ไม่มี “ เสื่อสักผืน หรือหมอนสักใบ ” ในลำนำของนักเดินทางชาวจีน...

กระทู้สนทนา
ไม่ทราบว่าสำนวน “ เสื่อผืนหมอนใบ ” กำเนิดจากปลายปากกาใคร

แต่มันก็นิยมใช้สืบกันมาในโลกวรรณกรรมไทย จนใครต่อใครหลงเข้าใจผิดๆว่า คนจีนเค้าพกพาหมอนและเสื่อรุ่มร่ามติดตัวประจำ

ทั้งๆที่ปากคำของผู้หลักผู้ใหญ่ที่เดินทางมาจากเมืองจีนล้วนบอกตรงกันว่า 

ในท้องเรือสินค้าที่ท่านใช้เดินทางมาเมืองไทยไม่มีที่พอให้ปูเสื่อ หรือเรียงหมอน

ใครที่อ่อนโลกนำหมอนขึ้นเรือ ก็คงไม่ได้ใช้

เพราะน้ำทะเลที่ซัดสาดขึ้นมาบนเรือ คงทำให้หมอนเปียกใช้หนุนนอนไม่ได้ และถูกทิ้งไปในระหว่างการเดินทาง

ใครที่อายุห้าสิบอัพคงจะคุ้นชินกับลำนำนักเดินทางแต้จิ๋ว

ที่เคยนิยมร้องขับกันในชุมชนชาวจีนบ้านเราว่า

ทีเต้งปวยหงั่งง้อ อาตี๋อู่โบ้ว อาเฮียบ๊อ....



เนื้อความในลำนำว่า บางคนละบ้านเกิดมาเพราะอับอายที่น้องได้แต่งงานก่อนตัวเอง
จึงหอบหิ้ว “ เปาก้อ ” ( 包裹 ) มาหากินอยู่เมืองไทย....
..
ลำน้ำพื้นบ้านที่ยกมานี้ บอกเราว่า คนจีนแต่เก่าก่อนยามจะต้องเดินทางไกล ไม่มีใครเค้าพกพาเสื่อหรือหมอนไปด้วย
ท่านใช้ “ เปาก้อ ” หรือผ้าห่อสัมภาระมาเมืองไทย






...

天顶飞雁鹅

阿弟有嬷阿兄无,
阿弟生囝叫大伯,
大伯听着无奈何,
收拾包裹过暹罗。
来去暹罗牵猪哥,
赚有钱银多少寄,
寄返唐山娶老婆。

คัดจาก

https://web.facebook.com/plu.danai/posts/1678608082389000
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่