ต้นไม้ที่เอาชนะธรรมชาติ

Tree of Life


ต้นไม้ที่มีชื่อเสียงที่มีชื่อว่า Tree of Life เป็นต้นไม้ที่ตั้งอยู่บริเวณชายหาด อุทยานแห่งชาติโอลิมปิกในกรุงวอชิงตัน ภายในอุทยานแห่งชาติโอลิมปิก ในรัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ความพิเศษของต้นไม้ต้นนี้คือมันยังคงมีชีวิตอยู่ท่ามกลางหน้าผาที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะบางส่วน แต่รากบางส่วนของมันยังคงยึดกับพื้นดินส่วนอื่น ๆเพื่อให้คงอยู่และยังเจริญเติบโต
Cr.https://pt-br.facebook.com/samrujlok/photos/ต้นไม้ที่มีชื่อเสียงในอุทยานแห่งชาติโอลิมปิกต้นไม้ต้นนี้มีชื่อว่า-tree-of-life เ/10156470233312226/

Lithops 


ไลทอป รู้จักกันในอีกชื่อว่า "หินมีชีวิต" ชื่อนี้มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ คำว่า “Lithos” ซึ่งแปลว่า “หิน” และ “-ops” ซึ่งแปลว่า “เหมือน” ดังนั้นคำว่า “Lithops” จึงแปลได้ว่า “เหมือนหิน”เป็นพืชขนาดเล็ก ขึ้นอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง และอากาศเย็นในเวลากลางคืน ส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศนามิเบีย และประเทศแถบแอฟริกาใต้
คุณจะต้องเห็นมันจึงจะเข้าใจว่าทำไมมันจึงถูกเรียกเช่นนี้ พวกมันดูเหมือนก้อนหินมากกว่าสิ่งมีชีวิต  แต่สิ่งมีชีวิตที่น่าทึ่งซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากทางใต้ของแอฟริกาชนิดนี้ จริง ๆ แล้ว คือพืช พวกมันมีส่วนสำคัญต่อพืชผลทางการเกษตร

พืชเหล่านี้ สามารถอยู่รอดในสภาวะที่รุนแรงในทะเลทราย และภูมิประเทศที่เป็นหิน ด้วยการพรางตัวป้องกันตัวเองจากการถูกกิน  แม้ว่าพวกมันจะเติบโตอยู่ใต้ดินเป็นส่วนใหญ่ ไลทอปมีผิวด้านบนที่โปร่งแสง ทำให้แสงอาทิตย์ผ่านเข้าไปได้ และถูกแปลงเป็นพลังงาน

นักวิจัยหวังว่า การเข้าใจความสามารถของไลทอป จะช่วยในเรื่องการควบคุมแสงจ้าเหนือพื้นดิน และแสงน้อยใต้พื้นดิน ซึ่งอาจจะช่วยเราพัฒนาพืชผลทางการเกษตรในอนาคตได้
Cr.https://www.bbc.com/thai/international-48270800

Suicide Plant 


Dendrocnide Moroides หรือ Gympie-Gympie เป็นพืชอันตรายที่ขึ้นอยู่ในป่าทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย และหมู่เกาะมาลูกูของอินโดนีเซีย   ซึ่งพืชชนิดนี้มีฉายาว่า Suicide Plant ที่แปลว่า พืชฆ่าตัวตาย สาเหตุเพราะมีชายคนหนึ่งถูกพิษของมันเข้าไปถึงขนาดต้องฆ่าตัวตายหนีความเจ็บปวด
พืชชนิดนี้ มีลักษณะเด่นคือบริเวณใบของมันจะปกคลุมไปด้วยขน หากใครที่เผลอไปสัมผัสมันเข้าจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน หลังจากนั้นจะเริ่มเจ็บปวดรุนแรงขึ้นหลังผ่านไปครึ่งชั่วโมงโดยเฉพาะบริเวณข้อต่อ และมีอาการบวมที่ใต้รักแร้ ในเคสที่รุนแรงมากๆ อาจทำให้เหยื่อช็อคและเสียชีวิต จริงๆ แค่คุณสูดขนมันเข้าไปก็จะทำเลือดกำเดาไหลได้

ตำนานความน่ากลัวของมันเป็นที่รู้กันดีว่า สามารถฆ่าม้าให้ตายได้ภายใน 1 ชั่วโมง มีม้าจำนวนไม่น้อยที่ถูกพิษของมันจนเจ็บปวดและวิ่งไปกระโดดหน้าผาตาย  ส่วนเรื่องของชายที่ฆ่าตัวตาย มาจากการที่เขาไม่รู้ว่ามันเป็นพิษและหยิบมันมาใช้เป็นกระดาษชำระ จนต้องเจ็บปวดคลุ้มคลั่งและต้องยิงตัวเองตาย และกลายเป็นที่มาของฉายาต้นไม้นี้
 
