ราคามือหนึ่ง 757,900 บาท
ดาวน์ 30% เป็นเงิน 227,370 บาท
จัดไฟแนนซ์ 530,530 บาท ผ่อน 4 ปี ดอกเบี้ย 4.9%
คิดเป็นเงินผ่อนเดือนล่ะ 13,220 บาท
ระหว่างนั้นก็มีค่าประกันชั้น 1, ซ่อมบำรุง,ของแต่งบ้าง เปลี่ยนยางไป 4-5 คู่
รวมทั้งหมด ผมเป็นเจ้าของอยู่ 5 ปีเต็ม
ใช้เงินไปทั้งหมด 1,103,801 บาท (ไม่รวมค่าน้ำมันนะครับ)
ผมขายไปในเมื่อครบ 5 ปี ได้เงินคืนมา 350,000 บาท
เท่ากับระยะเวลา 60 เดือนที่เป็นเจ้าของ เสียเงินไป 753,801 บาท
เฉลี่ยเดือนละ 753,081/60 = 12,563 บาท
ทั้งหมดคือ Spoil ของกระทู้นี้ครับ สำหรับคนที่ไม่อยากอ่าน มากกว่านี้
แต่สไตล์คนที่ออกไปสังสรรค์นอกบ้านไม่ได้มาเดือนครึ่งแล้วแบบผมตอนนี้
มันจึงมีเรื่องอยากพูดเยอะหน่อยครับ
อ้อ เดี๋ยวซิ ขอสวัสดีอย่างเป็นทางการก่อนครับ
หลังจากเคยเขียนถึงรถที่ตัวเองยังครอบครองอยู่ไปแล้ว 2 กระทู้ คือ
Honda CBR1100XX Super Blackbird
https://ppantip.com/topic/39769410
Honda CRF1000L Africa Twin
https://ppantip.com/topic/38929040
ซึ่งทั้ง 2 กระทู้นั้น จะเน้นไปที่การใช้งานเป็นหลัก ว่าดีไม่ดียังไง
แต่สำหรับครั้งนี้ กับ Ducati 899 Panigale ผมจะขอเน้นไปที่เรื่อง
ค่าใช้จ่ายสำหรับคนที่อยากครอบครอง รถ Super Sport
(รวมถึงรถ Superbike ด้วย เพราะค่าใช้จ่ายไม่น่าต่างกันเท่าไหร่) เป็นหลักนะครับ
รถในคลาสนี้ ก็พวกรถ Sport class 600 ซีซีขึ้นไป ถึง 1000 ซีซี หรือเกินพัน แบบ 1299 Panigale
แต่ก็อาจจะเอาค่าใช้จ่ายบางอย่างไปอ้างอิง กับพวกรถประกอบไทย
เช่น ตระกูล CB650, Z650, Z800 พวกนั้นด้วยก็ได้ครับ
เพราะค่าซ่อมบำรุง ค่าแรงจะค่อนข้างเท่ากัน
แต่อะไหล่สิ้นปลือง ของรถประกอบไทยจะถูกกว่าประมาณหนึ่ง
สาเหตุที่เขียนกระทู้นี้ขึ้นมา นอกจากจะเพื่อหาเพื่อนคุยแล้ว
ก็อยากแบ่งปันเรื่องค่าใช้จ่ายล่ะกันครับ
เพราะรถคลาสพวกนี้ มันเกินคำว่าใช้งานในชีวิตประจำวันไปเยอะ มันคือของเล่นล้วน ๆ
และด้วยราคาในปัจจุบันนี้ ที่มันก็ลงมาให้จับต้องได้มากกว่า 14-15 ปีที่แล้ว ที่ผมเริ่มเล่นรถพวกนี้ใหม่ ๆ มาก
ทำให้หลาย ๆ คน อาจจะหลงเข้ามา ด้วยความชอบรูปลักษณ์ ความอยาก หรืออะไรก็แล้วแต่
