คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ประเด็นค่าชดเชย
ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งมีอายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี และเหตุเลิกจ้างไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 119 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน
ลูกจ้างมีสิทธิได้นับค่าชดเชย จำนวร 240 วัน ตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง (4) แห่ง พ.ร.บ. ฉบับเดียวกัน
ประเด็นบอกกล่าวล่วงหน้า
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง กำหนดว่าการบอกเลิกสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ฝ่ายที่จะบอกเลิกต้องบอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าในวันที่เป็นกำหนดการจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันในวันที่เป็นกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า
ดังนั้น จึงต้องรู้ก่อนว่าวันจ่ายค่าจ้างหรือวันเงินเดือนออกของคุณคือวันที่เท่าไร และนายจ้างบอกเลิกจ้างในวันที่เท่าไร
เช่น นายจ้างมีกำหนดจ่ายค่าจ้างเดือนละหนึ่งครั้ง คือ ทุกวันสิ้นเดือน โดยตัดรอบคำนวณค่าจ้างตั้งแต่วันที่ 1 - วันสิ้นเดือน
นายจ้างก็ต้องบอกเลิกจ้างในวันที่ 30 เมษายน 2563 แล้วให้ลูกจ้างทำงานต่อไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ
หรือถ้านายจ้างจะบอกเลิกจ้างแล้วให้ออกจากงานทันทีในวันที่ 30 เมษายน 2563 ก็ย่อมได้ แต่ต้องจ่ายเงินเรียกว่า “ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า” หรือที่คุณเรียกว่า “ค่าตกใจ” เท่ากับจำนวนค่าจ้างไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563
หรืออีกตัวอย่างหนึ่งที่คุณบอกว่า “สัปดาห์หน้าจะถูกบริษัทเรียกเข้าไปเพื่อตกลงเรื่องค่าชดเชย” ก็ต้องเอาข้อเท็จจริงมาให้ได้ว่านายจ้างบอกเลิกจ้างให้คุณเมื่อไร และจะให้มีผลเลิกจ้างในวันที่เท่าไร
เช่น บอกเลิกจ้างให้ทราบในวันที่ 15 เมษายน 2563 จะถือว่าเป็นการบอกเลิกจ้างในวันที่ 30 เมษายน 2563 และมีผลเลิกสัญญากันในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563
ถ้านายจ้างบอกเลิกจ้างให้มีผลทันทีในวันที่ 15 เมษายน 2563
นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันที่ 1 - 15 เมษายน 2563 และต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2563 - 31 พฤษภาคม 2563
(จะสังเกตได้ว่าค่าจ้างกับค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจะไม่ทับซ้อนวันกัน)
ถ้าบอกเลิกจ้างวันที่ 15 เมษายน 2563 ให้ทำงานวันที่ 30 เมษายน 2563 เป็นวันสุดท้าย
นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง 1 - 30 เมษายน 2563 และจ่ายค่าบอกกล่าว 1 - 31 พฤษภาคม 2563
หรือถ้าบอกเลิกจ้าง 15 เมษายน 2563 แล้วให้มีผล 31 พฤษภาคม 2563
คุณก็มีหน้าที่ต้องทำงานไปจนถึงกำหนดเลิกจ้าง และได้รับค่าจ้างตลอดระยะเวลาจนถึง 31 พฤษภาคม 2563
ประเด็นวันหยุดพักผ่อนประจำปี ขอแยกเป็นสองเรื่อง
1. วันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมจากปีที่ผ่านมา (มาตรา 67 วรรคสอง) ถ้าคงเหลือสิทธิที่ไม่ได้หยุดจำนวนเท่าใด นายจ้างต้องจ่ายคืนเป็นเงิน
2. วันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วน (มาตรา 67 วรรคหนึ่ง) เงินตัวนี้ใช้สำหรับกรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตาม 119 เท่านั้น
เช่น นายจ้างให้สิทธิพักผ่อนประจำปี ปีละ 6 วัน เมื่อนายจ้างเลิกจ้างในวันที่ 30 เมษายน 2563
ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วน คือ 1 มกราคม - 30 เมษายน จำนวน 2 วัน (เฉลี่ยสองเดือนต่อหนึ่งวัน)
