คุณสุจินต์ ฯ: ต้องเป็นคนตรง พระภิกษุที่เข้ามาบวชต้องมีวัตถุประสงค์เดียวคือเพื่อขัดเกลากิเลส ใครบัญญัติ ?

ข้อความบางตอน จากกระทู้ หมายเลข https://ppantip.com/topic/39831884
[ผู้ตั้งกระทู้อ้างอิงจาก https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_206940]

ถาม – ถ้าไม่ได้มีตามที่อาจารย์พูดแล้วไปบวชผิดไหม?

คุณสุจินต์ กล่าวว่า
จะบวชทำไม ในเมื่อดำรงชีวิตเหมือนเดิม 
การบวชต้องสละเพศด้วยความจริงใจ
ที่จะดำเนินชีวิตในเพศบรรพชิต
เพื่อที่จะเป็นพระภิกษุ เพื่อขัดเกลากิเลส 
นั่นคือภิกษุในธรรมวินัย ต้องเป็นจุดประสงค์นี้ประการเดียว 

ดูเหมือนว่าคุณสุจินต์ บริหารวนเขตต์ และรวมถึงบริวารกำลังตั้งตนเป็นผู้ชำนาญการในพระไตรปิฎก ซึ่งประกอบด้วยพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก และกำลังมีบทบาทในการเป็นผู้นำในการแสดงธรรมบ้าง อธรรมบ้าง  และมักจะตั้งธงไว้เสมอว่า ในการสนทนาถามตอบนั้น ต้องเป็นคนตรง ตรงต่อพระธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติ แสดงไว้ดีแล้ว 

คุณสุจินต์ เป็นคนตรงต่อพระธรรมวินัยจริงหรือ ? พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติว่าผู้ที่จะเข้ามาบวชนั้นต้องมีวัตถุประสงค์เดียวคือเพื่อขัดเกลากิเลส เท่านั้นหรือจึงบวชเป็นพระภิกษุได้ และถ้าไม่ได้ขัดเกลากิเลส จะดำรงค์เพศบรรพชิตได้หรือไม่ 

ถ้าไม่มีในพระบัญญัติ คุณสุจินต์ก็กล่าวตู่พระพุทธเจ้า  เป็นการบัญญัติขึ้นมาเอง 
คุณสุจินต์ ตั้งตนเป็นระดับที่มีคนจำนวนมากเรียกว่า อาจารย์  มีปมด้อยอะไรในตนเองหรือเปล่า ? 


ตัวอย่าง การขอ และ อนุญาต อุปสมบท 
๖๐. โคตเตนอนุสสาวนานุชานนา ว่าด้วยทรงอนุญาตอุปสมบทกรรมโดยสวดระบุโคตรของอุปัชฌาย์ เรื่องพระมหากัสสปะนิมนต์พระอานนท์มาสวดนาค
๖๑. เทฺวอุปสัมปทาเปกขาทิวัตถุ ว่าด้วยอุปสมบทอุปสัมปทาเปกขะ ๒ คนเป็นต้น เรื่องแย่งกันอุปสมบทก่อน
       เรื่องอุปสมบทครั้งละ ๓ คน มีอุปัชฌาย์รูปเดียว
๖๒. คัพภวีสูปสัมปทานุชานนา ว่าด้วยทรงอนุญาต อุปสมบทให้กุลบุตรโดยนับอายุ ๒๐ ปีทั้งอยู่ในครรภ์ เรื่องพระกุมารกัสสปะ
๖๓. อุปสัมปทาวิธิ ว่าด้วยอุปสมบทวิธี เรื่องอุปสัมบันถูกโรคเบียดเบียน เรื่องถามอันตรายิกธรรมกับอุปสัมปทาเปกขะ เรื่องสอนซ้อมก่อนถามอันตรายิกธรรม
      คำบอกบาตรและจีวร เรื่องภิกษุโง่เขลาสอนซ้อม เรื่องภิกษุยังไม่ได้รับแต่งตั้งสอนซ้อม วิธีแต่งตั้งตนและกรรมวาจา วิธีแต่งตั้งผู้อื่นและกรรมวาจา เรื่อง          ห้ามผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขะเดินมาพร้อมกัน คำขออุปสมบท
     
