เหมือนว่าจะไม่สับสน
“ร่วง” กับ “ล่วง” ดูเหมือนว่าจะไม่สับสนในการใช้กันมากนัก แต่ผู้เขียนก็ขอนำมาเสนอท่านผู้อ่าน เป็นทำนองว่า “รู้เท่าเอาไว้กัน รู้ทันเอาไว้แก้” นั่นเอง
“ร่วง” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ อธิบายไว้ว่า เป็นกริยา หมายถึง หล่น เช่น ใบไม้ร่วง ผลไม้ร่วง หลุด เช่น ถูกชกฟันร่วง ผมร่วง เป็นวิเศษณ์ หมายถึง รุ่ง เรือง นอกจากนั้น ยังเก็บคำที่มีคำว่า “ร่วง” ประกอบอยู่ด้วย คือ “ร่วงรุ้ง” เป็นวิเศษณ์ หมายถึง พรายแสง (ใช้แก่เพชร) และ “ร่วงโรย” เป็นกริยา หมายถึง เสื่อมไป สิ้นไป เช่น สังขารร่วงโรย เซียวไป เช่น อดนอนหน้าตาร่วงโรย
ส่วน “ล่วง” นั้น พจนานุกรมฯ อธิบายว่า เป็นกริยา หมายถึง ผ่านจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น เดินล่วงเข้าไปในเขตหวงห้าม เวลาล่วงไปหลายปี
นอกจากนั้น ยังอธิบายคำที่มีคำว่า “ล่วง” ประกอบอยู่ด้วย คือ ล่วงเกิน ล่วงขื่อ ล่วงคำ ล่วงประเวณี ล่วงแป ล่วงพ้น ล่วงรู้ ล่วงละเมิด ล่วงลับ ล่วงล้ำ ล่วงเลย ล่วงว่า ล่วงเวลา ล่วงหน้า
ในบรรดาคำที่มี “ล่วง” ประกอบอยู่ด้วยนั้น ผู้เขียนสันนิษฐานว่า ท่านผู้อ่านอาจสงสัยใน ๓ คำ คือ ล่วงขื่อ ล่วงแป ล่วงว่า เป็นแน่แท้ มาดูกันว่า พจนานุกรมฯ อธิบายไว้ว่าอย่างไรบ้าง
ล่วงขื่อ เป็นนาม หมายถึง ด้านสกัด
ล่วงแป เป็นนาม หมายถึง ด้านยาว
ล่วงว่า เป็นกริยา หมายถึง บังอาจว่าเขา กล่าวต่อไปอีกเฉพาะสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ตรงกับความคิดของท่านผู้อ่านไหมครับ หรือว่าผู้เขียนเดาผิด หรือว่าเป็นความไม่รู้ของผู้เขียนเองที่ไม่เข้าใจความหมายของคำ ๓ คำที่กล่าวมา สรุปแล้วเป็นสิ่งไหนกันแน่ ยังสงสัยอยู่เหมือนกันครับ
สำรวย นักการเรียน
http://www.royin.go.th/?knowledges=%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%99-%E0%B9%91%E0%B9%91-%E0%B8%81
เลิกใช้คำว่า "ล่วง" ในสินธรเถอะ มันผิดหลักภภาษาไทย ให้อารมณ์เหมือนเด็กหัดพูด T_T
“ร่วง” กับ “ล่วง” ดูเหมือนว่าจะไม่สับสนในการใช้กันมากนัก แต่ผู้เขียนก็ขอนำมาเสนอท่านผู้อ่าน เป็นทำนองว่า “รู้เท่าเอาไว้กัน รู้ทันเอาไว้แก้” นั่นเอง
“ร่วง” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ อธิบายไว้ว่า เป็นกริยา หมายถึง หล่น เช่น ใบไม้ร่วง ผลไม้ร่วง หลุด เช่น ถูกชกฟันร่วง ผมร่วง เป็นวิเศษณ์ หมายถึง รุ่ง เรือง นอกจากนั้น ยังเก็บคำที่มีคำว่า “ร่วง” ประกอบอยู่ด้วย คือ “ร่วงรุ้ง” เป็นวิเศษณ์ หมายถึง พรายแสง (ใช้แก่เพชร) และ “ร่วงโรย” เป็นกริยา หมายถึง เสื่อมไป สิ้นไป เช่น สังขารร่วงโรย เซียวไป เช่น อดนอนหน้าตาร่วงโรย
ส่วน “ล่วง” นั้น พจนานุกรมฯ อธิบายว่า เป็นกริยา หมายถึง ผ่านจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น เดินล่วงเข้าไปในเขตหวงห้าม เวลาล่วงไปหลายปี
นอกจากนั้น ยังอธิบายคำที่มีคำว่า “ล่วง” ประกอบอยู่ด้วย คือ ล่วงเกิน ล่วงขื่อ ล่วงคำ ล่วงประเวณี ล่วงแป ล่วงพ้น ล่วงรู้ ล่วงละเมิด ล่วงลับ ล่วงล้ำ ล่วงเลย ล่วงว่า ล่วงเวลา ล่วงหน้า
ในบรรดาคำที่มี “ล่วง” ประกอบอยู่ด้วยนั้น ผู้เขียนสันนิษฐานว่า ท่านผู้อ่านอาจสงสัยใน ๓ คำ คือ ล่วงขื่อ ล่วงแป ล่วงว่า เป็นแน่แท้ มาดูกันว่า พจนานุกรมฯ อธิบายไว้ว่าอย่างไรบ้าง
ล่วงขื่อ เป็นนาม หมายถึง ด้านสกัด
ล่วงแป เป็นนาม หมายถึง ด้านยาว
ล่วงว่า เป็นกริยา หมายถึง บังอาจว่าเขา กล่าวต่อไปอีกเฉพาะสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ตรงกับความคิดของท่านผู้อ่านไหมครับ หรือว่าผู้เขียนเดาผิด หรือว่าเป็นความไม่รู้ของผู้เขียนเองที่ไม่เข้าใจความหมายของคำ ๓ คำที่กล่าวมา สรุปแล้วเป็นสิ่งไหนกันแน่ ยังสงสัยอยู่เหมือนกันครับ
สำรวย นักการเรียน
http://www.royin.go.th/?knowledges=%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%99-%E0%B9%91%E0%B9%91-%E0%B8%81