แล้วสุดท้าย ก็จอดทิ้งเฉย ๆ เป็นปี และขายทิ้งไปถูก ๆ เพราะตลาดมือ 2 ตอนนี้รถมันเต็มไปหมด
บางคนขาดทุนกัน 4-5 แสน ในเวลา ไม่ถึงปี
ซึ่งถ้าเป็นคนรวย อยู่แล้ว อาจจะไม่คิดอะไรมาก
แต่สำหรับพนักงานเงินเดือนส่วนใหญ่
ผมเชื่อว่ากว่าเราจะหาเงินมาซื้อรถได้ซักคัน มันลำบากมาก
ดังนั้นนอกจากความชอบในเรื่องรูปลักษณ์ และความอยากส่วนตัวแล้ว
เรื่องค่าใช้จ่าย ก็ เป็นอีกเรื่องที่ทุกคนควรนึกถึงนะครับ
จากใจ คนที่เจ็บมาเยอะ
เอาล่ะ มาเริ่มต้น กันที่ว่า ทำไมถึงต้องเป็น 899 Panigale
พื้นฐานเนี่ย ผมจะใช้รถในการขี่ท่องเที่ยวเป็นหลักนะครับ
ย้อนไปตั้งแต่ปี 2006 ที่เริ่มกับ CB400 Super4 ก่อนจะเปลี่ยนเป็น CBR1100XX ตามที่เล่าไปในกระทู้ที่แล้ว
ทีนี้ระหว่างนั้นเนี่ย นอกจากตัวเองจะชอบขี่เที่ยวแล้ว
อีกสไตล์การขี่ที่ชอบมากเหมือนกัน ก็คือการขี่สนามแข่ง
แต่ช่วงแรก ๆ ที่ได้ลองเอา CBR1100XX ไปลงสนาม แล้วพบว่ามันไม่ตอบโจทย์ครับ
เราไม่สามารถใช้งานมันโหด ๆ หนัก ๆ ในสนามได้ ทั้งเรื่องสรีระของรถ
และความห่วง กลัวพัง อะไรก็ตามแต่
ตอนนั้นก็เลยเริ่มด้วย ไปซื้อ CBR150 (ตัวคาร์บู ฯ) มาใช้ก่อน
กะว่า ล้มไปก็ช่างมัน พังก็ช่างมัน เพราะเอาไว้ขี่สนามอย่างเดียว
ซึ่งก็พังสมใจ แต่พังจากอุบัติเหตุบนถนนนะครับ ไปขี่เร็วตอนฝนตก รถล้ม
ตัวรถสไลด์เข้าไปใต้รถเมล์ โดนเหยียบช่วงหน้าพังทั้งแถบ ก็เลยซ่อมแล้วขายทิ้ง
และไปซื้อ CBR250 ตัวแรก มาใช้ในสนามแทน
ใช้ไปซักพัก ล้มในสนามไปอีกครั้งสองครั้ง ก็ขายไป
แล้วก็ต้องไปทำงานต่างประเทศ 2 ปี
กลับมา เก็บเงินได้ก้อนหนึ่ง อยากได้รถสนามใหม่อีกซักคัน
ตอนนั้นเล็งไว้แค่ 2 รุ่นครับ คือ 899 นี่ล่ะ กับ CBR1000RR
สาเหตุไม่มีอะไรมาก แค่เพราะว่า 2 รุ่นนี้ มันเป็นรถมือหนึ่ง ในคลาส Sport bike ที่ถูกที่สุดในตอนนั้นครับ
ตัวพันญี่ปุ่น รุ่นอื่น ยังราคาอยู่ที่แปดแสนกว่า
1199 หรือ S1000RR ยังเป็นตัวประกอบนอก ราคาล้านกว่า
รถมือสอง ซึ่งห้าปีที่แล้ว ยังไม่เยอะแบบตอนนี้ ราคาก็อยู่ที่ 5-7 แสน ทั้งนั้น
ซึ่ง 899 ราคา 757,900 กับ CBR1000RR ตัวนกแก้ว สเปคไทย ราคาอยู่ที่ 643,000 มั้ง ถ้าจำไม่ผิด
