- ทำไมผังห้องในโฉนดคอนโดต้องลากหยักไปหยักมา
- พื้นที่ห้องตามโฉนดทำไมมีบวกเพิ่ม/ลดลง ไม่พอดีเต็มหน่วย
- ความหนาของผนังนับด้วยไหม และส่วนไหนบ้างที่รวม/ไม่รวมในกรรมสิทธิ์
เคยสงสัยกันไหมครับว่า เวลาที่เราซื้อคอนโดมาสักห้องหนึ่งเมื่อถึงกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ห้องที่สำนักงานที่ดิน ผังห้องที่อยู่บนหน้าโฉนดทำไมมีรูปร่างลักษณะแปลกๆ แหว่งไปบ้าง บานออกบ้างนิดๆ หน่อยๆ ไม่ได้ลากตรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบที่เราเห็นจนคุ้นเคยจากในแบบที่ขายในใบเสนอราคาหรือรูปตัวอย่างของโครงการ
แม้แต่ขนาดพื้นที่ห้องนับเป็นตารางเมตร ก็อาจจะมีการเพิ่มขึ้นหรือหายไปบ้างเล็กน้อย อย่างเมื่อเราตั้งใจซื้อคอนโดห้องแบบ 1 Bedroom ขนาด 30 ตารางเมตร แต่เมื่อถึงรอบโอนจริง ขนาดตามโฉนดอาจเพิ่มขึ้นเป็น 30.24 ตารางเมตร หรือแหว่งออกไปเป็น 29.78 ตารางเมตร เป็นต้น
แล้วการที่พื้นที่ห้องคอนโดในหน้าโฉนดจริงมันงอกขึ้นหรือหดลงไป มันเกิดจากอะไรกันแน่ และพื้นที่ห้องที่เราเป็นเจ้าของตามโฉนดนี้เขานับยังไง ยึดหลักการส่วนไหนบ้าง ในโพสนี้นิวบ์สรุปมาให้เข้าใจง่ายๆ แล้วครับ
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่
วิธีวัดขนาดห้องคอนโด มีวิธีนับกันยังไง?
ส่วนที่นับรวมในโฉนด (พื้นที่ห้องเราถือครองได้)
1. ผนังที่กั้นระหว่างห้องเรากับพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ผนังที่กั้นระหว่างโถงทางเดินกับห้องเรา หากผนังหนา 10 ซม. ก็นับด้วยทั้ง 10 ซม.
2. ผนังที่กั้นระหว่างห้องของเรากับห้องคนอื่น ให้แบ่งเป็นกรรมสิทธิ์กันคนละครึ่ง ถ้าผนังมีความหนา 10 ซม. ก็นับเป็นของเรา 5 ซม. ครับ
3. พื้นที่วางคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ ถ้ามีขอบเขตชัดเจนก็นับเป็นพื้นที่ห้องด้วย ถ้าแขวนเหนือระเบียงก็นับรวมกับพื้นที่ระเบียง
4. พื้นที่จอดรถ ซึ่งจะมีการวาดระบุเข้าไปในหน้าใบโฉนดด้วย แต่หากไม่มีจะนับว่าเป็นพื้นที่ส่วนกลางครับ
ส่วนที่ไม่นับรวมเป็นพื้นที่ห้อง
หลักๆ ก็ได้แก่พื้นที่ที่ถือว่าเป็นทรัพย์ส่วนกลางของโครงการครับ ซึ่งลูกบ้านทุกยูนิตต้องใช้ร่วมกันไม่นับรวมในโฉนดห้อง
1. เสาและโครงสร้างอาคาร
ถือเป็นโครงสร้างที่เป็นส่วนกลางของอาคาร วัดกรรมสิทธิ์จากขอบผนังฝั่งด้านในห้อง
2. ผนังฝั่งที่ติดกับภายนอกอาคาร
ถือเป็นโครงสร้างที่เป็นส่วนกลางของอาคารเช่นกัน ให้วัดกรรมสิทธิ์จากขอบผนังฝั่งด้านในห้อง
3. ผนังของปล่องลิฟต์
ถือเป็นโครงสร้างที่เป็นส่วนกลางของอาคาร
4. ปล่องท่อหรือช่องชาร์ฟ (Shaft)
ต้องแบ่งกันใช้ระหว่างห้องด้านล่างและห้องด้านบนตลอดแนวความสูง ไม่นับแบ่งช่วงรวมเป็นของห้องใดห้องหนึ่งครับ
5. (จากข้อ 3. และ 4.) ในส่วนของผนังของช่องท่อ กับผนังของบันไดหนีไฟ
แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนกลางแต่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างอาคาร ไม่ได้นำมานับรวมแบบกรณีผนังหน้าทางเดินครับ การนับกรรมสิทธิ์ให้วัดจากขอบผนังฝั่งด้านในห้องเช่นกัน
ทั้งนี้หลายๆ โครงการในรอบ Presale จึงมักระบุในสัญญาซื้อขายว่า “พื้นที่ห้องอาจมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลง” โดยถ้าพื้นที่ห้องเปลี่ยนแปลงเกิน 5% ของพื้นที่เดิมตามหน้าสัญญาขาย ผู้ซื้อสามารถเลือกที่จะปฏิเสธการรับโอนและเรียกร้องเงินดาวน์คืนได้นะครับ
อ่านบทความดีๆได้ที่
CondoNewb
การวัดขนาดพื้นที่ในห้องคอนโด นับกันยังไง?
