วันที่ 19 มีนาคม 2563 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า พุทธมนต์ มาจากคำว่า "พุทธะ กับ มันตะ" พุทธะ แปลได้สองความหมาย (1) ความหมายของนาม จะแปลว่า "พระพุทธเจ้า" ก็ได้ หรือ (2) ความหมายของสภาวะ จะแปลว่า "รู้ ตื่น และเบิกบาน " ก็ได้ ในขณะที่ มันตะ หรือ มนต์ แปลว่า "คุ้มครอง ป้องกัน รักษา"
เมื่อแปลรวมกันสามารถแปลได้ทั้งสองความหมาย (1) หมายถึงมนต์ของพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธเจ้าให้สวด หรือ (2) หมายถึง มนต์ที่นำไปสู่ หรือทำให้เกิดความรู้ ตื่น และเบิกเบิก เพราะมนต์ที่สวดจะนำไปสู่การคุ้มครอง ป้องกัน และรักษาคนสวดและคนฟังให้มีความรู้ตื่นและเบิกบาน
ถามว่า "เพราะเหตุใด? ต้องสวดมนต์" เพราะเมื่อมนุษย์กำลังเผชิญหน้ากับปัญหา อุปสรรค และวิกฤติการณ์ต่างๆ เพราะภูมิคุ้มกันทางจิตบกพร่อง จึงทำให้เกิดภาวะหวาดระแวง วิตกกังวล เคร่งเครียด และตื่นตระหนัก จนไม่สามารถบริหารจัดการสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม จนขาดประสิทธิภาพในการทำงาน และการตัดสินใจ
ทั้งหมดจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้พระพุทธเจ้าจึงตัดสินใจให้พระภิกษุเรียนมนต์แล้วช่วยกันสวดมนต์ ดังจะเห็นจากภิกษุบางกลุ่มที่พำนักปักกลดปฏิธรรมในป่าเขา แต่ถูกภูตผีปีศาจผีและเทวดาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวหลอกหลอน จึงให้พระภิกษุพากันสวดบทกรณียเมตตสูตรเพื่อแผ่เมตตา จนในที่สุดก็สามารถปฏิบัติธรรมต่อไปได้
อีกกรณีหนึ่ง เมื่อชาวไพศาลีเผชิญหน้ากับภัยร้ายต่างๆ ทั้งวาตภัย อัคคีภัย ทุพภิกขภัย และภัยร้ายที่เกิดจากโรคระบาด เพราะองค์จึงให้พระอานนท์เรียนมนต์บท "รัตนสูตร" แล้วนำไปสวดบริกรรมพร้อมทำน้ำมนต์ประพรมในพื้นที่ต่างๆ ภายในเมือง และบ้านเรือน จนในที่สุด ภัยร้ายรวมถึงโรคร้ายค่อยๆ จางคลายและหายในที่สุด
โบราณจึงมักบอกว่า "สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน" มนต์จึงมีหน้าที่ในการทำให้จิตที่ตื่นตระหนกให้มีความตื่นรู้มากยิ่งขึ้น ทำให้คนหวาดระแวงให้มีความระวังมากขึ้น ทำให้คนมีความวิตกกังวล จิตสงบเย็นมากยิ่งขึ้น ในที่สุดร่างกายจะผ่อนคลาย มนต์จึงเป็นยาใน ส่วนยานอกก็จำเป็นต้องรักษาตามอาการ
ถามต่อไปว่า "เพราะเหตุใด? มนต์จึงคุ้มครอง ป้องกัน และรักษาได้" เพราะในขณะสวด ผู้สวดและผู้ฟังมีสติ ระลึกรู้ในทุกขณะ และมีจิตใจจดจ่อ ไม่วอกแวก และตั้งมั่นอยู่กับเสียงสวดมนต์จนเกิดสมาธิจิตที่แรงกล้า จะเห็นว่า "#คุณภาพของมนต์ สัมพันธ์กับ #คุณภาพของสติสมาธิ"