ผมตั้งงบไว้ประมาณ 6-7 แสนนี่ล่ะ เลยตัดสินใจเอา 899 เพราะ นอกจากเรื่องราคาที่รับได้แล้ว มันก็สวยมาก
กับอีกอย่างคือ feeling ของเครื่อง inline4 ผมเข้าใจแล้ว เพราะใช้มานานกับ CBR1100XX
ครั้งนี้ก็เลยอยากลอง L-Twin บ้าง จึงมาจบที่ 899 ครับ
ตัดสินใจได้ ก็ไปจองที่ศูนย์ ผ่านไป 10 วันก็ได้รับรถ
เอาล่ะ รูปข้างล่างนี้คือตาราง Excel ที่ผมทำไว้ ตั้งแต่วันแรกที่รับรถ
จนวันสุดท้ายที่ขายรถออกไปนะครับ ว่าใช้เงินไปกับอะไรบ้าง
ตารางข้างบน จริง ๆ ภายใน Exel แต่ล่ะช่องผมจะใส่เป็น Comment
ไว้นะครับ ว่าจำนวนเงินที่เขียนไว้นั้น จ่ายไปกับอะไร วันที่เท่าไหร่
แต่ไม่ต้องสนใจมากก็ได้ครับ เพราะเดี๋ยวผมจะสรุปคร่าว ๆ ให้อ่านตามข้างล่างอยู่แล้ว
โดยรายจ่ายทั้งหมดผมจะแยกออกเป็น 5 เรื่องใหญ่ ๆ นะครับ คือ
1. ราคารถจริงและดอกเบี้ย
2. ค่าประกันภัย + ภาษี
3. ราคาเข้าศูนย์ เช็คตามระยะ
4. ราคาอะไหล่สิ้นเปลือง เช่น ผ้าเบรก ยาง
5. ของแต่ง
เอาล่ะ มาเข้าเรื่องแรกกันเลย คือ
ราคารถจริง และดอกเบี้ย
จากตารางด้านบน จะเห็นเลยนะครับ ว่าจากราคารถจริง 757,900 บาท
ผมดาวน์ไป 30% เป็นเงิน 227,370 บาท จัดไฟแนนซ์ 530,530 บาท ผ่อน 4 ปี ดอกเบี้ย 4.9%
คิดเป็นเงินผ่อนเดือนล่ะ 13,220 บาท
ถ้าผ่อนครบ 4 ปี จะเท่ากับจ่ายเงินไปทั้งหมด 227,370 + (13220 * 48) = 861,930 บาท
นั่นคือ จ่ายดอกเบี้ยไปทั้งหมด 861,930 – 757,900 = 104,030 บาท
เงินส่วนดอกเบี้ยนี้ จะแปรผกผันกับจำนวนเงินดาวน์นะครับ ยิ่งดาวน์เยอะ ดอกเบี้ยยิ่งน้อย
จำนวนดอกเบี้ยคิดเป็นเปอร์เซ็นก็สำคัญ
รถมือหนึ่ง ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ เรท 3-5 % ต่อปี
ขณะที่รถมือสอง จะอยู่ที่เรท 6-10 เปอร์เซ็น
ดังนั้น ใครที่เห็นราคารถมือ 2 ถูก ๆ แล้วคิดจะผ่อน
อย่าลืมเช็คราคาผ่อนให้ดี ๆ นะครับ เพราะร้านมือสองส่วนใหญ่
จะเน้นบอกแค่ราคาซื้อสด หรือราคาดาวน์ขั้นต่ำ + จำนวนการผ่อนต่อเดือนเท่านั้น ไม่บอกดอกเบี้ย
ซึ่งบางครั้ง ผ่อนจบแล้ว ราคาเท่าหรือแพงกว่าการซื้อสดรถมือหนึ่งรุ่นนั้น ๆ อีก
ตรงนี้ผู้ซื้อก็ต้องชั่งใจครับ ว่าแบบไหนคุ้มกว่า