สิ่งที่ร้ายแรงกว่านั้นก็คือ หากคุณไม่เอาขนของมันที่ติดตัวคุณออกไป มันจะสร้างความทรมานให้คุณได้นานเป็นปีๆ ถึงแม้ตัวอย่างของต้นที่ถูกทำให้แห้งและเก็บไว้นานนับทศวรรษ พิษของมันก็ยังมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่  วิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการใช้กรดไฮโดรคลอริกเจือจางเช็ด และใช้แผ่นแว็กซ์ขนดึงขนของมันที่ติดอยู่ออกไป 
ที่มา :  treehugger | เรียบเรียงโดย เพชรมายา
Cr.https://petmaya.com/suicide-plant

Resurrection Plants / Rose of Jericho


"กุหลาบแวมไพร์ (Resurrection Plants / Rose of Jericho*)" หรือชื่อวิทยาศาสตร์ "Anastatica Hierochuntica" ซึ่งเป็นพืชที่หลายคนเคยคิดว่าเป็น ต้นไม้ที่สามารถฟื้นคืนชีพได้ แม้มันจะแห้งเหี่ยวตายไปแล้วคล้ายกับ "แวมไพร์" ตามชื่อนั่นเอง  แท้จริงแล้ว การที่กุหลาบแวมไพร์แห้งเหี่ยว แต่กลับมามีชีวิตอีกได้เมื่อโดนน้ำ เพราะเป็นคุณลักษณะการดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติของพืชทนแล้งอย่างหนึ่ง 
 
โดยลักษณะพิเศษของพืชชนิดนี้ คือ เมื่ออยู่ในภาวะแห้งแล้ง ก้านจะทิ้งใบแล้วม้วนตัวหดรวมเป็นก้อน  เพื่อเก็บรักษาฝักและเมล็ดให้ติดอยู่กับต้นไม่ร่วงหล่นไป จนดูเผินๆ เหมือนตายไปแล้ว จนเมื่อโดนน้ำฝน ใบที่เคยแห้งเหี่ยวก็จะกลับชุ่มชื่น แต่ทั้งนี้ ส่วนที่จะเติบโตงอกงามเป็นต้นต่อไปได้ กลับเป็นส่วนของเมล็ดที่ถูกเก็บรักษาภายในเท่านั้น นั่นจึงเป็นเหตุของความเข้าใจผิดที่ว่า พืชชนิดนี้สามารถกลับมามีชีวิตอีกได้ ทั้งที่เดิมทีอาจตายไปแล้ว 80-90%
 
อย่างไรก็ตาม ชาวคริสต์บางกลุ่มมีความเชื่อว่า พืชชนิดนี้เป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ มีพลังแห่งชีวิต รวมไปถึงการคืนชีพ เช่นเดียวกับพระเยซูที่ฟื้นคืนชีพได้ จึงนิยมซื้อหาและมอบเป็นของขวัญแก่กัน 
ขอขอบคุณเรื่องราวจาก Facebook : Napong Chanakiarte
Cr.http://www.tartoh.com/topic/9596/Rose-of-Jericho

ต้นไม้ช่วยชีวิตเกษตรกรเปรู




หยดน้ำแต่ละหยดที่ละลายออกมาจากธารน้ำแข็งปาสโตรูรี ในเปรู เพิ่มจำนวนน้ำที่หลั่งไหลมายังพื้นราบ แต่กลับลดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยือนธารน้ำแข็งขนาดใหญ่แห่งนี้ลงเรื่อยๆ เปรู ดินแดนทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้เคยได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งธารน้ำแข็งเขตร้อนของโลก คิดเป็นสัดส่วน 70% ของปริมาณธารน้ำแข็งเขตร้อนของโลก แต่ธารน้ำแข็งในเปรูกลับลดจำนวนลงอย่างน่าใจหายถึง 40% ตั้งแต่ทศวรรษ 2513 
 
ส่วนธารน้ำแข็งปาสโตรูรี ก็ไม่สามารถหนีพ้นชะตากรรมที่เกิดขึ้นจากเงื้อมมือมนุษย์ที่ก่อให้เกิดกาวะโลกร้อนรุนแรง ซึ่งทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ธารน้ำแข็งแห่งนี้ละลายจนลดปริมาณลงครึ่งหนึ่งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา (สถิติจากองค์การน้ำแห่งชาติเปรู) 

