ลูกหนี้ กยศ ที่จะให้หักเงินเดือนตามมาตรการช่วยเหลือในกลุ่มลูกหนี้เอกชน คิดให้ดีก่อนนะครับ เผื่อเงินไว้ปิดยอดในเดือนสุดท้ายของมาตรการด้วย (เดือน มิถุนายน 2563)
ตามมาตรการจะช่วยลูกหนี้กลุ่มเอกชน หักเงินเดือนเหลือเดือนละ 10 บาท ตั้งแต่เดือนเมษายน - มิถุนายน 2563 นั้น (ระยะเวลา 3 เดือน) อย่าเพิ่งดีใจไปนะครับ ว่าจะไม่ต้องจ่ายเยอะเหมือนเดิมแล้ว
เพราะอะไร?
เพราะในมาตรการระบุเอาไว้ว่า..."ผู้กู้ยืมยังคงมีหน้าที่ไปชำระส่วนต่างเองตามช่องทางที่กองทุนกำหนดให้ครบตามจำนวนเงินงวดที่ต้องชำระ มิเช่นนั้นจะถือว่าผิดนัดชำระเงินคืนกองทุนผู้กู้ยืมเงินต้องชำระเงินเพิ่มอันได้แก่ เบี้ยปรับหรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระเงินคืนในอัตราร้อยละ 0.5 ต่อปีของเงินต้นงวดที่ค้างชำระนั้น"
ย้ำ!! นะครับ "ไปชำระเงินส่วนต่างเอง"
ซึ่งจะต้องไปชำระเงินส่วนต่างให้เรียบร้อยภายในเดือนมิถุนายน 2563 (กยศ.ตัดรอบบัญชี 5 กรกฎาคม 2563) มิเช่นนั้นจะถือว่าผิดนัดชำระเงิน
ยกตัวอย่าง
- ก่อนเข้าร่วมมาตรการหักเงินเดือนส่ง กยศ. เดือนละ 2,080 บาท
- เข้าร่วมมาตรการหักเงินเดือนส่ง กยศ. เดือนละ 10 บาท
**เรายังมีส่วนต่างค้างอยู่ 2,080 - 10 = 2,070 บาท**
พอมาถึงเดือนมิถุนายน เดือนสุดท้ายของมาตรการ เราจะต้องจ่ายเงินส่วนที่ค้างอยู่ให้หมด จากตัวอย่าง 2,070 x 3 = 6,210 บาท จำนวนนี้เราต้องจ่ายภายในเดือนมิถุนายน 2563 นะครับ!!
แต่!!! มาตรการนี้เป็นกฎหมาย ยังไงซะ กยศ ก็จะหักเราเดือนละ 10 บาทอยู่ดี ดังนั้น เราควรเอาส่วนต่าง 2,070 บาท ไปจ่ายเองทุกเดือนที่ธนาคาร แต่ถ้าใครจะรวมไปจ่ายเดือนมิถุนายน 2563 เลยก็ได้ ถ้าคิดว่าไหวอยู่
ปล. ลูกหนี้เอกชน หมายความว่า ลูกหนี้ที่ไม่ได้บรรจุเป็นข้าราชการ ถ้าลูกหนี้ทำงานในหน่วยงานมหาวิทยาลัย รัฐวิสาหกิจ แต่ไม่ได้บรรจุเป็น "ข้าราชการ" ก็จะอยู่ในกลุ่ม "ลูกหนี้เอกชน" ที่ กยศ. อ้างว่าจะช่วยเหลือตามมาตรการนี้ครับ
ตามความเห็นส่วนตัว มาตรการนี้ "ไม่ได้จริงใจที่จะช่วย" ครับ สุดท้ายก็ไปจ่ายหนักในเดือนที่สามอยู่ดี หากเราจ่ายช้า #กยศ. ก็เอาไปคิดค่าปรับคิดดอกเบี้ยอีก กยศ.ไม่เสียอะไรเลย
เป็นหนี้ก็ต้องใช้หนี้ แต่เจอมาตรการแบบนี้ป่วยใจยิ่งกว่าเจอสถารการณ์ไวรัสโควิด-19 อีกครับ
อยากให้พิจารณาว่า ยอดค้าง 3 เดิอนนั้น
1. ยกเว้นค่าปรับเมื่อไปชำระเงินที่ค้างอยู่ 3 นี้ ให้เสร็จสิ้นภายในเดือน ...... พ.ศ. 2564 (ขอเวลาลูกหนี้หายใจหายคอ) หรือ
2. นำเงินที่ค้างอยู่นี้ (เงินต้น) 3 เดือน ไปบวกกับยอดค้างปี 2564 แล้วหาร 12 เพื่อหักเงินเดือนลูกหนี้ตามปกติ
แบบนี้ยังจะสบายใจซะกว่า
ลูกหนี้ กยศ ที่จะถูกหักเงินเดือน 10 บาท ตามมาตรการช่วยเหลือในกลุ่มลูกหนี้เอกชน คิดให้ดีก่อนนะครับ
พอมาถึงเดือนมิถุนายน เดือนสุดท้ายของมาตรการ เราจะต้องจ่ายเงินส่วนที่ค้างอยู่ให้หมด จากตัวอย่าง 2,070 x 3 = 6,210 บาท จำนวนนี้เราต้องจ่ายภายในเดือนมิถุนายน 2563 นะครับ!!
แต่!!! มาตรการนี้เป็นกฎหมาย ยังไงซะ กยศ ก็จะหักเราเดือนละ 10 บาทอยู่ดี ดังนั้น เราควรเอาส่วนต่าง 2,070 บาท ไปจ่ายเองทุกเดือนที่ธนาคาร แต่ถ้าใครจะรวมไปจ่ายเดือนมิถุนายน 2563 เลยก็ได้ ถ้าคิดว่าไหวอยู่
ปล. ลูกหนี้เอกชน หมายความว่า ลูกหนี้ที่ไม่ได้บรรจุเป็นข้าราชการ ถ้าลูกหนี้ทำงานในหน่วยงานมหาวิทยาลัย รัฐวิสาหกิจ แต่ไม่ได้บรรจุเป็น "ข้าราชการ" ก็จะอยู่ในกลุ่ม "ลูกหนี้เอกชน" ที่ กยศ. อ้างว่าจะช่วยเหลือตามมาตรการนี้ครับ
ตามความเห็นส่วนตัว มาตรการนี้ "ไม่ได้จริงใจที่จะช่วย" ครับ สุดท้ายก็ไปจ่ายหนักในเดือนที่สามอยู่ดี หากเราจ่ายช้า #กยศ. ก็เอาไปคิดค่าปรับคิดดอกเบี้ยอีก กยศ.ไม่เสียอะไรเลย
เป็นหนี้ก็ต้องใช้หนี้ แต่เจอมาตรการแบบนี้ป่วยใจยิ่งกว่าเจอสถารการณ์ไวรัสโควิด-19 อีกครับ
อยากให้พิจารณาว่า ยอดค้าง 3 เดิอนนั้น
1. ยกเว้นค่าปรับเมื่อไปชำระเงินที่ค้างอยู่ 3 นี้ ให้เสร็จสิ้นภายในเดือน ...... พ.ศ. 2564 (ขอเวลาลูกหนี้หายใจหายคอ) หรือ
2. นำเงินที่ค้างอยู่นี้ (เงินต้น) 3 เดือน ไปบวกกับยอดค้างปี 2564 แล้วหาร 12 เพื่อหักเงินเดือนลูกหนี้ตามปกติ
แบบนี้ยังจะสบายใจซะกว่า