ส่วนตัวผม จากนี้ไป ถ้ามีเงินอีกครั้ง ก็จะเลือกรถมือ 2 และซื้อสดเท่านั้นครับ
ถ้าเงินยังไม่พอซื้อสด ก็จะถือว่าตัวเองยังไม่มีกำลังพอจะซื้อไปเลย
เรื่องดอกเบี้ยสำหรับรถมือหนึ่ง มีอีกคำแนะนำครับ
เมื่อรถรุ่นนั้นตกรุ่นแล้ว หรือใกล้หมดอายุโมเดล คืออยู่ในช่วงปลาย ๆ ก่อนจะเปลี่ยนโฉม
ราคาจะตกลงมาค่อนข้างมาก บางศูนย์จะให้เป็น Gift Voucher แบบ Africa Twin L1 L2 ตอนนี้
บางศูนย์จะให้ดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็น
สำหรับคนที่ไม่ยึดติดกับการตกรุ่น ผมว่าการซื้อรถช่วงเวลาแบบที่บอกมา คุ้มสุดครับ
บางรุ่นได้ดอกศูนย์เปอร์เซ็นนี่ ประหยัดเป็นแสนสองแสนเลย
เรื่องต่อไป
ค่าประกันภัย + ภาษี
รถสปอร์ตคลาสนี้ ประกันภัยชั้น 1 จะอยู่ที่ 2 หมื่นกว่าบาท
ของผมปีแรกอยู่ที่ 23,467 บาท
ปีที่สอง 22,600 บาท
ปีที่สาม 22,270 บาท
ทุนประกัน 520,000 บาท ค่า deduct 30,000 บาท
ปีที่สี่กับปีที่ห้า ผมไม่ได้ต่อประกัน
รวม 3 ปี จ่ายค่าประกันไปทั้งหมด 68,337 บาท
กับเรื่องนี้ ต้องอยู่ที่ตัวคุณแล้วครับ ว่าคิดเห็นอย่างไร
ปรกติ ถ้าซื้อมือหนึ่ง ปีแรก เราจะโดนบังคับทำประกันอยู่แล้ว
หลังจากนั้น ก็อยู่ที่เราว่าจะต่อไหม
ส่วนตัวผมตลอด 5 ปี ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุเลย แต่ที่ 2 ปีล่าสุด ไม่ได้ต่อ
ก็เพราะเป็นช่วงที่ไปซื้อ Africa Twin มาอีกคัน เงินเลยไม่คล่องตัวเท่าช่วงก่อนหน้า
และเมื่อดูวิธีการขี่ของตัวเองแล้ว ค่อนข้างมั่นใจว่าไม่น่าเกิดอุบัติเหตุ
หรือถ้าไปล้มในสนาม ก็เคลมประกันไม่ได้อยู่ดี จึงตัดสินใจไม่ต่อครับ
ส่วนนี้ อย่างที่บอกเลยครับ ตัดสินใจเอาเอง
แต่ถ้าจะให้ผมแนะนำ ถ้าไม่เกินกำลัง ต่อประกันภัยไว้ดีที่สุดครับ
ส่วนเรื่องภาษี และ พ.ร.บ. ก็อยู่ที่ปีละ 946 บาทครับ
รถคลาสพันซีซี จะอยู่ประมาณนี้ล่ะ
ถ้าเกินพันซีซี ก็จะบวกไปอีก 100-200 บาท
เดี่ยวจำนวนคำมันจะเต็มแล้ว ไปต่อที่คอมเมนท์ก็แล้วกันนะครับ
แต่ขอฝากดูคลิปตอนผมไปนามิเบียหน่อยนะครับ
ใช้เวลาช่วง Covid19 ทำมาครบ 13 ตอนล่ะ แฮ่ อยากได้กำลังใจนิดหน่อย
