โควิด-19 ทำเสรีภาพสื่อทั่วโลกลด - อันดับไทยร่วง ตามหลังเมียนมา
https://voicetv.co.th/read/tTjmXdYDj
รายงานดัชนีเสรีภาพสื่อระบุว่า ไวรัสโคโรนาที่กำลังแพร่ระบาด ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพสื่อทั่วโลก โดยสื่อไทยตกอันดับ เสรีน้อยกว่าเมียนมาแล้ว
องค์กรนักข่าวไร้พรมแดนออกรายงานดัชนีเสรีภาพสื่อโลกปี 2020 ระบุว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 อาจส่งผลกระทบต่อเสรีภาพสื่อและยิ่งทำให้วิกฤตที่ผู้สื่อข่าวทั่วโลกกำลังเผชิญยิ่งเลวร้ายลง เพราะรัฐบาลฉวยโอกาสนี้ในการควบคุมและคุกคามเสรีภาพของประชาชน
รายงานฉบับนี้ระบุว่า โรคระบาดได้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานสังคมหลายอย่างไปแล้ว รัฐบาลของหลายประเทศยังออกกฎหมายใหม่โดยอ้างว่า มีเป้าหมายในการลดการแพร่ระบาดของไวรัส แต่จริงๆ แล้ว รัฐบาลฉวยโอกาสช่วงที่การเมืองหยุดชะงัก ประชาชนกำลังตกตะลึงกับการแพร่ระบาด และการประท้วงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ เพื่อออกกฎหมายให้อำนาจรัฐในการสอดส่องประชาชนในระดับที่ไม่มีทางเป็นไปได้ในช่วงสถานการณ์ปกติ ซึ่งกฎหมายเหล่านี้สร้างความกังวลในระยะยาวต่อสื่อและเสรีภาพในการแสดงออก
เสรีภาพสื่อไทย
รายงานฉบับนี้จัดอันดับให้เสรีภาพสื่อไทยในปี 2563 อยู่ในอันดับที่ 140 จากทั้งหมด 180 ประเทศตกลงมาจะปีก่อน 4 อันดับ โดยรายงานระบุว่า "
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีอำนาจควบคุมมากขึ้นกว่าเดิม" แม้ว่า คสช.ที่ พล.อ.
ประยุทธ์ตั้งขึ้นเมื่อรัฐประหารจะถูกยุบไปเมื่อปี 2562 แต่การเลือกตั้งเมื่อเดือน มี.ค.2562 ก็ไม่ได้สร้างความแตกต่างใดๆ เพราะการเลือกตั้งถูกควบคุมโดยชนชั้นนำที่อยู่รายล้อม พล.อ.
ประยุทธ์ ก็ทำให้ พล.อ.
ประยุทธ์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก มีอำนาจเต็ม ข่มขู่ผู้สื่อข่าวที่มีปากมีเสียง มักเรียกตัวผู้สื่อข่าวไปสอบถาม ควบคุมตัวโดยไม่มีการตั้งข้อหา ส่งผลให้ผู้สื่อข่าวอย่างน้อย 10 คนต้องลี้ภัยออกจากประเทศ
เสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลถูกตอบโต้อย่างรุนแรงจากระบบกฎหมายที่โหดร้ายและระบบยุติธรรมที่ทำตามคำสั่ง กฎหมายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ ก.พ. 2562 ได้ให้อำนาจฝ่ายบริหารมากยิ่งขึ้น และยิ่งคุกคามข้อมูลบนโลกออนไลน์มากขึ้น รายงานฉบับนี้ยังยกตัวอย่างคดีของนางสุชาณี คลัวเทรอ (รุ่งเหมือนพร) อดีตผู้สื่อข่าวของวอยซ์ทีวี ที่ถูกตัดสินจำคุก 2 ปีเมื่อ ธ.ค. 2562 หลังจากที่เธอทวีตข้อความเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติ ส่วนการตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีโทษจำคุก 15 ปี ก็ยังคงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการปราบผู้สื่อข่าวและบล็อกเกอร์ที่มีความคิดเห็นต่าง
ท่าทีของรัฐบาลต่อประเทศอำนาจนิยมอื่นๆ ก็เป็นทีท่าของการยินยอมผ่อนปรน มีการอนุญาตให้เจ้าหน้าที่จากกัมพูชา จีนและเวียดนามเข้ามาจับกุมผู้สื่อข่าวหรือบล็อกเกอร์ ที่มีความคิดเห็นต่างในประเทศของตัวเอง แล้วส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทางและคุมขัง
เสรีภาพสื่ออาเซียน