ประเด็นประกันสังคม ไม่ขอก้าวล่วงมาก
การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน นายจ้างสามารถแจ้งได้ 3 ลักษณะ คือ ลาออก เลิกจ้าง และเลิกจ้างโดยมีความผิด
ซึ่งกรณีอย่างหลัง ประกันสังคมจะไม่จ่ายเงินแน่นอน
ส่วนกรณีลาออกกับเลิกจ้าง ได้สิทธิไม่เท่ากัน ตามที่คุณเข้าใจ
ถ้าอิงจากฐานเดิมก่อนเพิ่มสิทธิก่อนเกิดโควิด คือ ลาออกได้ 30% นาน 3 เดือน ส่วนเลิกจ้างได้ 50% นาน 6 เดือน
แต่การจ้างออกก็คือ นายจ้างอาจจ่ายเงินให้สูงกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยให้ลูกจ้างเขียนหนังสือลาออก
ซึ่งการจ้างออก มันก็คือการลาออก ไม่ใช่การเลิกจ้าง เพราะลูกจ้างเขียนหนังสือลาออก
และนายจ้างก็แจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนว่า “ลาออก” อยู่ดี
ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งมีอายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี และเหตุเลิกจ้างไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 119 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน
ลูกจ้างมีสิทธิได้นับค่าชดเชย จำนวร 240 วัน ตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง (4) แห่ง พ.ร.บ. ฉบับเดียวกัน
ประเด็นบอกกล่าวล่วงหน้า
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง กำหนดว่าการบอกเลิกสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ฝ่ายที่จะบอกเลิกต้องบอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าในวันที่เป็นกำหนดการจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันในวันที่เป็นกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า
ดังนั้น จึงต้องรู้ก่อนว่าวันจ่ายค่าจ้างหรือวันเงินเดือนออกของคุณคือวันที่เท่าไร และนายจ้างบอกเลิกจ้างในวันที่เท่าไร
เช่น นายจ้างมีกำหนดจ่ายค่าจ้างเดือนละหนึ่งครั้ง คือ ทุกวันสิ้นเดือน โดยตัดรอบคำนวณค่าจ้างตั้งแต่วันที่ 1 - วันสิ้นเดือน
นายจ้างก็ต้องบอกเลิกจ้างในวันที่ 30 เมษายน 2563 แล้วให้ลูกจ้างทำงานต่อไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ
หรือถ้านายจ้างจะบอกเลิกจ้างแล้วให้ออกจากงานทันทีในวันที่ 30 เมษายน 2563 ก็ย่อมได้ แต่ต้องจ่ายเงินเรียกว่า “ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า” หรือที่คุณเรียกว่า “ค่าตกใจ” เท่ากับจำนวนค่าจ้างไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563
หรืออีกตัวอย่างหนึ่งที่คุณบอกว่า “สัปดาห์หน้าจะถูกบริษัทเรียกเข้าไปเพื่อตกลงเรื่องค่าชดเชย” ก็ต้องเอาข้อเท็จจริงมาให้ได้ว่านายจ้างบอกเลิกจ้างให้คุณเมื่อไร และจะให้มีผลเลิกจ้างในวันที่เท่าไร
เช่น บอกเลิกจ้างให้ทราบในวันที่ 15 เมษายน 2563 จะถือว่าเป็นการบอกเลิกจ้างในวันที่ 30 เมษายน 2563 และมีผลเลิกสัญญากันในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563
ถ้านายจ้างบอกเลิกจ้างให้มีผลทันทีในวันที่ 15 เมษายน 2563
นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันที่ 1 - 15 เมษายน 2563 และต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2563 - 31 พฤษภาคม 2563
(จะสังเกตได้ว่าค่าจ้างกับค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจะไม่ทับซ้อนวันกัน)
ถ้าบอกเลิกจ้างวันที่ 15 เมษายน 2563 ให้ทำงานวันที่ 30 เมษายน 2563 เป็นวันสุดท้าย
นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง 1 - 30 เมษายน 2563 และจ่ายค่าบอกกล่าว 1 - 31 พฤษภาคม 2563
หรือถ้าบอกเลิกจ้าง 15 เมษายน 2563 แล้วให้มีผล 31 พฤษภาคม 2563