เล่าสู่กันฟัง เป็นเจ้าของรถ Ducati 899 Panigale 5 ปี ใช้เงินรวมเท่าไหร่
ดาวน์ 30% เป็นเงิน 227,370 บาท
จัดไฟแนนซ์ 530,530 บาท ผ่อน 4 ปี ดอกเบี้ย 4.9%
คิดเป็นเงินผ่อนเดือนล่ะ 13,220 บาท
ระหว่างนั้นก็มีค่าประกันชั้น 1, ซ่อมบำรุง,ของแต่งบ้าง เปลี่ยนยางไป 4-5 คู่
รวมทั้งหมด ผมเป็นเจ้าของอยู่ 5 ปีเต็ม
ใช้เงินไปทั้งหมด 1,103,801 บาท (ไม่รวมค่าน้ำมันนะครับ)
ผมขายไปในเมื่อครบ 5 ปี ได้เงินคืนมา 350,000 บาท
เท่ากับระยะเวลา 60 เดือนที่เป็นเจ้าของ เสียเงินไป 753,801 บาท
เฉลี่ยเดือนละ 753,081/60 = 12,563 บาท
ทั้งหมดคือ Spoil ของกระทู้นี้ครับ สำหรับคนที่ไม่อยากอ่าน มากกว่านี้
แต่สไตล์คนที่ออกไปสังสรรค์นอกบ้านไม่ได้มาเดือนครึ่งแล้วแบบผมตอนนี้
มันจึงมีเรื่องอยากพูดเยอะหน่อยครับ
อ้อ เดี๋ยวซิ ขอสวัสดีอย่างเป็นทางการก่อนครับ
หลังจากเคยเขียนถึงรถที่ตัวเองยังครอบครองอยู่ไปแล้ว 2 กระทู้ คือ
Honda CBR1100XX Super Blackbird https://ppantip.com/topic/39769410
Honda CRF1000L Africa Twin https://ppantip.com/topic/38929040
ซึ่งทั้ง 2 กระทู้นั้น จะเน้นไปที่การใช้งานเป็นหลัก ว่าดีไม่ดียังไง
แต่สำหรับครั้งนี้ กับ Ducati 899 Panigale ผมจะขอเน้นไปที่เรื่อง
ค่าใช้จ่ายสำหรับคนที่อยากครอบครอง รถ Super Sport
(รวมถึงรถ Superbike ด้วย เพราะค่าใช้จ่ายไม่น่าต่างกันเท่าไหร่) เป็นหลักนะครับ
รถในคลาสนี้ ก็พวกรถ Sport class 600 ซีซีขึ้นไป ถึง 1000 ซีซี หรือเกินพัน แบบ 1299 Panigale
แต่ก็อาจจะเอาค่าใช้จ่ายบางอย่างไปอ้างอิง กับพวกรถประกอบไทย
เช่น ตระกูล CB650, Z650, Z800 พวกนั้นด้วยก็ได้ครับ
เพราะค่าซ่อมบำรุง ค่าแรงจะค่อนข้างเท่ากัน
แต่อะไหล่สิ้นปลือง ของรถประกอบไทยจะถูกกว่าประมาณหนึ่ง
สาเหตุที่เขียนกระทู้นี้ขึ้นมา นอกจากจะเพื่อหาเพื่อนคุยแล้ว
ก็อยากแบ่งปันเรื่องค่าใช้จ่ายล่ะกันครับ
เพราะรถคลาสพวกนี้ มันเกินคำว่าใช้งานในชีวิตประจำวันไปเยอะ มันคือของเล่นล้วน ๆ
และด้วยราคาในปัจจุบันนี้ ที่มันก็ลงมาให้จับต้องได้มากกว่า 14-15 ปีที่แล้ว ที่ผมเริ่มเล่นรถพวกนี้ใหม่ ๆ มาก
