วิถีไผ่เก้าดาวในยุโรป เริ่มที่ ZERI pavilion ในงาน German EXPO 2000

"Canes as thick as a man thigh...."
Christopher Columbus, September 1502 

ไผ่เก้าดาว ชื่อสามัญคือ Guadua angustifolia Kunth มีถิ่นกำเนิดที่ลาตินอเมริกา
ชาวยุโรปรู้จักไผ่เก้าดาว ตั้งแต่ปี 1502 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส บันทึกเรื่องราวของไผ่เก้าดาวไว้ในบันทึกการเดินทางไปลาตินอเมริกา 

แต่กว่าไผ่เก้าดาวจะเป็นที่ยอมรับในยุโรป มันก็ต้องฟันฝ่า
หาโอกาสที่จะได้แสดงผลงานเพื่อให้ความจริงปรากฏ

เยอรมันจัดงาน EXPO ปี 2000 ที่เมือง Hanover 
ZERI (Zero Emissions Research and Initiatives (ZERI))
ต้องการสร้างอาคารในงานด้วยลำไผ่เก้าดาว ในชื่อ ZERI pavilion เพื่อโปรโมทให้คนรู้ว่าไผ่แข็งแรงและมันดีต่อโลกอย่างไร
แต่เยอรมันก็คือเยอรมัน 

เยอรมันเขามีมาตรฐานสูง การที่จะมีอาคารที่ทำด้วยลำไผ่ ที่ต้องรองรับผู้คนที่จะมาเหยียบอาคารนี้นับล้านคน มันก็ต้องได้มาตรฐานความปลอดภัยของเยอรมัน 

เริ่มที่เงื่อนไข ที่ว่า ทำได้นะ แต่ต้องผ่านมาตรฐานเราก่อน

ทำไงดีล่ะ

ก็ต้องสร้างอาคารต้นแบบที่โคลัมเบีย โดยทีมงานคนท้องถิ่นนำโดย ไซม่อน แวเลซ ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นทั้งหมด เพื่อให้วิศวะกรจากรเยอรมัน เข้าทดสอบความแข็งแรงตามมาตรฐานของเยอรมัน

เมื่อสร้างอาคารต้นแบบเสร็จ ทีมวิศวะกรจากเยอรมันเข้าทดสอบผลคือผ่านมาตรฐานเยอรมัน

เอ้า…..ไปสร้างอีกหลังที่เยอรมันได้

ทีมงานของไซม่อน แวเลซ ยกทีมไปสร้างอาคารแบบนี้อีกหลังที่Hanover เยอรมัน
สร้างที่เยอรมันเสร็จ ก็ต้องให้วิศวะกรเยอรมันตรวจสอบอีกครั้ง 
ทีมวิศวะกรอนุมัติให้ผ่านมาตรฐานเยอรมันก่อนหนึ่งวันที่งานจะเริ่ม

สรุป ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบความแข็งแรง แพงกว่าค่าก่อสร้าง เชื่อหรือไม่

งานนี้งานเดียวถือว่าคุ้ม เพราะคนยุโรปรู้ว่าไผ่เก้าดาวป็นไผ่ที่ดีที่สุดและแข็งแรงที่สุด

อาคาร ZERI pavilion ได้ต้อนรับผู้เข้าชมจำนวน 6.5ล้านคน 

เป็นที่น่าเสียดายที่ อาคาร ZERI pavilion หลังที่สร้าง ที่ Hanoverได้ถูกทำลายทิ้งหลังจบงาน EXPO เหลือแต่อาคารต้นแบบที่โคลัมเบีย ที่ยังถูกใช้งานได้แม้ว่าจะผ่านมา 20 ปีแล้วก็ตาม
อันนี้น่าจะเป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่ยืนยันว่า ไม้ไผ่ ถ้าเลือกชนิดของไผ่ อายุของลำไผ่ การถนอมเนื้อไม้ที่ถูกวิธี และการออกแบบที่ลดการทำลายของแดดและน้ำต่ออาคาร ได้ก็จะมีอายุการใช้งานยาวนาน สี่สิบถึงห้าสิบปี
แต่อย่างไรก็ตาม อาคารนี้ ก็ทำให้คนทั่วโลกยอมรับเรื่องความแข็งแรงของไผ่ที่สามารถใช้ทดแทนไม้เนื้อแข็งได้ และทำให้คนทั่วโลกเปิดใจรับและรู้ว่าไผ่ดีต่อโลกอย่างไร
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่