เผอิญไปอ่านเจอข้อความนี้เข้า เลยอยากให้ดูให้ว่าวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างนี้มีในสมัยพุทธกาลจริงๆไหม
กลวิธีและอุบายประกอบการสอน
๑๐. กลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นต่างครั้งต่างคราว ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันไปไม่มีที่สุด การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าย่อมอาศัยปฏิภาณ คือ ความสามารถในการประยุกต์หลัก วิธีการ และกลวิธีต่างๆ มาใช้ให้เหมาะสม เป็นเรื่องเฉพาะครั้ง เฉพาะคราวไป
อย่างไรก็ดี การได้เห็นตัวอย่างการแก้ปัญหาเช่นนี้ อาจช่วยให้เกิดความเข้าใจในแนวทางที่จะนำไปใช้ปฏิบัติได้บ้าง
ในการประกาศพระศาสนา พระพุทธเจ้าได้ทรงประสบปัญหาเฉพาะหน้าตลอดเวลา และทรงแก้สำเร็จไปในรูปต่างๆ กัน ตัวอย่างเช่น:-
พราหมณ์คนหนึ่งในเมืองราชคฤห์ ตนไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา แต่ภรรยาเป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธเจ้าอย่างแรงกล้า มักเปล่งอุทานว่า “นโม ตสฺส”
คราวหนึ่ง นางพราหมณีผู้ภรรยา ขณะนำอาหารมาให้สามี ก้าวพลาดลง จึงอุทานว่า “นโม ตสฺส”
พราหมณ์สามีได้ยินก็ไม่พอใจ จึงว่า “นางตัวร้ายนี่ชอบพูดสรรเสริญแต่ความดีของพระหัวโล้นองค์นั้นอยู่เรื่อย เดี๋ยวเถอะ นังตัวดี ข้าจะไปปราบวาทะศาสดาของแก”
นางพราหมณีตอบว่า “แน่ะ พ่อพราหมณ์ ฉันมองไม่เห็นว่าจะมีใครในโลกไหนๆ มาปราบวาทะของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เอาซิ พ่อพราหมณ์ จะไปก็เอา ไปแล้วก็จะรู้เอง”
ฝ่ายพราหมณ์ทั้งโกรธอยู่นั้น ก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว ก็ทูลถามเป็นคำร้อยกรองว่า “ฆ่าตัวอะไรเสียได้ จึงจะนอนเป็นสุข ฯลฯ”
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “ฆ่าความโกรธเสียได้ก็จะนอนเป็นสุข ฯลฯ” และทำให้พราหมณ์เลื่อมใสได้25
อีกเรื่องหนึ่ง พราหมณ์อีกคนหนึ่ง รู้ข่าวว่าพราหมณ์ตระกูลเดียวกับตนออกบวชอยู่กับพระพุทธเจ้า ก็โกรธ จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ไปถึงก็บริภาษพระองค์ด้วยคำหยาบคายต่างๆ พระพุทธเจ้าทรงปล่อยให้พราหมณ์นั้นบริภาษพระองค์เรื่อยไป จนพราหมณ์หยุดไปเอง
เมื่อพราหมณ์บริภาษจนพอแก่ใจ หยุดแล้ว พระองค์จึงตรัสถามว่า “ขอถามหน่อยเถิดท่านพราหมณ์ พวกญาติมิตรแขกเหรื่อทั้งหลายน่ะ มีมาหาท่านบ้างหรือเปล่า?”
พราหมณ์ทูลว่า “ก็มีเป็นครั้งคราว”
พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “แล้วท่านจัดอาหารของรับประทานมาให้เขาบ้างหรือเปล่า?”
พราหมณ์ทูลว่า “ก็จัดบ้าง”
พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “ก็ถ้าคนเหล่านั้นเขาไม่รับสิ่งของเหล่านั้นเล่า ของจะเป็นของใคร?”
