
ไม่ว่าจะพร้อมหรือไม่พร้อม แต่วิกฤติโควิด-19 ก็บังคับให้ผู้คนต้องหันไปลองใช้ระบบการชำระเงินแบบดิจิทัลมากขึ้น ตลาดนี้จึงโตได้อีกมาก โดยในปีนี้ ทรูมันนี่ตั้งเป้าการเติบโตกว่า 50% จากแรงหนุนของการใช้จ่ายผ่านระบบดิจิทัลนี้เอง
อ้างอิง:
Bangkok Post
ที่มา: stock2morrow
โควิด-19 หนุนระบบอีวอลเล็ตโตเร็วเกินคาด
อาลีเพย์ แพลตฟอร์มชำระเงินออนไลน์และโมบายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ยกตัวอย่างตลาดในเอเชียว่า ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้เงินสดเป็นหลักในการชำระเงิน แต่ในช่วงล็อคดาวน์ การใช้เงินสดลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้คนหันมาใช้บริการออนไลน์และโมบายวอลเล็ตมากขึ้น โดยในเดือนมีนาคม บริการที่ใช้งานมากที่สุดคือ จีแคช วอลเล็ต ผู้ให้บริการโมบายวอลเล็ตชั้นนำในฟิลิปปินส์ มีปริมาณการทำธุรกรรมทั้งหมดเพิ่มกว่า 30% นอกจากนั้น ทัชแอนโก (Touch ’n Go) ในมาเลเซีย และ บีแคช (bKash) ในบังคลาเทศ ก็กลายป็นเครื่องมือสำคัญทางการเงินในช่วงวิกฤติโควิด-19
ทรูมันนี่ วอลเล็ต (TrueMoney Wallet) เป็นระบบกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์แบบเติมเงินรายใหญ่สุดของไทย ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ที่สุดของผู้ให้บริการชำระเงินดิจิทัลที่ไม่ใช่ธนาคาร ทั้งในแง่ของประชาชนผู้ใช้บริการ และร้านค้า โดยมีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในเดือนมีนาคม ทั้งในแง่ของการชำระเงินออนไลน์และการเพิ่มขึ้นของลูกค้าใหม่
คุณมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ผู้ให้บริการ ทรูมันนี่ อีวอลเล็ต กล่าวว่า ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรน่า ซึ่งทำให้คนทำงานจากที่บ้านมากขึ้น และมีความตื่นตัวในการหลีกเลี่ยงการติดต่อกัน รวมถึงการใช้ธนบัตรและเหรียญ จึงทำให้การชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้แต่ในร้านค้าปลีกอย่างแม็คโครและเซเว่น ก็มีการใช้จ่ายผ่านระบบอีวอลเล็ตเพิ่มขึ้นด้วย
การเติบโตนี้ได้รับแรงหนุนจากผู้บริโภคที่ไม่ใช่บัตรเครดิต หันมาชำระเงินผ่านระบบอีวอลเล็ต รวมถึงการใช้เวอร์ชัวร์การ์ดแบบเติมเงินที่สามารถใช้จ่ายผ่านเครือข่ายการชำระเงินระหว่างประเทศของมาสเตอร์การ์ด โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 2,000 บาทต่อบัตร ขณะที่จำนวนการซื้อและเงินที่จ่ายแต่ละครั้งมีแนวโน้มสูงขึ้น
สำหรับหมวดหมู่ที่มีจำนวนการใช้จ่ายมากที่สุด คือการเติมเงินผ่านอินเทอร์เน็ต การซื้อเนื้อหาดิจิทัลหรือเพื่อความบันเทิง โดยเฉพาะ Netflix รายการเกมที่ซื้อผ่าน Google Play Store และ Apple Store การซื้อสินค้าที่ 7-Eleven รวมถึงการสั่งอาหารมาส่งที่บ้านและการใช้ระบบอีคอมเมิร์ซ ที่มีการทำธุรกรรมผ่าน Foodpanda เพิ่มขึ้น 25% และผ่าน Lazada เพิ่มขึ้น 40% ส่วนหมวดหมู่ที่มีการใช้จ่ายมากที่สุดในแง่ของมูลค่าคือการจ่ายบิลและการขายปลีก
ตามข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ทรูมันนี่มีผู้ใช้งาน 13 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1 ล้านบัญชี จาก 12 ล้านผู้ใช้งาน เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา กลุ่มผู้ใช้เปลี่ยนจากส่วนใหญ่ที่เป็นนักเรียน ไปเป็นผู้ใช้งานช่วงอายุที่กว้างขึ้นตั้งแต่ 10 ถึง 60 ปี โดยพนักงานและผู้ใช้งานวัยกลางคน คิดเป็น 35% ของผู้ใช้งานทั้งหมด
ไม่ว่าจะพร้อมหรือไม่พร้อม แต่วิกฤติโควิด-19 ก็บังคับให้ผู้คนต้องหันไปลองใช้ระบบการชำระเงินแบบดิจิทัลมากขึ้น ตลาดนี้จึงโตได้อีกมาก โดยในปีนี้ ทรูมันนี่ตั้งเป้าการเติบโตกว่า 50% จากแรงหนุนของการใช้จ่ายผ่านระบบดิจิทัลนี้เอง
ที่มา: stock2morrow