น้ำที่ละลายจากธารน้ำแข็งเป็นดั่งสายเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวเปรูที่อาศัยอยู่ในบริเวณเทือกเขาที่มีธารน้ำแข็ง ที่มักจะอยู่ในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 6,000 เมตรขึ้นไป ดังนั้น ประชาชน รวมทั้งเกษตรกรในบริเวณนี้จึงหวังพึ่งฝนที่จะตกลงมาในพื้นที่สูงเช่นนี้ได้ยาก น้ำจากธารน้ำแข็งจึงเป็นที่พึ่งหลักเพียงแห่งเดียวของชาวที่สูงแห่งเปรู

แต่น้ำจากธารน้ำแข็งเหล่านี้ไม่บริสุทธิ์เพียงพอที่จะใช้บริโภค แม้แต่จะใช้เลี้ยงสัตว์ เพราะน้ำแข็งบนธารน้ำแข็งที่ก่อตัวขึ้นมาเมื่อหลายล้านปีที่แล้ว ในยุคน้ำแข็ง สัมผัสกับแร่เหล็กบนพื้นผิวดิน รวมทั้งสารโลหะหนักอื่นๆ ที่น้ำเหล่านี้ดูดซึมไว้เมื่อหลายล้านปีก่อนในช่วงที่โลกยังไม่สงบเช่นปัจจุบันนี้ ดังนั้นโลหะหนักที่เป็นอันตรายอย่างเช่น ตะกั่ว สารหนู แคดเมียม แมงกานีส รวมทั้งแร่เหล็ก จึงปนเปื้อนอยู่ในน้ำแข็งที่ละลายลงมาเป็นสายน้ำหล่อเลี้ยงชาวเปรู
หากดื่มหรือสัมผัสกับน้ำปนเปื้อนเหล่านี้เป็นเวลานานๆ ผู้บริโภคจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคภัยสารพัดที่มีต้นเหตุมาจากโลหะหนัก 


และปริมาณสารโลหะหนักในน้ำจากธารน้ำแข็งก็เพิ่มขึ้นทุกวันๆ เนื่องจากธารน้ำแข็งละลายลึกลงไปทุกทีๆ จนถึงแกนของก้อนน้ำแข็งที่ไม่เคยสัมผัสกับอากาศภายนอกตั้งแต่มันก่อตัวเป็นน้ำแข็งเมื่อหลายล้านปีก่อน
 
นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยคาเยตาโน เฮอเรเดีย ระบุว่าพื้นดินที่มีน้ำปนเปื้อนเหล่านี้ไหลผ่าน ไม่สามารถใช้การได้อีกต่อไป เพราะถ้าฝืนปลูกพืชอาหารในบริเวณนี้ โลหะหนักก็จะถูกดูดซับเข้าไปในลำต้นและผลผลิตของพืชอาหารที่มักจะมีอายุสั้น และทำให้ผู้บริโภคมีปริมาณโลหะหนักสะสมจนเป็นอันตรายในที่สุด   เพื่อแก้ปัญหานี้ นักวิจัยแห่ง ม.คาเยตาโน เฮอเรเดีย  จึงค้นลึกลงไปในประวัติศาสตร์ มองหาวิธีการที่ชาวเปรูโบราณ ที่สืบเชื้อสายจากชนเผ่ามายัน ที่เคยอาศัยในดินแดนแถบนี้มาก่อน เพื่อหาวิธีจัดการกับน้ำพิษจากธารน้ำแข็งเหล่านี้ 

ที่สุดนักวิจัยก็พบวิธีของคนโบราณที่ใช้ต่อสู้กับน้ำปนเปื้อนโลหะหนัก โดยใช้การ "กรอง" น้ำด้วย "ต้นไม้" ที่มีประสิทธิภาพในการดูดซับโลหะหนักไว้ในลำต้นโดยไม่ทำให้มีพิษภัยต่อสิ่งมีชีวิตรอบข้าง ต้นไม้หลายชนิดตั้งแต่หญ้า ต้นกก ที่มีชื่อท้องถิ่นว่า โตโตรา จุงโค และ โคลา เดอ ซอร์โร เป็นพืชที่เหมาะที่สุดในการกรองโลหะหนักออกจากน้ำปนเปื้อนจากธารน้ำแข็ง

ในต้นไม้เหล่านี้จะมีเซลล์เมมเบรน (เยื่อผนังเซลล์) ที่มีประจุไฟฟ้าบวก สามารถดักจับโลหะหนักได้เป็นอย่างดี ด้วยวิธีการดูดซึมและใช้แรงดึงดูดระหว่างอะตอมและโมเลกุล ทั้งยังมีโปรตีนที่เรียกว่า เมทัลโลไธโอนีนส์ (metallothioneins) ที่ดึงดูดโลหะประเภททองแดง เหล็ก แคดเมียม และสังกะสีเข้าไปเก็บในลำต้นได้ดีมากอีกด้วย