พราหมณ์กราบทูลว่า “ถ้าเขาไม่รับ มันก็เป็นของฉันเองน่ะซี”
พระพุทธเจ้าตรัสตอบ ความว่า “เอาละ เรื่องนี้ก็เหมือนกัน ที่ท่านมาด่าเราน่ะ เราไม่ขอรับคำด่าของท่านละ ขอให้เป็นของท่านเองก็แล้วกัน” จากนั้น จึงได้ทรงสนทนากับพราหมณ์ต่อไปจนพราหมณ์เลื่อมใสยอมเป็นสาวก26
อีกเรื่องหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จไปบิณฑบาตที่บ้านอุทัยพราหมณ์ วันแรกพราหมณ์เอาข้าวมาใส่บาตรถวายจนเต็ม วันที่สอง พระพุทธเจ้าเสด็จไปอีก พราหมณ์ก็ถวายอีก
วันที่สาม พระพุทธเจ้าเสด็จไปอีก พราหมณ์ก็ถวายอีก แต่คราวนี้ พอถวายแล้ว ก็กล่าวว่า “พระสมณโคดมองค์นี้ติดใจจึงมาบ่อยๆ”
พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบร้อยกรองเป็นคาถาเล่นคำโดยปฏิภาณ เป็นทำนองเตือนพราหมณ์โดยนัยว่า ไฉนจะท้อถอยเสีย การกระทำส่วนมากจะให้ได้ผลก็ต้องทำบ่อยๆ ดังนี้
“กสิกรก็หว่านพืชบ่อยๆ ฝนก็ต้องตกบ่อยๆ
ชาวนาก็ต้องไถนาบ่อยๆ รัฐจึงมั่งมีธัญญาหารบ่อยๆ
คนมาขอบ่อยๆ คนให้ให้ไปบ่อยๆ
คนให้ครั้นให้บ่อยๆ ก็ได้พบสวรรค์บ่อยๆ
คนรีดนมก็ย่อมรีดบ่อยๆ ลูกวัวก็หาแม่บ่อยๆ
ย่อมต้องเหนื่อยต้องดิ้นรนบ่อยๆ (ส่วน) คนเขลาเข้าหาครรภ์บ่อยๆ
แล้วก็เกิดก็ตายบ่อยๆ ต้องหามไปป่าช้าบ่อยๆ
มีปัญญาพบทางไม่เกิดบ่อย จึงไม่ต้องเกิดบ่อยๆ
(หรือ : คนฉลาดถึงเกิดบ่อยๆ ก็เพื่อพบทางไม่ต้องเกิดบ่อย)27
หรืออีกเรื่องที่คล้ายๆ กันว่า พระพุทธเจ้าเสด็จไปในบริเวณที่เขาเตรียมหว่านข้าวทำนา ขณะเขากำลังเลี้ยงดูกันอยู่ พระองค์ได้เสด็จไปประทับยืนอยู่ด้านหนึ่ง พราหมณ์เจ้าของนาเห็น ก็คิดว่าพระองค์มาขอบิณฑบาต จึงกล่าวว่า
“ท่านพระสมณะ ข้าพเจ้าย่อมไถนา หว่านข้าว ครั้นแล้วจึงได้บริโภค แม้ท่านก็จงไถนา จงหว่านข้าว แล้วจงบริโภคเอาเถิด”
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราก็ไถ ก็หว่านเหมือนกัน เมื่อได้ไถหว่านแล้วจึงได้บริโภค”
พราหมณ์ทูลว่า “ท่านสมณะ ข้าพเจ้าไม่เห็นท่านมีแอก มีไถ มีผาล มีปฏัก หรือโคเลย ไฉนท่านจึงมากล่าวว่า ‘แม้เราก็ไถก็หว่าน เสร็จแล้วจึงได้บริโภคเหมือนกัน’” แล้วก็สนทนาเป็นกลอนสด ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสตอบเป็นคาถาเช่นกันว่า
“เรามีศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาเป็นแอกและไถ ฯลฯ เราไถอย่างนี้แล้วย่อมได้อมฤตเป็นผล ทำนาอย่างนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง”28
ขอจบเรื่องนี้ โดยนำเอาดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศล มาเป็นคำสรุป ดังนี้:-
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็นกษัตริย์บัณฑิตบางพวก ผู้มีปัญญาสุขุม สามารถปราบวาทะฝ่ายปรปักษ์ได้ มีปัญญาเฉียบแหลมดุจจะยิงขนทรายได้ ท่านเหล่านั้น เหมือนจะเที่ยวได้เอาปัญญาไปทำลายหลักทฤษฎีทั้งหลายของคนอื่นๆ