             พึงให้อุปสัมปทาเปกขะห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุทั้งหลายนั่งกระโหย่ง ประนมมือ ขออุปสมบทว่า
             ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด
             ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๒ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด
             ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๓ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด

             คำแต่งตั้งตนเพื่อถามอันตรายิกธรรม 
             #ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา
               ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เขามีบาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบท มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ นี่เป็นญัตติ
             ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี
ชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เขามีบาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขอ
อุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบท มีท่าน
ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบท มีท่านผู้มีชื่อนี้
เป็นอุปัชฌาย์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
             แม้ครั้งที่ ๒ ...
             แม้ครั้งที่ ๓ ...
             ท่านผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้อุปสมบทแล้ว มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ สงฆ์เห็นด้วยเพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้น เป็นมติอย่างนี้
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=50
๖๔. จัตตารินิสสยะ ว่าด้วยนิสสัย ๔ เรื่องทรงอนุญาตให้บอกนิสสัย ๔
๖๕. จัตตาริอกรณียะ ว่าด้วยอกรณียกิจ ๔ เรื่องทิ้งภิกษุบวชใหม่ไว้ตามลำพัง ทรงอนุญาตให้บอกอกรณียกิจ ๔
๖๖. อาปัตติอทัสสนอุกขิตตวัตถุ ว่าด้วยภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ
       
      เรื่องภิกษุถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
     
      ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ได้สึกไป
เขากลับมาขออุปสมบทกับภิกษุทั้งหลายอีก
พึงถามเขาว่า ‘เจ้าจักทำคืนอาบัตินั้นหรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักทำคืน ขอรับ’ พึงให้บรรพชา
ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักไม่ทำคืน ขอรับ’ ไม่พึงให้บรรพชา
ครั้นให้บรรพชาแล้ว  พึงถามว่า ‘เจ้าจักทำคืนอาบัตินั้นหรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักทำคืน ขอรับ’
พึงให้อุปสมบท ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจะไม่กระทำคืน’ ไม่พึงให้อุปสมบท 

ครั้นให้อุปสมบทแล้วพึงถามว่า ‘ท่านจักทำคืนอาบัตินั้นหรือ’
ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักทำคืน ขอรับ’ พึงเรียกเข้าหมู่ 
ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจะไม่กระทำคืน’ ไม่พึงเรียกเข้าหมู่ 

ครั้นเรียกเข้าหมู่แล้วพึงกล่าวว่า ‘จงทำคืนอาบัตินั้นเสีย’ 
ถ้าเขาทำคืน นั่นเป็นการดี 
ถ้าไม่ทำคืน เมื่อได้สามัคคี พึงลงอุกเขปนียกรรมอีก
เมื่อไม่ได้สามัคคี ไม่ต้องอาบัติเพราะกินร่วมและอยู่ร่วม

เรื่องภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=51

ต้องเป็นคนตรง
ครั้งหนึ่ง คุณสุจินต์พูดว่า (เจตนาจะพูดกดใคร ?) 

"ก็รู้สึกว่าทีทุกคน เป็นคนที่จริงใจ และก็ตรง 
อันนี้สำคัญที่สุดนะคะ 
เพราะเหตุว่าถ้าเราไม่ตรง ต่อความถูกต้อง เราก็ผิดโดยที่เราไม่รู้ตัว"

กลืนคำพูดตนเองไปแล้วหรือ ใครที่ ผิดโดยไม่รู้ตัว 




ตัวอย่างผู้ที่เข้ามาบวชในครั้งพุทธกาล มีวัตถุประสงค์บวชเพื่อขโมยธรรม แต่ต่อมาก็สามารถบรรลุธรรมได้ 
(ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อขัดเกลากิเลสเพียงอย่างเดียวดังที่คุณสุจินต์ กล่าวไว้)
ในครั้งพุทธกาล มีปริพาชกเข้ามาบวชเพื่อขโมยธรรม 
 
สุสิมปริพพาชกสูตร
...ลำดับนั้น ท่านพระสุสิมะได้หมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค
ด้วยเศียรเกล้า กราบทูลว่า 
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ตกถึงข้าพระองค์
เพราะความโง่เขลาเบาปัญญา 
ข้าพระองค์บวชขโมยธรรม
ในธรรมวินัยที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ 
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงรับโทษของข้าพระองค์โดยความ
เป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า’
             
“สุสิมะ โทษได้ตกถึงเธอ เพราะความโง่เขลาเบาปัญญา 
เธอบวชขโมยธรรม 
ในธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ...”
 
