“สุดารัตน์”ค้านตัดงบฯบัตรทอง2,400ล้านบาท
https://www.innnews.co.th/politics/news_656275/
"สุดารัตน์" ค้านตัดงบฯบัตรทอง ตัดงบฯ สธ.ไปใช้จ่ายฉุกเฉินแก้ปัญหาโควิด-19 ชี้จะสร้างปัญหาเพิ่ม วอนรัฐทบทวน
คุณหญิง
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยระบุข้อความผ่าน เฟสบุ๊ค ส่วนตัว “
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphan” โดยมีใจความถึง การขอค้านการตัดงบฯบัตรทอง 2,400 ล้านบาท และตัดงบกระทรวงสาธารณสุขอีก 1200 ล้านบาท เพื่อนำไปตั้งเป็นงบสำรองฉุกเฉินนำมาใช้จ่ายแก้ปัญหาโควิด-19 ในขณะที่ Covid กำลังระบาดแทนที่จะจัดงบเพิ่มให้ โรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล ได้มีกำลังไปต่อสู้กับcovid อย่างเต็มที่ แต่กลับไปตัดงบบัตรทอง ทั้งที่งบในการรักษา และตรวจเชื้อ Covid ก็ต้องเบิกจากงบบัตรทองทั้งสิ้น จึงควรให้งบเพิ่มมากกว่า ไม่เลือกตัดงงบฟุ่มเฟือย ไม่จำเป็นเร่งด่วนมากมาย แต่กลับเลือกตัดงบประมาณที่มีไว้เพื่อรักษาชีวิตประชาชน ซึ่งศัตรูของชาติวันนี้คือ เชื้อโรคตัวเล็กๆ ที่ใช้รถถัง เรือดำน้ำไปปราบไม่ได้
ทั้งนี้ การตัดงบบัตรทองจะทำให้ โรงพยาบาล ต่างๆทั่วประเทศ ประสบปัญหามากขึ้น จึงขอให้รัฐบาลทบทวนเรื่องการตัดงบบัตรทอง และงบของกระทรวงสาธารณสุข รวม 3,600 ล้านบาท พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีอาจจะไม่ใช่ที่คนสร้างให้เกิดนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง 30 บาท รักษาทุกโรค) แต่ได้โปรดอย่าเป็นผู้ทำลายโครงการที่ช่วยรักษาชีวิตและสุขภาพของคนไทยเลย
https://www.facebook.com/sudaratofficial/posts/2878527798892661
อดีตรมว.คลังเขียน : ถ้าคนติดเชื้อ น้อยกว่าคนฆ่าตัวตาย รัฐจะปลดล็อคไหม?!
https://www.matichon.co.th/columnists/news_2153011
ผู้เขียน สมหมาย ภาษี
ถ้าคนติดเชื้อเพิ่มน้อยกว่า คนที่ฆ่าตัวตายวันใด รัฐจะกล้าปลดล็อคดาวน์ไหม?