อันดับเสรีภาพสื่อไทย (140) อยู่ในอันดับ 5 ของอาเซียน รองจากมาเลเซียที่อยู่อันดับ 101 อินโดนีเซียอันดับ 119 ฟิลิปปินส์ อันดับ 136 และเมียนมาแซงไทยขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 139 จากที่ผ่านมาเมียนมามีอันดับเสรีภาพสื่อต่ำกว่าไทยมาโดยตลอด
ต่อจากไทย ประเทศอาเซียนที่ได้อันดับเสรีภาพสื่อลำดับต่อมาได้แก่ กัมพูชาที่ได้อันดับ 144 บรูไนอันดับ 152 สิงคโปร์อันดับ 158 ลาวอันดับ 172 และเวียดนามอันดับ 175
เสรีภาพสื่อโลก
องค์กรนักข่าวไร้พรมแดนระบุว่า สหรัฐฯ และบราซิลกลายเป็นต้นแบบของการคุกคามสื่อ ขณะที่จีน อิหร่าน อิรักก็พยายามเซ็นเซอร์การรายงานข่าวเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยมีการจัดอันดับเสรีภาพสื่อใน 180 ประเทศและเขตการปกครอง
เสรีภาพสื่อในสหรัฐฯ ย่ำแย่อย่างต่อเนื่องในรัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แม้อันดับเสรีภาพสื่อของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นมา 3 อันดับจากปีก่อนมาอยู่ที่อันดับ 25 จากทั้งหมด 180 ประเทศก็ตาม เนื่องจากมี “บรรยากาศของการต่อต้านสื่ออย่างอันตราย” รวมถึงมีการจับกุมทำร้ายร่างกายและคุกคามผู้สื่อข่าวลงไปในระดับผู้สื่อข่าวท้องถิ่น
เสรีภาพสื่อของจีนอยู่ในอันดับ 177 เช่นเดียวกับปีก่อน เดือนที่แล้วจีนเพิ่งไล่ผู้สื่อข่าวชาวอเมริกันที่ทำงานให้กับสำนักข่าวเดอะนิวยอร์กไทม์ส, เดอะวอลสตรีทเจอร์นัล และเดอะวอชิงตันโพสต์ออกจากประเทศ เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่รัฐบาลของทรัมป์ จำกัดจำนวนผู้สื่อข่าวชาวจีนที่ทำงานให้กับองค์กรข่าวของรัฐบาลจีน 5 แห่งในสหรัฐฯ และในขณะที่สำนักข่าวต่างประเทศในจีนรายงานข่าวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิดตั้งแต่ช่วงแรกๆ รัฐบาลจีนกลับพยายามปิดข่าวร้ายแรงของโรคระบาดนี้
ด้านอิรักเพิ่งจะปรับเงินสำนักข่าวรอยเตอร์และระงับใบอนุญาตชั่วคราวของรอยเตอร์หลังจากที่มีการตีพิมพ์ข่าวเกี่ยวกับการที่รัฐบาลที่รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อน้อยกว่าความเป็นจริง
รายงานฉบับนี้ยังอ้างอิงถึงนโยบายกดขี่ของบางประเทศในยุโรปและคาบสมุทรบอลข่าน เช่น ฮังการีที่สมาชิกรัฐสภาให้อำนาจวิกตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีในการระงับกฎหมายที่มีอยู่ได้ โดยไม่ต้องผ่านรัฐสภา ซึ่งนโยบายใหม่นี้จะยิ่งจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและเปิดโอกาสให้รัฐบาลฮังการีดำเนินคดีกับผู้สื่อข่าวได้ อย่างไรก็ตาม ยุโรปยังเป็นทวีปที่มีเสรีภาพสื่อมากที่สุดในโลกโดยนอร์เวย์ขึ้นเป็นอันดับ 1 ติดต่อกัน 4 ปีแล้วตามด้วยฟินแลนด์และเดนมาร์กส่วนสวีเดนตกลงไปอยู่อันดับ 4 เนื่องจากมีการคุกคามผู้สื่อข่าวบนโลกออนไลน์มากขึ้น
ส่วนกลุ่มประเทศที่อยู่รั้งท้ายดัชนีเสรีภาพสื่อโลกปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยโดยเกาหลีเหนือตกลงไป 1 อันดับกลายเป็นประเทศที่มีเสรีภาพสื่อน้อยที่สุดแทนเติร์กเมนิสถาน ส่วนเอริเทรียอยู่ในอันดับ 3 จากท้ายตาราง และเป็นประเทศที่มีเสรีภาพสื่อต่ำที่สุดในแอฟริกา ขณะที่เฮติตกลงไปถึง 21 อันดับ ไปอยู่ที่อันดับ 83 ทำให้เป็นประเทศที่อันเสรีภาพสื่อร่วงหนักที่สุดในโลกในปีนี้ เนื่องจากผู้สื่อข่าวไม่มีแหล่งเงินทุน และไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันต่างๆ อีกทั้งยังเป็นเหยื่อการคุกคามและความรุนแรงทางร่างกาย ระหว่างการทำข่าวการประท้วง