“พอได้ยินข่าวว่าพระสมณโคดมจักเสด็จมายังบ้านหรือนิคมโน้นๆ กษัตริย์เหล่านั้นก็พากันเตรียมปัญหาไว้ ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักพากันเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหา ถ้าพระสมณโคดมถูกพวกเราถามไปอย่างนี้ ตอบแก้มาอย่างนี้ พวกเราจะปราบวาทะของพระองค์อย่างนี้ ถ้าพระสมณโคดมถูกพวกเราถามอย่างนี้ ตอบแก้มาอย่างนี้ พวกเราก็จะปราบวาทะของพระองค์เสียอย่างนี้
“ครั้นได้ทราบข่าวว่าพระสมณโคดมเสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมโน้นแล้ว ก็พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้กษัตริย์เหล่านั้นเข้าใจชัด ให้เห็นตาม ให้แข็งขัน ให้บันเทิง ด้วยธรรมีกถาแล้ว กษัตริย์เหล่านั้นก็มิได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาค ที่ไหนเลยจะมาปราบวาทะพระองค์ได้เล่า ที่แท้กลับพากันมาสมัครตัวเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสอันเนื่องด้วยธรรมของหม่อมฉัน ที่มีต่อพระผู้มีพระภาค
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็นพราหมณ์บัณฑิต ฯลฯ คฤหบดีบัณฑิต…สมณบัณฑิตบางพวก ผู้มีปัญญาสุขุม สามารถปราบวาทะฝ่ายปรปักษ์ได้ มีปัญญาเฉียบแหลม ดุจจะยิงขนทรายได้ ท่านเหล่านั้น เหมือนจะเที่ยวได้เอาปัญญาไปทำลายหลักทฤษฎีทั้งหลายของคนอื่นๆ
“พอได้ยินข่าวว่า พระสมณโคดมจักเสด็จมายังบ้านหรือนิคมโน้นๆ สมณะเหล่านั้นก็จะพากันเตรียมปัญหาไว้…พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้สมณะเหล่านั้นเข้าใจชัด ให้เห็นตาม ให้แข็งขัน ให้บันเทิงด้วยธรรมีกถาแล้ว สมณะเหล่านั้นก็มิได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาค ที่ไหนเลยจะปราบวาทะของพระองค์ได้เล่า ที่แท้ก็พากันทูลขอโอกาสกะพระผู้มีพระภาคเพื่อออกบวชเป็นบรรพชิต พระผู้มีพระภาคก็ทรงบรรพชาให้
“ครั้นได้บรรพชาแล้วเช่นนั้น ท่านก็ปลีกตัวออกไปอยู่สงัด เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว ไม่นานเลยก็ได้รู้ยิ่งเห็นจริง กระทำสำเร็จซึ่งประโยชน์สูงสุด อันเป็นจุดหมายแห่งพรหมจรรย์ อันเป็นที่ปรารถนาของกุลบุตรผู้ออกบวชทั้งหลายด้วยตนเอง ในปัจจุบันชาตินี้เอง
“ท่านเหล่านั้นพากันกล่าวว่าดังนี้ ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเราไม่พินาศแล้วสิหนอ แต่ก่อนนี้ พวกเราทั้งที่มิได้เป็นสมณะจริงเลย ก็ปฏิญาณว่าตนเป็นสมณะ ทั้งที่มิได้เป็นพราหมณ์จริงเลย ก็ปฏิญาณว่าตนเป็นพราหมณ์ ทั้งที่มิได้เป็นพระอรหันต์จริงเลย ก็ปฏิญาณว่าตนเป็นพระอรหันต์ บัดนี้พวกเราเป็นสมณะจริงแล้ว เป็นพราหมณ์จริงแล้ว เป็นพระอรหันต์จริงแล้ว’
“แม้ข้อนี้ก็เป็นความเลื่อมใสอันเนื่องด้วยธรรมของหม่อมฉันที่มีต่อพระผู้มีพระภาค…”29ฯ.
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงลุกเป็นไฟไปหมดแล้ว… ลุกเป็นไฟเพราะอะไร… เพราะไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ… เพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส….”
