บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมีนาคม 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 60,105 คัน ลดลง 41.7% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 20,698 คัน ลดลง 48.3% รถเพื่อการพาณิชย์ 39,407 คัน ลดลง 37.6% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 30,296 คัน ลดลง 41.8%
โดยมีประเด็นสำคัญ
ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคมมีปริมาณการขาย 60,105 คัน ลดลง 41.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 48.3% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 37.6% สืบเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การทำธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ด้วยหลายเหตุปัจจัยทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นความสนใจในการซื้อรถใหม่จึงชะลอตัว และผู้บริโภคยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย
ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 3 เดือน มีปริมาณการขาย 200,064 คัน ลดลง 24.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 23.6% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 24.4% เป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 นอกจากส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศและระดับโลก ยังส่งผลต่อภาพรวมของตลาดรถยนต์ แต่อย่างไรก็ตามค่ายรถยนต์ต่างๆ ยังคงพยายามหามาตรการเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการนำเสนอผลิตภัณฑ์และกิจกรรมส่งเสริมการขายให้กับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ดังนั้นแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในเดือนเมษายนยังคงต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด
เปิดยอดขาย รถเดือน มี.ค. ตก 41.7% ขายรวม 60,105 คัน สะสมทั้งปี 2 แสนคัน
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมีนาคม 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 60,105 คัน ลดลง 41.7% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 20,698 คัน ลดลง 48.3% รถเพื่อการพาณิชย์ 39,407 คัน ลดลง 37.6% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 30,296 คัน ลดลง 41.8%
โดยมีประเด็นสำคัญ
ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคมมีปริมาณการขาย 60,105 คัน ลดลง 41.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 48.3% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 37.6% สืบเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การทำธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ด้วยหลายเหตุปัจจัยทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นความสนใจในการซื้อรถใหม่จึงชะลอตัว และผู้บริโภคยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย
ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 3 เดือน มีปริมาณการขาย 200,064 คัน ลดลง 24.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 23.6% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 24.4% เป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 นอกจากส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศและระดับโลก ยังส่งผลต่อภาพรวมของตลาดรถยนต์ แต่อย่างไรก็ตามค่ายรถยนต์ต่างๆ ยังคงพยายามหามาตรการเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการนำเสนอผลิตภัณฑ์และกิจกรรมส่งเสริมการขายให้กับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ดังนั้นแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในเดือนเมษายนยังคงต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด