การทำงานร่วมกันเป็นเรื่องปกติที่จะมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน และยิ่งถ้าการสื่อสารไม่ดี ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้ง่าย
วันนี้ JobThai Tips นำ 5 วิธีแสดงความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Feedback) ให้ตรงเป้าหมายและได้รับการยอมรับมาฝากทุกคน ไม่ว่าตอนนี้จะทำงานอยู่ที่บ้านหรือที่ออฟฟิศก็สามารถนำเทคนี้ไปใช้กันได้
การพูดโดยใช้เทคนิค Sandwich
การพูดแบบ Sandwich เป็นเทคนิคการให้ Feedback โดยการเรียงประโยคแบบ + - + (บวกลบบวก) วิธีนี้จะทำให้ผู้ฟังรู้ข้อผิดพลาดของตัวเอง และพร้อมจะปรับปรุงโดยไม่เกิดความรู้สึกแย่ต่อผู้พูด (แต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้ฟังด้วยว่าจะเปิดรับความคิดเห็นมากน้อยแค่ไหน)
ตัวอย่างการพูดแบบ Sandwich : งานที่คุณเสนอในที่ประชุมเป็นความคิดที่ดีมากเลยนะ (+) คุณอาจต้องเพิ่มความละเอียดของข้อมูลให้มากกว่านี้เพื่อความผิดพลาดที่น้อยลง (-) แต่คุณพัฒนาขึ้นมากเลยนะตั้งแต่เรารู้จักกันการออกแบบก็ทำได้ดีและสวยงามขึ้น (+)
ไม่เอาเรื่องอื่น ๆ หรือเรื่องส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง
การเอาเรื่องส่วนตัวมาปะปนกับงานที่เกิดขึ้น แสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพและจะมีแต่ทำให้ผู้ฟังไม่เปิดรับความคิดเห็นของคุณ นอกจากจะต้องแยกเรื่องส่วนตัวกับงานของตัวเองแล้วก็ควรแยกเรื่องส่วนตัวของเขากับงานของเขาเช่นกัน
ตัวอย่างการเอาเรื่องอื่น ๆ มาปะปนกับงาน : เมื่อเพื่อนร่วมงานต้องเขียนบทความเกี่ยวกับความรักแต่ทำได้ไม่ดีบทสนทนาที่ไม่ควรพูดคือ “ไม่เคยมีแฟนใช่ไหมถึงเขียนงานออกมาได้แค่นี้” จากตัวอย่างจะเห็นว่ามีการพาดพิงเรื่องของการมีแฟนเข้ามาในบทสนทนา ทำให้ผู้ฟังเกิดอคติต่อตัวผู้พูด
ทำความเข้าใจกับความคิด, การตัดสินใจ และวิธีพัฒนาความคิดนั้น
คุณควรศึกษาและทำความเข้าใจความคิดของคู่สนทนาก่อน เพื่อให้เข้าใจการตัดสินใจและวิธีคิดของคน ๆ นั้น เมื่อเข้าใจและเห็นทางเลือกที่ดีกว่าจึงค่อย ๆ อธิบายและเสนอคำแนะนำเพื่อพัฒนาความคิดให้ดีขึ้น เพราะถ้าไม่สามารถแนะนำได้ผู้ฟังก็จะไม่เห็นภาพการเปลี่ยนแปลง
ตัวอย่างการพูดเพื่อพัฒนาความคิด : ถ้าเห็นว่าคนในทีมมีการเขียนบทความที่ใช้ภาษาที่เล่นมากเกินไป ทั้งที่บทความนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจริงจัง แล้วคุณรู้ว่าคนคนนั้นเคยเขียนแต่บทความสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่น คุณก็ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเขาอาจจะเคยชินกับการใช้คำที่ไม่เป็นทางการเพื่อให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายนั้น จากนั้นจึงค่อย ๆ อธิบายว่าการใช้คำของงานนี้เป็นอย่างไรและแสดงตัวอย่างว่าควรแก้คำไปทางไหนเพื่อจะได้เห็นภาพรวมเป็นภาพเดียวกัน
พูดเหมือนการให้คำปรึกษาด้วยท่าทางสบาย ๆ