ที่มา
https://www.payutto.net/book-content/%E0%B9%96-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99/
ทันทีที่มีปัญหาหรือความกังวลใจใดๆก็ตามฯเกิดขึ้นแล้วเราสามารถตอบกับอารมณ์นั้นได้ทันทีเรียกว่าการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น
๑๐. กลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นต่างครั้งต่างคราว ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันไปไม่มีที่สุด การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าย่อมอาศัยปฏิภาณ คือ ความสามารถในการประยุกต์หลัก วิธีการ และกลวิธีต่างๆ มาใช้ให้เหมาะสม เป็นเรื่องเฉพาะครั้ง เฉพาะคราวไป
อย่างไรก็ดี การได้เห็นตัวอย่างการแก้ปัญหาเช่นนี้ อาจช่วยให้เกิดความเข้าใจในแนวทางที่จะนำไปใช้ปฏิบัติได้บ้าง
ในการประกาศพระศาสนา พระพุทธเจ้าได้ทรงประสบปัญหาเฉพาะหน้าตลอดเวลา และทรงแก้สำเร็จไปในรูปต่างๆ กัน ตัวอย่างเช่น:-
พราหมณ์คนหนึ่งในเมืองราชคฤห์ ตนไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา แต่ภรรยาเป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธเจ้าอย่างแรงกล้า มักเปล่งอุทานว่า “นโม ตสฺส”
คราวหนึ่ง นางพราหมณีผู้ภรรยา ขณะนำอาหารมาให้สามี ก้าวพลาดลง จึงอุทานว่า “นโม ตสฺส”
พราหมณ์สามีได้ยินก็ไม่พอใจ จึงว่า “นางตัวร้ายนี่ชอบพูดสรรเสริญแต่ความดีของพระหัวโล้นองค์นั้นอยู่เรื่อย เดี๋ยวเถอะ นังตัวดี ข้าจะไปปราบวาทะศาสดาของแก”
นางพราหมณีตอบว่า “แน่ะ พ่อพราหมณ์ ฉันมองไม่เห็นว่าจะมีใครในโลกไหนๆ มาปราบวาทะของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เอาซิ พ่อพราหมณ์ จะไปก็เอา ไปแล้วก็จะรู้เอง”
ฝ่ายพราหมณ์ทั้งโกรธอยู่นั้น ก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว ก็ทูลถามเป็นคำร้อยกรองว่า “ฆ่าตัวอะไรเสียได้ จึงจะนอนเป็นสุข ฯลฯ”
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “ฆ่าความโกรธเสียได้ก็จะนอนเป็นสุข ฯลฯ” และทำให้พราหมณ์เลื่อมใสได้25
อีกเรื่องหนึ่ง พราหมณ์อีกคนหนึ่ง รู้ข่าวว่าพราหมณ์ตระกูลเดียวกับตนออกบวชอยู่กับพระพุทธเจ้า ก็โกรธ จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ไปถึงก็บริภาษพระองค์ด้วยคำหยาบคายต่างๆ พระพุทธเจ้าทรงปล่อยให้พราหมณ์นั้นบริภาษพระองค์เรื่อยไป จนพราหมณ์หยุดไปเอง
เมื่อพราหมณ์บริภาษจนพอแก่ใจ หยุดแล้ว พระองค์จึงตรัสถามว่า “ขอถามหน่อยเถิดท่านพราหมณ์ พวกญาติมิตรแขกเหรื่อทั้งหลายน่ะ มีมาหาท่านบ้างหรือเปล่า?”
พราหมณ์ทูลว่า “ก็มีเป็นครั้งคราว”
พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “แล้วท่านจัดอาหารของรับประทานมาให้เขาบ้างหรือเปล่า?”
พราหมณ์ทูลว่า “ก็จัดบ้าง”
พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “ก็ถ้าคนเหล่านั้นเขาไม่รับสิ่งของเหล่านั้นเล่า ของจะเป็นของใคร?”