ตอนที่โคโรน่าไวรัสเริ่มระบาดชัดเจนในประเทศไทย ในเดือนมกราคม 2563 ถ้าท่านทั้งหลายยังจาเหตุการณ์ได้ดีว่าการจัดการรับมือของรัฐบาลไทยกับโรคระบาดที่หน้าตาใหม่สุดนี้มีลักษณะหันรีหันขวางอยู่เป็นนาน มีทั้งข่าวการทุจริตคอร์รัปชั่นในเรื่องหน้ากากอนามัย ทาให้เกิดการขาดแคลนอย่างหนักในประเทศ มีข่าวการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2563 องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในข่าวดังกล่าว
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้กับประชาชนนั้นถัดมาในวันอังคารที่ 10 มีนาคม คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการที่เป็นเรื่องเป็นราวเป็นครั้งแรกในการเข้ามาดูแลผลกระทบต่อเศรษฐกิจและประชาชนจากไวรัสโคโรน่า ระยะที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยมาตรการต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นมาตรการด้านภาษีและด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ และเป็นครั้งแรกที่ ครม. ได้เห็นชอบให้กาหนดวงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมไว้สาหรับช่วยเหลือเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้เริ่มใช้มาตรการปิดเมืองหรือล็อคดาวน์ (Lockdown) ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม แต่การต่อสู้กับโควิด 19 ของรัฐบาลไทยก็ยังหน่อมแน้มอยู่ และแล้วในวันที่ 25 มีนาคม ท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้ตัดสินใจประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยตัวท่านนายกรัฐมนตรีเข้ามาทาหน้าที่บัญชาการจัดการไวรัสโควิด 19 ทุกมิติอย่างเต็มตัว ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม – 30 เมษายน 2563บัดนี้การบริหารตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินกาลังจะครบเดือนแล้ว
โดยประเทศได้อยู่ในระบบล็อคดาวน์เต็มที่ และก็ปรากฎผลชัดเจนแล้วว่า การระบาดของโคโรน่าไวรัสในประเทศไทยได้กลับตัวดีขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกือบจะเป็นปกติแล้ว โดยได้รับคาชมจากประเทศอื่นๆทั่วโลก ขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มแต่ละวันกาลังลดลงใกล้จะเป็นตัวเลขตัวเดียวแล้ว แต่สิ่งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นซึ่งประชาชนทุกหมู่เหล่าที่อดทนและอึดอัดกันมานานกาลังพูดถึงมากในขณะนี้ คือ “
การปลดการล็อคดาวน์” ออกไป
ดูเหมือนว่าเมื่อมีมิติใหม่เข้ามาคราใด รัฐบาลไทยจะออกอาการพะวักพะวงและหันรีหันขวางเสียทุกที ฟังตามข่าวที่ท่านนายกได้มอบให้ท่านรองนายก
อนุทิน ชาญวีรกูล ซึ่งรับผิดชอบเป็นเจ้ากระทรวงสาธารณสุขไปเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องการปลดล็อคดาวน์ ผลออกมาแล้ว
สรุปได้ว่า จะแบ่งพื้นที่ทั้งประเทศเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ บางจังหวัดอาจปลดล็อคดาวน์หลังสิ้นเดือนเมษายนนี้ บางจังหวัดเป็นกลางเดือนพฤษภาคม และกลุ่มสุดท้ายเป็นต้นเดือนมิถุนายน
ถ้าหากรัฐบาลเห็นด้วยตามนี้ ก็เท่ากับว่าเป็นการรับฟังตามคณะกรรมการที่เป็นหมอเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็น่าจะมีเหตุผลเพราะบุคลากรที่ใส่เสื้อกาวน์ของประเทศเป็นผู้ที่ควรยกย่องมากที่สุด ในการทุ่มเทต่อสู้เพื่อเอาชนะโควิด 19 อย่างที่ได้เห็นชัดเจนกันแล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม ควรที่ท่านนายกรัฐมนตรีจะต้องรับฟังความเห็นจากบุคคลฝ่ายอื่นด้วย โดยเฉพาะจากนักเศรษฐศาสตร์และนักธุรกิจทั้งหลาย เพราะเขารู้ดีว่า การล็อคดาวน์ที่ประชาชน ยอมให้นำมาใช้เพื่อต่อสู้กับไวรัสร้ายนี้ ในอีกด้านหนึ่งได้ทาความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจของ ประเทศ วันหนึ่งๆร่วม 20,000 ล้านบาท หรือเดือนหนึ่งประมาณ 560,000 ล้านบาท ดังนั้น จะฟังความข้างเดียวคงไม่ได้แน่
การประมาณการความเสียหายทางเศรษฐกิจจากการที่ประเทศถูกล็อคดาวน์ทาได้ไม่ยาก ขอให้ไล่ดูผลกระทบ (Disruption) แต่ละสาขาการผลิตก็พอรู้ เช่น การท่องเที่ยวทั้งหมดเกือบ 100% การคมนาคมไม่รวมการขนส่งสินค้า 90% การค้าปลีกและส่งโดนหนักอาจถึง 70% การบันเทิงและ สันทนาการ 90% การผลิตด้านอุตสาหกรรม 25% การเกษตรอาจถูกกระทบน้อยเพียง 20% เป็นต้น
สรุปแล้วผลกระทบจากล็อคดาวน์ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 40% ของ GDP ปกติ คิดเป็นตัวเงินแบบง่ายๆ ผลผลิตประชาชาติหรือ GDP ของไทยในปี 2562 มีมูลค่าทั้งสิ้น 16.8 ล้านล้านบาท หรือ เดือนละ 1.4 ล้านล้านบาท ถ้าความเสียหายทางเศรษฐกิจในช่วง ล็อคดาวน์มีแค่ 40% ของ GDP ความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อเดือนจะมากถึง 560,000 ล้านบาท
อย่างแน่นอน หากรวมค่าเยียวยาที่รัฐบาลต้องกู้เงินมาชดเชยให้แก่ประชาชนด้วย ซึ่งในอนาคตก็จะเป็นภาระแก่ลูกหลานคนไทยทุกคน จะทาให้ความเสียหายทางเศรษฐกิจจากการขยายการล็อคดาวน์ออกไปเพียงเดือนเดียวเทียบเคียงได้เท่ากับความเสียหาย จากโครงการรับจำนาข้าวเปลือกสมัย 6 ปีที่แล้วทั้งโครงการเชียวละ ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อ
ดังนั้นหากรัฐบาลตัดสินใจผิดพลาดในเรื่องนี้ก็จะทาความเสียหายให้แก่ประเทศชาติเป็นเงินมหาศาล จะมาอ้างเป็นความผิดของนโยบายคงไม่ได้ง่ายนัก
JJNY : สุดารัตน์ค้านตัดงบฯบัตรทอง/ถ้าคนติดเชื้อน้อยกว่าคนฆ่าตัวตาย/ต่างชาติคาด การบินไทยเสี่ยง/ทั่วโลกติดเชื้อ2.7ล.
https://www.innnews.co.th/politics/news_656275/
"สุดารัตน์" ค้านตัดงบฯบัตรทอง ตัดงบฯ สธ.ไปใช้จ่ายฉุกเฉินแก้ปัญหาโควิด-19 ชี้จะสร้างปัญหาเพิ่ม วอนรัฐทบทวน
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยระบุข้อความผ่าน เฟสบุ๊ค ส่วนตัว “คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphan” โดยมีใจความถึง การขอค้านการตัดงบฯบัตรทอง 2,400 ล้านบาท และตัดงบกระทรวงสาธารณสุขอีก 1200 ล้านบาท เพื่อนำไปตั้งเป็นงบสำรองฉุกเฉินนำมาใช้จ่ายแก้ปัญหาโควิด-19 ในขณะที่ Covid กำลังระบาดแทนที่จะจัดงบเพิ่มให้ โรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล ได้มีกำลังไปต่อสู้กับcovid อย่างเต็มที่ แต่กลับไปตัดงบบัตรทอง ทั้งที่งบในการรักษา และตรวจเชื้อ Covid ก็ต้องเบิกจากงบบัตรทองทั้งสิ้น จึงควรให้งบเพิ่มมากกว่า ไม่เลือกตัดงงบฟุ่มเฟือย ไม่จำเป็นเร่งด่วนมากมาย แต่กลับเลือกตัดงบประมาณที่มีไว้เพื่อรักษาชีวิตประชาชน ซึ่งศัตรูของชาติวันนี้คือ เชื้อโรคตัวเล็กๆ ที่ใช้รถถัง เรือดำน้ำไปปราบไม่ได้
ทั้งนี้ การตัดงบบัตรทองจะทำให้ โรงพยาบาล ต่างๆทั่วประเทศ ประสบปัญหามากขึ้น จึงขอให้รัฐบาลทบทวนเรื่องการตัดงบบัตรทอง และงบของกระทรวงสาธารณสุข รวม 3,600 ล้านบาท พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีอาจจะไม่ใช่ที่คนสร้างให้เกิดนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง 30 บาท รักษาทุกโรค) แต่ได้โปรดอย่าเป็นผู้ทำลายโครงการที่ช่วยรักษาชีวิตและสุขภาพของคนไทยเลย
https://www.facebook.com/sudaratofficial/posts/2878527798892661
อดีตรมว.คลังเขียน : ถ้าคนติดเชื้อ น้อยกว่าคนฆ่าตัวตาย รัฐจะปลดล็อคไหม?!
