คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
สมัยบุเรงนอง ผมมองว่าพม่ามีพรรคพวกหรือกลุ่มหัวเมืองที่สวามิภักดิ์มากกว่ายุคพระเจ้าปดุงครับ เนื่องจากในตอนนั้นอยุธยาแทบจะเหลือตัวคนเดียวเลยในการต่อสู้กับฝั่งหงสาวดี
ด้านหงสาวดีสามารถเกณฑ์ไพร่พลจากหัวเมืองต่างๆคือ หัวเมืองมอญทั้งปวง หัวเมืองพม่าตอนบน (อังวะ) หัวเมืองไทใหญ่ทั้งปวง หัวเมืองล้านนาทั้งปวง และหัวเมืองเหนือที่ขึ้นกับพิษณุโลก
ในขณะที่สงครามเก้าทัพ ฝ่ายล้านนาและพิษณุโลกมาขึ้นกับกรุงเทพแล้ว หัวเมืองมอญก็เสื่อมโทรมลงมากจากสงครามที่ยาวนานตั้งแต่ยุคสิ้นราชวงศ์นองยาน หัวเมืองไทใหญ่ก็แตกแยกและไม่ได้ยิ่งใหญ่ใกล้เคียงกับยุคสมัยโบราณเลย กำลังของพม่าเลยโดนตัดลงไปเยอะครับ
ด้านหงสาวดีสามารถเกณฑ์ไพร่พลจากหัวเมืองต่างๆคือ หัวเมืองมอญทั้งปวง หัวเมืองพม่าตอนบน (อังวะ) หัวเมืองไทใหญ่ทั้งปวง หัวเมืองล้านนาทั้งปวง และหัวเมืองเหนือที่ขึ้นกับพิษณุโลก
ในขณะที่สงครามเก้าทัพ ฝ่ายล้านนาและพิษณุโลกมาขึ้นกับกรุงเทพแล้ว หัวเมืองมอญก็เสื่อมโทรมลงมากจากสงครามที่ยาวนานตั้งแต่ยุคสิ้นราชวงศ์นองยาน หัวเมืองไทใหญ่ก็แตกแยกและไม่ได้ยิ่งใหญ่ใกล้เคียงกับยุคสมัยโบราณเลย กำลังของพม่าเลยโดนตัดลงไปเยอะครับ
แสดงความคิดเห็น
[พม่ารบไทย] 2 เรื่องนี้ต้องเรื่องหนึ่งไม่จริงใช่มั้ยครับ?
ข. สงคราม ๙ ทัพ คือ สงครามครั้งใหญ่ที่สุดระหว่างพม่า : ไทย มีการระดมพลบุกไทยมากที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วยทหาร ๑๔๔,๐๐๐ นาย
คือ สงคราม ๙ ทัพ จะเป็นศึกใหญ่ที่สุดของไทย-พม่าได้ยังไง ในเมื่อกำลังพลยังน้อยกว่ายุคบุเรงนอง 1.5 ถึง 3 เท่า ไม่ว่าจะประเมินฐานต่ำที่สุดหรือสูง
หรือ ถ้าสงคราม ๙ ทัพคือ พีกที่สุดของสงครามไทย-พม่า แสดงว่า กองทัพพม่ายุคบุเรงนองจริงๆต้องมีน้อยกว่าพระเจ้าปดุง คือ ๑๐๐,๐๐๐ กว่าๆ
ปล. ถ้าสวนตัวผม ผมให้น้ำหนักข้อหลังมากกว่า
- สงคราม ๙ ทัพเกิดในยุคใกล้ โอกาสบันทึกคลาดเคลือนต่อเติมมีน้อยกว่า
- ตามหลักประชากรศาสตร์ จำนวนคนมีแต่เพิ่มมากขึ้นจากยุคอดีต ตามการตั้งถินฐานใหม่ๆและสาธารณสุข มันคงดูแปลกๆ ถ้าหากช่วงยุค 600 ปีก่อนมีคนมากกว่าช่วง 200 ปีก่อน ทั้งที่ไม่มีหลักฐานบันทึกภัยธรรมชาติหรือโรคะบาดที่ลดประชากรลงอย่างฮวบฮาบ