'พิชัย' ห่วง 'บิ๊กตู่' ใช้พรก.ฉุกเฉิน จัดการคนเห็นต่างเหมือนในอดีต ชี้ต้องช่วยคนที่ลำบากสุดก่อน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2090375
“พิชัย” ห่วง “บิ๊กตู่” ใช้พรก.ฉุกเฉิน จัดการคนเห็นต่างเหมือนในอดีต ชี้ รัฐบาลพลาดทำให้ไวรัสแพร่ระบาด แนะ ต้องช่วยคนที่ลำบากสุดก่อน เพราะสถานการณ์อาจลากยาว
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า รัฐบาลยังคงสร้างความสับสนในการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ไวรัสโควิด-19 โดยได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในวันนี้ แต่รายละเอียดในการการดำเนินการกลับยังไม่ชัดเจน และยังไม่มีรายละเอียดเท่าที่ควร เหมือนให้อำนาจไว้เฉยๆ ทั้งนี้ การสื่อสารกับสาธารณะเป็นปัญหามาตลอดตั้งแต่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรียันโฆษกรัฐบาล ซึ่งทำให้ประชาชนสับสน ดังนั้น รัฐบาลจะต้องปรับปรุงการให้ข่าวและทีมโฆษก รวมถึง ตัวพลเอกประยุทธ์เอง เพื่อที่จะสามารถสื่อสารกับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การที่พลเอกประยุทธ์ แต่งตั้ง ปลัดกระทรวงหลายกระทรวง เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงต่างประเทศ มีอำนาจเต็มในการบริหารงาน ทำให้ดูเหมือนเป็นการปฏิวัติในอดีต และ ทำให้คนสงสัยว่ารัฐมนตรีที่คุมกระทรวงเหล่านี้ไม่มีความสามารถที่จะปฏิบัติการในสถานการณ์ปัจจุบันได้แล้วใช่หรือไม่
ทั้งนี้ อยากเห็น พรก.ฉุกเฉิน ถูกใช้เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ไวรัสโควิด-19 อย่างแท้จริง โดยไม่มีวาระซ้อนเร้น เพราะจากการแถลงการณ์การของพลเอกประยุทธ์ที่พูดเน้นการจำกัดการแสดงความเห็นของสื่อและผู้เห็นต่าง โดยห่วงว่าจะมีการใช้ พรก. ฉุกเฉิน เพื่อจัดการคนเห็นต่างตามที่ได้เคยทำมาตลอด 5 ปี ซึ่งตนเองเคยโดนเรียกถึง 8 หน และ ครั้งที่ 7 ถูกกักตัวอยู่ 7 วัน ทั้งที่ตนเพียงเตือนรัฐบาลในเรื่องเศรษฐกิจและต่อมาเศรษฐกิจก็ได้ย่ำแย่จริงตั้งแต่ก่อนมีการแพร่ระบาดของไวรัสแล้ว โดยไม่อยากให้ใครโดนเหมือนตน และหวังว่ารัฐบาลจะไม่ลุแก่อำนาจโดยใช้กฏหมายกลั่นแกล้งคนที่เห็นต่าง ที่น่าจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการบริหารงานที่ผิดพลาดอย่างต่อเนื่องของรัฐบาล
การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของผู้ติดเชื้อไวรัสในประเทศไทย เกิดจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ชะล่าใจ และไม่คิดล่วงหน้า ของรัฐบาล จำนวนผู้ติดเชื้อของไทยนิ่งอยู่นาน ในขณะที่ประเทศอื่นเพิ่มขึ้นอย่างมาก หากรัฐบาลจะไหวตัวและเร่งออกมาตรการต่างๆเพิ่อป้องกันล่วงหน้า ปัญหาคงไม่เพิ่มมากมายขนาดนี้ ดังนั้น พลเอกประยุทธ์ จึงต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายจากคนเจ็บและคนตายที่จะเกิดเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ การบริหารจัดการของรัฐบาลก็ยังย่ำแย่ตั้งแต่แรกจนถึงขณะนี้ แม้กระทั่งปัจจุบันหน้ากากอนามัยที่เป็นความจำเป็นในการป้องกันไวรัสก็ยังขาดแคลน รัฐบาลละเลยจนทำให้มีการหาผลประโยชน์จากหน้ากากอนามัย โดยไม่มีการลงโทษรายใหญ่มีแต่รายเล็กที่โดนลงโทษ หากตนไม่นำเอกสารการอนุญาตส่งออกหน้ากากอนามัยมาเปิดเผย ป่านนี้ก็ยังปล่อยให้มีการส่งออกหน้ากากอนามัยกันอยู่ ทั้งๆที่ในประเทศขาดแคลนกันอย่างหนัก ทั้งนี้รวมถึงแอลกอฮอล์ที่ขาดแคลนด้วย ดังนั้นจึงอยากให้พลเอกประยุทธ์นำคนทำผิดรายใหญ่พร้อมเครือข่ายมาลงโทษได้จริงตามที่ได้ประกาศไว้ นอกจากหน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์แล้ว เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ยังขาดแคลนอย่างมาก ทำไมรัฐบาลถึงไม่จัดซื้อโดยด่วนให้รวดเร็วเหมือนการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ ทั้งที่ความเป็นความตายของประชาชนและบุคคลากรทางการแพทย์ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์เหล่านี้ ไม่อยากนึกภาพว่าหากไทยกลายเป็นเหมือนอิตาลี แล้วต้องปล่อยให้ผู้สูงอายุต้องตายไปโดยไม่ได้รับการรักษาพยาบาล ประชาชนจะโกรธแค้นรัฐบาลกันขนาดไหน
อยากให้รัฐบาลได้ดูตัวอย่างของประเทศเกาหลีใต้ที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาด โดยการตรวจการติดเชื้อของประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันมีอุปกรณ์ตรวจแบบด่วน (Rapid Test) ที่มีราคาถูกเพียงไม่กี่ร้อยบาท และสามารถรู้ผลในไม่กี่นาที รัฐบาลควรเร่งนำมาสุ่มตรวจประชาชนกลุ่มเสี่ยงให้มากที่สุด เพื่อกักตัวและนำมารักษาโดยด่วน ซึ่งจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดอย่างได้ผล
ในเรื่องการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับกระทบจากวิกฤตการณ์ไวรัสโควิด-19 นี้ จะมีผลกระทบกับคนในวงกว้างแทบทุกธุรกิจ ขนาดแบงก์ชาติยังคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะถดถอยและติดลบหนักถึง -5.3% เหมือนที่ตนได้เตือนไว้ก่อนแล้ว ซึ่งเศรษฐกิจอาจจะแย่กว่าที่แบงก์ชาติบอกด้วย ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องพยายามช่วยเหลือคนทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลตั้งหลักคิดให้ดี โดยอยากให้ช่วยเหลือประชาชนส่วนใหญ่ที่ยากจน ผู้มีรายได้น้อย ลูกจ้าง คนหาเช้ากินค่ำ พ่อค้าแม่ค้ารายย่อย ฯลฯ ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงก่อน แล้วค่อยไล่เรียงลำดับความช่วยเหลือขึ้นไป ทั้งนี้เพราะยังไม่ทราบเลยว่าสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 จะยาวนานอีกแค่ไหน เพราะในประเทศจีนเองก็คาดกันว่าอาจจะเกิดการแพร่ระบาดรอบสองกันอีก ซึ่งหากสถานการณ์ที่อาจจะลากไปยาวนาน การใช้จ่ายของรัฐบาลจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจะใช้จ่ายอย่างไรเพื่อประคองคนส่วนใหญ่ของประเทศ และอยากให้รัฐบาลคิดและออกทั้งนโยบายทางการเงินและนโยบายทางการคลังที่จะไม่เป็นภาระกับรัฐบาลมากนักร่วมกันไปด้วย เช่น การปรับปรุงโครงสร้างภาษี การลดดอกเบี้ย ปรับอัตราแลกเปลี่ยน การปรับลดงบประมาณจากเรื่องที่รอได้ไม่จำเป็นเร่งด่วนเพื่อนำมาใช้กับสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 นี้ ฯลฯ รวมถึงการหารายได้เข้ารัฐ ซึ่งจะลดภาระของรัฐบาลได้บ้างในกรณีที่รัฐบาลอาจจะต้องแบกรับภาระเป็นระยะเวลานานตามสถานการณ์ที่ยังไม่แน่นอน