https://www.matichon.co.th/columnists/news_2153011
ผู้เขียน สมหมาย ภาษี
ถ้าคนติดเชื้อเพิ่มน้อยกว่า คนที่ฆ่าตัวตายวันใด รัฐจะกล้าปลดล็อคดาวน์ไหม?
ตอนที่โคโรน่าไวรัสเริ่มระบาดชัดเจนในประเทศไทย ในเดือนมกราคม 2563 ถ้าท่านทั้งหลายยังจาเหตุการณ์ได้ดีว่าการจัดการรับมือของรัฐบาลไทยกับโรคระบาดที่หน้าตาใหม่สุดนี้มีลักษณะหันรีหันขวางอยู่เป็นนาน มีทั้งข่าวการทุจริตคอร์รัปชั่นในเรื่องหน้ากากอนามัย ทาให้เกิดการขาดแคลนอย่างหนักในประเทศ มีข่าวการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2563 องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในข่าวดังกล่าว
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้กับประชาชนนั้นถัดมาในวันอังคารที่ 10 มีนาคม คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการที่เป็นเรื่องเป็นราวเป็นครั้งแรกในการเข้ามาดูแลผลกระทบต่อเศรษฐกิจและประชาชนจากไวรัสโคโรน่า ระยะที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยมาตรการต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นมาตรการด้านภาษีและด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ และเป็นครั้งแรกที่ ครม. ได้เห็นชอบให้กาหนดวงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมไว้สาหรับช่วยเหลือเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้เริ่มใช้มาตรการปิดเมืองหรือล็อคดาวน์ (Lockdown) ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม แต่การต่อสู้กับโควิด 19 ของรัฐบาลไทยก็ยังหน่อมแน้มอยู่ และแล้วในวันที่ 25 มีนาคม ท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้ตัดสินใจประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยตัวท่านนายกรัฐมนตรีเข้ามาทาหน้าที่บัญชาการจัดการไวรัสโควิด 19 ทุกมิติอย่างเต็มตัว ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม – 30 เมษายน 2563บัดนี้การบริหารตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินกาลังจะครบเดือนแล้ว
โดยประเทศได้อยู่ในระบบล็อคดาวน์เต็มที่ และก็ปรากฎผลชัดเจนแล้วว่า การระบาดของโคโรน่าไวรัสในประเทศไทยได้กลับตัวดีขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกือบจะเป็นปกติแล้ว โดยได้รับคาชมจากประเทศอื่นๆทั่วโลก ขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มแต่ละวันกาลังลดลงใกล้จะเป็นตัวเลขตัวเดียวแล้ว แต่สิ่งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นซึ่งประชาชนทุกหมู่เหล่าที่อดทนและอึดอัดกันมานานกาลังพูดถึงมากในขณะนี้ คือ “การปลดการล็อคดาวน์” ออกไป
