ขอแชร์เล่าเรื่อง การติดตามอาการผู้ป่วยและปัญหาต่าง ๆ COVID-19 ในฐานะกลุ่มเสี่ยง

เบื้องต้นขอเล่าเรื่องก่อนเลยนะครับ เป็นลูกชายของทางคนไข้
ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ติดเชื้อจากสนามมวยช่วงวันที่ 13
ช่วงแรก ในครอบครัวไม่มีใครคิดว่าจะเป็นครับ
เป็นกลุ่มเสี่ยงทั้งคุณพ่อและคุณแม่ เนื่องจากคุณแม่ค้าขายในละแวกนั้นและคุณพ่ออยู่ด้านใน
 
ปกติคุณพ่ออยู่ห้องกับคุณแม่และผมอยู่คนละห้อง
ประมาณช่วงวันที่ 15 พ่อเริ่มรู้สึกมีไข้
เลยบอกกับทางผมว่า
"เฮ้ย ลูก พ่อว่าพ่อน่าจะเป็น COVID-19นะ"
ในใจผมตอนนั้นก็ขำ ๆ แหละ ไม่คิดว่าจะเป็น เพราะจากที่ฟังที่พ่อเล่าคือเซียนมวยต้นเหตุไม่ได้สนทนากัน อยู่คนละโซนกัน
และที่สำคัญพ่อเป็นคนที่ป้องกันเข้มมาก ล้างมือและใส่แมสค์ตลอด (ทั้งในบ้าน)
ผมแลยแนะนำให้ไปตรวจ แกเลยไปตรวจวันที่ 20มีนาคม ที่ รพ.บำราศนราดูร
วันเสาร์แกมีอาการไอหนักมาก ไอแห้ง ๆ แต่ไอจนไม่ได้นอน 
แต่คุณแม่ยังมีอาการปกติ 
กลับมาที่คุณพ่อไอจนเลือดออกทางจมูก ผมรู้สึกว่า
"เฮ้ย มันหนักไปละ" เลยแนะนำให้ไปฉีดยาที่คลินิก 
ตอนนั้นปรึกษากับแม่ว่า
 
เป็น COVID-19 รึเปล่า
แม่ก็บอกว่า ไม่น่าใช่ เพราะแม่ยังไม่เป็นอะไรเลย แม่พักกับพ่อก่อนที่อาการคุณพ่อจะออก
ขอเกริ่นก่อนนะครับ คุณพ่อเป็นเทรนเนอร์ เป็นนักมวย ออกกำลังกายเป็นชีวิตจิตใจ ไม่มีโรคประจำตัว
ส่วนคณแม่เป็นเบาหวาน ร่างกายอ่อนแอ ความดัน เป็นโรคอ้วน คือถ้าเป็นยอมรับว่าโอกาสเสียชีวิตสูงมาก
แต่เห็นคุณแม่ไม่เป็นอะไร ตอนนั้นก็เลยคิดแค่คร่าว ๆ ว่าอาจจะเป็น COVID-19
 
วันที่21 ไปฉีดยาที่คลินิก มีอาการดีขึ้น (แต่ชี้แจงก่อนว่า ผมให้คุณพ่อคุณแม่กักตัวอยู่บ้านตลอดเพราะเป็นกลุ่มเสี่ยง มีแค่ตอนเลี่ยงไม่ได้อย่างซื้อข้าว เช้าเย็นบางวันที่ต้องตุนไว้ + ที่คุณพ่อไปฉีดยา แต่ก็ให้ใส่แมสค์ล้างมือตลอดเพื่อป้องกันต่อชุมชน)
อาการดีขึ้นถึงวันที่ 22
พอวันที่23 ตอนเช้ามีอาการไอหนักขึ้นมาอีก แกเลยขอไปฉีดยาอีกเข็ม
พอตกเย็น
เบื้องต้นผมต้องใช้ใบรับรองแพทย์ในการบอกที่ทำงาน เลยต้องการทราบผล จะได้รู้ว่าควร WFH ต่อหรืออะไรยังไง
โทรไปทาง บำราศฯ เขาแนะนำให้ใช้แอพพลิเคชั่น BAMRAS (แนะนำครับดีมาก ๆ ดูเรื่องยา ดูเรื่องผล ติดตามอาการคนไข้ดีสุด ๆ)
จริง ๆ ตอนโทรไปคุณหมอแกน่าจะรู้ผลแล้ว แต่ไม่บอกเราโดยตรง ให้เราเข้าไปดูผลเอง ก่อนวางสาย แกย้ำเรื่องแยกผู้ป่วย วิธีทำความสะอาด การแยกกันอยู่ต่าง ๆ (แต่ไม่บอกผล ตอนนั้นผมพอจะเดาได้แล้ว)
 