อำนาจของสติ และสมาธิที่ทำงานร่วมกันต่อเนื่องไม่ขาดสาย จะทำหน้าที่คุ้มครอง ป้องกัน และรักษาจิต เมื่อจิตได้รับการคุ้มครองอย่างดี ย่อมจักส่งพลังอำนาจดังกล่าว ไปคุ้มครอง ป้องกัน และรักษาร่างกายของเราให้มีความกำลังเข้มแข็ง
อำนาจของมนต์เกิดขึ้นได้ ก็ด้วยอำนาจของสติสมาธิ เมื่อคนสวดมีสติสมาธิ คนฟังส่งกระแสจิตตามเสียงสวดมนต์อย่างมีสติจนเกิดสมาธิ พลังและอำนาจจึงส่งผลในการคุ้มครอง ป้องกันและรักษาคนสวดและคนฟังสวด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่หมดกำลังใจ สิ้นหวัง วิตกกังวล หรือหวาดกลัว ได้รำลึกนึกถึงอำนาจแห่งคุณพระศรีพระรัตนตรัย ก็ย่อมทำให้เกิดพลังอำนาจคุ้มครองป้องกัน และรักษา ด้วยประการฉะนี้
ในสถานการณ์ปัจจุบันที่สังคมกำลังเผชิญหน้ากับโรคร้ายโควิด-19 นั้น คนจำนวนหนึ่งอาจจะติดโรค แต่คนจำนวนมากหลายล้านคนกำลังติดอารมณ์จมดิ่งอยู่กับโรคโควิด-19 หวาดวิตก กังวล หวาดระแวง ตื่นกลัว
ในขณะที่คนติดก็ต้องรักษากายให้หายขาด การสวดมนต์สามารถช่วยรักษาใจ ทั้งคนติด และคนที่ยังไม่ติดให้หายคลายจากอารมณ์ต่างๆ จิตใจก็จะมีความชุ่มเย็น ผ่อนคลาย ไม่หวั่นไหวและวอกแวกกับการเสพข่าวสารต่างๆ มีปัญญาในการดูแลรักษาตัวเองให้มีความสุขต่อไป นั่นจึงเป็นเหตุผลที่อธิบายมาตั้งแต่ต้นว่า "เพราะเหตุใด? มนต์จึงทำให้เรารู้ ตื่น และเบิกบาน ทั้งคนสวดและคนฟัง"
พิษโควิด-19! สวดมนต์ทำไม? ทำไม? ต้องสวดมนต์รัตนสูตร
วันที่ 19 มีนาคม 2563 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า พุทธมนต์ มาจากคำว่า "พุทธะ กับ มันตะ" พุทธะ แปลได้สองความหมาย (1) ความหมายของนาม จะแปลว่า "พระพุทธเจ้า" ก็ได้ หรือ (2) ความหมายของสภาวะ จะแปลว่า "รู้ ตื่น และเบิกบาน " ก็ได้ ในขณะที่ มันตะ หรือ มนต์ แปลว่า "คุ้มครอง ป้องกัน รักษา"
เมื่อแปลรวมกันสามารถแปลได้ทั้งสองความหมาย (1) หมายถึงมนต์ของพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธเจ้าให้สวด หรือ (2) หมายถึง มนต์ที่นำไปสู่ หรือทำให้เกิดความรู้ ตื่น และเบิกเบิก เพราะมนต์ที่สวดจะนำไปสู่การคุ้มครอง ป้องกัน และรักษาคนสวดและคนฟังให้มีความรู้ตื่นและเบิกบาน
ถามว่า "เพราะเหตุใด? ต้องสวดมนต์" เพราะเมื่อมนุษย์กำลังเผชิญหน้ากับปัญหา อุปสรรค และวิกฤติการณ์ต่างๆ เพราะภูมิคุ้มกันทางจิตบกพร่อง จึงทำให้เกิดภาวะหวาดระแวง วิตกกังวล เคร่งเครียด และตื่นตระหนัก จนไม่สามารถบริหารจัดการสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม จนขาดประสิทธิภาพในการทำงาน และการตัดสินใจ