ดูเหมือนว่าเมื่อมีมิติใหม่เข้ามาคราใด รัฐบาลไทยจะออกอาการพะวักพะวงและหันรีหันขวางเสียทุกที ฟังตามข่าวที่ท่านนายกได้มอบให้ท่านรองนายกอนุทิน ชาญวีรกูล ซึ่งรับผิดชอบเป็นเจ้ากระทรวงสาธารณสุขไปเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องการปลดล็อคดาวน์ ผลออกมาแล้ว
สรุปได้ว่า จะแบ่งพื้นที่ทั้งประเทศเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ บางจังหวัดอาจปลดล็อคดาวน์หลังสิ้นเดือนเมษายนนี้ บางจังหวัดเป็นกลางเดือนพฤษภาคม และกลุ่มสุดท้ายเป็นต้นเดือนมิถุนายน
ถ้าหากรัฐบาลเห็นด้วยตามนี้ ก็เท่ากับว่าเป็นการรับฟังตามคณะกรรมการที่เป็นหมอเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็น่าจะมีเหตุผลเพราะบุคลากรที่ใส่เสื้อกาวน์ของประเทศเป็นผู้ที่ควรยกย่องมากที่สุด ในการทุ่มเทต่อสู้เพื่อเอาชนะโควิด 19 อย่างที่ได้เห็นชัดเจนกันแล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม ควรที่ท่านนายกรัฐมนตรีจะต้องรับฟังความเห็นจากบุคคลฝ่ายอื่นด้วย โดยเฉพาะจากนักเศรษฐศาสตร์และนักธุรกิจทั้งหลาย เพราะเขารู้ดีว่า การล็อคดาวน์ที่ประชาชน ยอมให้นำมาใช้เพื่อต่อสู้กับไวรัสร้ายนี้ ในอีกด้านหนึ่งได้ทาความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจของ ประเทศ วันหนึ่งๆร่วม 20,000 ล้านบาท หรือเดือนหนึ่งประมาณ 560,000 ล้านบาท ดังนั้น จะฟังความข้างเดียวคงไม่ได้แน่
การประมาณการความเสียหายทางเศรษฐกิจจากการที่ประเทศถูกล็อคดาวน์ทาได้ไม่ยาก ขอให้ไล่ดูผลกระทบ (Disruption) แต่ละสาขาการผลิตก็พอรู้ เช่น การท่องเที่ยวทั้งหมดเกือบ 100% การคมนาคมไม่รวมการขนส่งสินค้า 90% การค้าปลีกและส่งโดนหนักอาจถึง 70% การบันเทิงและ สันทนาการ 90% การผลิตด้านอุตสาหกรรม 25% การเกษตรอาจถูกกระทบน้อยเพียง 20% เป็นต้น
สรุปแล้วผลกระทบจากล็อคดาวน์ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 40% ของ GDP ปกติ คิดเป็นตัวเงินแบบง่ายๆ ผลผลิตประชาชาติหรือ GDP ของไทยในปี 2562 มีมูลค่าทั้งสิ้น 16.8 ล้านล้านบาท หรือ เดือนละ 1.4 ล้านล้านบาท ถ้าความเสียหายทางเศรษฐกิจในช่วง ล็อคดาวน์มีแค่ 40% ของ GDP ความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อเดือนจะมากถึง 560,000 ล้านบาท
อย่างแน่นอน หากรวมค่าเยียวยาที่รัฐบาลต้องกู้เงินมาชดเชยให้แก่ประชาชนด้วย ซึ่งในอนาคตก็จะเป็นภาระแก่ลูกหลานคนไทยทุกคน จะทาให้ความเสียหายทางเศรษฐกิจจากการขยายการล็อคดาวน์ออกไปเพียงเดือนเดียวเทียบเคียงได้เท่ากับความเสียหาย จากโครงการรับจำนาข้าวเปลือกสมัย 6 ปีที่แล้วทั้งโครงการเชียวละ ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อ
ดังนั้นหากรัฐบาลตัดสินใจผิดพลาดในเรื่องนี้ก็จะทาความเสียหายให้แก่ประเทศชาติเป็นเงินมหาศาล จะมาอ้างเป็นความผิดของนโยบายคงไม่ได้ง่ายนัก