ทำให้หลาย ๆ คน อาจจะหลงเข้ามา ด้วยความชอบรูปลักษณ์ ความอยาก หรืออะไรก็แล้วแต่
แล้วสุดท้าย ก็จอดทิ้งเฉย ๆ เป็นปี และขายทิ้งไปถูก ๆ เพราะตลาดมือ 2 ตอนนี้รถมันเต็มไปหมด
บางคนขาดทุนกัน 4-5 แสน ในเวลา ไม่ถึงปี
ซึ่งถ้าเป็นคนรวย อยู่แล้ว อาจจะไม่คิดอะไรมาก
แต่สำหรับพนักงานเงินเดือนส่วนใหญ่
ผมเชื่อว่ากว่าเราจะหาเงินมาซื้อรถได้ซักคัน มันลำบากมาก
ดังนั้นนอกจากความชอบในเรื่องรูปลักษณ์ และความอยากส่วนตัวแล้ว
เรื่องค่าใช้จ่าย ก็ เป็นอีกเรื่องที่ทุกคนควรนึกถึงนะครับ
จากใจ คนที่เจ็บมาเยอะ
เอาล่ะ มาเริ่มต้น กันที่ว่า ทำไมถึงต้องเป็น 899 Panigale
พื้นฐานเนี่ย ผมจะใช้รถในการขี่ท่องเที่ยวเป็นหลักนะครับ
ย้อนไปตั้งแต่ปี 2006 ที่เริ่มกับ CB400 Super4 ก่อนจะเปลี่ยนเป็น CBR1100XX ตามที่เล่าไปในกระทู้ที่แล้ว
ทีนี้ระหว่างนั้นเนี่ย นอกจากตัวเองจะชอบขี่เที่ยวแล้ว
อีกสไตล์การขี่ที่ชอบมากเหมือนกัน ก็คือการขี่สนามแข่ง
แต่ช่วงแรก ๆ ที่ได้ลองเอา CBR1100XX ไปลงสนาม แล้วพบว่ามันไม่ตอบโจทย์ครับ
เราไม่สามารถใช้งานมันโหด ๆ หนัก ๆ ในสนามได้ ทั้งเรื่องสรีระของรถ
และความห่วง กลัวพัง อะไรก็ตามแต่
ตอนนั้นก็เลยเริ่มด้วย ไปซื้อ CBR150 (ตัวคาร์บู ฯ) มาใช้ก่อน
กะว่า ล้มไปก็ช่างมัน พังก็ช่างมัน เพราะเอาไว้ขี่สนามอย่างเดียว
ซึ่งก็พังสมใจ แต่พังจากอุบัติเหตุบนถนนนะครับ ไปขี่เร็วตอนฝนตก รถล้ม
ตัวรถสไลด์เข้าไปใต้รถเมล์ โดนเหยียบช่วงหน้าพังทั้งแถบ ก็เลยซ่อมแล้วขายทิ้ง
และไปซื้อ CBR250 ตัวแรก มาใช้ในสนามแทน
ใช้ไปซักพัก ล้มในสนามไปอีกครั้งสองครั้ง ก็ขายไป
แล้วก็ต้องไปทำงานต่างประเทศ 2 ปี
กลับมา เก็บเงินได้ก้อนหนึ่ง อยากได้รถสนามใหม่อีกซักคัน
ตอนนั้นเล็งไว้แค่ 2 รุ่นครับ คือ 899 นี่ล่ะ กับ CBR1000RR
สาเหตุไม่มีอะไรมาก แค่เพราะว่า 2 รุ่นนี้ มันเป็นรถมือหนึ่ง ในคลาส Sport bike ที่ถูกที่สุดในตอนนั้นครับ
ตัวพันญี่ปุ่น รุ่นอื่น ยังราคาอยู่ที่แปดแสนกว่า
1199 หรือ S1000RR ยังเป็นตัวประกอบนอก ราคาล้านกว่า
รถมือสอง ซึ่งห้าปีที่แล้ว ยังไม่เยอะแบบตอนนี้ ราคาก็อยู่ที่ 5-7 แสน ทั้งนั้น
