เครื่องประดับศีรษะที่มีความพิเศษ

เครื่องประดับหัวที่ทำจาก “เศษขยะ” 



ทางตอนใต้ของเอธิโอเปีย ลึกลงไปในหุบเขา Omo มีชนเผ่ากึ่งเร่ร่อนที่รู้จักกันในชื่อ The Daasanach ประกอบด้วยสมาชิกกว่า 50,000 คน ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา พวกเขาอยู่กันอย่างอิสระและได้ทำเกษตรกรรมเพื่อกินอยู่

ชนเผ่า Daasanach  ได้ค้นพบวิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการรีไซเคิลเศษขยะ ด้วยการนำเศษวัสดุที่หาได้ทั่วไป อย่างเช่น ฝาจีบ สายนาฬิกาเก่า เศษโลหะอื่นๆ มาทำเป็นเครื่องประดับสวมศีรษะ
ชนเผ่านี้จะสวมเครื่องประดับบนศีรษะตามธรรมเนียมของเผ่า โดยผู้ชายจะสวมเครื่องประดับที่ทำจากฝาจีบจนกว่าจะเข้าพิธีแต่งงาน และเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะได้สวมเครื่องประดับที่สวยงามและมีน้ำหนักมากขึ้น

Eric Lafforgue ช่างถ่ายภาพชาวฝรั่งเศสใช้เวลาหลายปีในการเก็บข้อมูลและถ่ายภาพทำสารคดีเกี่ยวกับชนเผ่านี้ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เขาเห็นคือการพัฒนาของแฟนชั่น  และได้เก็บภาพของชนเผ่านี้ที่อวดเครื่องประดับบนศีรษะของตนเอง   เขากล่าวว่า “เด็กเล็กๆมักจะทำเป็นวิกแบบธรรมดาๆ แต่คนที่แก่ที่สุดเธอพยายามใส่ให้เต็มจนหนักที่สุด”
ที่มา sobadsogood
Cr.https://www.catdumb.com/beautiful-ethiopian-headwear-313/  By เหมียวสามสี

เครื่องประดับหัวจากธรรมชาติ


Mario Gerth ช่างภาพชาวชาวเยอรมันวัย 40 ปี ได้เดินทางไปที่หมู่บ้านของชนเผ่าซูริ และเก็บภาพของคนในเผ่ารวมถึงเล่าถึงความเป็นอยู่ที่น่าสนใจของ
พวกเขามาให้ชม
ชนเผ่าซูริ อาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบทางตะวันตกเฉียงใต้ของเอธิโอเปีย ซึ่งพวกเขามีความภูมิใจในเรื่องของพิธีกรรมและรอยแผลเป็นของพวกเขามากๆ
ชนเผ่าที่อยู่ห่างไกลความเจริญแห่งนี้ สมาชิกในเผ่าจะต้องผ่านพิธีกรรมอย่างการเจาะปากแล้วนำแผ่นหินมาสอด หรือการต่อสู้ด้วยกระบองไม้ที่โหดเหี่ยม

หญิงสาวชาวซูริ จะใช้ผิวของตัวเองเป็นที่แสดงถึงศิลปะและความสวยงาม พวกเธอจะสักร่องรอยต่างๆ ลงบนร่างกาย ตกแต่งด้วยเครื่องประดับจากธรรมชาติ เช่น หมวกจากดอกไม้และต้นหญ้า  ส่วนหญิงสาวที่มีอายุถึงกำหนดมีคู่ พวกเธอจำเป็นจะต้องเจาะใต้ปากเพื่อที่จะจัดแผ่นหินลงไปได้ ที่สำคัญจำเป็นจะต้องถอนฝันหน้าสองซี่ออกไปด้วย  ส่วนขนาดของแผ่นหิน ยิ่งใหญ่เท่าไหร่ พ่อของพวกเธอก็จะสามารถเรียกร้องวัว มาเป็นสินสอดได้เยอะยิ่งขึ้นในตอนที่พวกเธอหมั้นหมาย
 
Mario บอกว่า ความภาคภูมิใจของชนเผ่านั้นจะขึ้นอยุ่กับรอยแผลเป็นที่พวกเขาสามารถมีได้ โดยพวกผู้หญิงในเผ่าจะใช้ใบมีดโกนในการสร้างบาดแผลให้กับตัวเอง และตรงจุดนั้นก็จะกลายเป็นแผลเป็น ที่กลายเป็นความภาคภูมิใจของพวกเธอ
ที่มา dailymail
Cr.https://www.catdumb.com/the-ethiopian-tatto/  By เหมียวมู่ทู่

เครื่องประดับศีรษะเก่าแก่ทำจาก “งาช้างแมมมอส”