- พื้นที่ห้องตามโฉนดทำไมมีบวกเพิ่ม/ลดลง ไม่พอดีเต็มหน่วย
- ความหนาของผนังนับด้วยไหม และส่วนไหนบ้างที่รวม/ไม่รวมในกรรมสิทธิ์
เคยสงสัยกันไหมครับว่า เวลาที่เราซื้อคอนโดมาสักห้องหนึ่งเมื่อถึงกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ห้องที่สำนักงานที่ดิน ผังห้องที่อยู่บนหน้าโฉนดทำไมมีรูปร่างลักษณะแปลกๆ แหว่งไปบ้าง บานออกบ้างนิดๆ หน่อยๆ ไม่ได้ลากตรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบที่เราเห็นจนคุ้นเคยจากในแบบที่ขายในใบเสนอราคาหรือรูปตัวอย่างของโครงการ
แม้แต่ขนาดพื้นที่ห้องนับเป็นตารางเมตร ก็อาจจะมีการเพิ่มขึ้นหรือหายไปบ้างเล็กน้อย อย่างเมื่อเราตั้งใจซื้อคอนโดห้องแบบ 1 Bedroom ขนาด 30 ตารางเมตร แต่เมื่อถึงรอบโอนจริง ขนาดตามโฉนดอาจเพิ่มขึ้นเป็น 30.24 ตารางเมตร หรือแหว่งออกไปเป็น 29.78 ตารางเมตร เป็นต้น
แล้วการที่พื้นที่ห้องคอนโดในหน้าโฉนดจริงมันงอกขึ้นหรือหดลงไป มันเกิดจากอะไรกันแน่ และพื้นที่ห้องที่เราเป็นเจ้าของตามโฉนดนี้เขานับยังไง ยึดหลักการส่วนไหนบ้าง ในโพสนี้นิวบ์สรุปมาให้เข้าใจง่ายๆ แล้วครับ
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ วิธีวัดขนาดห้องคอนโด มีวิธีนับกันยังไง?
ส่วนที่นับรวมในโฉนด (พื้นที่ห้องเราถือครองได้)
1. ผนังที่กั้นระหว่างห้องเรากับพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ผนังที่กั้นระหว่างโถงทางเดินกับห้องเรา หากผนังหนา 10 ซม. ก็นับด้วยทั้ง 10 ซม.
2. ผนังที่กั้นระหว่างห้องของเรากับห้องคนอื่น ให้แบ่งเป็นกรรมสิทธิ์กันคนละครึ่ง ถ้าผนังมีความหนา 10 ซม. ก็นับเป็นของเรา 5 ซม. ครับ
3. พื้นที่วางคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ ถ้ามีขอบเขตชัดเจนก็นับเป็นพื้นที่ห้องด้วย ถ้าแขวนเหนือระเบียงก็นับรวมกับพื้นที่ระเบียง
4. พื้นที่จอดรถ ซึ่งจะมีการวาดระบุเข้าไปในหน้าใบโฉนดด้วย แต่หากไม่มีจะนับว่าเป็นพื้นที่ส่วนกลางครับ
ส่วนที่ไม่นับรวมเป็นพื้นที่ห้อง
หลักๆ ก็ได้แก่พื้นที่ที่ถือว่าเป็นทรัพย์ส่วนกลางของโครงการครับ ซึ่งลูกบ้านทุกยูนิตต้องใช้ร่วมกันไม่นับรวมในโฉนดห้อง
1. เสาและโครงสร้างอาคาร
ถือเป็นโครงสร้างที่เป็นส่วนกลางของอาคาร วัดกรรมสิทธิ์จากขอบผนังฝั่งด้านในห้อง
2. ผนังฝั่งที่ติดกับภายนอกอาคาร
ถือเป็นโครงสร้างที่เป็นส่วนกลางของอาคารเช่นกัน ให้วัดกรรมสิทธิ์จากขอบผนังฝั่งด้านในห้อง
3. ผนังของปล่องลิฟต์
ถือเป็นโครงสร้างที่เป็นส่วนกลางของอาคาร
4. ปล่องท่อหรือช่องชาร์ฟ (Shaft)
ต้องแบ่งกันใช้ระหว่างห้องด้านล่างและห้องด้านบนตลอดแนวความสูง ไม่นับแบ่งช่วงรวมเป็นของห้องใดห้องหนึ่งครับ
5. (จากข้อ 3. และ 4.) ในส่วนของผนังของช่องท่อ กับผนังของบันไดหนีไฟ
แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนกลางแต่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างอาคาร ไม่ได้นำมานับรวมแบบกรณีผนังหน้าทางเดินครับ การนับกรรมสิทธิ์ให้วัดจากขอบผนังฝั่งด้านในห้องเช่นกัน
ทั้งนี้หลายๆ โครงการในรอบ Presale จึงมักระบุในสัญญาซื้อขายว่า “พื้นที่ห้องอาจมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลง” โดยถ้าพื้นที่ห้องเปลี่ยนแปลงเกิน 5% ของพื้นที่เดิมตามหน้าสัญญาขาย ผู้ซื้อสามารถเลือกที่จะปฏิเสธการรับโอนและเรียกร้องเงินดาวน์คืนได้นะครับ
อ่านบทความดีๆได้ที่ CondoNewb