หากจำกันได้ ตนเคยเตือนแล้วว่ารัฐบาลไม่ควรใช้จ่ายสะเปะสะปะ ควรเก็บกระสุนไว้ในคราวจำเป็นเมื่อเศรษฐกิจย่ำแย่ลง แต่รัฐบาลไม่รับฟังแถมยังส่งคนออกมาต่อว่าตน หวังว่าตอนนี้รัฐบาลจะได้สำนึกแล้ว และควรต้องนึกเสียดายการจ่ายเงิน ชิมช้อปใช้ การให้คนไปเที่ยวแล้วได้เงินคืน และ การให้คนใช้จ่ายแล้วได้เงินคืน ฯลฯ ซึ่งไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เป็นการจ่ายแบบสูญเปล่า แทนที่จะนำเงินเหล่านั้นมาช่วยประชาชนที่กำลังลำบากได้อย่างมากในช่วงนี้และในระยะต่อไปที่ไม่รู้จะนานเท่าไหร่
ปัญหาของรัฐบาลนี้คือการไม่คิดล่วงหน้า หรือ อาจจะคิดไม่เป็น ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อไปในการบริหารจัดการ โดยจะเพิ่มปัญหามากขึ้น และหากรัฐบาลยังจะใช้อำนาจ พรก. ฉุกเฉิน เพื่อปิดปากคนเห็นต่าง รัฐบาลจะยิ่งหลงทางไปกันใหญ่ การรับฟังความคิดเห็นทางสังคมอย่างเปิดกว้างและนำไปพิจารณาปฏิบัติจะช่วยรัฐบาลให้ผ่านพันวิกฤตการณ์นี้ไปได้
‘ก้าวไกล’ ไลฟ์ถกเข้มแก้โควิด-19 ‘ศิริกัญญา’ กังขามาตรการเยียวยาแรงงาน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2089993
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม น.ส.
ศิริกัญญา ตันสกุล และนาย
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร พรรคก้าวไกล จัดรายการพิเศษ “
ก้าวไกลพาไทยพ้นวิกฤต” ผ่านช่องทางไลฟ์เฟซบุ๊กของเพจพรรคก้าวไกล พูดคุยในเรื่องเศรษฐกิจในช่วงที่เกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังวิเคราะห์ถึงผลกระทบ งบประมาณในการแก้ไขวิกฤติในครั้งนี้ และมาตรการเยียวยาต่างๆ จากภาครัฐ
น.ส.
ศิริกัญญา กล่าวว่า สิ่งที่พี่น้องแรงงานนอกระบบรอคอยกันอยู่ วันนี้รัฐก็ออกมาตรการช่วยเหลือแล้ว หลักใหญ่ใจความคือ จะมีการชดเชยรายได้ให้กับแรงงานนอกระบบ ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการเป็นจำนวน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ปัญหาคือ รัฐมีมาตรการใดตรวจสอบสิทธิว่าประชาชนคนใดได้รับความเดือนร้อนจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งแรงงานนอกระบบมีทั้งสิ้น 18.7 ล้านคน หักเกษตรกร 9.2 ล้านคน เหลือลูกจ้างรายวัน รับจ้างทั่วไป พ่อค้าแม่ขาย 9.5 ล้านคน แต่เงินเยียวยาที่จะช่วยเหลือจำนวน 3 เดือนนี้ มีโควต้าเพียง 3 ล้านคน ซึ่งผู้มีสิทธิในโควต้านี้ รวมถึงผู้ประกันตนในมาตรา 39 และ 40 อีกกว่า 5 ล้านคน นั่นหมายความว่าเงินจำนวนกว่า 15,000 ล้านบาท จะมีคนแย่งกันจำนวน 14.5 ล้านคน คำถามคือรัฐมีเกณฑ์ในการเลือกอย่างไร ว่าใครเดือดร้อนที่สุด ที่สมควรได้รับเงินเยียวยา
น.ส.