เมื่อคุณใช้ท่าทางสบาย ๆ ในการพูดเหมือนเวลาที่คุณให้คำปรึกษาคนคนหนึ่ง จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลายและพร้อมที่จะรับฟังความเห็นของคุณมากขึ้น และวิธีนี้จะทำให้ผู้ฟังไม่รู้สึกเครียดเกินไป
ตัวอย่างการพูดให้คำปรึกษา : “เป็นไงบ้างวันนี้ รู้สึกว่าพรีเซนต์งานออกมาไม่ค่อยดีเลยเนอะ ติดขัดตรงไหนหรือเปล่ามาปรึกษาได้นะ” และถ้าให้คำปรึกษาโดยมีชื่อของคู่สนทนาจะทำให้คุณดูเอาใจใส่มากขึ้น
ระงับอารมณ์ เมื่อผู้ฟังมีท่าทีที่ปิดรับความเห็นของคุณ
แน่นอนว่าคุณจะต้องเจอผู้ฟังที่แย่ในบางครั้ง อย่างการไม่สามารถเปิดรับอะไรได้นอกจากความคิดของตัวเอง ยิ่งถ้าคุณใช้อารมณ์เป็นส่วนหนึ่งในการสนทนาก็จะมีแต่เพิ่มอคติต่อกันมากขึ้น คุณควรให้การยอมรับในความคิดอีกฝ่ายที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และยอมรับว่าไม่มีประโยชน์ที่จะอธิบายอีกต่อไป
ไม่ว่าการแสดงความคิดเห็นเชิงลบจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ไหน สิ่งที่คุณควรทำคือการแสดงความคิดเห็นเพื่อการพัฒนา ไม่ว่าเรื่องนั้นจะสำคัญหรือมีประโยชน์แค่ไหน ก็ควรให้เกียรติผู้ฟังและแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาดีของตัวคุณด้วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟังเปิดใจยอมรับความคิดเห็นของคุณได้แน่นอน
JobThai ยังมีบทความที่เป็นประโยชน์กับการทำงานอีกมากมาย สามารถไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://blog.jobthai.com
แชร์เทคนิคการคอมเมนต์งานให้ไม่ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน
วันนี้ JobThai Tips นำ 5 วิธีแสดงความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Feedback) ให้ตรงเป้าหมายและได้รับการยอมรับมาฝากทุกคน ไม่ว่าตอนนี้จะทำงานอยู่ที่บ้านหรือที่ออฟฟิศก็สามารถนำเทคนี้ไปใช้กันได้
การพูดโดยใช้เทคนิค Sandwich
การพูดแบบ Sandwich เป็นเทคนิคการให้ Feedback โดยการเรียงประโยคแบบ + - + (บวกลบบวก) วิธีนี้จะทำให้ผู้ฟังรู้ข้อผิดพลาดของตัวเอง และพร้อมจะปรับปรุงโดยไม่เกิดความรู้สึกแย่ต่อผู้พูด (แต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้ฟังด้วยว่าจะเปิดรับความคิดเห็นมากน้อยแค่ไหน)
ตัวอย่างการพูดแบบ Sandwich : งานที่คุณเสนอในที่ประชุมเป็นความคิดที่ดีมากเลยนะ (+) คุณอาจต้องเพิ่มความละเอียดของข้อมูลให้มากกว่านี้เพื่อความผิดพลาดที่น้อยลง (-) แต่คุณพัฒนาขึ้นมากเลยนะตั้งแต่เรารู้จักกันการออกแบบก็ทำได้ดีและสวยงามขึ้น (+)
ไม่เอาเรื่องอื่น ๆ หรือเรื่องส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง
การเอาเรื่องส่วนตัวมาปะปนกับงานที่เกิดขึ้น แสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพและจะมีแต่ทำให้ผู้ฟังไม่เปิดรับความคิดเห็นของคุณ นอกจากจะต้องแยกเรื่องส่วนตัวกับงานของตัวเองแล้วก็ควรแยกเรื่องส่วนตัวของเขากับงานของเขาเช่นกัน