พราหมณ์กราบทูลว่า “ถ้าเขาไม่รับ มันก็เป็นของฉันเองน่ะซี”
พระพุทธเจ้าตรัสตอบ ความว่า “เอาละ เรื่องนี้ก็เหมือนกัน ที่ท่านมาด่าเราน่ะ เราไม่ขอรับคำด่าของท่านละ ขอให้เป็นของท่านเองก็แล้วกัน” จากนั้น จึงได้ทรงสนทนากับพราหมณ์ต่อไปจนพราหมณ์เลื่อมใสยอมเป็นสาวก26
อีกเรื่องหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จไปบิณฑบาตที่บ้านอุทัยพราหมณ์ วันแรกพราหมณ์เอาข้าวมาใส่บาตรถวายจนเต็ม วันที่สอง พระพุทธเจ้าเสด็จไปอีก พราหมณ์ก็ถวายอีก
วันที่สาม พระพุทธเจ้าเสด็จไปอีก พราหมณ์ก็ถวายอีก แต่คราวนี้ พอถวายแล้ว ก็กล่าวว่า “พระสมณโคดมองค์นี้ติดใจจึงมาบ่อยๆ”
พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบร้อยกรองเป็นคาถาเล่นคำโดยปฏิภาณ เป็นทำนองเตือนพราหมณ์โดยนัยว่า ไฉนจะท้อถอยเสีย การกระทำส่วนมากจะให้ได้ผลก็ต้องทำบ่อยๆ ดังนี้
“กสิกรก็หว่านพืชบ่อยๆ ฝนก็ต้องตกบ่อยๆ
ชาวนาก็ต้องไถนาบ่อยๆ รัฐจึงมั่งมีธัญญาหารบ่อยๆ
คนมาขอบ่อยๆ คนให้ให้ไปบ่อยๆ
คนให้ครั้นให้บ่อยๆ ก็ได้พบสวรรค์บ่อยๆ
คนรีดนมก็ย่อมรีดบ่อยๆ ลูกวัวก็หาแม่บ่อยๆ
ย่อมต้องเหนื่อยต้องดิ้นรนบ่อยๆ (ส่วน) คนเขลาเข้าหาครรภ์บ่อยๆ
แล้วก็เกิดก็ตายบ่อยๆ ต้องหามไปป่าช้าบ่อยๆ
มีปัญญาพบทางไม่เกิดบ่อย จึงไม่ต้องเกิดบ่อยๆ
(หรือ : คนฉลาดถึงเกิดบ่อยๆ ก็เพื่อพบทางไม่ต้องเกิดบ่อย)27
หรืออีกเรื่องที่คล้ายๆ กันว่า พระพุทธเจ้าเสด็จไปในบริเวณที่เขาเตรียมหว่านข้าวทำนา ขณะเขากำลังเลี้ยงดูกันอยู่ พระองค์ได้เสด็จไปประทับยืนอยู่ด้านหนึ่ง พราหมณ์เจ้าของนาเห็น ก็คิดว่าพระองค์มาขอบิณฑบาต จึงกล่าวว่า
“ท่านพระสมณะ ข้าพเจ้าย่อมไถนา หว่านข้าว ครั้นแล้วจึงได้บริโภค แม้ท่านก็จงไถนา จงหว่านข้าว แล้วจงบริโภคเอาเถิด”
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราก็ไถ ก็หว่านเหมือนกัน เมื่อได้ไถหว่านแล้วจึงได้บริโภค”
พราหมณ์ทูลว่า “ท่านสมณะ ข้าพเจ้าไม่เห็นท่านมีแอก มีไถ มีผาล มีปฏัก หรือโคเลย ไฉนท่านจึงมากล่าวว่า ‘แม้เราก็ไถก็หว่าน เสร็จแล้วจึงได้บริโภคเหมือนกัน’” แล้วก็สนทนาเป็นกลอนสด ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสตอบเป็นคาถาเช่นกันว่า
“เรามีศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาเป็นแอกและไถ ฯลฯ เราไถอย่างนี้แล้วย่อมได้อมฤตเป็นผล ทำนาอย่างนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง”28
ขอจบเรื่องนี้ โดยนำเอาดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศล มาเป็นคำสรุป ดังนี้:-
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็นกษัตริย์บัณฑิตบางพวก ผู้มีปัญญาสุขุม สามารถปราบวาทะฝ่ายปรปักษ์ได้ มีปัญญาเฉียบแหลมดุจจะยิงขนทรายได้ ท่านเหล่านั้น เหมือนจะเที่ยวได้เอาปัญญาไปทำลายหลักทฤษฎีทั้งหลายของคนอื่นๆ