ศิริกัญญา กล่าวอีกว่า เราอยากให้รัฐบาลเข้าไปตรวจติดตาม เข้าไปผลักดันให้การอนุมัติสินเชื่อเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ให้ทันท่วงทีต่อสถานการณ์ที่จำเป็นต้องใช้เงินของประชาชน รวมไปถึงมาตรการพักชำระหนี้และลดดอกเบี้ย ซึ่งตอนนี้มีมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อ สำหรับลูกหนี้ที่ยังไม่เป็น NPL ให้มีผลตั้งแต่ 1 เม.ย. 2563 ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ไปจนถึงสินเชื่อธุรกิจ sme ซึ่งปัญหาสำหรับมาตรการนี้อยู่ที่การกำหนดว่าใครสามารถลดอัตราผ่อนชำระหนี้ หรือพักชำระเงินต้นได้ อย่างสินเชื่อ sme ที่พักชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยตามสถานการณ์
“
ทุกคนได้รับผลกระทบหมดขึ้นอยู่กับว่าได้รับผลกระทบมากหรือน้อย คนที่ได้รับน้อยที่สุดเชื่อว่าเป็นข้าราชการ รวมถึงนักการเมืองอย่างเราด้วยที่เงินเดือนไม่ถูกลด รวมไปถึงพนักงานเอกชนที่ไม่ถูกลดเงินเดือน แต่ก็ยังมีพนักงานเอกชนบางกลุ่มเริ่มได้รับผลกระทบแล้ว จากการที่บางสถานประกอบการเริ่มปรับลดเงินเดือน 10-20% ไม่ต้องพูดถึงพ่อค้าแม่ขาย ที่ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า นี่คือสิ่งที่เรากังวลว่า ใครจะได้รับสิทธิพักชำระเงินต้น ใครเป็นคนกำหนดหลักเกณฑ์ ว่าใครจะได้พักชำระเป็นระยะเวลาเท่าไร ปรับลดดอกเบี้ยเท่าไร ซึ่งนโยบายที่รัฐจะต้องทำนั้น ต้องเป็นนโยบายแบบให้โดยเสมอภาค เพราะเมื่อไรที่ต้องตรวจพิสูจน์ หรือพิจารณานั้นต้องใช้เวลา ซึ่งหากใช้หลักเกณฑ์หลวมๆหรือคนมาพิจารณา ความไม่ยุติธรรมย่อมเกิดขึ้นอยู่แล้ว” น.ส.
ศิริกัญญา กล่าว
นาย
วิโรจน์ กล่าวว่า งบประมาณกลางได้ใช้ไปส่วนหนึ่งแล้ว ถึงแม้ว่างบรายจ่ายประจำปี 2563 พึ่งได้รับการอนุมติ แต่ได้ถูกใช้ไปพลางก่อนแล้ว จากงบประมาณกลางทั้งหมดกว่า 9 หมื่นล้าน ซึ่งงบกลางในส่วนนี้จะใช้ไปกับกรณีฉุกเฉินและจำเป็น ตอนนี้ต้องยอมรับว่า งบประมาณฝึกอบรม จัดอีเว้นท์ต่างๆ ไม่ควรจะได้รับงบประมาณ ซึ่งจะสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน หากหักงบดำเนินงานในส่วนนี้มา จะได้ประมาณมาช่วยเหลืออีกกว่า 3 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ยังมีงบประมาณเกณฑ์ทหาร และงบจัดซื้อยุทโธปกรณ์ อีกทั้งเรือดำน้ำที่ต้องส่งมาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งเป็นจุดที่ไวรัสโควิท-19แพร่ระบาดเป็นที่แรก ไม่น่าจะส่งมาได้ทัน ถึงแม้จะเป็นงบผูกพัน แต่สามารถเลื่อนชำระไปได้ หากจัดการงบประมาณอย่างถูกที่ถูกทาง หากจัดทำ พรบ.โอนย้ายงบประมาณที่ไม่จำเป็น มาใช้เพื่อผ่านวิกฤตในครั้งนี้ เราจะได้งบประมาณมาเพิ่มอีก 8 หมื่นล้านบาท
“
หากรัฐจัดทำร่าง พ.ร.บ.โอนงบประมาณ จากโครงการหรือส่วนที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ จะมีเงินเพียงพอที่จะสามารถเยียวยาประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ผมเชื่อว่าฝ่ายค้านพร้อมจะผ่านร่าง พ.ร.บ.โอนงบประมาณ 3 วาระรวด เพราะว่าเป็นการทำเพื่อประชาชน เพราะขนาดกลุ่มก่อการร้าย isis ยังประกาศหยุดก่อการร้ายเพราะไวรัสโควิด-19 แสดงให้เห็นว่าโลกใบนี้ไม่มีความมั่นคงอะไรเท่ากับความมั่นคงทางสาธารณสุขอีกแล้ว ” นาย