ศึกษาเพิ่มเติมได้ ที่ พระไตรปิฎกแปล มจร เล่มที่ ๑๖ ข้อ ๗๐ หน้า ๑๔๓-๑๕๔.

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนว่า คุณสุจินต์ กล่าวผิดไปจากพระวินัยบัญญัติ ทำภาพเปรียบเทียบให้ดูเข้าใจง่าย ดังนี้

คุณสุจินต์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการบวช เกินเลยจากที่พระพุทธบัญญัติ  

จริงอยู่ ว่า พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งปัญญา แห่งการตื่นรู้ รู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรม
พระพุทธองค์ทรงบัญญัติแต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกธรรม 

ผู้ที่เข้ามาบวชมีทั้งที่เข้ามาเพื่อขัดเกลากิเลส และบางส่วนก็เข้ามาบวชเพื่อมุ่งหาลาภ(ตัวอย่างสุสิมปริพาชก) แม้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อขัดเกลากิเลส ต่อมาได้ศึกษาพระธรรมก็สามารถบรรลุธรรมได้  นั่นคือ ผู้ที่เข้ามาบวชก็ไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องมีวัตถุประสงค์ขัดเกลากิเลสเพียงอย่างเดียวอย่างที่คุณสุจินต์กล่าว หากแต่ภิกษุบางรูปเข้ามาด้วยวัตถุประสงค์อื่น แต่ต่อมาก็สามารถที่จะเรียนรู้ธรรม บรรลุธรรม 

ผู้ที่เข้ามาบวชเพื่อขัดเกลากิเลสมักจะเป็นภิกษุผู้ว่าง่าย ส่วนภิกษุที่เข้ามาบวชจำนวนหนึ่งเป็นผู้เก้อยาก ไม่มีความละอาย จึงเป็นต้นเหตุของการบัญญัติสิกขาบทมากมาย แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงวางขอบเขตไว้ว่า อาบัติแค่ไหน ที่ยังคงถือเพศบรรพชิต อาบัติระดับไหนที่ขาดจากความเป็นพระภิกษุ

ผมยังไม่พบว่าพระพุทธเจ้าเคยถามพระภิกษุของพระองค์ว่า "จะบวชทำไม ในเมื่อดำรงชีวิตเหมือนเดิม" ดั่งเช่นที่คุณสุจินต์ ตั้งคำถามไว้  

คุณสุจินต์ มีปมด้อย อะไร จึงได้พยายามกำหนดกฎเกณฑ์ก้าวก่ายให้พระภิกษุ (รวมถึงผู้ที่จะไปให้ทานกับพระภิกษุที่วัด) ต้องปฏิบัติตามที่คุณสุจินต์กำหนดขึ้นมาใหม่ ซึ่งเกินเลยไปจากพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว

เรื่องการอุปสมบท เรื่องทาน เพียงเท่านี้ คุณสุจินต์ ยังไม่แยบคาย ยังไม่ซื่อตรงต่อพระธรรมวินัย แล้วจะยกตนเป็นอาจารย์ ปรมัตถธรรม คงเป็นแค่เรื่องเฟ้อของบุคคลในสังคมที่ขาดการไตร่ตรองศึกษาพระธรรมวินัย ก้าวพลาดพลัดหลงเข้าไป  

ผู้เขียนตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้พระภิกษุกระทำ ประพฤติผิดไปจากพระธรรมวินัย
แต่ชี้ให้เห็นว่า คุณสุจินต์ กล่าวผิดไปจากพระธรรมวินัย ไม่เป็นคนตรงต่อพระธรรมวินัย 




ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน 
ศีลนั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย 
ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจรู้ไม่ได้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้  ผู้ไม่มีปัญญารู้ไม่ได้



เมื่อไม่เป็นคนตรง แต่แสดงตนว่าเป็นคนตรง แล้ว ... ?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่