จอห์นสัน ฯทุ่ม1พันล้านเหรียญ พัฒนาวัคซีนต้านโควิด คาดรู้ผลต้นปีหน้า

ข้อมูลจาก  https://www.thaipost.net/main/detail/64810

ข่าวดีที่ทุกคนคาดหวังกันมากที่สุด   คือเรื่องวัคซีนcovid-19


ปัจจุบันมีบริษัทยาประมาณ 70 แห่งทั่วโลกที่กำลังหาทางผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 โดยบริษัทของจีนมีความก้าวหน้ามากที่สุด  กำลังทดลองในมนุษย์ระยะที่สอง นอกจากนี้ ยังมีบริษัทผู้ผลิตจากเยอรมัน  และอังกฤษที่ประกาศว่ากำลังทดลองในคนระยะแรก 

ทางด้านบริษัทในสหรัฐอเมริกา โดยบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ก็ประกาศความคืบหน้าผลการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19  ว่ามีแผนจะทดลองในมนุษย์ภายในกันยายนนี้ และตั้งเป้าว่าวัคซีนตัวนี้จะพร้อมสำหรับการใช้ฉุกเฉินภายในต้นปีหน้า
 
 
นพ.  Paul Stoffel รองประธานคณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ของบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เผยว่า การพัฒนาวัคซีนต้านโควิดเริ่มโครงการครั้งแรกในเดือนมกราคม และถือว่าเป็นกระบวนการทั้งหมดนี้ถือเป็นการดำเนินงานที่รวดเร็วเมื่อเทียบกับการพัฒนาวัคซีนทั่วไปที่เคยมีมา นับเป็นความท้าทาย เพราะต้องทำงานอย่างเร็วพร้อมกับ ต้องมีความระมัดระวังสูงในขั้นตอนการทดลองในมนุษย์ 

"ความยากการผลิตวัคซีนโควิดนี้   เมื่อเทียบกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่     คือ มีระยะเวลาที่เร่งรัดกว่า เมื่อเทียบกับกระบวนการพัฒนาวัคซีนโดยทั่วไป  แต่ยังมีข้อดีที่ องค์การอนามัยโลก(WHO)  ยังไม่รายงานว่า มีการกลายพันธุ์ของไวรัสที่สังเกตได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการพัฒนาวัคซีน ในทางตรงกันข้าม ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหน่วยงาน Global Influenza Surveillance and Response System (GISR) ขององค์กรอนามัยโลกจึงต้องคอยตรวจสอบไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อกันระหว่างมนุษย์อย่าง ต่อเนื่องและปรับปรุงองค์ประกอบของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละ 2 ครั้ง"  
   
   
                  
นพ.Paul Stoffel ยังบอกอีกว่า สำหรับจอห์นสันฯ  การพัฒนาวัคซีน COVID-19 เป็นการต่อยอดจากเทคโนโลยี AdVac® และ PER.C6® ที่ผ่านการรับรองของแจนแซ่น ซึ่งเทคโนโลยีนี้ มีความสามารถในการพัฒนาตัวเลือกของวัคซีนใหม่ ๆ ได้เร็ว  ทั้งยังยกระดับการผลิตวัคซีนที่ได้รับการคัดเลือก ไปพร้อมกัน  ซึ่งเทคโนโลยีนี้เคยถูกใช้ในการผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสอีโบล่าและสร้างวัคซีนที่จะถูกนำไปคัดเลือกเพื่อต้านเชื้อ  ซิกา อาร์เอสวี และ สำหรับ เอชไอวี ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาทางคลินิกเฟสสองหรือเฟสสาม 

สำหรับ การพัฒนาวัคซีนโควิดนี้ บริษัทใช้ งบประมาณกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ที่ทุ่มทุนเพื่อวิจัยและพัฒนา   และวางแผนที่จะรขยายกำลังการผลิตทั่วโลก   โดยคาดว่าจะผลิตวัคซีนไปยังทั่วโลกได้มากกว่า 1 พันล้านโดส   และหากวัคซีนตัวนี้ใชได้ผล ก็จะถูกจัดส่งให้กับผู้ที่จำเป็นต้องใช้ได้ทันที  และบริษัทมีแผนจัดตั้งกำลังารผลิตใหม่ขึ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และ/หรือเอเชีย 
 
"เราวางแผนที่จะเริ่มต้นการผลิตและมุ่งมั่นที่จะนำวัคซีนในราคาที่เหมาะสมให้กับประชาชนโดยไม่แสวงหากำไรเพราะเรมีเทคโนโลยี PER.C6®  ทำให้ระบบการผลิตที่คุ้มค่า สำหรับการผลิตวัคซีนและโมโนโคลนอลแอนติบอดี (monoclonal antibody) ที่ให้ผลผลิตสูง สำหรับการผลิตวัคซีนปริมาณมากๆ ในเวลาที่รวดเร็วได้ สำหรับการใช้เพื่อโรคระบาดในกรณีฉุกเฉินนี้ และวัคซีนนี้จะถูกจัดส่งไปทุกประเทศที่มีความจำเป็นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ประเทศในเอเชีย รวมถึงประเทศเกิดใหม่อย่างแน่นอน"        นพ.นพ.Paul Stoffel กล่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่