วิโรจน์ กล่าว
JJNY : พิชัยห่วงตู่ใช้พรก.จัดการคนเห็นต่าง/ก้าวไกลไลฟ์ถกเข้ม/อาเบะตั้งทุน นำสายการผลิตโรงงานกลับ/โควิดสังเวยทะลุ21,000
https://www.matichon.co.th/politics/news_2090375
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า รัฐบาลยังคงสร้างความสับสนในการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ไวรัสโควิด-19 โดยได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในวันนี้ แต่รายละเอียดในการการดำเนินการกลับยังไม่ชัดเจน และยังไม่มีรายละเอียดเท่าที่ควร เหมือนให้อำนาจไว้เฉยๆ ทั้งนี้ การสื่อสารกับสาธารณะเป็นปัญหามาตลอดตั้งแต่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรียันโฆษกรัฐบาล ซึ่งทำให้ประชาชนสับสน ดังนั้น รัฐบาลจะต้องปรับปรุงการให้ข่าวและทีมโฆษก รวมถึง ตัวพลเอกประยุทธ์เอง เพื่อที่จะสามารถสื่อสารกับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การที่พลเอกประยุทธ์ แต่งตั้ง ปลัดกระทรวงหลายกระทรวง เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงต่างประเทศ มีอำนาจเต็มในการบริหารงาน ทำให้ดูเหมือนเป็นการปฏิวัติในอดีต และ ทำให้คนสงสัยว่ารัฐมนตรีที่คุมกระทรวงเหล่านี้ไม่มีความสามารถที่จะปฏิบัติการในสถานการณ์ปัจจุบันได้แล้วใช่หรือไม่
ทั้งนี้ อยากเห็น พรก.ฉุกเฉิน ถูกใช้เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ไวรัสโควิด-19 อย่างแท้จริง โดยไม่มีวาระซ้อนเร้น เพราะจากการแถลงการณ์การของพลเอกประยุทธ์ที่พูดเน้นการจำกัดการแสดงความเห็นของสื่อและผู้เห็นต่าง โดยห่วงว่าจะมีการใช้ พรก. ฉุกเฉิน เพื่อจัดการคนเห็นต่างตามที่ได้เคยทำมาตลอด 5 ปี ซึ่งตนเองเคยโดนเรียกถึง 8 หน และ ครั้งที่ 7 ถูกกักตัวอยู่ 7 วัน ทั้งที่ตนเพียงเตือนรัฐบาลในเรื่องเศรษฐกิจและต่อมาเศรษฐกิจก็ได้ย่ำแย่จริงตั้งแต่ก่อนมีการแพร่ระบาดของไวรัสแล้ว โดยไม่อยากให้ใครโดนเหมือนตน และหวังว่ารัฐบาลจะไม่ลุแก่อำนาจโดยใช้กฏหมายกลั่นแกล้งคนที่เห็นต่าง ที่น่าจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการบริหารงานที่ผิดพลาดอย่างต่อเนื่องของรัฐบาล
การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของผู้ติดเชื้อไวรัสในประเทศไทย เกิดจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ชะล่าใจ และไม่คิดล่วงหน้า ของรัฐบาล จำนวนผู้ติดเชื้อของไทยนิ่งอยู่นาน ในขณะที่ประเทศอื่นเพิ่มขึ้นอย่างมาก หากรัฐบาลจะไหวตัวและเร่งออกมาตรการต่างๆเพิ่อป้องกันล่วงหน้า ปัญหาคงไม่เพิ่มมากมายขนาดนี้ ดังนั้น พลเอกประยุทธ์ จึงต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายจากคนเจ็บและคนตายที่จะเกิดเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ การบริหารจัดการของรัฐบาลก็ยังย่ำแย่ตั้งแต่แรกจนถึงขณะนี้ แม้กระทั่งปัจจุบันหน้ากากอนามัยที่เป็นความจำเป็นในการป้องกันไวรัสก็ยังขาดแคลน