เมื่อไม่นานมานี้ ที่ถ้ำเดนิโซวาน ในไซบีเรีย สถานที่ซึ่งมีการขุดพบหลักฐานการอาศัยอยู่ร่วมกันของมนุษย์โฮโมเซเปียน มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล และมนุษย์เดนิโซวานในอดีต ได้มีการค้นพบวัตถุโบราณชิ้นใหม่

นี่คือวัตถุโบราณที่มีรูปร่างคล้ายรัดเกล้า หรือมงกุฎ ที่ทำขึ้นจากงาช้างแมมมอสที่ถูกเจาะปลายทั้งสองเพื่อรอยเชือก และมีอายุมากถึง 50,000 ปี
ทำให้รัดเกล้าชิ้นนี้ ถือว่าเป็นหนึ่งในเครื่องประดับศีรษะที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบมาในโลก
 
รัดเกล้าที่พบนี้ เชื่อกันว่าทำขึ้นมาโดยมนุษย์เดนิโซวาน ซึ่งเคยมีหลักฐานการทำเครื่องประดับอย่างกำไลข้อมือ หรืออุปกรณ์อย่างเข็มจากงาช้างมาแล้ว และเคยมีการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะผุพังไป และถูกนำมาทิ้งยังสถานที่ที่ค้นพบ  เป็นไปได้ว่าเดิมทีแล้วรัดเกล้าชิ้นนี้จะเคยมีรูปร่างโค้งมากกว่านี้มาก่อน จากการทำให้โค้งงอด้วยฝีมือผู้สร้าง แต่ก็ยืดตรงขึ้นไปเอง หลังจากที่ถูกนำมาทิ้งไว้ตามกาลเวลา

เบื้องต้นนักโบราณคดีเชื่อกันว่ารัดเกล้าชิ้นนี้ น่าจะออกแบบมาให้ผู้ชายใช้งาน เนื่องจากขนาดของวัตถุโบราณค่อนข้างใหญ่ การที่จะใส่ให้พอดีนั้น จะต้องมีศีรษะที่ใหญ่ด้วย  แม้ว่ารูปร่างของมันจะคล้ายแผ่นป้องกันศีรษะก็ตาม แต่นักโบราณคดีก็คาดว่าวัตถุชิ้นนี้ ไม่น่าจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการต่อสู้เท่าไหร่  ในทางกลับกัน พวกเขาคิดว่านั้นอาจจะเป็นของที่สืบทอดกันในตระกูลของคนสมัยก่อน เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนของบุคคลพิเศษในสมัยนั้น 
ที่มา ancient-origins และ iflscience
Cr.https://www.catdumb.com/50000-year-old-mammoth-ivory-tiara-378/  By เหมียวศรัทธา

มงกุฎของฟาโรห์


จะเห็นว่า บนมงกุฎของฟาโรห์บริเวณหน้าผากจะมีสัตว์คือ  งูเห่ากำลังแผ่แม่เบี้ยประดับอยู่
ตามความเชื่อของอียิปต์โบราณ  งูเห่า เป็นเทพีที่ชาวอียิปต์ต่ำ(LOWER EGYPT) ให้ความเคารพเรียกว่า  เทพีวาดเจต (WADJET) แต่มักจะเรียกงูเห่าที่ติดอยู่ที่มงกุฎว่า  อูเรอุส (URAEUS) 
 
เนื่องจากในพื้นที่ของ อียิปต์ต่ำ คือภาคเหนือของอียิปต์ จะเป็นภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน  มีฝนตกมากกว่าภาคใต้ของอียิปต์ ดังนั้น พื้นที่ส่วนใหญ่โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมดินแดงปากแม่น้ำไนล์ จะเป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขัง เป็นพื้นที่หนองบึงเต็มไปด้วยป่ากก หรือ  ต้นไม้พุ่มจึงเป็นที่อยู่อาศัยของงูเห่าจำนวนมาก ในสมัยโบราณหากถูกงูเห่าฉกกัด ก็มีอยู่ทางเดียวคือ ตาย

ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ หากเขารัก ชื่นชม หรือหวาดกลัวสัตว์อะไร  ก็จะสถาปนาให้สัตว์ชนิดนั้นเป็นเทพเจ้า งูเห่าจึงได้รับการสถาปนาให้เป็นเทพเจ้าเทพี  หมายถึง  เทพผู้หญิง   และให้มาประดับอยู่ตรงหน้าผากของฟาโรห์  เพื่อทำหน้าที่ปกป้อง หรือ พิทักษ์ฟาโรห์

