แม้ว่าตอนนี้ยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายวันในไทยจะลดลงกว่าช่วงก่อน ๆ แต่เราก็ยังวางใจกลับไปใช้ชีวิตตามปกติเหมือนเดิมไม่ได้ ต้องให้ความสำคัญกับการทำ Social Distancing กันอยู่ คนที่เคยได้ทำงานแบบ Work from Home ส่วนหนึ่งเริ่มกลับไปทำงานที่ออฟฟิศกันแล้ว แต่ก็ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัย ล้างมือบ่อย ๆ ไม่เอาตัวเองเข้าไปพื้นที่เสี่ยง เป็นไปได้ก็ควรสวมหน้ากากผ้าปิดปากอยู่เสมอ ซึ่งสถานการณ์ของ COVID-19 ส่งผลให้คนทำงานไม่ว่าจะเป็นคนทำงานที่ทำอยู่ออฟฟิศ หรือคนทำงานอยู่ที่บ้าน ก็อาจจะมีอาการเหนื่อยสะสม ร่างกายไม่สดชื่น ไม่มีกระจิตกระใจในการทำงานกันได้ วันนี้ JobThai Tips จึงมีเทคนิคที่จะช่วยให้ร่างกายสดชื่นพร้อมทำงานในทุก ๆ วันมาฝาก
ดื่มน้ำให้เพียงพอ
สาเหตุของอาการเหนื่อย เมื่อยล้า ส่วนหนึ่งมาจากการที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ และเป็นหนึ่งในสัญญาณของการขาดน้ำ ทำให้การทำงานของร่างกายมีประสิทธิภาพลดน้อยลง ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้ดีและลดความเมื่อยล้าได้
พักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนให้เพียงพอเป็นเรื่องที่ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่หลายคนก็ละเลยข้อนี้ไป ยิ่งคนที่ทำงานแบบ Work from Home ไม่ต้องตื่นเช้า
ไม่ต้องเดินทางไปทำงาน ยิ่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับการนอนมากนัก แต่จริง ๆ แล้วเราต้องให้ความสำคัญกับการนอนให้มีประสิทธิภาพ เช่น เข้านอนหัวค่ำ นอนหลับให้สนิท และไม่ตื่นนอนสายด้วย ซึ่งจะช่วยให้ทุก ๆ เช้าของการตื่น เป็นวันที่สดชื่น ไม่งัวเงีย อ่อนเพลีย และเหนื่อยล้าในระหว่างวันทำงาน
กินวิตามินบี 1
นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า อ่อนเพลีย การกินวิตามินบี 1 จะช่วยฟื้นฟูร่างกาย ลดความเมื่อยล้าลงหลังจากผ่านการทำงานอันหนักหน่วงมาตลอดทั้งวัน บรรเทาอาการชาตามปลายมือปลายเท้า บรรเทาอาการปลายประสาทอักเสบ ซึ่งวิตามินบี 1 อยู่ในเมล็ดทานตะวัน ข้าวซ้อมมือ เป็นต้น
หากิจกรรมทำยามว่าง
อาการเมื่อยล้า ความเครียดสะสม อาจส่งผลกับกับประสิทธิภาพในการทำงานได้ ถึงอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เราก็จำเป็นต้องดำเนินชีวิตให้เป็นปกติมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้จะต้องอยู่แต่ในบ้าน หรือทำงานแบบ Work from Home ก็ควรทำตัวเหมือนปกติ ตื่นเช้า อาบน้ำ แต่งตัว ออกกำลังกายตามยูทูบแทนการไปฟิตเนส ทำงานบ้าน ทำอาหาร รดน้ำต้นไม้ หรือทำงานอดิเรกที่ชอบ
ท่าออกกำลังกายง่าย ๆ ที่ใครก็ทำได้ที่บ้าน
ติดตามข่าวสารเท่าที่จำเป็น
ความรู้สึกไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่สดชื่น เฉื่อยชาลง อาจเกิดความกังวลในการใช้ชีวิต ความเครียดจากการติดตามข่าวมากเกินไป คุณอาจจะเช็กข่าวสักวันละครั้ง โดยเลือกรับข่าวสารจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ เช่น ประกาศของรัฐบาล หรือกระทรวงสาธารณสุข ลดการเสพโซเชียลมีเดีย และระมัดระวังข่าวปลอม
เหนื่อยสะสม ร่างกายไม่สดชื่นทำยังไงดี ?
ดื่มน้ำให้เพียงพอ
สาเหตุของอาการเหนื่อย เมื่อยล้า ส่วนหนึ่งมาจากการที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ และเป็นหนึ่งในสัญญาณของการขาดน้ำ ทำให้การทำงานของร่างกายมีประสิทธิภาพลดน้อยลง ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้ดีและลดความเมื่อยล้าได้
พักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนให้เพียงพอเป็นเรื่องที่ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่หลายคนก็ละเลยข้อนี้ไป ยิ่งคนที่ทำงานแบบ Work from Home ไม่ต้องตื่นเช้า
ไม่ต้องเดินทางไปทำงาน ยิ่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับการนอนมากนัก แต่จริง ๆ แล้วเราต้องให้ความสำคัญกับการนอนให้มีประสิทธิภาพ เช่น เข้านอนหัวค่ำ นอนหลับให้สนิท และไม่ตื่นนอนสายด้วย ซึ่งจะช่วยให้ทุก ๆ เช้าของการตื่น เป็นวันที่สดชื่น ไม่งัวเงีย อ่อนเพลีย และเหนื่อยล้าในระหว่างวันทำงาน
กินวิตามินบี 1
นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า อ่อนเพลีย การกินวิตามินบี 1 จะช่วยฟื้นฟูร่างกาย ลดความเมื่อยล้าลงหลังจากผ่านการทำงานอันหนักหน่วงมาตลอดทั้งวัน บรรเทาอาการชาตามปลายมือปลายเท้า บรรเทาอาการปลายประสาทอักเสบ ซึ่งวิตามินบี 1 อยู่ในเมล็ดทานตะวัน ข้าวซ้อมมือ เป็นต้น
หากิจกรรมทำยามว่าง
อาการเมื่อยล้า ความเครียดสะสม อาจส่งผลกับกับประสิทธิภาพในการทำงานได้ ถึงอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เราก็จำเป็นต้องดำเนินชีวิตให้เป็นปกติมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้จะต้องอยู่แต่ในบ้าน หรือทำงานแบบ Work from Home ก็ควรทำตัวเหมือนปกติ ตื่นเช้า อาบน้ำ แต่งตัว ออกกำลังกายตามยูทูบแทนการไปฟิตเนส ทำงานบ้าน ทำอาหาร รดน้ำต้นไม้ หรือทำงานอดิเรกที่ชอบ
ท่าออกกำลังกายง่าย ๆ ที่ใครก็ทำได้ที่บ้าน
ติดตามข่าวสารเท่าที่จำเป็น
ความรู้สึกไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่สดชื่น เฉื่อยชาลง อาจเกิดความกังวลในการใช้ชีวิต ความเครียดจากการติดตามข่าวมากเกินไป คุณอาจจะเช็กข่าวสักวันละครั้ง โดยเลือกรับข่าวสารจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ เช่น ประกาศของรัฐบาล หรือกระทรวงสาธารณสุข ลดการเสพโซเชียลมีเดีย และระมัดระวังข่าวปลอม