ในร่างกายของเรามีกล้ามเนื้อลายเป็นอวัยวะที่มีขนาดรวมกันแล้วใหญ่ที่สุด โดยคิดเป็น 40 % ของน้ำหนักตัว
มนุษย์เราจะมีกล้ามเนื้อลายกระจายอยู่ทั่วร่างกาย 696 มัด ซึ่งทุกมัดสามารถเกิด Myofascial Pain Syndrome หรือ MPS
ได้มากน้อยต่างกัน สามารถพบได้บ่อยในวันกลางคน วัยทำงาน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ หรือผู้ที่ใช้ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งทำงานซ้ำๆ
พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมักพบบ่อยในกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ควบคุมท่าทางของแกนกลางร่างกาย
MPS คือ กลุ่มอาการปวดร้าวและ/หรือ กลุ่มอาการของระบบประสาทอัตโนมัติอันเนื่องมาจากจุดกดร้าวหรือ
trigger point ของกล้ามเนื้อ หรือเยื่อพังผืด โดยจำกัดอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย อาการต่างๆอาจดำเนินอย่างต่อเนื่อง
หรือเกิดซ้ำอย่างสม่ำเสมอ
สาเหตุของการเกิดโรค
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากภาวะการทำงานหนักเกินไปของกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น
การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อที่รุนแรงจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด การใช้กล้ามเนื้อซ้ำๆ การออกกำลังกาย บางปัจจัยไม่สามารถมองเห็นหรือไม่ชัดเจน เช่น
ความเครียดทางจิตใจ การบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย หรือเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน
อาการและอาการแสดง
1. มีอาการปวด จะปวดแบบตื้อและลึก หรือ ปวดตึงเรื้อรัง จะมีอาการปวดตลอดเวลาหรือปวดเฉพาะเวลาทำงาน
โดยความรุนแรงขึ้นอยู่กับความไวของจุดกดร้าว และมีอาการปวดกระจายเป็นบริเวณกว้าง
2. บางรายจะมีอาการของประสาทอัตโนมัติ หลอดเลือดที่เลี้ยงกล้ามเนื้อถูกรบกวน อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
บริเวณที่อาการปวดและบริเวณใกล้เคียง เหงื่อออก คัดจมูก มีความผิดปกติของการรับรู้ข้อต่อ
3. มีจุดกดร้าว เมื่อกดบริเวณที่มีอาการปวดค้างไว้จะรู้สึกร้าวไปที่บริเวณอื่น จะเป็นจุดที่ไวต่อการกระตุ้น
อยู่ในกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อพังผืด
4. มีการจำกัดการเคลื่อนไหวหรือองศาการเคลื่อนไหวลดลง เนื่องจากกล้ามเนื้อตึงและหดสั้น
การรักษาทางกายภาพบำบัด
การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นกระบวนการในระยะยาว โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไข้ที่จุดกดร้าว ป้องกันการเกิดซ้ำ
และแก้ไขปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนคือ
1. การรักษาเฉพาะที่ที่จุดกดร้าว หมายถึงการทำให้จุดกดร้าวหมดอาการหรือหายไป เช่น การทำ deep friction
การยืดกล้ามเนื้อ การทำอัลตร้าซาวด์ การใช้ไฟฟ้ากระตุ้น การใช้ความร้อน เป็นต้น
2. การแก้ไขปัจจัยต่างที่เป็นสาเหตุหรือส่งเสริมให้จุดกดร้าวแสดงอาการ เช่น การใช้กล้ามเนื้อให้อยู่ในท่าทางที่เหมาะสม
และปรับโครงสร้างร่างกายให้อยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง หยุกพักการใช้กล้ามเนื้อเป็นระยะๆ ศรีษะควรอยู่ในท่าตรง ไม่ก้ม เงยคอนานๆ เป็นต้น
บทความโดย ฟิสิคอล คลินิกกายภาพบำบัด
การรักษาทางกายภาพบำบัดในโรค Myofascial pain syndrome
มนุษย์เราจะมีกล้ามเนื้อลายกระจายอยู่ทั่วร่างกาย 696 มัด ซึ่งทุกมัดสามารถเกิด Myofascial Pain Syndrome หรือ MPS
ได้มากน้อยต่างกัน สามารถพบได้บ่อยในวันกลางคน วัยทำงาน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ หรือผู้ที่ใช้ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งทำงานซ้ำๆ
พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมักพบบ่อยในกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ควบคุมท่าทางของแกนกลางร่างกาย
MPS คือ กลุ่มอาการปวดร้าวและ/หรือ กลุ่มอาการของระบบประสาทอัตโนมัติอันเนื่องมาจากจุดกดร้าวหรือ
trigger point ของกล้ามเนื้อ หรือเยื่อพังผืด โดยจำกัดอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย อาการต่างๆอาจดำเนินอย่างต่อเนื่อง
หรือเกิดซ้ำอย่างสม่ำเสมอ
สาเหตุของการเกิดโรค
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากภาวะการทำงานหนักเกินไปของกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น
การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อที่รุนแรงจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด การใช้กล้ามเนื้อซ้ำๆ การออกกำลังกาย บางปัจจัยไม่สามารถมองเห็นหรือไม่ชัดเจน เช่น
ความเครียดทางจิตใจ การบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย หรือเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน
อาการและอาการแสดง
1. มีอาการปวด จะปวดแบบตื้อและลึก หรือ ปวดตึงเรื้อรัง จะมีอาการปวดตลอดเวลาหรือปวดเฉพาะเวลาทำงาน
โดยความรุนแรงขึ้นอยู่กับความไวของจุดกดร้าว และมีอาการปวดกระจายเป็นบริเวณกว้าง
2. บางรายจะมีอาการของประสาทอัตโนมัติ หลอดเลือดที่เลี้ยงกล้ามเนื้อถูกรบกวน อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
บริเวณที่อาการปวดและบริเวณใกล้เคียง เหงื่อออก คัดจมูก มีความผิดปกติของการรับรู้ข้อต่อ
3. มีจุดกดร้าว เมื่อกดบริเวณที่มีอาการปวดค้างไว้จะรู้สึกร้าวไปที่บริเวณอื่น จะเป็นจุดที่ไวต่อการกระตุ้น
อยู่ในกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อพังผืด
4. มีการจำกัดการเคลื่อนไหวหรือองศาการเคลื่อนไหวลดลง เนื่องจากกล้ามเนื้อตึงและหดสั้น
การรักษาทางกายภาพบำบัด
การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นกระบวนการในระยะยาว โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไข้ที่จุดกดร้าว ป้องกันการเกิดซ้ำ
และแก้ไขปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนคือ
1. การรักษาเฉพาะที่ที่จุดกดร้าว หมายถึงการทำให้จุดกดร้าวหมดอาการหรือหายไป เช่น การทำ deep friction
การยืดกล้ามเนื้อ การทำอัลตร้าซาวด์ การใช้ไฟฟ้ากระตุ้น การใช้ความร้อน เป็นต้น
2. การแก้ไขปัจจัยต่างที่เป็นสาเหตุหรือส่งเสริมให้จุดกดร้าวแสดงอาการ เช่น การใช้กล้ามเนื้อให้อยู่ในท่าทางที่เหมาะสม
และปรับโครงสร้างร่างกายให้อยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง หยุกพักการใช้กล้ามเนื้อเป็นระยะๆ ศรีษะควรอยู่ในท่าตรง ไม่ก้ม เงยคอนานๆ เป็นต้น
บทความโดย ฟิสิคอล คลินิกกายภาพบำบัด