ชาวอียิปต์โบราณจะยึดถือกันว่า เทพีวาดเจต เป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นกษัตริย์  คนธรรมดาไม่สามารถเอาไปใช้ได้    แต่ภาพของเทพเจ้าบางองค์ เช่น เทพฮอรัส(HORUS)  เทพเจ้าหัวนกอินทรีย์  และ เทพเซธ(SETH)  เทพเจ้าแห่งความชั่วร้าย  ก็มีเทพีวาดเจต ประดับอยู่ที่หน้าผากด้วยเช่นกัน  

ขณะเดียวกัน  ในพื้นที่ภาคใต้ของอียิปต์ที่เรียกว่า อียิปต์บน (UPPER EGYPT) ส่วนใหญ่จะเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้ง กันดาร  แตกต่างจากภูมิอากาศของภาคเหนือโดยสิ้นเชิง   ในทะเลทรายจะมีสัตว์หลายชนิดที่หากินอยู่ หนึ่งในสัตว์คือ  นกแร้ง ที่คอยหากินกับทรากศพของมนุษย์ที่เดินทางหลงทิศในทะเลทราย  หาทางออกไม่เจอจนขาดน้ำ และ  อาหาร  และ ตายในที่สุด

เมื่อหวาดกลัวนกแร้งมากๆ คนอียิปต์โบราณจึงสถาปนานกแร้งให้เป็นเทพเจ้าเพื่อช่วยปกป้องชาวอียิปต์   และเพื่อลดความแข็งกร้าว และ โหดร้ายลง  ชาวอียิปต์จึงสถาปนานกแร้งให้เป็นเทพีเรียกชื่อว่า เทพี เนคห์เบท (NEKHBET)  เทพีอุปถัมภ์ของ อียิปต์บน (UPPER EGYPT)

ด้วยเหตุนี้  จึงถือกันว่า เทพีเนคห์เบท หรือ เทพีนกแร้ง  เป็นเทพีแห่งอียิปต์บน และ เทพีวาดเจต หรือ เทพีงูเห่า  เป็นเทพีแห่งอียิปต์ล่าง 
เมื่อฟาโรห์ขึ้นครองราชย์ เป็นผู้มีอำนาจเหนือแผ่นดินทั้งอียิปต์บน และ อียิปต์ล่าง ที่มงกุฎจึงมีเทพีทั้งสองชนิด เคียงคู่กันตรงหน้าผาก  เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการปกปักรักษาฟาโรห์
ที่มา   
บทความซอกซอนตะลอนไป  โดย...เสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ
Cr.https://www.naewna.com/columnonline/40241

 "กวาน" เครื่องสวมประดับบนศีรษะบอกสถานะ


"กวาน冠" คือสิ่งที่ชนชั้นสูงชาวจีนในสมัยโบราณใช้สวมครอบบนศีรษะ เพื่อเป็นเครื่องบอกระดับประดับพระยศพระเกียรติ ซึ่งเหมี่ยนหรือมงกุฏหมวกที่ฮ่องเต้ทรงสวมดังที่กล่าวถึงในครั้งก่อนก็เรียกได้อีกอย่างว่า "เหมี่ยนกวาน冕冠" 

แม้ว่า "กวาน" เป็นเครื่องสวมประดับบนศีรษะที่มีความต่างกับหมวก  "กวาน" เปรียบได้กับรัดเกล้าที่จะสวมครอบรัดมวยผม แต่หมวกจะสวมครอบผมบนศีรษะทั้งหมด นอกจากนี้ยังถือเป็นสัญลักษณ์บอกสถานะ เพราะจำกัดเฉพาะชนชั้นสูงมียศฐาบรรดาศักดิ์เท่านั้น ลำดับชั้นต่างกัน รูปแบบของ "กวาน" ก็ต่างกันไป และจะใช้ใส่ออกงานได้แต่เฉพาะในพิธีการสำคัญเท่านั้น อาทิ ได้รับแต่งตั้งเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง

ในอดีตนับแต่สมัย ราชวงศ์โจว (1066-256ปีก่อนค.ศ.) เป็นต้นมา เด็กชายจีนเมื่อมีอายุครบ 20 ปีเต็ม ก็จะมีพิธีสวมกวาน เรียกว่า "จี๋กวาน及冠" แต่ก็จะมีบางที่ที่อายุ 16 ปีก็เข้าพิธีนี้ได้แล้ว ซึ่งการสวมกวานจะมี 3 ครั้ง 3 แบบด้วยกัน ครั้งแรกเรียก "สือเจีย始加" เพื่อเป็นเครื่องแสดงว่าได้บรรลุนิติภาวะโตเป็นผู้ใหญ่ มีสิทธิและอำนาจในการปกครองคนขั้นต้นแล้ว แต่ก็อย่าหลงลืมตน ยังต้องปรับปรุงพัฒนาตนให้สมกับความเป็นผู้ใหญ่ต่อไป ครั้งที่สอง "ไจ้เจีย 再加" หวังให้ชายหนุ่มที่สวมนี้มีความราบรื่นก้าวย่างอย่างมั่นคงในหน้าที่การงาน และครั้งที่สาม "ซานเจีย 三加" เพื่อบอกว่าเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวสามารถเข้าร่วมงานพิธีการต่างๆ ได้แล้ว