“พอได้ยินข่าวว่าพระสมณโคดมจักเสด็จมายังบ้านหรือนิคมโน้นๆ กษัตริย์เหล่านั้นก็พากันเตรียมปัญหาไว้ ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักพากันเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหา ถ้าพระสมณโคดมถูกพวกเราถามไปอย่างนี้ ตอบแก้มาอย่างนี้ พวกเราจะปราบวาทะของพระองค์อย่างนี้ ถ้าพระสมณโคดมถูกพวกเราถามอย่างนี้ ตอบแก้มาอย่างนี้ พวกเราก็จะปราบวาทะของพระองค์เสียอย่างนี้
“ครั้นได้ทราบข่าวว่าพระสมณโคดมเสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมโน้นแล้ว ก็พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้กษัตริย์เหล่านั้นเข้าใจชัด ให้เห็นตาม ให้แข็งขัน ให้บันเทิง ด้วยธรรมีกถาแล้ว กษัตริย์เหล่านั้นก็มิได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาค ที่ไหนเลยจะมาปราบวาทะพระองค์ได้เล่า ที่แท้กลับพากันมาสมัครตัวเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสอันเนื่องด้วยธรรมของหม่อมฉัน ที่มีต่อพระผู้มีพระภาค
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็นพราหมณ์บัณฑิต ฯลฯ คฤหบดีบัณฑิต…สมณบัณฑิตบางพวก ผู้มีปัญญาสุขุม สามารถปราบวาทะฝ่ายปรปักษ์ได้ มีปัญญาเฉียบแหลม ดุจจะยิงขนทรายได้ ท่านเหล่านั้น เหมือนจะเที่ยวได้เอาปัญญาไปทำลายหลักทฤษฎีทั้งหลายของคนอื่นๆ
“พอได้ยินข่าวว่า พระสมณโคดมจักเสด็จมายังบ้านหรือนิคมโน้นๆ สมณะเหล่านั้นก็จะพากันเตรียมปัญหาไว้…พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้สมณะเหล่านั้นเข้าใจชัด ให้เห็นตาม ให้แข็งขัน ให้บันเทิงด้วยธรรมีกถาแล้ว สมณะเหล่านั้นก็มิได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาค ที่ไหนเลยจะปราบวาทะของพระองค์ได้เล่า ที่แท้ก็พากันทูลขอโอกาสกะพระผู้มีพระภาคเพื่อออกบวชเป็นบรรพชิต พระผู้มีพระภาคก็ทรงบรรพชาให้
“ครั้นได้บรรพชาแล้วเช่นนั้น ท่านก็ปลีกตัวออกไปอยู่สงัด เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว ไม่นานเลยก็ได้รู้ยิ่งเห็นจริง กระทำสำเร็จซึ่งประโยชน์สูงสุด อันเป็นจุดหมายแห่งพรหมจรรย์ อันเป็นที่ปรารถนาของกุลบุตรผู้ออกบวชทั้งหลายด้วยตนเอง ในปัจจุบันชาตินี้เอง
“ท่านเหล่านั้นพากันกล่าวว่าดังนี้ ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเราไม่พินาศแล้วสิหนอ แต่ก่อนนี้ พวกเราทั้งที่มิได้เป็นสมณะจริงเลย ก็ปฏิญาณว่าตนเป็นสมณะ ทั้งที่มิได้เป็นพราหมณ์จริงเลย ก็ปฏิญาณว่าตนเป็นพราหมณ์ ทั้งที่มิได้เป็นพระอรหันต์จริงเลย ก็ปฏิญาณว่าตนเป็นพระอรหันต์ บัดนี้พวกเราเป็นสมณะจริงแล้ว เป็นพราหมณ์จริงแล้ว เป็นพระอรหันต์จริงแล้ว’
“แม้ข้อนี้ก็เป็นความเลื่อมใสอันเนื่องด้วยธรรมของหม่อมฉันที่มีต่อพระผู้มีพระภาค…”29ฯ.
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงลุกเป็นไฟไปหมดแล้ว… ลุกเป็นไฟเพราะอะไร… เพราะไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ… เพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส….”
ที่มา https://www.payutto.net/book-content/%E0%B9%96-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99/