พอไปตรวจ สรุปเป็น COVID -19  ทีนี้พอโทรแจ้ง รถ รพ.ก็จะมารับครับ
 
เบื้องต้นการรักษา อย่างที่ทราบกัน รักษาตามอาการ ไอก็ให้ยาแก้ไอ หวัดก็ให้ยาแก้หวัด ซักพักถึงจะเริ่มให้ยาต้านไวรัส พวกยาต้านมาลาเรีย , HIV (ดูจากตัวยาในระบบ)
 
ช่วงอาทิตย์แรก คุณพ่อมีอาการหนักมาก ไม่ถึงกับเข้า ICU แต่กินอะไรไม่ได้ กินแล้วอาเจียนออกหมด (หมอท่านอื่นที่รู้จักบอก ผลข้างเคียงของยาต่อคนไม่เหมือนกัน) แกโทรมมาก บอกเหนื่อยมาก หายใจยาก หมอสาธารณะสุขที่ติดตามก็บอกว่า โควิดน่าจะลงปอด
นี่ครับปัญหาแรก แกกินอะไรไม่ได้เลย แกเลยบอก ขอนมได้ไหม..
ผมเลยส่ง นมไปให้ทาง รพ.
 
อันนี้ขอชี้แจงนะครับ สามารถส่งอาหารให้ผู้ป่วยได้ ผมส่งผ่าน Grabexpress จดเลขห้อง ชั้น ชื่อผู้ป่วย ฝากไว้ที่เคาน์เตอร์พยาบาล
ผลสรุปคือ คุณพ่อทานนมพอได้ครับ มีเรี่ยวแรงขึ้นมานิดนึง แต่ยังเหนื่อยหอบอยู่ แก้ปัญหาเรื่องอาหารไม่ตกท้องได้
คือภาพรวมแกไม่ได้กินอาหารถึง 7-8 วัน ก่อนที่จะส่งนมไปให้ สภาพจิตใจแย่มาก ทั้งผมและครอบครัว
เนื่องจาก ตอนแรกที่ผมรอผล ข่าวการตายก็เพิ่มขึ้นมาก  ยิ่งโรคของคุณแม่ ถ้าเป็นก็โอกาส80/20 ที่จะเสียชีวิต
เลยเครียดไปหมด เรื่องเตียงจะเต็มเรื่องการไปตรวจแล้วรอผล 3วัน (ถ้าอาการหนักช่วงรอผลก็วิตก)
นอนไม่หลับเกือบทุกวัน ช่วงนั้นอิจฉาคนที่อยู่คนละจุดกับคนที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงมาก ๆ ที่สามารถเล่นมุก COVID-19 ได้อย่างไม่คิดอะไร
ในสายตาของคนกลุ่มเสี่ยง มองตัวอักษรพวกนั้นแล้วจิตใจจะดาวน์ลงไปเลย ทั้งชีวิตครอบครัวต่าง ๆ
แต่เกริ่นกันแค่นี้พอ
 
