JJNY : จับชาวประมงฝ่าเคอร์ฟิว ทั้งที่ยกเว้นแล้ว/รอกำหนดโทษ1ปี หน.อุทยานฯ/หอการค้าแนะผ่อนพรก.ฉุกเฉิน/ทั่วโลกทะลุ200000ศพ

อส.จะนะ จับชาวประมงฝ่าเคอร์ฟิว ทั้งที่ข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยกเว้นอาชีพประมงแล้ว
https://prachatai.com/journal/2020/04/87371

 
iLaw เผย เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร (อส.) อ.จะนะ จ.สงขลา จับชาวประมงฝ่าเคอร์ฟิว ทั้งที่ข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยกเว้นอาชีพประมงแล้ว
 
25 เม.ย. 2563 เพจ iLaw รายงานว่าเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2563 เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร (อส.) อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ได้ตั้งด่านตรวจสอบผู้ฝ่าฝืนเคอร์ฟิวในพื้นที่อำเภอจะนะ ในเวลาประมาณ 22.15 น. เจ้าหน้าที่จับกุมวีรชัย ชายชาวประมงที่ขับรถผ่านมาที่ด่านตรวจ เพื่อจะไปยังท่าเรือเพื่อวางอวนในทะเล โดยวีรชัยได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่า เป็นชาวประมง แต่เจ้าหน้าที่ไม่เชื่อตามที่เขาแจ้งและไม่ยินยอมให้เขาติดต่อครอบครัว หลังจากนั้นจึงนำตัวส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรจะนะ และต้องอยู่ในการควบคุมตัวของตำรวจระหว่างการสอบสวนตลอดมา
 
ขณะที่ครอบครัวของวีรชัยทราบว่า เขาถูกจับกุมในวันถัดมาจากการที่ญาติ ซึ่งทราบเหตุการณ์มาส่งข่าว มารดาของเขาพยายามขอประกันตัว แต่ไม่เป็นผล โดยเมื่อวานนี้พนักงานสอบสวนได้เรียกตัวเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมาสอบปากคำได้ความว่า บริเวณที่จับกุมเป็นด่านตรวจสอบรถยนต์และรถจักรยานยนต์ผ่านไปมา ทำนองว่า พื้นที่จับกุมไม่ได้เป็นบริเวณท่าเรือ จึงฟังไม่ได้ว่า จะเดินทางไปทำการประมงตามอ้าง ด้านทนายความของวีรชัยระบุว่า ในวันที่ 25 เม.ย. 2563 จะครบ 48 ชั่วโมงของการควบคุมตัว พนักงานสอบสวนจะต้องนำไปตัวไปขออนุญาตศาลจังหวัดนาทวีฝากขังและล่าสุดเวลา 18.30 น. ของวันที่ 24 เม.ย. 2563 พนักงานสอบสวนสภ. จะนะได้โทรศัพท์มาแจ้งทนายความว่า วีรชัยให้การรับสารภาพและถูกนำตัวไปส่งฟ้องที่ศาลจังหวัดนาทวี โดยศาลสั่งปรับเป็นเงิน 5,000 บาท
 
พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ให้อำนาจนายกฯสั่งเคอร์ฟิวและออกข้อยกเว้น
 
ตามมาตรา 9(1) ของพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถาการณ์ฉุกเฉิน 2558 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนดห้ามไม่ให้บุคคลออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่หรือเป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้น ผู้ที่ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ พล.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 9 ประกาศเคอร์ฟิว ห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานตั้งแต่เวลา 22.00-04.00 น. ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2563 และตามข้อกำหนดออกตามความมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (ฉบับที่ 2) อนุญาตให้ผู้ที่มีความจำเป็นหรืออาชีพยกเว้น เช่น ผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงหรือพัสดุภัณฑ์ และผู้ทำงานผลัดกลางคืน สามารถเดินทางในช่วงเวลาเคอร์ฟิวได้
 