รัฐบาลละเลยจนทำให้มีการหาผลประโยชน์จากหน้ากากอนามัย โดยไม่มีการลงโทษรายใหญ่มีแต่รายเล็กที่โดนลงโทษ หากตนไม่นำเอกสารการอนุญาตส่งออกหน้ากากอนามัยมาเปิดเผย ป่านนี้ก็ยังปล่อยให้มีการส่งออกหน้ากากอนามัยกันอยู่ ทั้งๆที่ในประเทศขาดแคลนกันอย่างหนัก ทั้งนี้รวมถึงแอลกอฮอล์ที่ขาดแคลนด้วย ดังนั้นจึงอยากให้พลเอกประยุทธ์นำคนทำผิดรายใหญ่พร้อมเครือข่ายมาลงโทษได้จริงตามที่ได้ประกาศไว้ นอกจากหน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์แล้ว เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ยังขาดแคลนอย่างมาก ทำไมรัฐบาลถึงไม่จัดซื้อโดยด่วนให้รวดเร็วเหมือนการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ ทั้งที่ความเป็นความตายของประชาชนและบุคคลากรทางการแพทย์ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์เหล่านี้ ไม่อยากนึกภาพว่าหากไทยกลายเป็นเหมือนอิตาลี แล้วต้องปล่อยให้ผู้สูงอายุต้องตายไปโดยไม่ได้รับการรักษาพยาบาล ประชาชนจะโกรธแค้นรัฐบาลกันขนาดไหน
อยากให้รัฐบาลได้ดูตัวอย่างของประเทศเกาหลีใต้ที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาด โดยการตรวจการติดเชื้อของประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันมีอุปกรณ์ตรวจแบบด่วน (Rapid Test) ที่มีราคาถูกเพียงไม่กี่ร้อยบาท และสามารถรู้ผลในไม่กี่นาที รัฐบาลควรเร่งนำมาสุ่มตรวจประชาชนกลุ่มเสี่ยงให้มากที่สุด เพื่อกักตัวและนำมารักษาโดยด่วน ซึ่งจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดอย่างได้ผล
ในเรื่องการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับกระทบจากวิกฤตการณ์ไวรัสโควิด-19 นี้ จะมีผลกระทบกับคนในวงกว้างแทบทุกธุรกิจ ขนาดแบงก์ชาติยังคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะถดถอยและติดลบหนักถึง -5.3% เหมือนที่ตนได้เตือนไว้ก่อนแล้ว ซึ่งเศรษฐกิจอาจจะแย่กว่าที่แบงก์ชาติบอกด้วย ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องพยายามช่วยเหลือคนทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลตั้งหลักคิดให้ดี โดยอยากให้ช่วยเหลือประชาชนส่วนใหญ่ที่ยากจน ผู้มีรายได้น้อย ลูกจ้าง คนหาเช้ากินค่ำ พ่อค้าแม่ค้ารายย่อย ฯลฯ ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงก่อน แล้วค่อยไล่เรียงลำดับความช่วยเหลือขึ้นไป ทั้งนี้เพราะยังไม่ทราบเลยว่าสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 จะยาวนานอีกแค่ไหน เพราะในประเทศจีนเองก็คาดกันว่าอาจจะเกิดการแพร่ระบาดรอบสองกันอีก ซึ่งหากสถานการณ์ที่อาจจะลากไปยาวนาน การใช้จ่ายของรัฐบาลจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจะใช้จ่ายอย่างไรเพื่อประคองคนส่วนใหญ่ของประเทศ และอยากให้รัฐบาลคิดและออกทั้งนโยบายทางการเงินและนโยบายทางการคลังที่จะไม่เป็นภาระกับรัฐบาลมากนักร่วมกันไปด้วย เช่น การปรับปรุงโครงสร้างภาษี การลดดอกเบี้ย ปรับอัตราแลกเปลี่ยน การปรับลดงบประมาณจากเรื่องที่รอได้ไม่จำเป็นเร่งด่วนเพื่อนำมาใช้กับสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 นี้ ฯลฯ รวมถึงการหารายได้เข้ารัฐ ซึ่งจะลดภาระของรัฐบาลได้บ้างในกรณีที่รัฐบาลอาจจะต้องแบกรับภาระเป็นระยะเวลานานตามสถานการณ์ที่ยังไม่แน่นอน