นักแสดงนำชายสวม "กวาน" จากเรื่องความฝันในหอแดง เวอร์ชั่นใหม่ปี 2010 กำกับโดย หลี่เส้าหง李少红
(ซ้าย)เจี๋ยเป่าอวี้ ภาคเด็กนำแสดงโดย อวี๋เสี่ยวถง于小彤 / ภาคโต(กลาง)นำแสดงโดย หยางหยาง杨洋
(ขวา)เจี๋ยเป่าอวี้ เวอร์ชั่นเก่าปี 1987 ที่ดังเป็นตำนาน นำแสดงโดยโอวหยางเฟิ่นเฉียง欧阳奋强

 


("เฟิ่งกวาน凤冠" มงกุฏหงส์แห่งองค์จักรพรรดินีเสี้ยวตวน孝端皇后พระมเหสีของจักรพรรดิหมิงเสินจง 明神宗)

สำหรับหญิงจีนในสมัยโบราณ โดยทั่วไปแล้วจะไม่มีการสวมกวาน แต่ก็จะมีพิธีบรรลุนิติภาวะเช่นกันตอนอายุ 15 ปี เรียกว่า "จีหลี่笄礼" ที่จะมีการรวบเกล้าผมขึ้นแล้วปักปิ่น บอกแสดงถึงสถานะที่เปลี่ยนจากเด็กหญิงมาเป็นหญิงสาวแล้ว แต่ก็มีกรณียกเว้นสำหรับบางกลุ่มบางพวก อาทิ นักพรตหญิงลัทธิเต๋า ก็จะสวมกวาน ทำจากไม้หรือโลหะ
นอกจากนี้ในสมัย ราชวงศ์ซ่ง(ค.ศ.960-1279)ผู้หญิงก็สามารถสวม "ฮวากวาน 花冠" ที่มีรูปร่างเล็กกว่า เพื่อใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง และในพระราชพิธียิ่งใหญ่สำคัญๆ ฮองเฮา ผู้เป็นพระมเหสีของจักรพรรดิก็ทรงสวม "เฟิ่งกวาน 凤冠" หรือมงกุฏหงส์ ที่มีความประณีตงดงามและประดับด้วยอัญมณีล้ำค่าเป็นเครื่องประดับออกงานด้วยเช่นกัน
บทความเก่าเล่าไปใหม่บอกมา โดย วังฟ้า 羅勇府
Cr.http://thai.cri.cn/247/2012/03/20/225s195988.htm

 

มงกุฎนางเงือก เครื่องประดับหัวจาก “เปลือกหอย”




Chelsea Shiels วัย 27 ปี เป็นเจ้าของร้านดอกไม้ ได้ปิ๊งไปเดียในใช้เปลือกหอยมาประดับศรีษะ ไม่กี่ปีที่ผ่านมาเธอลองทำมงกุฎเปลือกหอยไปเรื่อยๆ จนกระทั่งออกมาเป็นผลงานที่งดงาม  ในที่สุดเมื่อเทรนด์นางเงือกได้รับความนิยม  Shiels ก็พร้อมที่จะนำเสนอมงกุฏนางเงือกออกมาให้โลกเห็น

ในการทำมงกุฎนางเงือก Shiels ใช้เปลือกหอยที่เธอนำมาจากสถานที่ที่มีเปลือกหอยบนชายหาดที่มีมากๆหลายแห่ง  ในออสเตรเลีย  อินเดียและฮาวาย สำหรับมงกุฎขนาดเล็กโดยทั่วไปเธอใช้เปลือกหอยประมาณ 20  อัน และขนาดใหญ่เธอจะใช้เปลือกหอยมากถึงเกือบ 50 อัน
งานสร้างสรรค์ที่ประดับด้วยเพชรพลอยแปลก ๆ ที่ Shiels เก็บเป็นความลับมานานหลายปี ตอนนี้ได้กลายเป็นธุรกิจใหญ่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดี
ที่มา cosmopolitan, mymodernmet
Cr.https://www.catdumb.com/mermaid-crowns-313/ By เหมียวสามสี

ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่