คุณก็มีหน้าที่ต้องทำงานไปจนถึงกำหนดเลิกจ้าง และได้รับค่าจ้างตลอดระยะเวลาจนถึง 31 พฤษภาคม 2563
ประเด็นวันหยุดพักผ่อนประจำปี ขอแยกเป็นสองเรื่อง
1. วันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมจากปีที่ผ่านมา (มาตรา 67 วรรคสอง) ถ้าคงเหลือสิทธิที่ไม่ได้หยุดจำนวนเท่าใด นายจ้างต้องจ่ายคืนเป็นเงิน
2. วันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วน (มาตรา 67 วรรคหนึ่ง) เงินตัวนี้ใช้สำหรับกรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตาม 119 เท่านั้น
เช่น นายจ้างให้สิทธิพักผ่อนประจำปี ปีละ 6 วัน เมื่อนายจ้างเลิกจ้างในวันที่ 30 เมษายน 2563
ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วน คือ 1 มกราคม - 30 เมษายน จำนวน 2 วัน (เฉลี่ยสองเดือนต่อหนึ่งวัน)
ประเด็นประกันสังคม ไม่ขอก้าวล่วงมาก
การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน นายจ้างสามารถแจ้งได้ 3 ลักษณะ คือ ลาออก เลิกจ้าง และเลิกจ้างโดยมีความผิด
ซึ่งกรณีอย่างหลัง ประกันสังคมจะไม่จ่ายเงินแน่นอน
ส่วนกรณีลาออกกับเลิกจ้าง ได้สิทธิไม่เท่ากัน ตามที่คุณเข้าใจ
ถ้าอิงจากฐานเดิมก่อนเพิ่มสิทธิก่อนเกิดโควิด คือ ลาออกได้ 30% นาน 3 เดือน ส่วนเลิกจ้างได้ 50% นาน 6 เดือน
แต่การจ้างออกก็คือ นายจ้างอาจจ่ายเงินให้สูงกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยให้ลูกจ้างเขียนหนังสือลาออก
ซึ่งการจ้างออก มันก็คือการลาออก ไม่ใช่การเลิกจ้าง เพราะลูกจ้างเขียนหนังสือลาออก
และนายจ้างก็แจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนว่า “ลาออก” อยู่ดี
แสดงความคิดเห็น
สอบถามเรื่องเงินชดเชยกรณีถูกบริษัทจ้างออก หรือ ลาออกเอง เร่งด่วน***
(ก่อนหน้านี้มีพนักงานบริษัทท่านอื่นถูกเรียกเข้าไปตกลงและรับเงื่อนไขลาออกเอง )
มีคำถามรบกวนผู้รู้ช่วยเหลือทีครับ ก่อนหน้านี้หาข้อมูลเบื้องต้นแล้วแต่ยังมีบางข้อ เพราะบางแหล่งข้อมูลไม่ตรงกัน
เคสผมคือทำงานเกิน 6 ปีแต่ไม่ถึง 10 ปี
1.เงินชดเชยกรณีเลิกจ้าง เคสทำงานเกิน 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี ควรได้ 240 วัน ตามนี้ถูกไหม ?
2.ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างและไม่ได้แจ้งล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือ "เงินค่าตกใจ" (เคสนี้แจ้งก่อนไม่ถึง 1 เดือนมีผลให้ออกปลายเดือนนี้) มีข้อมูลบางแหล่งไม่ตรงกัน คือบางที่ระบุว่าบอกล่วงหน้าไม่ถึง 60 วัน ต้องได้ชดเชยทั้งหมด 60 วัน แต่บางที่ระบุว่า บอกล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน ต้องได้ชดเชย 30 วัน
สรุปเคสนี้ ถ้าตามกฎหมายควรได้ชดเชยค่าตกใจ 30 วัน หรือ 60 วัน ?
3.เงินชดเชยวันลาพักร้อนที่เหลือเคสนี้ผมเหลือมากกว่า 20 วัน ควรได้เต็มจำนวนที่เหลือหรือไม่ หรือมีกำหนดไว้หรือไม่ว่าจะได้ไม่เกินเท่าใด
4.ที่สงสัยเนื่องจากมาตรการช่วยเหลือล่าสุดของประกันสังคม หากไปลงทะเบียนและรายงานตัวว่างงาน จะได้ค่าชดเชยกรณีว่างงานไม่เท่ากัน
ยกตัวอย่างกรณีหางานใหม่ไม่ได้นะครับ ระหว่าง
- เคสลาออกเอง ได้ 45% ของ 15,000 (คิดสูงสุด) จะได้เท่ากับ 0.45 x 15,000 = 6,750 / เดือน
แต่จะได้แค่ 90 วันหรือ 3 เดือน (สูงสุด = 20,250 บาท)
- เคสจ้างออก ได้ 70% ของ 15,000 (คิดสูงสุด) จะได้เท่ากับ 0.70 x 15,000 = 10,500 / เดือน
เคสจ้างออก ได้ถึง 200 วัน (สูงสุด = 70,000 บาท) คิดคร่าวๆนะครับ
**** ต่างกัน 2 เคสเกือบห้าหมื่น ผมเข้าใจตามนี้ถูกต้องไหม เพื่อจะได้นำไปตัดสินใจเพื่อรับข้อตกลงหากบริษัทต้องการให้ลาออกเอง
รบกวนขอความช่วยเหลือผู้ที่มีความรู้ด้านนี้ด้วยครับ