ที่มา :
Reporters Without Borders ,
The New York Times
จี้ป.ป.ช.-สตง.ตรวจสอบ 'อบจ.ลำพูน'จัดซื้อชุดป้องโควิด
https://www.dailynews.co.th/regional/770573
"องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน" ทำหนังสือถึง ปธ.ป.ป.ช.- ผู้ว่าฯ สตง. จี้สอบ อบจ.ลำพูน จัดซื้อชุดของใช้คนชราป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19 มูลค่า 16.3 ล้านบาท ขอลงโทษทั้งอาญาและทางวินัย หากพบว่าการจัดซื้อไม่โปร่งใส
เมื่อวันที่ 23 เม.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (22 เม.ย.) องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ทำหนังสือส่งถึง พล.ต.อ.
วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช. และ นายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ขอให้ตรวจสอบการจัดซื้อชุดของใช้ประจำวัน (Care Set) โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ลงนามโดย นายวิเชียร พงศธร ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) โดยเนื้อหาในหนังสือระบุ ดังนี้
“ตามที่เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงกรณีที่ อบจ.ลำพูน ใช้งบประมาณมากถึง 16.3 ล้านบาท จัดซื้อชุดของใช้ประจำวัน (Care Set) เพื่อแจกให้กับผู้มีอายุ 70 ปีขึ้นไป จานวน 27,700 ชุดๆ ละ 590 บาท
การจัดซื้อครั้งนี้มีการตั้งข้อสังเกตของสาธารณชน ว่า เหตุใดจึงใช้ “
วิธีคัดเลือก” โดยเจรจากับผู้ขายเพียงสามราย ที่ อบจ. เรียกมา ทั้งๆ ที่สินค้าเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ทั่วไปและไม่ขาดแคลน แต่หากเปิดให้มี “
การประมูลเป็นการทั่วไป” ย่อมเกิดการแข่งขันอย่างโปร่งใส ได้สินค้าในราคาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมและหน่วยงาน อีกทั้งยังมีข้อกังขาว่า สินค้าที่ซื้อ เช่น จานชาม แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า ฯลฯ มีลักษณะเป็นการ “ป้องกัน-ควบคุม-รักษา” โรคโควิด-19 จนถือว่าต้องจัดซื้ออย่างเร่งด่วนได้อย่างไร
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ขอให้ท่านตรวจสอบกรณีนี้อย่างเข้มงวดและเร่งด่วน เพื่อความชัดเจนและโปร่งใสก่อนที่จะมีการจัดซื้อลักษณะเดียวกันในจังหวัดอื่น และได้โปรดชี้แจงข้อกังขา แก่ประชาชนให้กระจ่างว่า
1. การจัดซื้อครั้งนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ คุ้มค่า ตรงตามความต้องการของประชาชนในสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 จริงหรือไม่
2. การจัดซื้อโดยใช้
“วิธีคัดเลือก” เช่นนี้ เหมาะสมและถูกต้องหรือไม่ ตาม พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างฯ
3. มีการฮั้วประมูลและการเรียกรับผลประโยชน์เกิดขึ้นหรือไม่
4. หากพบว่า การจัดซื้อครั้งนี้ทำให้ส่วนรวมเสียประโยชน์ จะถือว่าผู้รับผิดชอบมีความผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญาและทางวินัย ใช่หรือไม่.
