คนไทยในเยอรมันอยากกลับบ้าน ตอนนี้มีมาตรการยังไงบ้างครับ

เป็นเพื่อนของคุณพ่อ ทำงานในเยอรมัน ตอนนี้สถานการณ์ไม่ดีเลย คนกลัวกันมาก ท่านอยากกลับมาเมืองไทย
ไม่ทราบมีมาตรการยังไงบ้างครับ ต้องขอใบรับรองแพทย์มาจากเยอรมันไหม
หรือบินมาได้เลยแล้วมาตรวจที่ไทย ขอแนวทางด้วยครับ หรือไม่ควรมา ให้ท่านกักตัวอยู่ที่นู้น
ตอนนี้เยอรมันมีผู้ติดเชื้อสองหมื่นกว่าคนแล้ว ท่านกลัวติดแล้วเครื่องช่วยหายใจไม่พอครับ
กลัวจะเป็นเหมือนอิตาลี
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ท่านกลัวติดแล้วเครื่องช่วยหายใจไม่พอครับ

ถ้าอ่านจากที่ จขกท เขียนมาแสดงว่าคนไทยที่ จขกท รู้จักที่ทำงานในเยอรมนีไม่มีการติดตามอ่านข่าวเยอรมันเลย  มีปัญหาเรื่องภาษาเยอรมันหรือครับ?

อุปกรณ์เครื่องมือของเยอรมัน  "เป็นประเทศหนึ่งไม่กี่ประเทศ"  ที่มีพร้อม  "ที่สุด" กว่าประเทศอื่นๆ แล้ว  เตียงคนไข้  ICU  มีมากกว่าไทย 5 เท่า  คือ 28,000 เตียง   เครื่องช่วยหายใจ 25,000 ชุด   นี่เคือของเดิมที่มีอยู่และตอนนี้ขยายเพิ่มขึ้นไปอีก

สำหรับเครื่องมืออุปกรณ์ช่วยหายใจเขาก็เพิ่งออกข่าวทาง ทีวี  ให้เห็นอยู่ว่าบริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์เยอรมัน Drägerwerk  (อยู่ในตลาดหุ้นด้วย)  กำลังผลิตเพิ่มเตรียมเต็มที่

คุณคิดว่าอยู่ในประเทศที่ผลิตเครื่องมือได้เอง  กับประเทศที่ต้องซื้อนำเข้าอุปกรณ์ประเทศไหนจะพร้อมกว่ากัน?

ไปบอกเขาด้วยว่า   เมื่อวานนี้คนใข้จากฝรั่งเศส "รุ่นแรก"  ที่อาการหนักต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพิ่งถูกส่งตัวด้วยเครื่องบินทหารฝรั่งเศสเข้าไปรักษาตัวในฺ  Baden-Württemberg เยอรมนี 8 คน   สวิสประกาศจะช่วยรับจากฝรั่งเศสอีก 6 คน

ถ้าเขามีเครื่องมือไม่พอเขาจะเสนอตัวไปช่วยคนอื่นได้ยังไง?

แต่ถ้าอยากจะกลับเพราะรู้สึกว่าเวลาป่วยอยู่กับคนที่พูดภาษากันรู้เรื่องนี่ก็เข้าใจนะ   กลับไปได้เลย

ข่าวจำนวนการติดเชื้อวันนี้เป็นวันแรกที่จำนวนลดลง  จากที่เพิ่มวันศุกร์ที่ผ่านมาติดเชื้อเพิ่ม  2705 คน   ลดลงมาเหลือวันเสาร์ 1948 คน   จำนวนเสียชิวิตวันศุกร์จำนวน 15 คน  วันเสาร์เหลือ  9  คน   แต่ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าดีขึ้นจริงๆ เพราะเพิ่งเป็นวันแรกที่เริ่มดีขึ้น    ต้องดูวันที่ตามมาว่าเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นกี่ %   ถ้าแนวโน้มตัวเลขดีขึ้นก็เท่ากับเป็นการ  "ยืนยัน" ว่ามาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลใช้เริ่มส่งผลลัพธ์

ผู้ว่าการเมือง Elsass ของฝรั่งเศสขอบคุณเยอรมนีที่ช่วยรับคนไข้   พร้อมรูป helicopter ทหารฝรั่งเศสที่ขนย้ายคนไข้มาเยอรมนี

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่