ตัวอย่างการเอาเรื่องอื่น ๆ มาปะปนกับงาน : เมื่อเพื่อนร่วมงานต้องเขียนบทความเกี่ยวกับความรักแต่ทำได้ไม่ดีบทสนทนาที่ไม่ควรพูดคือ “ไม่เคยมีแฟนใช่ไหมถึงเขียนงานออกมาได้แค่นี้” จากตัวอย่างจะเห็นว่ามีการพาดพิงเรื่องของการมีแฟนเข้ามาในบทสนทนา ทำให้ผู้ฟังเกิดอคติต่อตัวผู้พูด
ทำความเข้าใจกับความคิด, การตัดสินใจ และวิธีพัฒนาความคิดนั้น
คุณควรศึกษาและทำความเข้าใจความคิดของคู่สนทนาก่อน เพื่อให้เข้าใจการตัดสินใจและวิธีคิดของคน ๆ นั้น เมื่อเข้าใจและเห็นทางเลือกที่ดีกว่าจึงค่อย ๆ อธิบายและเสนอคำแนะนำเพื่อพัฒนาความคิดให้ดีขึ้น เพราะถ้าไม่สามารถแนะนำได้ผู้ฟังก็จะไม่เห็นภาพการเปลี่ยนแปลง
ตัวอย่างการพูดเพื่อพัฒนาความคิด : ถ้าเห็นว่าคนในทีมมีการเขียนบทความที่ใช้ภาษาที่เล่นมากเกินไป ทั้งที่บทความนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจริงจัง แล้วคุณรู้ว่าคนคนนั้นเคยเขียนแต่บทความสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่น คุณก็ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเขาอาจจะเคยชินกับการใช้คำที่ไม่เป็นทางการเพื่อให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายนั้น จากนั้นจึงค่อย ๆ อธิบายว่าการใช้คำของงานนี้เป็นอย่างไรและแสดงตัวอย่างว่าควรแก้คำไปทางไหนเพื่อจะได้เห็นภาพรวมเป็นภาพเดียวกัน
พูดเหมือนการให้คำปรึกษาด้วยท่าทางสบาย ๆ
เมื่อคุณใช้ท่าทางสบาย ๆ ในการพูดเหมือนเวลาที่คุณให้คำปรึกษาคนคนหนึ่ง จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลายและพร้อมที่จะรับฟังความเห็นของคุณมากขึ้น และวิธีนี้จะทำให้ผู้ฟังไม่รู้สึกเครียดเกินไป
ตัวอย่างการพูดให้คำปรึกษา : “เป็นไงบ้างวันนี้ รู้สึกว่าพรีเซนต์งานออกมาไม่ค่อยดีเลยเนอะ ติดขัดตรงไหนหรือเปล่ามาปรึกษาได้นะ” และถ้าให้คำปรึกษาโดยมีชื่อของคู่สนทนาจะทำให้คุณดูเอาใจใส่มากขึ้น
ระงับอารมณ์ เมื่อผู้ฟังมีท่าทีที่ปิดรับความเห็นของคุณ
แน่นอนว่าคุณจะต้องเจอผู้ฟังที่แย่ในบางครั้ง อย่างการไม่สามารถเปิดรับอะไรได้นอกจากความคิดของตัวเอง ยิ่งถ้าคุณใช้อารมณ์เป็นส่วนหนึ่งในการสนทนาก็จะมีแต่เพิ่มอคติต่อกันมากขึ้น คุณควรให้การยอมรับในความคิดอีกฝ่ายที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และยอมรับว่าไม่มีประโยชน์ที่จะอธิบายอีกต่อไป
ไม่ว่าการแสดงความคิดเห็นเชิงลบจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ไหน สิ่งที่คุณควรทำคือการแสดงความคิดเห็นเพื่อการพัฒนา ไม่ว่าเรื่องนั้นจะสำคัญหรือมีประโยชน์แค่ไหน ก็ควรให้เกียรติผู้ฟังและแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาดีของตัวคุณด้วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟังเปิดใจยอมรับความคิดเห็นของคุณได้แน่นอน
JobThai ยังมีบทความที่เป็นประโยชน์กับการทำงานอีกมากมาย สามารถไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://blog.jobthai.com