ผมลืมบอกว่าในห้องผู้ป่วยจะเป็นห้องกว้าง ๆ เป็นห้องแอร์ มีห้องน้ำ มีเตียง มีทีวี โต๊ะกินข้าว ตู้เย็นปกติ ของพ่อผมอยู่ร่วมกับผู้ป่วยอีกท่าน (เห็นว่าไม่เป็นอะไรมาก ปฏิเสธการรักษา จนหมอให้เซ็นใบ ขัดขืนการรักษาและ"กลับบ้าน"ได้)
การตรวจ COVID-19 จะตรวจทุก ๆ 3วัน เห็นว่าเพื่อไม่ให้เป็นผลเสียต่อโพรงจมูกน่ะครับ
ผมติดตามอาการคุณพ่อและยาที่คุณพ่อได้รับผ่าน แอพพลิเคชั่น BAMRAS 
ดูผลต่าง ๆ ของการตรวจ ซึ่งนับว่าดีมาก ๆ (ขอโทษที่พิมพ์เรื่องนี้ซ้ำนะครับ แต่เขาอัพเดทได้เร็วมาก)
พอวันที่ 2เมษายน (เข้า รพ.ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม ปรากฏผลว่าเป็น NEGATIVE คุณพ่อโทรมาบอก ว่ารอตรวจอีก 2ครั้ง (คือ6วัน) ถ้ายังเป็น NEGATIVE คือกลับบ้านได้
แต่น่าจะเรื่องของคิวเยอะอะไรก็ตาม วันนี้วันที่ 3 เมษายน คุณหมอให้ตรวจอีกครั้งหนึ่งเลย แล้วพอเป็น Negative จึงให้กลับบ้านได้พร้อมใบรับรองแพทย์
ส่วนเห็นว่าจะนัดตรวจอีกครั้งภายใน 5 - 7 วันตามอาการ
 
ตอนแรกผมก็กังวลเรื่อง ถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัว จะมียาให้ไหม ขอบอกว่ามีครับ
หมอจะจัดยาให้ตามอาการโรคประจำตัวของคนไข้ แต่คนไข้ต้องแจ้งหมอด้วย เช่น เป็นเบาหวาน ความดัน (อันนี้ที่สอบถามมานะครับ)
ที่สำคัญคือสภาพจิตใจ ทั้งคนในครอบครัว และผู้ป่วยครับ
ตอนคุย ๆ แกก็บอกจะยอมแพ้หลายรอบแล้ว แต่ก็คิดถึงครอบครัวเลยมีกำลังใจขึ้นมา
แต่ที่แปลกอย่างหนึ่ง อันนี้พูดแบบกำกวมให้นะครับ
คุณพ่อบอก ตอนที่อยู่ในโรงพยาบาล มูลนิธิเข้ามาแทบทุกวันเลย แต่ยอดผู้เสียชีวิตมันน้อยกว่าที่เห็น ซึ่งตึกที่คุณพ่ออยู่คือแยกโซน COVID โดยเฉพาะอยู่แล้ว (เห็นในคอมเม้นอ้างอิงว่าเป็นการนำผู้ป่วยเข้ามารักษาน่ะครับ)
ขอบคุณทุกท่านครับ ยอมรับว่าเครียดจริง ๆ ช่วงนั้น นอนหลับต้องมีคนคุยด้วย ถ้าอยู่เฉย ๆ คิดจนฟุ้งซ่านตลอดครับ

เพิ่มเติมให้ครับ

ในฐานะกลุ่มเสี่ยง
ทางสาธารณะสุขของเขตเขาจะมาติดตามอาการครับ
ให้ปรอทวัดไข้ ผ้าอนามัย วิธีการทำความสะอาด การแยกกันอยู่ในบ้านต่าง ๆ
ให้ใบประเมินเฝ้าติดตามอาการ ต้องส่ง อาการไข้อัพเดทให้ทีมงานเขาผ่านทางไลน์ทุกวัน เพื่อเฝ้าดูอาการ
จัดหา ดูแลได้ดีระดับหนึ่งครับ (ต้องขอบคุณมาก ๆ มีหมอท่านหนึ่งให้คำปรึกษาด้วย ฟีลเหมือนอุ่นใจมีหมอให้สอบถามครับ)
แล้วก็ค่าใช้จ่ายของคุณพ่อที่นอนใน รพ. คือไม่มีนะครับ ค่าใช้จ่ายคือฟรีหมด ในการรักษา 
ของพ่ออย่างที่บอกรักษาที่ บำราศนราดูร จนผลเป็น Negative อย่างที่สรุปข้างต้นครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่