JJNY : เสรีภาพสื่อทั่วโลกลด ไทยตามเมียนมา/จี้สอบอบจ.ลำพูน/คนจนไม่ได้กินข้าว โมโหเทศกิจฮือไล่กระทืบ/ทั่วโลกติดเชื้อ2.6ล.
https://voicetv.co.th/read/tTjmXdYDj
รายงานดัชนีเสรีภาพสื่อระบุว่า ไวรัสโคโรนาที่กำลังแพร่ระบาด ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพสื่อทั่วโลก โดยสื่อไทยตกอันดับ เสรีน้อยกว่าเมียนมาแล้ว
องค์กรนักข่าวไร้พรมแดนออกรายงานดัชนีเสรีภาพสื่อโลกปี 2020 ระบุว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 อาจส่งผลกระทบต่อเสรีภาพสื่อและยิ่งทำให้วิกฤตที่ผู้สื่อข่าวทั่วโลกกำลังเผชิญยิ่งเลวร้ายลง เพราะรัฐบาลฉวยโอกาสนี้ในการควบคุมและคุกคามเสรีภาพของประชาชน
รายงานฉบับนี้ระบุว่า โรคระบาดได้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานสังคมหลายอย่างไปแล้ว รัฐบาลของหลายประเทศยังออกกฎหมายใหม่โดยอ้างว่า มีเป้าหมายในการลดการแพร่ระบาดของไวรัส แต่จริงๆ แล้ว รัฐบาลฉวยโอกาสช่วงที่การเมืองหยุดชะงัก ประชาชนกำลังตกตะลึงกับการแพร่ระบาด และการประท้วงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ เพื่อออกกฎหมายให้อำนาจรัฐในการสอดส่องประชาชนในระดับที่ไม่มีทางเป็นไปได้ในช่วงสถานการณ์ปกติ ซึ่งกฎหมายเหล่านี้สร้างความกังวลในระยะยาวต่อสื่อและเสรีภาพในการแสดงออก
เสรีภาพสื่อไทย
รายงานฉบับนี้จัดอันดับให้เสรีภาพสื่อไทยในปี 2563 อยู่ในอันดับที่ 140 จากทั้งหมด 180 ประเทศตกลงมาจะปีก่อน 4 อันดับ โดยรายงานระบุว่า "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีอำนาจควบคุมมากขึ้นกว่าเดิม" แม้ว่า คสช.ที่ พล.อ.ประยุทธ์ตั้งขึ้นเมื่อรัฐประหารจะถูกยุบไปเมื่อปี 2562 แต่การเลือกตั้งเมื่อเดือน มี.ค.2562 ก็ไม่ได้สร้างความแตกต่างใดๆ เพราะการเลือกตั้งถูกควบคุมโดยชนชั้นนำที่อยู่รายล้อม พล.อ.ประยุทธ์ ก็ทำให้ พล.อ. ประยุทธ์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก มีอำนาจเต็ม ข่มขู่ผู้สื่อข่าวที่มีปากมีเสียง มักเรียกตัวผู้สื่อข่าวไปสอบถาม ควบคุมตัวโดยไม่มีการตั้งข้อหา ส่งผลให้ผู้สื่อข่าวอย่างน้อย 10 คนต้องลี้ภัยออกจากประเทศ
เสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลถูกตอบโต้อย่างรุนแรงจากระบบกฎหมายที่โหดร้ายและระบบยุติธรรมที่ทำตามคำสั่ง กฎหมายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ ก.พ. 2562 ได้ให้อำนาจฝ่ายบริหารมากยิ่งขึ้น และยิ่งคุกคามข้อมูลบนโลกออนไลน์มากขึ้น รายงานฉบับนี้ยังยกตัวอย่างคดีของนางสุชาณี คลัวเทรอ (รุ่งเหมือนพร) อดีตผู้สื่อข่าวของวอยซ์ทีวี ที่ถูกตัดสินจำคุก 2 ปีเมื่อ ธ.ค. 2562 หลังจากที่เธอทวีตข้อความเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติ ส่วนการตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีโทษจำคุก 15 ปี ก็ยังคงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการปราบผู้สื่อข่าวและบล็อกเกอร์ที่มีความคิดเห็นต่าง
ท่าทีของรัฐบาลต่อประเทศอำนาจนิยมอื่นๆ ก็เป็นทีท่าของการยินยอมผ่อนปรน มีการอนุญาตให้เจ้าหน้าที่จากกัมพูชา จีนและเวียดนามเข้ามาจับกุมผู้สื่อข่าวหรือบล็อกเกอร์ ที่มีความคิดเห็นต่างในประเทศของตัวเอง แล้วส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทางและคุมขัง
เสรีภาพสื่ออาเซียน
อันดับเสรีภาพสื่อไทย (140) อยู่ในอันดับ 5 ของอาเซียน รองจากมาเลเซียที่อยู่อันดับ 101 อินโดนีเซียอันดับ 119 ฟิลิปปินส์ อันดับ 136 และเมียนมาแซงไทยขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 139 จากที่ผ่านมาเมียนมามีอันดับเสรีภาพสื่อต่ำกว่าไทยมาโดยตลอด
ต่อจากไทย ประเทศอาเซียนที่ได้อันดับเสรีภาพสื่อลำดับต่อมาได้แก่ กัมพูชาที่ได้อันดับ 144 บรูไนอันดับ 152 สิงคโปร์อันดับ 158 ลาวอันดับ 172 และเวียดนามอันดับ 175
เสรีภาพสื่อโลก
องค์กรนักข่าวไร้พรมแดนระบุว่า สหรัฐฯ และบราซิลกลายเป็นต้นแบบของการคุกคามสื่อ ขณะที่จีน อิหร่าน อิรักก็พยายามเซ็นเซอร์การรายงานข่าวเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยมีการจัดอันดับเสรีภาพสื่อใน 180 ประเทศและเขตการปกครอง
เสรีภาพสื่อในสหรัฐฯ ย่ำแย่อย่างต่อเนื่องในรัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แม้อันดับเสรีภาพสื่อของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นมา 3 อันดับจากปีก่อนมาอยู่ที่อันดับ 25 จากทั้งหมด 180 ประเทศก็ตาม เนื่องจากมี “บรรยากาศของการต่อต้านสื่ออย่างอันตราย” รวมถึงมีการจับกุมทำร้ายร่างกายและคุกคามผู้สื่อข่าวลงไปในระดับผู้สื่อข่าวท้องถิ่น
เสรีภาพสื่อของจีนอยู่ในอันดับ 177 เช่นเดียวกับปีก่อน เดือนที่แล้วจีนเพิ่งไล่ผู้สื่อข่าวชาวอเมริกันที่ทำงานให้กับสำนักข่าวเดอะนิวยอร์กไทม์ส, เดอะวอลสตรีทเจอร์นัล และเดอะวอชิงตันโพสต์ออกจากประเทศ เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่รัฐบาลของทรัมป์ จำกัดจำนวนผู้สื่อข่าวชาวจีนที่ทำงานให้กับองค์กรข่าวของรัฐบาลจีน 5 แห่งในสหรัฐฯ และในขณะที่สำนักข่าวต่างประเทศในจีนรายงานข่าวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิดตั้งแต่ช่วงแรกๆ รัฐบาลจีนกลับพยายามปิดข่าวร้ายแรงของโรคระบาดนี้
ด้านอิรักเพิ่งจะปรับเงินสำนักข่าวรอยเตอร์และระงับใบอนุญาตชั่วคราวของรอยเตอร์หลังจากที่มีการตีพิมพ์ข่าวเกี่ยวกับการที่รัฐบาลที่รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อน้อยกว่าความเป็นจริง
รายงานฉบับนี้ยังอ้างอิงถึงนโยบายกดขี่ของบางประเทศในยุโรปและคาบสมุทรบอลข่าน เช่น ฮังการีที่สมาชิกรัฐสภาให้อำนาจวิกตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีในการระงับกฎหมายที่มีอยู่ได้ โดยไม่ต้องผ่านรัฐสภา ซึ่งนโยบายใหม่นี้จะยิ่งจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและเปิดโอกาสให้รัฐบาลฮังการีดำเนินคดีกับผู้สื่อข่าวได้ อย่างไรก็ตาม ยุโรปยังเป็นทวีปที่มีเสรีภาพสื่อมากที่สุดในโลกโดยนอร์เวย์ขึ้นเป็นอันดับ 1 ติดต่อกัน 4 ปีแล้วตามด้วยฟินแลนด์และเดนมาร์กส่วนสวีเดนตกลงไปอยู่อันดับ 4 เนื่องจากมีการคุกคามผู้สื่อข่าวบนโลกออนไลน์มากขึ้น
ส่วนกลุ่มประเทศที่อยู่รั้งท้ายดัชนีเสรีภาพสื่อโลกปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยโดยเกาหลีเหนือตกลงไป 1 อันดับกลายเป็นประเทศที่มีเสรีภาพสื่อน้อยที่สุดแทนเติร์กเมนิสถาน ส่วนเอริเทรียอยู่ในอันดับ 3 จากท้ายตาราง และเป็นประเทศที่มีเสรีภาพสื่อต่ำที่สุดในแอฟริกา ขณะที่เฮติตกลงไปถึง 21 อันดับ ไปอยู่ที่อันดับ 83 ทำให้เป็นประเทศที่อันเสรีภาพสื่อร่วงหนักที่สุดในโลกในปีนี้ เนื่องจากผู้สื่อข่าวไม่มีแหล่งเงินทุน และไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันต่างๆ อีกทั้งยังเป็นเหยื่อการคุกคามและความรุนแรงทางร่างกาย ระหว่างการทำข่าวการประท้วง