ซึ่ง 899 ราคา 757,900 กับ CBR1000RR ตัวนกแก้ว สเปคไทย ราคาอยู่ที่ 643,000 มั้ง ถ้าจำไม่ผิด
ผมตั้งงบไว้ประมาณ 6-7 แสนนี่ล่ะ เลยตัดสินใจเอา 899 เพราะ นอกจากเรื่องราคาที่รับได้แล้ว มันก็สวยมาก
กับอีกอย่างคือ feeling ของเครื่อง inline4 ผมเข้าใจแล้ว เพราะใช้มานานกับ CBR1100XX
ครั้งนี้ก็เลยอยากลอง L-Twin บ้าง จึงมาจบที่ 899 ครับ
ตัดสินใจได้ ก็ไปจองที่ศูนย์ ผ่านไป 10 วันก็ได้รับรถ
เอาล่ะ รูปข้างล่างนี้คือตาราง Excel ที่ผมทำไว้ ตั้งแต่วันแรกที่รับรถ
จนวันสุดท้ายที่ขายรถออกไปนะครับ ว่าใช้เงินไปกับอะไรบ้าง
ตารางข้างบน จริง ๆ ภายใน Exel แต่ล่ะช่องผมจะใส่เป็น Comment
ไว้นะครับ ว่าจำนวนเงินที่เขียนไว้นั้น จ่ายไปกับอะไร วันที่เท่าไหร่
แต่ไม่ต้องสนใจมากก็ได้ครับ เพราะเดี๋ยวผมจะสรุปคร่าว ๆ ให้อ่านตามข้างล่างอยู่แล้ว
โดยรายจ่ายทั้งหมดผมจะแยกออกเป็น 5 เรื่องใหญ่ ๆ นะครับ คือ
1. ราคารถจริงและดอกเบี้ย
2. ค่าประกันภัย + ภาษี
3. ราคาเข้าศูนย์ เช็คตามระยะ
4. ราคาอะไหล่สิ้นเปลือง เช่น ผ้าเบรก ยาง
5. ของแต่ง
เอาล่ะ มาเข้าเรื่องแรกกันเลย คือ
ราคารถจริง และดอกเบี้ย
จากตารางด้านบน จะเห็นเลยนะครับ ว่าจากราคารถจริง 757,900 บาท
ผมดาวน์ไป 30% เป็นเงิน 227,370 บาท จัดไฟแนนซ์ 530,530 บาท ผ่อน 4 ปี ดอกเบี้ย 4.9%
คิดเป็นเงินผ่อนเดือนล่ะ 13,220 บาท
ถ้าผ่อนครบ 4 ปี จะเท่ากับจ่ายเงินไปทั้งหมด 227,370 + (13220 * 48) = 861,930 บาท
นั่นคือ จ่ายดอกเบี้ยไปทั้งหมด 861,930 – 757,900 = 104,030 บาท
เงินส่วนดอกเบี้ยนี้ จะแปรผกผันกับจำนวนเงินดาวน์นะครับ ยิ่งดาวน์เยอะ ดอกเบี้ยยิ่งน้อย
จำนวนดอกเบี้ยคิดเป็นเปอร์เซ็นก็สำคัญ
รถมือหนึ่ง ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ เรท 3-5 % ต่อปี
ขณะที่รถมือสอง จะอยู่ที่เรท 6-10 เปอร์เซ็น
ดังนั้น ใครที่เห็นราคารถมือ 2 ถูก ๆ แล้วคิดจะผ่อน
อย่าลืมเช็คราคาผ่อนให้ดี ๆ นะครับ เพราะร้านมือสองส่วนใหญ่
จะเน้นบอกแค่ราคาซื้อสด หรือราคาดาวน์ขั้นต่ำ + จำนวนการผ่อนต่อเดือนเท่านั้น ไม่บอกดอกเบี้ย
ซึ่งบางครั้ง ผ่อนจบแล้ว ราคาเท่าหรือแพงกว่าการซื้อสดรถมือหนึ่งรุ่นนั้น ๆ อีก
