Happy Old Year (2019): ฮาวทูทิ้ง..ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ
" ฮาวทูทิ้ง.. ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ "
ล่าสุด
ฮาวทูทิ้ง... ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ หรือ
'Happy Old Year (2019)' ผลงานภาพยนตร์ของ คุณ
เต๋อ นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ก็ได้ลงฉายใน
Netflix เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งตัวผมเองก็เพิ่งจะได้ดูเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เลยอยากจะมาแชร์ความรู้สึกและชวนพูดคุยหลังจากดูจบกันครับ
-
ฮาวทูทิ้ง... ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ (2019) : เล่าเรื่องชีวิตของ
จีน (ออกแบบ) หญิงสาวที่เพิ่งกลับมาจากเรียนต่อที่ยุโรป ตัดสินใจรีโนเวทบ้านใหม่เพื่อทำออฟฟิศ ด้วยแนวคิดการแบบ
Minimal Style... ในขณะที่จีนคัดแยกสิ่งของที่จำเป็นและไม่จำเป็นในบ้าน เพื่อนำไปคืนกับเจ้าของดั้งเดิมของมันสิ่งของในอดีตหลายๆ อย่างก็กระตุ้นความในใจของจีน โดยเฉพาะกล้องและม้วนฟิล์มที่เธอเคยได้รับมาจากแฟนเก่า...
Trailer : ฮาวทูทิ้ง..ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ
- ภาพรวมหลักของของ ฮาวทูทิ้ง ว่าด้วยเรื่อง 'การสำรวจบ้านเพื่อทิ้งของที่ไม่จำเป็น ไปพร้อมกับการสำรวจและสลัดความรู้สึกเจ็บปวดบางอย่างที่ซ่อนลึกในตัวจีน'
- พูดถึงเรื่องสไตล์ภาพยนตร์ พบว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังคงมี
'ลายเซ็นต์ของคุณเต๋อ' อย่างชัดเจน เช่น Dialogue ภายในเรื่องที่คุยกันด้วยภาษาวัยรุ่น (หรือสไตล์ Dialogue ที่คุณเต๋อนิยมใช้ในงานก่อนๆ -
มูฟออน, สปาร์คจอย) / อารมณ์ตลกร้าย (หัวเราะในลำคอ)
GRAND PRIX (BEST PICTURE AWARD) - OSAKA ASIAN FILM FESTIVAL
- Concept ของเรื่องที่สำคัญที่สุดก็คงไม่พ้นเรื่อง
"Minimal Style (รูปแบบหรือสไตล์ที่นิยมลดรูปวัตถุให้เหลือให้น้อยที่สุด)" คอนเซ็ปต์นี้ใช้ประกอบทั้งในแก่นเรื่อง และธีมหนังที่ออกมา เช่น Character ตัวละครที่เน้นพูดกันให้น้อย, เสื้อผ้าหลวมๆ เซอร์ๆ สีพื้น และสีหน้าอันเรียบเฉยของตัวละครส่วนใหญ่ในเรื่อง ดนตรีประกอบภาพยนตร์ที่เน้นความน้อย (ความเงียบ, Piano, Trumpet), บรรยากาศในเรื่องที่เงียบๆ ไม่มีคนพลุกพล่าน
- พอทั้งคาแรคเตอร์หนัง (แบบเต๋อ) มาผสมกันกับความเป็น Minimal แล้ว ก็ทำให้ผลงานที่ออกมามีความน่าสนใจ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมทั้งมีความเป็นส่วนตัวด้วยในระดับหนึ่ง (ส่วนตัวผมว่าเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังที่มีความเป็นเต๋อชัดเจนที่สุดแล้ว แถมยังดูไม่ยากและไม่อินดี้จนเกินไป)
- อันที่จริงก็แอบไม่คาดคิดเหมือนกันว่า GDH จะดันหนังเรื่องนี้ออกมา เพราะดูเหมือนแนวทางภาพยนตร์จะไม่ใช่สูตรแบบ GDH สักเท่าไร... คือแนวหนังที่เนื้อเรื่องไม่ได้ Mass หรือดูง่าย เคี้ยวง่ายในวงกว้าง (ทั้งยังออกไปทางนอกกระแส) อย่างการดำเนินเรื่องที่ค่อยๆ เคลื่อนตัวอย่างช้าๆ เนิบๆ มีความเป็นศิลปะ ซึ่งก็ถือว่าดีเหมือนกันที่มีหนังแบบนี้ออกมาบ้างใน GDH เพื่อเป็นการเพิ่มความหลากหลายให้กับผู้ชม
