ธุรกิจที่ถูกหยุดชะงักเนื่องจากรัฐสั่งปิดห้างสรรพสินค้า และตลาดนัดแม้ว่าจะไม่ใช่กลุ่มธุรกิจที่รัฐระบุให้ปิดโดยตรง คืออยู่ในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งตั้งอยู่ในจุดที่ไม่สามารถเปิดได้อีกต่อไป เนื่องจากอยู่ในส่วนหนึ่งของห้างที่ไม่ใช่โซนซุปเปอร์มาร์เก็ต ในเมื่อห้างปิดทั้งฟลอ เราก็ต้องปิดไปด้วยทั้งที่ไม่อยากปิด ซึ่งเราไม่ได้ปิดถาวรเพราะมีสัญญาเช่าระยะยาวอยู่ และมีสัญญากับทางแฟรนไชน์ด้วย ซึ่งอาจจะต้องจ่ายค่าเช่าส่วนหนึ่ง ส่วนลูกจ้างมีทั้ง 33 39 และ 33 ไม่ถึง 6 เดือน และมาอ่านนโยบายเร่งด่วนของรัฐมาตรการต่างๆก็รู้สึกใจชื้นขึ้นมาบ้างว่าอย่างน้อยลูกจ้างเราจะได้รับการคุ้มครองจากประกันสังคมตามสิทธิที่เราจ่ายให้มาสม่ำเสมอทุกๆเดือนตามรูป
อ้างอิง
https://news.thaipbs.or.th/content/290365
เมื่อวันที่ถูกปิดวันแรก ก่อนรัฐจะออกพรกฉุกเฉิน 1 วัน ประมาณ 22-24 มีนาคมจึงได้โทรสอบถามและให้ข้อมูลต่างๆครบถ้วนแล้ว ทางประกันสังคมได้แจ้งว่าให้ยื่นเรื่องทางออนไลน์เพื่อขอสิทธิว่างงานให้แก่พนักงานได้ ตามกฏหมายถือว่าโรคระบาดเป็นเหตุสุดวิสัย เราจะชดเชยให้ไม่เกิน 180 วัน(อัดเทปคำพูดไว้) กรณีไม่เข้าข่ายรัฐสั่งปิด หรือเหตุจากเจอผู้ป่วยในกิจการ จึงต้องลงเหตุผลเพื่อรับค่าชดเชยให้ลูกจ้างดังนี้ คือปิดกิจการชั่วคราวเนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจ และเจ้าหน้าที่ยังบอกด้วยว่าห้ามจ่ายค่าจ้างช่วงปิดกิจการเกินกว่า 50% จะไม่เข้าข่ายและไม่สามารถรับสิทธิว่างงานได้(อัดเสียงไว้เช่นกัน) ตามรูป
อ้างอิง
https://www.sso.go.th/eform_news/
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแบบฟอร์มที่หน้าเวบของประกันสังคม ซึ่งก็ได้กรอกข้อมูลในส่วนนายจ้างแล้วเสร็จ รวมถึงให้ลูกจ้างทุกคนกรอกจนครบตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา
แต่ปรากฏว่าล่าสุด( 10 เมษายน 63) ฝ่ายบัญชีได้แจ้งเรื่องด่วนมาเมื่อวานว่าหากลงตามนี้จะไม่ได้ชดเชยตามประกาศล่าสุดที่ประกันสังคมออกมาดังนี้
ทางบัญชีบอกว่ากรณีนี้เท่ากับว่าเราจะไม่สามารถได้รับการชดเชยใดๆและทางบริษัทยังต้องรับภาระค่าแรง 75% กับลูกจ้าง จึงลองเข้าไปดูหน้าเวบอีกครั้งพบว่าล่าสุดมีการเพิ่มเงื่อนไขสำคัญเข้ามา ในครั้งแรกที่กรอกช่วงปลายเดือนที่แล้วไม่มี ตามรูปดังนี้
ชัดๆคือกรณีที่ทางประกันสังคมแนะนำให้กรอกคือไม่เข้าข่าย ซึ่งระบุว่านายจ้างให้ลูกจ้างหยุดเนื่องจากผู้ให้เช่าสั่งหยุดเนื่องจากรัฐสั่งปิด ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย สรุปคือกลายเป็นว่าลูกจ้างจะไม่ได้รับค่าชดเชยใดๆจากรัฐเพราะเป็นมาตรา 33 ซึ่งรัฐบอกว่าประกันสังคมคุ้มครองอยู่แล้ว แต่สุดท้ายนอกจากลูกจ้างจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากสิทธิว่างงานแล้ว