เมื่อวานนี้ เวลา 19:00 ตามเวลาท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีของประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย. ถึงวันที่ 6 พ.ค.นี้ โดยมีผลในพื้นที่จังหวัดดังต่อไปนี้ โตเกียว ไซตามะ จิบะ คานางาวะ โอซากา เฮียวโกะ ฟูกูโอกะ โดยให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 7 จังหวัด ในการขอความร่วมมือจากประชาชน ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอก ถ้าไม่จำเป็น ยกเว้น การออกไปโรงพยาบาล การออกไปซื้ออาหาร ซื้อของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน การออกไปออกกำลังกาย และการออกไปทำงาน
- การปิดโรงภาพยนต์ ห้างสรรพสินค้า สถานบันเทิง สนามกีฬา เป็นต้น
- ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา ธนาคาร ที่ขายอาหาร ยา ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ
- การปิดโรงเรียน มหาวิทยาลัย
- การยกเลิกอีเว้นท์ และกิจกรรมต่าง ๆ
- สาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า แก๊ส น้ำประปา อินเตอร์เน็ต ระบบขนส่งมวลชน เช่น รถบัส รถไฟ ยังสามารถใช้งานได้ปกติ
- ที่สำคัญ ให้รัฐบาลท้องถิ่น สามารถทำการต่อไปนี้ได้ 1. ควบคุมปริมาณอาหารและอุปกรณ์ทางการแพทย์ 2. สั่งยึดอาคารสถานที่มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
ข้างต้นเป็นมาตรการที่รัฐบาลกลางออกมาคร่าวๆ ส่วนมาตรการอย่างเป็นรูปธรรม จะให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ออกแนวปฏิบัติเพิ่มเติม ขอยกตัวอย่าง ในจังหวัดฟูกูโอกะ ซึ่งจขกท. อาศัยอยู่
ผู้ว่าฯ ฟูกูโอกะ นายโอกะว่า แถลงหลังการแถลงของนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอก ทั้งวันธรรมดา วันหยุด ทั้งเวลากลางวัน กลางคืน ยกเว้นการออกไปโรงพยาบาล การออกไปซื้ออาหาร ซื้อของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน การออกไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง เป็นต้น
2. การออกไปทำงานนั้น ส่งเสริม work from home การหลีกเลี่ยงการทำงานเวลา rush hour หรือการปั่นจักรยานหรือการเดินไปทำงาน
3. หลีกเลี่ยงการไปเที่ยว หรือการกลับบ้านเกิดที่อยู่ต่างจังหวัด
4. การยกเลิกอีเว้นท์ และกิจกรรมต่าง ๆ
5. ผู้ว่าฯ ฟูกูโอกะ เน้นย้ำเรื่องการไม่ซื้อของกักตุนสินค้า มากที่สุด
- ด้านการปิดกิจการต่างนั้น จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ประกอบธุรกิจ และสถานบันเทิงเหล่านั้น
6. ทางจังหวัดฟูกูโอกะ สั่งปิดทำการ สถานที่ที่บริหารจัดการโดยภาครัฐ เช่น ศูนย์กีฬา พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ ห้องสมุด เป็นต้น
7. ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าหลายแห่งก็ออกประกาศปิดทำการ หรือไม่ก็เปิดทำการสั้นลง หรือเปิดเฉพาะโซนอาหาร
8. สถานบันเทิง เช่น ปาจิงโกะ/คาราโอเกะ/โรงหนัง จะเปิดหรือปิดทำการ นั้นขึ้นอยู่กับความสมัครใจ ทางฟูกูโอกะยังไม่บังคับ (ต่างจากโอซากา ที่สั่งปิดสถานบันเทิงเหล่านี้)
9. กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร ส่วนใหญ่จะปรับเวลาการให้บริการให้สั้นลง
10. กลุ่มผู้ประกอบการขนส่งมวลชน เช่น รถบัส รถไฟ มีการปรับยกเลิก และลด การให้บริการ
11. ยกเลิกกิจกรรมทั้งหมด ซึ่งอาจจะคลอบคลุมไปถึง เทศกาล Yamakasa เทศกาลเก่าแก่ของฟุกุโอกะ ที่จัดในเดือนก.ค. เพราะเป็นกิจกรรมที่ต้องร่วมกลุ่มซ้อมกัน
แม้ฟุกุโอกะจะมีผู้ติดเชื้อไวรัส covid-19 เป็นอันดับที่ 9 ใน 47 จังหวัด ของญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ป่วยสะสมอยู่ที่ 199 คน (ณ วันที่ 8 เม.ย. เวลา 10 โมงเช้า)
แต่ตัวเลขผู้ติดเชื้อ covid-19 ในช่วง 1 อาทิตย์ที่ผ่านมานั้นมากกว่า 80% ของผู้ติดเชื้อ covid-19 ทั้งหมดของฟูกูโอกะ
เรียงลำดับ Tokyo Osaka Chiba Kanagawa Aichi Hyogo Saitama Hokkaido Fukuoka Kyoto ตามลำดับ
(ภาพจาก NHK)
ข้อสังเกต จากจขกท.
- การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในญี่ปุ่น เป็นไปทางขอความร่วมมือ และไม่มีโทษหากผ่าฝืน
- ค่อนข้างอิสระให้โอกาสผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ให้ตัดสินใจเอง เพราะผู้ประกอบแต่ละที่ มีต้นทุนที่ต่างกัน เช่น สต็อก ลูกจ้าง เป็นต้น
- การจัดการ/มาตรการด้านต่างๆ ในฟูกูโอกะ ยังค่อนข้างช้า เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ
- ในเวลาที่ซากุระ กำลังบานสะพรั่ง ชาวเมืองฟูกูโอกะ ไม่ค่อยฝ่าฝืน หลีกเลี่ยงการออกมาจากบ้าน
(จขกท. ออกซื้ออาหารบริเวณ สวน Tenjin Central Park จึงเก็บภาพมาฝาก)
ถ้ามีโอกาสจะมารายงานความคืบหน้า ให้ฟังกันอีก
**ขอแก้ไขคำว่า ประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็น ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
การประกาศภาวะฉุกเฉินในญี่ปุ่นมีผลอย่างไรบ้าง กรณีในฟุกุโอกะ
- หลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอก ถ้าไม่จำเป็น ยกเว้น การออกไปโรงพยาบาล การออกไปซื้ออาหาร ซื้อของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน การออกไปออกกำลังกาย และการออกไปทำงาน
- การปิดโรงภาพยนต์ ห้างสรรพสินค้า สถานบันเทิง สนามกีฬา เป็นต้น
- ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา ธนาคาร ที่ขายอาหาร ยา ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ
- การปิดโรงเรียน มหาวิทยาลัย
- การยกเลิกอีเว้นท์ และกิจกรรมต่าง ๆ
- สาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า แก๊ส น้ำประปา อินเตอร์เน็ต ระบบขนส่งมวลชน เช่น รถบัส รถไฟ ยังสามารถใช้งานได้ปกติ
- ที่สำคัญ ให้รัฐบาลท้องถิ่น สามารถทำการต่อไปนี้ได้ 1. ควบคุมปริมาณอาหารและอุปกรณ์ทางการแพทย์ 2. สั่งยึดอาคารสถานที่มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
ข้างต้นเป็นมาตรการที่รัฐบาลกลางออกมาคร่าวๆ ส่วนมาตรการอย่างเป็นรูปธรรม จะให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ออกแนวปฏิบัติเพิ่มเติม ขอยกตัวอย่าง ในจังหวัดฟูกูโอกะ ซึ่งจขกท. อาศัยอยู่
ผู้ว่าฯ ฟูกูโอกะ นายโอกะว่า แถลงหลังการแถลงของนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอก ทั้งวันธรรมดา วันหยุด ทั้งเวลากลางวัน กลางคืน ยกเว้นการออกไปโรงพยาบาล การออกไปซื้ออาหาร ซื้อของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน การออกไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง เป็นต้น
2. การออกไปทำงานนั้น ส่งเสริม work from home การหลีกเลี่ยงการทำงานเวลา rush hour หรือการปั่นจักรยานหรือการเดินไปทำงาน
3. หลีกเลี่ยงการไปเที่ยว หรือการกลับบ้านเกิดที่อยู่ต่างจังหวัด
4. การยกเลิกอีเว้นท์ และกิจกรรมต่าง ๆ
5. ผู้ว่าฯ ฟูกูโอกะ เน้นย้ำเรื่องการไม่ซื้อของกักตุนสินค้า มากที่สุด
- ด้านการปิดกิจการต่างนั้น จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ประกอบธุรกิจ และสถานบันเทิงเหล่านั้น
6. ทางจังหวัดฟูกูโอกะ สั่งปิดทำการ สถานที่ที่บริหารจัดการโดยภาครัฐ เช่น ศูนย์กีฬา พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ ห้องสมุด เป็นต้น
7. ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าหลายแห่งก็ออกประกาศปิดทำการ หรือไม่ก็เปิดทำการสั้นลง หรือเปิดเฉพาะโซนอาหาร
8. สถานบันเทิง เช่น ปาจิงโกะ/คาราโอเกะ/โรงหนัง จะเปิดหรือปิดทำการ นั้นขึ้นอยู่กับความสมัครใจ ทางฟูกูโอกะยังไม่บังคับ (ต่างจากโอซากา ที่สั่งปิดสถานบันเทิงเหล่านี้)
9. กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร ส่วนใหญ่จะปรับเวลาการให้บริการให้สั้นลง
10. กลุ่มผู้ประกอบการขนส่งมวลชน เช่น รถบัส รถไฟ มีการปรับยกเลิก และลด การให้บริการ
11. ยกเลิกกิจกรรมทั้งหมด ซึ่งอาจจะคลอบคลุมไปถึง เทศกาล Yamakasa เทศกาลเก่าแก่ของฟุกุโอกะ ที่จัดในเดือนก.ค. เพราะเป็นกิจกรรมที่ต้องร่วมกลุ่มซ้อมกัน
แม้ฟุกุโอกะจะมีผู้ติดเชื้อไวรัส covid-19 เป็นอันดับที่ 9 ใน 47 จังหวัด ของญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ป่วยสะสมอยู่ที่ 199 คน (ณ วันที่ 8 เม.ย. เวลา 10 โมงเช้า)
แต่ตัวเลขผู้ติดเชื้อ covid-19 ในช่วง 1 อาทิตย์ที่ผ่านมานั้นมากกว่า 80% ของผู้ติดเชื้อ covid-19 ทั้งหมดของฟูกูโอกะ