ตรงนี้ผู้ซื้อก็ต้องชั่งใจครับ ว่าแบบไหนคุ้มกว่า
ส่วนตัวผม จากนี้ไป ถ้ามีเงินอีกครั้ง ก็จะเลือกรถมือ 2 และซื้อสดเท่านั้นครับ
ถ้าเงินยังไม่พอซื้อสด ก็จะถือว่าตัวเองยังไม่มีกำลังพอจะซื้อไปเลย
เรื่องดอกเบี้ยสำหรับรถมือหนึ่ง มีอีกคำแนะนำครับ
เมื่อรถรุ่นนั้นตกรุ่นแล้ว หรือใกล้หมดอายุโมเดล คืออยู่ในช่วงปลาย ๆ ก่อนจะเปลี่ยนโฉม
ราคาจะตกลงมาค่อนข้างมาก บางศูนย์จะให้เป็น Gift Voucher แบบ Africa Twin L1 L2 ตอนนี้
บางศูนย์จะให้ดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็น
สำหรับคนที่ไม่ยึดติดกับการตกรุ่น ผมว่าการซื้อรถช่วงเวลาแบบที่บอกมา คุ้มสุดครับ
บางรุ่นได้ดอกศูนย์เปอร์เซ็นนี่ ประหยัดเป็นแสนสองแสนเลย
เรื่องต่อไป
ค่าประกันภัย + ภาษี
รถสปอร์ตคลาสนี้ ประกันภัยชั้น 1 จะอยู่ที่ 2 หมื่นกว่าบาท
ของผมปีแรกอยู่ที่ 23,467 บาท
ปีที่สอง 22,600 บาท
ปีที่สาม 22,270 บาท
ทุนประกัน 520,000 บาท ค่า deduct 30,000 บาท
ปีที่สี่กับปีที่ห้า ผมไม่ได้ต่อประกัน
รวม 3 ปี จ่ายค่าประกันไปทั้งหมด 68,337 บาท
กับเรื่องนี้ ต้องอยู่ที่ตัวคุณแล้วครับ ว่าคิดเห็นอย่างไร
ปรกติ ถ้าซื้อมือหนึ่ง ปีแรก เราจะโดนบังคับทำประกันอยู่แล้ว
หลังจากนั้น ก็อยู่ที่เราว่าจะต่อไหม
ส่วนตัวผมตลอด 5 ปี ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุเลย แต่ที่ 2 ปีล่าสุด ไม่ได้ต่อ
ก็เพราะเป็นช่วงที่ไปซื้อ Africa Twin มาอีกคัน เงินเลยไม่คล่องตัวเท่าช่วงก่อนหน้า
และเมื่อดูวิธีการขี่ของตัวเองแล้ว ค่อนข้างมั่นใจว่าไม่น่าเกิดอุบัติเหตุ
หรือถ้าไปล้มในสนาม ก็เคลมประกันไม่ได้อยู่ดี จึงตัดสินใจไม่ต่อครับ
ส่วนนี้ อย่างที่บอกเลยครับ ตัดสินใจเอาเอง
แต่ถ้าจะให้ผมแนะนำ ถ้าไม่เกินกำลัง ต่อประกันภัยไว้ดีที่สุดครับ
ส่วนเรื่องภาษี และ พ.ร.บ. ก็อยู่ที่ปีละ 946 บาทครับ
รถคลาสพันซีซี จะอยู่ประมาณนี้ล่ะ
ถ้าเกินพันซีซี ก็จะบวกไปอีก 100-200 บาท
เดี่ยวจำนวนคำมันจะเต็มแล้ว ไปต่อที่คอมเมนท์ก็แล้วกันนะครับ
แต่ขอฝากดูคลิปตอนผมไปนามิเบียหน่อยนะครับ
ใช้เวลาช่วง Covid19 ทำมาครบ 13 ตอนล่ะ แฮ่ อยากได้กำลังใจนิดหน่อย