ต่อมาวันที่ 10 เม.ย. 2563 นายกรัฐมนตรีเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในส่วนของข้อยกเว้นการห้ามออกนอกเคหสถาน ตามข้อกำหนดออกตามความมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (ฉบับที่ 3) ยกเลิกข้อยกเว้นที่ออกก่อนหน้าและกำหนดข้อยกเว้นที่มีรายละเอียดจัดกลุ่มชัดเจนมากขึ้น โดยตามข้อ 1(6) เป็นกลุ่มที่ประกอบอาชีพซึ่งจำเป็นต้องกระทำภายในช่วงเวลาพิเศษ ได้แก่ ผู้เข้าออกเวรยามที่กำหนดไว้ตามปกติของทางราชการ เอกชนหรือโรงงาน หรือการดูแลรักษาความปลอดภัย ผู้ทำการประมง กรีดยางและตรวจรักษาสัตว์
 
บุคคลที่มีความจำเป็นจะต้องแสดงบัตรประชาชนหรือบัตรแสดงตนอย่างอื่น และเอกสารรับรองความจำเป็นต่อเจ้าหน้าที่ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ ผู้อำนวยการเขต หัวหน้าสถานีตำรวจในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเพื่ออนุญาต นอกจากนี้หากมีเหตุจำเป็นอื่นๆ จะต้องได้รับอนุญาตเฉพาะรายจากเจ้าหน้าที่
อาชีพยกเว้นที่ไม่ยกเว้น – ทำงานจริงแต่เอกสารไม่สมบูรณ์มีความผิด
 
กรณีของวีรชัยไม่ใช่ครั้งแรกของการจับกุมผู้ประกอบอาชีพที่ได้รับการยกเว้นให้ออกนอกเคหสถานตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คืนเดียวกันกับที่เขาถูกจับกุม เจ้าหน้าที่อาสาสมัครอำเภอจะนะได้จับกุมชายอีกรายหนึ่ง ซึ่งเป็นพนักงานขับรถฉุกเฉินของอบต.สะกอม ระหว่างกำลังเดินทางเพื่อไปเข้าเวรขับรถ โดยพนักงานขับรถให้ดูบัตรพนักงานขับรถฉุกเฉิน แต่ทางอาสาสมัครไม่ฟังและนำตัวส่งสภ.จะนะ อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า นายกอบต.สะกอมได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนว่า ชายรายดังกล่าวเป็นพนักงานขับรถฉุกเฉินของอบต.จริง แต่ท้ายสุดเขาก็ถูกฟ้องฐานฝ่าฝืนเคอร์ฟิว โดยศาลจังหวัดนาทวีมีคำพิพากษาสั่งปรับ 5,000 บาท
 
ก่อนหน้านี้ในวันที่ 22 เม.ย. 2563 เจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจถนนบางนา-ตราด กม. 8 ทำการตรวจสอบรถกระบะที่ผู้โดยสารรวมคนขับ 15 คน ทั้งหมดเป็นกรรมกรก่อสร้าง รับเหมาเทคอนกรีตลานจอดรถสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองแต่มีเหตุให้ต้องเลิกงานหลังเวลา 22.00 น. ทั้งหมดได้แสดงหนังสือของบริษัทฯ ลงวันที่ 20 เมษายน 2563 แต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วเห็นว่า ทั้งหมดไม่ได้รับการยกเว้นให้ออกนอกเคหสถานในช่วงเคอร์ฟิวและไม่ได้ประกอบอาชีพตามข้อยกเว้นในข้อกำหนดที่ออกตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 3 ข้อ 1(6) จึงแจ้งข้อกล่าวหาฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
 
ต่อมานายจ้างของทั้ง 15 คนมีการเผยแพร่ข้อมูลบนโลกออนไลน์ระบุว่า ทั้งหมดมีเอกสารแสดงความจำเป็นถูกต้อง แต่กลับถูกตำรวจฉีกเอกสารดังกล่าวทิ้ง พ.ต.อ.ประสาทพร ศรีสุขโข ผกก.สภ.บางแก้ว จ.สมุทรปราการ ระบุว่า เอกสารที่มีการระบุว่า ตำรวจฉีกทิ้งลงถังขยะนั้น เป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์คือยังไม่มีลายเซ็นอนุมัติของปลัดอำเภอ เจ้าหน้าที่จึงฉีกทิ้งทำลายลงถังขยะ
 
เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2563 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยข้อมูลสรุปสถิติการฝ่าฝืน คำสั่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยระบุว่าตั้งแต่เวลา 22.00 น. ของวันที่ 21 เม.ย. ถึงเวลา 4.00 น. ของวันที่ 22 เม.ย. มีการออกนอกเคหสถาน และดำเนินคดีแล้ว 482 ราย เป็นการชุมนุมมั่วสุม 55 ราย อย่างไรก็ตาม 3 อันดับเหตุของการมั่วสุมชุมนุม คือดื่มสุรา การพนัน และยาเสพติด
 
https://www.facebook.com/iLawClub/posts/10163655725720551
 

 
ศาลตัดสินรอกำหนดโทษ 1 ปี หน.อุทยานฯน้ำตกหงาว ตั้งวงดื่มสุรา ชี้ไม่จงใจฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2157602
 
จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจระนองบุกจับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว และพวกรวม 8 คน ในข้อหามั่วสุมดื่มสุรา ในลักษณะเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค ตามคำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อคืนวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา ในเวลาประมาณ 21.10 น. ที่บ้านพักหัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว อ.เมือง จ.ระนอง เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีและส่งฟ้องศาล นั้น
 
ล่าสุด เมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา ศาลจังหวัดระนองได้พิจารณาคดีดังกล่าว โดยจำเลยทั้ง 8 ได้แถลงประกอบคำสารภาพตามฟ้อง เหตุเนื่องจากจำเลยทั้ง 8 มิได้มีเจตนาที่จะทำการมั่วสุมเพื่อดื่มสุรากันในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค ตามประกาศเรื่อง ห้ามการชุมนุม ทำกิจกรรม การมั่วสุม แต่เนื่องจากมีนักวิชาการป่าไม้ ย้ายมารับราชการใหม่ที่จังหวัดระนองและได้เชิญนักวิชาการสาธารณสุขจังหวัดระนอง มาร่วมปรึกษาหารือการพัฒนาอุทยานแห่งชาติ ในระหว่างที่ปิดรับบริการนักท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาให้เป็นอุทยานแห่งชาติสีเขียว ประกอบกับอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว มีร้านสวัสดิการและบ่อน้ำแร่ร้อนธรรมชาติต้องจัดการเกี่ยวกับการสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและป้องกันการแพร่ระบาดโรค จึงร่วมกันปรึกษาวางแผนเกี่ยวกับการหาแนวทางป้องกันโรคระบาดดังกล่าว โดยมิได้มีการส่งเสียงรบกวนชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากภายในบริเวณดังกล่าวเป็นบ้านพักของอุทยานแห่งชาติ ที่มิได้อยู่ในเขตชุมชน เพียงแต่นั่งรับประทานอาหารร่วมกันและพูดคุยกันเท่านั้น โดยไม่มีเจตนาที่จะฝ่าฝืนคำสั่งของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงลงนามในประเทศ เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม แต่อย่างใด จำเลยทั้ง 8 รู้สึกสำนึกในการกระทำ ขอศาลได้โปรดลงโทษจำเลยทั้ง 8 ในสถานเบา
 
ทั้งนี้ศาลได้พิพากษาว่า จำเลยทั้ง 8 กระทำผิดตามคำฟ้อง พิเคราะห์คำฟ้องและคำแถลงประกอบคำรับสารภาพของจำเลยทั้ง 8 แล้วเห็นว่า จำเลยทั้ง 8 เป็นข้าราชการ และร่วมประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับงานราชการ รวมถึงได้เชิญนักวิชาการสาธารณสุขมาร่วมปรึกษา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 แต่อาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในการประชุมกัน ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรการในการเว้นระยะห่างทางสังคม กรณีดังกล่าวเห็นว่าจำเลยทั้ง 8 ไม่จงใจที่จะฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกอบกับจำเลยทั้ง 8 สำนึกในการกระทำผิดดังกล่าวแล้ว และจะระมัดระวังในการจัดประชุมสังสรรค์ร่วมรับประทานอาหารกัน ไม่ให้เกิดเหตุในลักษณะดังกล่าวอีก เห็นควรรอกำหนดโทษแก่จำเลยทั้ง 8 ไว้มีกำหนดไว้ 1 ปี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่