- ถ้าเทียบฟีลลิ่งที่รู้สึกในขณะดู ก็คือรู้สึกเหมือนได้ดูหนังนอกกระแสดีๆ ของญี่ปุ่น ทั้งเทคนิคการเล่า วิธีการนำเสนอและการดำเนินเรื่องค่อนข้างคล้ายกัน เช่น นิยมถ่ายทอดอารมณ์ในภาพยนตร์แบบเพียวๆ เน้นความเรียล หรือแช่กล้อง / เคลื่อนกล้องอย่างช้าๆ เน้นความพิถีพิถัน ประณีต ละเมียดละไม
- จุดน่าสนใจอีกอย่างของเรื่องนี้ ก็คือ
'ฮาวทูทิ้งเป็นหนังที่มีความเป็นปัจเจกสูง' แต่ละคนจะเข้าใจสารของหนังได้ไม่เหมือนกัน (และไม่เท่ากัน) ขึ้นกับภูมิหลังและทัศนคติของผู้ชมเอง เช่น หลายอย่างในหนังอาจจะดูสมเหตุสมผลในสายตาผู้ชมคนหนึ่ง แต่ไร้เหตุผลในสายตาของผู้ชมอีกคน / คาแรคเตอร์หนังที่บางคนมองว่าสวยงามดี กลับกันบางคนมองว่าเป็นหนังที่ดูพยายาม หรือมีการปรุงแต่งมากเกินไป (ประดิดประดอย ไม่เป็นธรรมชาติ)... เรียกได้ว่าเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียของหนัง และมีผลกับอารมณ์ร่วมของคนดูอย่างมาก (ไม่แปลกที่บางคนก็ชอบไปเลย บางคนก็เกลียดไปเลย)
- ส่วนที่ผมประทับใจในเรื่อง ก็คือการที่หนังสามารถขยายประเด็นเบาๆ (ในสายตาบางคน) ให้กลายเป็นประเด็นหนัก พร้อมทั้งขยี้ปมเรื่องออกมาได้น่าสนใจ ภาพแรกของหนังเริ่มต้นแค่
'การจัดบ้านใหม่' เพื่อทำออฟฟิศ (รูปธรรม / วัตถุ) ถูกนำมาอธิบายและขยายเรื่องราวให้กลายเป็นเรื่องการก้าวผ่าน
'ความเจ็บปวด' (นามธรรม) ของทุกตัวละครในเรื่องได้อย่างสวยงาม
- นอกจากนี้ ก็ชอบมุมมองในการเปรียบเปรย
'การจัดบ้าน' เทียบกับ
'การทิ้งอดีต' บางอย่างในชีวิต เพราะเราทุกคนก็คงไม่มีลิ้นชักที่จะเก็บเรื่องราวทุกอย่างได้อย่างเพียงพอหากไม่ทิ้งบางอย่างไป มองเทียบกับการจัดบ้าน ก็เหมือนกับการเคลียร์ของที่ไม่ใช้แล้วในบ้าน เราเลือกที่จะเก็บของที่จำเป็นและมีคุณค่า ส่วนของที่ไม่จำเป็น (และของที่เคยมีคุณค่า) ก็ต้องเคลียร์ทิ้งไป เพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับของใหม่ๆ ในอนาคต
กลับไปที่เก่า - Singular feat. Yarinda
- ส่วนสุดท้ายที่ประทับใจเป็นพิเศษ ก็คงไม่พ้น
'เพลงและดนตรีประกอบภาพยนตร์' ที่อธิบายความเป็น
'ฮาวทูทิ้ง' ได้อย่างน่าประทับใจ อย่างเพลง
‘ทิ้งแต่เก็บ’ ของ
The TOYS หรือ
'กลับไปที่เก่า' ของ
Singular / ในส่วนดนตรีประกอบก็ทำได้ดีเช่นกัน อย่างดนตรีประกอบที่บรรเลงด้วยเสียงเปียโนและทรัมเป็ต กับความรู้สึกเหงาๆ โดดเดี่ยว สอดคล้องกับบรรยากาศหนัง
ทิ้งแต่เก็บ - The TOYS
ดังนั้น
ฮาวทูทิ้ง... ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ (2019) ก็ถือเป็นหนังไทยอีกเรื่องที่ทะเยอทะยานและน่าสนใจ ก็ไม่อยากให้พลาดกัน อาจจะมีเนือยและเนิบบ้าง (อย่างหนังนอกกระแส) แต่ทั้งกลวิธีการเล่าเรื่อง การถ่ายภาพ และองค์ประกอบในหนังหลายอย่างก็ทำได้สวยเลย (ทั้งยังดูไม่ยากจนเกินไป)
ณ ตอนนี้ก็คว้ารางวัลและเข้าชิงหลากหลายสถาบันในเมืองไทย รวมถึงยังได้เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศหลายๆ ที่ อย่าง International Film Festival Rotterdam (2020) : Official Selection, Osaka Asian Film Festival (2020) : Grand Prix (Best Picture Award), Bengaluru International Film Festival (2020) : Best Asian FIlm
ถึงเสียงแฟนหนังจะแตก หลายคนอาจชอบไปเลย หรือหลายคนอาจจะไม่ชอบ ผมก็ยังแนะนำให้ดูกัน อย่างน้อยที่สุดแค่สไตล์ภาพยนตร์สวยๆ แบบนี้ก็คงหาได้ไม่ง่ายในวงการภาพยนตร์ไทย ยิ่งถ้าดูกันช่วงสิ้นปีก็คงจะเข้ากับบรรยากาศเลยไม่น้อย...