ทั้งหมดจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้พระพุทธเจ้าจึงตัดสินใจให้พระภิกษุเรียนมนต์แล้วช่วยกันสวดมนต์ ดังจะเห็นจากภิกษุบางกลุ่มที่พำนักปักกลดปฏิธรรมในป่าเขา แต่ถูกภูตผีปีศาจผีและเทวดาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวหลอกหลอน จึงให้พระภิกษุพากันสวดบทกรณียเมตตสูตรเพื่อแผ่เมตตา จนในที่สุดก็สามารถปฏิบัติธรรมต่อไปได้
อีกกรณีหนึ่ง เมื่อชาวไพศาลีเผชิญหน้ากับภัยร้ายต่างๆ ทั้งวาตภัย อัคคีภัย ทุพภิกขภัย และภัยร้ายที่เกิดจากโรคระบาด เพราะองค์จึงให้พระอานนท์เรียนมนต์บท "รัตนสูตร" แล้วนำไปสวดบริกรรมพร้อมทำน้ำมนต์ประพรมในพื้นที่ต่างๆ ภายในเมือง และบ้านเรือน จนในที่สุด ภัยร้ายรวมถึงโรคร้ายค่อยๆ จางคลายและหายในที่สุด
โบราณจึงมักบอกว่า "สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน" มนต์จึงมีหน้าที่ในการทำให้จิตที่ตื่นตระหนกให้มีความตื่นรู้มากยิ่งขึ้น ทำให้คนหวาดระแวงให้มีความระวังมากขึ้น ทำให้คนมีความวิตกกังวล จิตสงบเย็นมากยิ่งขึ้น ในที่สุดร่างกายจะผ่อนคลาย มนต์จึงเป็นยาใน ส่วนยานอกก็จำเป็นต้องรักษาตามอาการ
ถามต่อไปว่า "เพราะเหตุใด? มนต์จึงคุ้มครอง ป้องกัน และรักษาได้" เพราะในขณะสวด ผู้สวดและผู้ฟังมีสติ ระลึกรู้ในทุกขณะ และมีจิตใจจดจ่อ ไม่วอกแวก และตั้งมั่นอยู่กับเสียงสวดมนต์จนเกิดสมาธิจิตที่แรงกล้า จะเห็นว่า "#คุณภาพของมนต์ สัมพันธ์กับ #คุณภาพของสติสมาธิ"
อำนาจของสติ และสมาธิที่ทำงานร่วมกันต่อเนื่องไม่ขาดสาย จะทำหน้าที่คุ้มครอง ป้องกัน และรักษาจิต เมื่อจิตได้รับการคุ้มครองอย่างดี ย่อมจักส่งพลังอำนาจดังกล่าว ไปคุ้มครอง ป้องกัน และรักษาร่างกายของเราให้มีความกำลังเข้มแข็ง
อำนาจของมนต์เกิดขึ้นได้ ก็ด้วยอำนาจของสติสมาธิ เมื่อคนสวดมีสติสมาธิ คนฟังส่งกระแสจิตตามเสียงสวดมนต์อย่างมีสติจนเกิดสมาธิ พลังและอำนาจจึงส่งผลในการคุ้มครอง ป้องกันและรักษาคนสวดและคนฟังสวด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่หมดกำลังใจ สิ้นหวัง วิตกกังวล หรือหวาดกลัว ได้รำลึกนึกถึงอำนาจแห่งคุณพระศรีพระรัตนตรัย ก็ย่อมทำให้เกิดพลังอำนาจคุ้มครองป้องกัน และรักษา ด้วยประการฉะนี้
ในสถานการณ์ปัจจุบันที่สังคมกำลังเผชิญหน้ากับโรคร้ายโควิด-19 นั้น คนจำนวนหนึ่งอาจจะติดโรค แต่คนจำนวนมากหลายล้านคนกำลังติดอารมณ์จมดิ่งอยู่กับโรคโควิด-19 หวาดวิตก กังวล หวาดระแวง ตื่นกลัว
ในขณะที่คนติดก็ต้องรักษากายให้หายขาด การสวดมนต์สามารถช่วยรักษาใจ ทั้งคนติด และคนที่ยังไม่ติดให้หายคลายจากอารมณ์ต่างๆ จิตใจก็จะมีความชุ่มเย็น ผ่อนคลาย ไม่หวั่นไหวและวอกแวกกับการเสพข่าวสารต่างๆ มีปัญญาในการดูแลรักษาตัวเองให้มีความสุขต่อไป นั่นจึงเป็นเหตุผลที่อธิบายมาตั้งแต่ต้นว่า "เพราะเหตุใด? มนต์จึงทำให้เรารู้ ตื่น และเบิกบาน ทั้งคนสวดและคนฟัง"