หากจำกันได้ ตนเคยเตือนแล้วว่ารัฐบาลไม่ควรใช้จ่ายสะเปะสะปะ ควรเก็บกระสุนไว้ในคราวจำเป็นเมื่อเศรษฐกิจย่ำแย่ลง แต่รัฐบาลไม่รับฟังแถมยังส่งคนออกมาต่อว่าตน หวังว่าตอนนี้รัฐบาลจะได้สำนึกแล้ว และควรต้องนึกเสียดายการจ่ายเงิน ชิมช้อปใช้ การให้คนไปเที่ยวแล้วได้เงินคืน และ การให้คนใช้จ่ายแล้วได้เงินคืน ฯลฯ ซึ่งไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เป็นการจ่ายแบบสูญเปล่า แทนที่จะนำเงินเหล่านั้นมาช่วยประชาชนที่กำลังลำบากได้อย่างมากในช่วงนี้และในระยะต่อไปที่ไม่รู้จะนานเท่าไหร่
ปัญหาของรัฐบาลนี้คือการไม่คิดล่วงหน้า หรือ อาจจะคิดไม่เป็น ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อไปในการบริหารจัดการ โดยจะเพิ่มปัญหามากขึ้น และหากรัฐบาลยังจะใช้อำนาจ พรก. ฉุกเฉิน เพื่อปิดปากคนเห็นต่าง รัฐบาลจะยิ่งหลงทางไปกันใหญ่ การรับฟังความคิดเห็นทางสังคมอย่างเปิดกว้างและนำไปพิจารณาปฏิบัติจะช่วยรัฐบาลให้ผ่านพันวิกฤตการณ์นี้ไปได้
‘ก้าวไกล’ ไลฟ์ถกเข้มแก้โควิด-19 ‘ศิริกัญญา’ กังขามาตรการเยียวยาแรงงาน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2089993
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล และนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร พรรคก้าวไกล จัดรายการพิเศษ “ก้าวไกลพาไทยพ้นวิกฤต” ผ่านช่องทางไลฟ์เฟซบุ๊กของเพจพรรคก้าวไกล พูดคุยในเรื่องเศรษฐกิจในช่วงที่เกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังวิเคราะห์ถึงผลกระทบ งบประมาณในการแก้ไขวิกฤติในครั้งนี้ และมาตรการเยียวยาต่างๆ จากภาครัฐ
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า สิ่งที่พี่น้องแรงงานนอกระบบรอคอยกันอยู่ วันนี้รัฐก็ออกมาตรการช่วยเหลือแล้ว หลักใหญ่ใจความคือ จะมีการชดเชยรายได้ให้กับแรงงานนอกระบบ ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการเป็นจำนวน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ปัญหาคือ รัฐมีมาตรการใดตรวจสอบสิทธิว่าประชาชนคนใดได้รับความเดือนร้อนจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งแรงงานนอกระบบมีทั้งสิ้น 18.7 ล้านคน หักเกษตรกร 9.2 ล้านคน เหลือลูกจ้างรายวัน รับจ้างทั่วไป พ่อค้าแม่ขาย 9.5 ล้านคน แต่เงินเยียวยาที่จะช่วยเหลือจำนวน 3 เดือนนี้ มีโควต้าเพียง 3 ล้านคน ซึ่งผู้มีสิทธิในโควต้านี้ รวมถึงผู้ประกันตนในมาตรา 39 และ 40 อีกกว่า 5 ล้านคน นั่นหมายความว่าเงินจำนวนกว่า 15,000 ล้านบาท จะมีคนแย่งกันจำนวน 14.5 ล้านคน คำถามคือรัฐมีเกณฑ์ในการเลือกอย่างไร ว่าใครเดือดร้อนที่สุด ที่สมควรได้รับเงินเยียวยา