ดังนั้น เกษตรกรที่สูงในเปรูจึงระดมปลูกต้นกก และหญ้าในพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นแหล่งพักน้ำที่ไหลลงมาจากธารน้ำแข็ง โดยได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคและวิชาการจาก อูนาแซม หรือ มหาวิทยาลัยแห่งชาติซานติอาโก อันตูเนซ เดอ มาโยโล ที่เข้าช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนบนที่สูง ที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ระบุว่าด้วยวิธีดังกล่าวทำให้น้ำจากธารน้ำแข็งที่ปนเปื้อนโลหะหนัก มีปริมาณโลหะหนักลดลงอย่างชัดเจนในระดับ 2-3 แมกนิจูด และเพิ่มค่าความเป็นด่างให้แก่น้ำจากธารน้ำแข็งที่มีค่าเป็นกรดสูง (3pH) จนน้ำมีค่า pH เป็นกลางที่ 7pH ทำให้สามารถใช้เลี้ยงปศุสัตว์ได้อย่างน่าพอใจ
Cr.ภาพ https://es.wikiloc.com/
Cr.https://www.komchadluek.net/news/foreign/204809
Cr.https://sophimania.pe/medio-ambiente/cambio-climatico-y-desastres/peru-glacial-pastoruri-se-derrite-dando-paso-a-conciencia-ambiental/



ต้นไม้พูดได้


(Cr.ภาพ https://judprakai.bangkokbiznews.com/green/1540)

นักวิทยาศาสตร์พบว่าต้นไม้สามารถสื่อสารกันได้หากอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน พืชมีความรู้สึกชอบและไม่ชอบเช่นเดียวกับคน ดังนั้น หากมีต้นไม้ที่มันไม่ชอบขึ้นบริเวณนั้น มันก็จะปล่อยสารฟีโรโมน (Pheromones) เพื่อสื่อสารให้ต้นอื่นรับรู้ สารนี้จะไปกระตุ้นให้พืชที่มันชอบเจริญเติบโตและจะทำลายพืชที่มันไม่ชอบ
 
จากงานวิจัยที่โพสต์ในฐานข้อมูล bioRxiv (ไบโออาร์ไคว์ฟ) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2019 พบว่านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ ในอิสราเอล ได้ลองวางไมโครโฟนไว้ใกล้กับต้นมะเขือเทศและต้นยาสูบที่อยู่ในสภาวะเครียด โดยแบ่งออกเป็นความเครียดจากภาวะภัยแล้ง และความเครียดจากการบาดเจ็บทางกายภาพ อย่างการโดนหักกิ่ง ผลที่ได้คือต้นไม้เหล่านั้นสามารถส่งเสียงกรีดร้องออกมา

โดยอุปกรณ์ของทีมวิจัยสามารถตรวจจับเสียงแบบอัลตราโซนิกจากต้นไม้ได้จากระยะห่างประมาณ 4 นิ้ว หรือราวๆ 10 เซนติเมตร ซึ่งเสียงดังกล่าวจะค่อยๆ ลดลงในช่วง 20 ถึง 100 กิโลเฮิร์ตซ์
นอกจากนี้ยังพบว่า พืชแต่ละชนิดจะเปล่งเสียงไม่เหมือนกัน ในความถี่ที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของความเครียดที่พืชได้รับ โดยต้นมะเขือเทศที่เครียดจากภัยแล้งจะปล่อยเสียงออกมาประมาณ 35 อัลตราโซนิคสควีลต่อชั่วโมง ส่วนต้นมะเขือเทศที่โดนหักกิ่งเปล่งเสียงออกมาได้ 25 อัลตราโซนิคสควีล
ในขณะที่ต้นยาสูบที่เครียดจากภาวะภัยแล้งจะปล่อยเสียงออกมา 11 อัลตราโซนิคสควีล ส่วนต้นยาสูบที่โดนตัดกิ่งเปล่งเสียงได้ 15 อัลตราโซนิคสควีล 

อย่างไรก็ตามเสียงอัลตราโซนิคนี้เป็นคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงเกินกว่าหูมนุษย์ของเราจะได้ยิน  นอกเสียจากว่าจะฟังผ่านเครื่องมือที่สร้างขึ้นมาเพื่อตรวจจับเสียงของต้นไม้เป็นพิเศษ 
ที่มา เว็บไซต์ Blog Eduhub
Cr.https://blog.eduhub.tv/ต้นไม้ก็กรี๊ดได้/
Cr.https://www.facebook.com/sciencestrange/posts/539558822763800/ //Ad pooh

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่