ที่มา : Reporters Without Borders , The New York Times
จี้ป.ป.ช.-สตง.ตรวจสอบ 'อบจ.ลำพูน'จัดซื้อชุดป้องโควิด
https://www.dailynews.co.th/regional/770573
"องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน" ทำหนังสือถึง ปธ.ป.ป.ช.- ผู้ว่าฯ สตง. จี้สอบ อบจ.ลำพูน จัดซื้อชุดของใช้คนชราป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19 มูลค่า 16.3 ล้านบาท ขอลงโทษทั้งอาญาและทางวินัย หากพบว่าการจัดซื้อไม่โปร่งใส
เมื่อวันที่ 23 เม.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (22 เม.ย.) องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ทำหนังสือส่งถึง พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช. และ นายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ขอให้ตรวจสอบการจัดซื้อชุดของใช้ประจำวัน (Care Set) โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ลงนามโดย นายวิเชียร พงศธร ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) โดยเนื้อหาในหนังสือระบุ ดังนี้
“ตามที่เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงกรณีที่ อบจ.ลำพูน ใช้งบประมาณมากถึง 16.3 ล้านบาท จัดซื้อชุดของใช้ประจำวัน (Care Set) เพื่อแจกให้กับผู้มีอายุ 70 ปีขึ้นไป จานวน 27,700 ชุดๆ ละ 590 บาท
การจัดซื้อครั้งนี้มีการตั้งข้อสังเกตของสาธารณชน ว่า เหตุใดจึงใช้ “วิธีคัดเลือก” โดยเจรจากับผู้ขายเพียงสามราย ที่ อบจ. เรียกมา ทั้งๆ ที่สินค้าเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ทั่วไปและไม่ขาดแคลน แต่หากเปิดให้มี “การประมูลเป็นการทั่วไป” ย่อมเกิดการแข่งขันอย่างโปร่งใส ได้สินค้าในราคาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมและหน่วยงาน อีกทั้งยังมีข้อกังขาว่า สินค้าที่ซื้อ เช่น จานชาม แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า ฯลฯ มีลักษณะเป็นการ “ป้องกัน-ควบคุม-รักษา” โรคโควิด-19 จนถือว่าต้องจัดซื้ออย่างเร่งด่วนได้อย่างไร
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ขอให้ท่านตรวจสอบกรณีนี้อย่างเข้มงวดและเร่งด่วน เพื่อความชัดเจนและโปร่งใสก่อนที่จะมีการจัดซื้อลักษณะเดียวกันในจังหวัดอื่น และได้โปรดชี้แจงข้อกังขา แก่ประชาชนให้กระจ่างว่า
1. การจัดซื้อครั้งนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ คุ้มค่า ตรงตามความต้องการของประชาชนในสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 จริงหรือไม่
2. การจัดซื้อโดยใช้ “วิธีคัดเลือก” เช่นนี้ เหมาะสมและถูกต้องหรือไม่ ตาม พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างฯ
3. มีการฮั้วประมูลและการเรียกรับผลประโยชน์เกิดขึ้นหรือไม่
4. หากพบว่า การจัดซื้อครั้งนี้ทำให้ส่วนรวมเสียประโยชน์ จะถือว่าผู้รับผิดชอบมีความผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญาและทางวินัย ใช่หรือไม่.