" สุดท้าย...การลืม (ทิ้ง) ก็อาจเป็นอีกวิธีที่ดีที่สุด เพื่อก้าวเดินไปข้างหน้าต่อไป "
_____________________________________
ป.ล. อีกหนึ่งช่องทางการติดต่อทาง Facebook เผื่อสนใจอยากคุยหรือติดต่อกับผมนะครับ
[Netflix] ฮาวทูทิ้ง..ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ (2019) : ลืม (ทิ้ง) บางอย่าง เพื่อเดินไปข้างหน้าต่อไป
ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ"- ฮาวทูทิ้ง... ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ (2019) : เล่าเรื่องชีวิตของ จีน (ออกแบบ) หญิงสาวที่เพิ่งกลับมาจากเรียนต่อที่ยุโรป ตัดสินใจรีโนเวทบ้านใหม่เพื่อทำออฟฟิศ ด้วยแนวคิดการแบบ Minimal Style... ในขณะที่จีนคัดแยกสิ่งของที่จำเป็นและไม่จำเป็นในบ้าน เพื่อนำไปคืนกับเจ้าของดั้งเดิมของมันสิ่งของในอดีตหลายๆ อย่างก็กระตุ้นความในใจของจีน โดยเฉพาะกล้องและม้วนฟิล์มที่เธอเคยได้รับมาจากแฟนเก่า...
- พอทั้งคาแรคเตอร์หนัง (แบบเต๋อ) มาผสมกันกับความเป็น Minimal แล้ว ก็ทำให้ผลงานที่ออกมามีความน่าสนใจ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมทั้งมีความเป็นส่วนตัวด้วยในระดับหนึ่ง (ส่วนตัวผมว่าเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังที่มีความเป็นเต๋อชัดเจนที่สุดแล้ว แถมยังดูไม่ยากและไม่อินดี้จนเกินไป)
- ถ้าเทียบฟีลลิ่งที่รู้สึกในขณะดู ก็คือรู้สึกเหมือนได้ดูหนังนอกกระแสดีๆ ของญี่ปุ่น ทั้งเทคนิคการเล่า วิธีการนำเสนอและการดำเนินเรื่องค่อนข้างคล้ายกัน เช่น นิยมถ่ายทอดอารมณ์ในภาพยนตร์แบบเพียวๆ เน้นความเรียล หรือแช่กล้อง / เคลื่อนกล้องอย่างช้าๆ เน้นความพิถีพิถัน ประณีต ละเมียดละไม
- นอกจากนี้ ก็ชอบมุมมองในการเปรียบเปรย 'การจัดบ้าน' เทียบกับ 'การทิ้งอดีต' บางอย่างในชีวิต เพราะเราทุกคนก็คงไม่มีลิ้นชักที่จะเก็บเรื่องราวทุกอย่างได้อย่างเพียงพอหากไม่ทิ้งบางอย่างไป มองเทียบกับการจัดบ้าน ก็เหมือนกับการเคลียร์ของที่ไม่ใช้แล้วในบ้าน เราเลือกที่จะเก็บของที่จำเป็นและมีคุณค่า ส่วนของที่ไม่จำเป็น (และของที่เคยมีคุณค่า) ก็ต้องเคลียร์ทิ้งไป เพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับของใหม่ๆ ในอนาคต
ณ ตอนนี้ก็คว้ารางวัลและเข้าชิงหลากหลายสถาบันในเมืองไทย รวมถึงยังได้เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศหลายๆ ที่ อย่าง International Film Festival Rotterdam (2020) : Official Selection, Osaka Asian Film Festival (2020) : Grand Prix (Best Picture Award), Bengaluru International Film Festival (2020) : Best Asian FIlm
ถึงเสียงแฟนหนังจะแตก หลายคนอาจชอบไปเลย หรือหลายคนอาจจะไม่ชอบ ผมก็ยังแนะนำให้ดูกัน อย่างน้อยที่สุดแค่สไตล์ภาพยนตร์สวยๆ แบบนี้ก็คงหาได้ไม่ง่ายในวงการภาพยนตร์ไทย ยิ่งถ้าดูกันช่วงสิ้นปีก็คงจะเข้ากับบรรยากาศเลยไม่น้อย...