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวอีกว่า เราอยากให้รัฐบาลเข้าไปตรวจติดตาม เข้าไปผลักดันให้การอนุมัติสินเชื่อเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ให้ทันท่วงทีต่อสถานการณ์ที่จำเป็นต้องใช้เงินของประชาชน รวมไปถึงมาตรการพักชำระหนี้และลดดอกเบี้ย ซึ่งตอนนี้มีมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อ สำหรับลูกหนี้ที่ยังไม่เป็น NPL ให้มีผลตั้งแต่ 1 เม.ย. 2563 ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ไปจนถึงสินเชื่อธุรกิจ sme ซึ่งปัญหาสำหรับมาตรการนี้อยู่ที่การกำหนดว่าใครสามารถลดอัตราผ่อนชำระหนี้ หรือพักชำระเงินต้นได้ อย่างสินเชื่อ sme ที่พักชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยตามสถานการณ์
“ทุกคนได้รับผลกระทบหมดขึ้นอยู่กับว่าได้รับผลกระทบมากหรือน้อย คนที่ได้รับน้อยที่สุดเชื่อว่าเป็นข้าราชการ รวมถึงนักการเมืองอย่างเราด้วยที่เงินเดือนไม่ถูกลด รวมไปถึงพนักงานเอกชนที่ไม่ถูกลดเงินเดือน แต่ก็ยังมีพนักงานเอกชนบางกลุ่มเริ่มได้รับผลกระทบแล้ว จากการที่บางสถานประกอบการเริ่มปรับลดเงินเดือน 10-20% ไม่ต้องพูดถึงพ่อค้าแม่ขาย ที่ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า นี่คือสิ่งที่เรากังวลว่า ใครจะได้รับสิทธิพักชำระเงินต้น ใครเป็นคนกำหนดหลักเกณฑ์ ว่าใครจะได้พักชำระเป็นระยะเวลาเท่าไร ปรับลดดอกเบี้ยเท่าไร ซึ่งนโยบายที่รัฐจะต้องทำนั้น ต้องเป็นนโยบายแบบให้โดยเสมอภาค เพราะเมื่อไรที่ต้องตรวจพิสูจน์ หรือพิจารณานั้นต้องใช้เวลา ซึ่งหากใช้หลักเกณฑ์หลวมๆหรือคนมาพิจารณา ความไม่ยุติธรรมย่อมเกิดขึ้นอยู่แล้ว” น.ส.ศิริกัญญา กล่าว
นายวิโรจน์ กล่าวว่า งบประมาณกลางได้ใช้ไปส่วนหนึ่งแล้ว ถึงแม้ว่างบรายจ่ายประจำปี 2563 พึ่งได้รับการอนุมติ แต่ได้ถูกใช้ไปพลางก่อนแล้ว จากงบประมาณกลางทั้งหมดกว่า 9 หมื่นล้าน ซึ่งงบกลางในส่วนนี้จะใช้ไปกับกรณีฉุกเฉินและจำเป็น ตอนนี้ต้องยอมรับว่า งบประมาณฝึกอบรม จัดอีเว้นท์ต่างๆ ไม่ควรจะได้รับงบประมาณ ซึ่งจะสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน หากหักงบดำเนินงานในส่วนนี้มา จะได้ประมาณมาช่วยเหลืออีกกว่า 3 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ยังมีงบประมาณเกณฑ์ทหาร และงบจัดซื้อยุทโธปกรณ์ อีกทั้งเรือดำน้ำที่ต้องส่งมาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งเป็นจุดที่ไวรัสโควิท-19แพร่ระบาดเป็นที่แรก ไม่น่าจะส่งมาได้ทัน ถึงแม้จะเป็นงบผูกพัน แต่สามารถเลื่อนชำระไปได้ หากจัดการงบประมาณอย่างถูกที่ถูกทาง หากจัดทำ พรบ.โอนย้ายงบประมาณที่ไม่จำเป็น มาใช้เพื่อผ่านวิกฤตในครั้งนี้ เราจะได้งบประมาณมาเพิ่มอีก 8 หมื่นล้านบาท
“หากรัฐจัดทำร่าง พ.ร.บ.โอนงบประมาณ จากโครงการหรือส่วนที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ จะมีเงินเพียงพอที่จะสามารถเยียวยาประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ผมเชื่อว่าฝ่ายค้านพร้อมจะผ่านร่าง พ.ร.บ.โอนงบประมาณ 3 วาระรวด เพราะว่าเป็นการทำเพื่อประชาชน เพราะขนาดกลุ่มก่อการร้าย isis ยังประกาศหยุดก่อการร้ายเพราะไวรัสโควิด-19 แสดงให้เห็นว่าโลกใบนี้ไม่มีความมั่นคงอะไรเท่ากับความมั่นคงทางสาธารณสุขอีกแล้ว ” นายวิโรจน์ กล่าว