นายจ้างเองถูกบังคับปิดร้านชั่วคราว จากรัฐที่บังคับให้ห้างหรือตลาดนัดปิด และถูกบังคับจ่ายค่าแรงแก่ลูกจ้าง 75% ทั้งที่นายจ้างและลูกจ้างช่วยกันสมทบให้กับประกันสังคมมาโดยตลอด เวลาลำบากโซซัดโซเซมาจากโรคระบาดขายของไม่ได้แล้วพอจะหันมาพึ่งพาประกันสังคมกลับรู้สึกเหมือนโดนกระทืบซ้ำ และปิดประตูใส่หน้า ขณะที่กำลังโชกเลือดที่ไหลไม่หยุดเพราะค่าใช้จ่ายต่างๆก็เดินตลอด จะทำอย่างไรดีครับ
ถ้าท่านใดรู้สึกเช่นเดียวกัน หรือหัวอกเดียวกัน รบกวนกด + ที่มุมซ้ายล่างด้วยครับ เพื่ออย่างน้อยเป็นเสียงสะท้อนจาก sme เล็กๆ ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญอันหนึ่งของประเทศชาติแต่กลับไม่ได้รับการเหลียวแลและกำลังจะตายอยู่ตอนนี้ ให้รัฐและองค์กรรัฐที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ความทุกข์ของพวกเราบ้าง ขอบคุณครับ
ปล ผมว่าหากปกสคพยายามหลีกเลี่ยงไม่ช่วยเหลือประชาชนยามเดือดร้อนและโยนภาระกลับไปแบบไม่ใยดีแบบนี้เพื่อเงินในคลังเป็นแสนๆล้านไม่ต้องพร่องลงไป สุดท้ายเมื่อ sme ทนไม่ไหวอยู่ไม่ได้ก็จะต้องเลือกทางที่ไม่อยากเลือกคือเลิกจ้าง ปิดกิจการ สุดท้ายปกสคก็หนีไม่พ้นต้องมารับภาระการชดเชยว่างงานอย่างมหาศาลที่จะเกิดขึ้นอยู่ดี และจะสร้างภาระมหาศาลบานปลายต่อรัฐบาลหนักเข้าไปอีกเมื่อเศรษฐกิจพังพินาศจากการที่ sme ตายเป็นเบือแทนที่จะช่วยกันประคับประคองกันไปก่อน เข้าทำนองเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายหรือเปล่าครับ ฝากถึงผู้มีอำนาจช่วยแก้ปัญหานี้อย่างเร่งด่วนด้วยครับ
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2133348
https://moneyhub.in.th/article/voluntary-resignation/
https://today.line.me/TH/article/PQyqyR?utm_source=copyshare
นายจ้าง sme ที่ได้รับผลกระทบจากโควิดกำลังถูกกระทืบซ้ำจากประกันสังคม?
อ้างอิง https://news.thaipbs.or.th/content/290365
เมื่อวันที่ถูกปิดวันแรก ก่อนรัฐจะออกพรกฉุกเฉิน 1 วัน ประมาณ 22-24 มีนาคมจึงได้โทรสอบถามและให้ข้อมูลต่างๆครบถ้วนแล้ว ทางประกันสังคมได้แจ้งว่าให้ยื่นเรื่องทางออนไลน์เพื่อขอสิทธิว่างงานให้แก่พนักงานได้ ตามกฏหมายถือว่าโรคระบาดเป็นเหตุสุดวิสัย เราจะชดเชยให้ไม่เกิน 180 วัน(อัดเทปคำพูดไว้) กรณีไม่เข้าข่ายรัฐสั่งปิด หรือเหตุจากเจอผู้ป่วยในกิจการ จึงต้องลงเหตุผลเพื่อรับค่าชดเชยให้ลูกจ้างดังนี้ คือปิดกิจการชั่วคราวเนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจ และเจ้าหน้าที่ยังบอกด้วยว่าห้ามจ่ายค่าจ้างช่วงปิดกิจการเกินกว่า 50% จะไม่เข้าข่ายและไม่สามารถรับสิทธิว่างงานได้(อัดเสียงไว้เช่นกัน) ตามรูป
อ้างอิง https://www.sso.go.th/eform_news/
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแบบฟอร์มที่หน้าเวบของประกันสังคม ซึ่งก็ได้กรอกข้อมูลในส่วนนายจ้างแล้วเสร็จ รวมถึงให้ลูกจ้างทุกคนกรอกจนครบตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา
แต่ปรากฏว่าล่าสุด( 10 เมษายน 63) ฝ่ายบัญชีได้แจ้งเรื่องด่วนมาเมื่อวานว่าหากลงตามนี้จะไม่ได้ชดเชยตามประกาศล่าสุดที่ประกันสังคมออกมาดังนี้
ทางบัญชีบอกว่ากรณีนี้เท่ากับว่าเราจะไม่สามารถได้รับการชดเชยใดๆและทางบริษัทยังต้องรับภาระค่าแรง 75% กับลูกจ้าง จึงลองเข้าไปดูหน้าเวบอีกครั้งพบว่าล่าสุดมีการเพิ่มเงื่อนไขสำคัญเข้ามา ในครั้งแรกที่กรอกช่วงปลายเดือนที่แล้วไม่มี ตามรูปดังนี้
ชัดๆคือกรณีที่ทางประกันสังคมแนะนำให้กรอกคือไม่เข้าข่าย ซึ่งระบุว่านายจ้างให้ลูกจ้างหยุดเนื่องจากผู้ให้เช่าสั่งหยุดเนื่องจากรัฐสั่งปิด ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย สรุปคือกลายเป็นว่าลูกจ้างจะไม่ได้รับค่าชดเชยใดๆจากรัฐเพราะเป็นมาตรา 33 ซึ่งรัฐบอกว่าประกันสังคมคุ้มครองอยู่แล้ว แต่สุดท้ายนอกจากลูกจ้างจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากสิทธิว่างงานแล้ว นายจ้างเองถูกบังคับปิดร้านชั่วคราว จากรัฐที่บังคับให้ห้างหรือตลาดนัดปิด และถูกบังคับจ่ายค่าแรงแก่ลูกจ้าง 75% ทั้งที่นายจ้างและลูกจ้างช่วยกันสมทบให้กับประกันสังคมมาโดยตลอด เวลาลำบากโซซัดโซเซมาจากโรคระบาดขายของไม่ได้แล้วพอจะหันมาพึ่งพาประกันสังคมกลับรู้สึกเหมือนโดนกระทืบซ้ำ และปิดประตูใส่หน้า ขณะที่กำลังโชกเลือดที่ไหลไม่หยุดเพราะค่าใช้จ่ายต่างๆก็เดินตลอด จะทำอย่างไรดีครับ
ถ้าท่านใดรู้สึกเช่นเดียวกัน หรือหัวอกเดียวกัน รบกวนกด + ที่มุมซ้ายล่างด้วยครับ เพื่ออย่างน้อยเป็นเสียงสะท้อนจาก sme เล็กๆ ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญอันหนึ่งของประเทศชาติแต่กลับไม่ได้รับการเหลียวแลและกำลังจะตายอยู่ตอนนี้ ให้รัฐและองค์กรรัฐที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ความทุกข์ของพวกเราบ้าง ขอบคุณครับ
ปล ผมว่าหากปกสคพยายามหลีกเลี่ยงไม่ช่วยเหลือประชาชนยามเดือดร้อนและโยนภาระกลับไปแบบไม่ใยดีแบบนี้เพื่อเงินในคลังเป็นแสนๆล้านไม่ต้องพร่องลงไป สุดท้ายเมื่อ sme ทนไม่ไหวอยู่ไม่ได้ก็จะต้องเลือกทางที่ไม่อยากเลือกคือเลิกจ้าง ปิดกิจการ สุดท้ายปกสคก็หนีไม่พ้นต้องมารับภาระการชดเชยว่างงานอย่างมหาศาลที่จะเกิดขึ้นอยู่ดี และจะสร้างภาระมหาศาลบานปลายต่อรัฐบาลหนักเข้าไปอีกเมื่อเศรษฐกิจพังพินาศจากการที่ sme ตายเป็นเบือแทนที่จะช่วยกันประคับประคองกันไปก่อน เข้าทำนองเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายหรือเปล่าครับ ฝากถึงผู้มีอำนาจช่วยแก้ปัญหานี้อย่างเร่งด่วนด้วยครับ
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2133348
https://moneyhub.in.th/article/voluntary-resignation/
https://today.line.me/TH/article/PQyqyR?utm_source=copyshare