ใครจะขึ้นชั้น-ตกชั้น? แล้วสัญญาของผู้เล่นที่กำลังจะหมดลงล่ะ?

ที่มาเพจ Boot Room บู๊ท รูม


ประเด็นน่าสนใจเมื่อลีกอังกฤษพักการแข่งขันท่ามกลางสถานการณ์ไม่สู้ดีกับ โควิด-19 คือ สโมสรจะอยู่รอดหรือไม่เมื่อต้องขาดรายได้จากเกมการแข่งขัน?
ใครจะขึ้นชั้น-ตกชั้น? แล้วสัญญาของผู้เล่นที่กำลังจะหมดลงล่ะ?
ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเด็นเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้นกับสโมสรต่างๆ , องค์กรฟุตบอลทุกแห่ง และทุกลีกทั่วโลก

การตั้งสมมติฐานว่า สถานการณ์จะดีขึ้นหากสภาพอากาศดีกว่าเดิม ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเป็นแบบนั้นจริงๆ ไหม? หรือ หลายคนมองว่าพอถึงเวลาตามฤดูกาล โรงพยาบาลต่างๆ ก็จะรับภาระน้อยลงเพราะสุขภาพร่างกายของผู้คนจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้เอง
แต่วันที่ว่ามา จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่?
หากอีก 12 สัปดาห์หลังจากนี้(ซีซั่นจบ) ยังมีการแพร่ระบาดเกิดขึ้น คำถามคือ เราจะยังฝืนเล่นต่อไป?, แฟนบอลจะเข้าไปชมเกมในสนามได้ไหม?, ถ้าแฟนบอลเข้าไปชมเกมไม่ได้ เราจะยังดูเกมผ่านจอทีวี หรือสตรีมในโลกออนไลน์ได้รึเปล่า? จะดูเกมแข่งตามผับตามบาร์ได้ไหม? ทั้งหมดเป็นเรื่องที่เราต้องติดตามกันต่อไป

มาถึงเรื่องคัญว่า สโมสรจะทำยังไงเมื่อรายได้ของพวกเขาต้องพึ่งเงินที่มาจากวันที่มีเกมการแข่งขัน เช่น ค่าตั๋วเข้าชม
ก่อนอื่นอธิบายก่อนว่า รายได้จากเกมการแข่งขันเป็นรายได้สูงเป็นอันดับ 7 เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมดของสโมสรใน พรีเมียร์ลีก โดยรายได้กว่าครึ่งหนึ่งมาจากการค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด
ถึงแม้ การเล่นโดยไม่มีแฟนบอลดูในสนาม หรือไม่มีเกมลงแข่ง มันไม่ใช่เรื่องที่ดีก็จริง แต่ก็ไม่ถึงขั้นทำให้ทีมใน พรีเมียร์ลีก ล้มละลายแน่ๆ เพราะยังไงแต่ละทีมก็มีเงินเก็บในธนาคารราว 1 พันล้านปอนด์อยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ทีมในลีกสูงสุด แต่มันจะเกิดขึ้นกับทีมที่อยู่ระดับล่างลงไป
สำหรับสโมสรในลีก แชมเปี้ยนชิพ ที่ไม่ได้รับเงินการันตีหลังจากตกชั้นจากลีกสูงสุด(parachute payment) ซึ่งเงินนี้จะเป็นเงินชดเชยหลังสูญเสียรายได้จากทีวีและรายรับจากเกมการแข่งขัน

รายได้ในวันที่มีการแข่งมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของรายได้ทั้งหมด โดยในลีกวัน และ ลีกทู ถือเป็นรายได้สูงสุดเป็นอันดับ 2 ของทีมเหล่านั้น
ลีกสกอตแลนด์เองก็เป็นแบบเดียวกัน รายได้ของวันเกมเหย้าถือเป็นอันดับ 3 ของรายได้ประจำปีทั้งหมด และสำหรับ เรนเจอร์ส ถ้าดูเฉพาะฤดูกาล 2018-19 รายได้ในวันที่มีการแข่งขันถือว่าเป็น 60 เปอร์เซ็นต์จากรายได้ทั้งหมดเลยทีเดียว
ใครยังจำได้ กับข่าวเมื่อ 7 เดือนก่อน บิวรี่ เป็นทีมแรกนับตั้งแต่ปี 1992 ที่โดนขับออกจากลีกฟุตบอลอังกฤษด้วยเหตุผลด้านการเงิน ซึ่ง โบลตัน ก็ใกล้เคียงที่จะตามรอยเช่นกัน

ตั้งแต่นั้นมา บรรดาทีมอย่าง ดาร์บี้ เคาน์ตี้, แมคเคิลฟิลด์ ทาวน์, โอลแน่ม แอธเลติก และเซาธ์เอนด์ ยูไนเต็ด ต่างจ่ายค่าเหนื่อยไม่ตรงเวลาแก่นักเตะ แถมยังมีอีกหลายทีมที่กำลังเสี่ยงที่จะเข้าข่ายนั้นเหมือนกัน
อย่างไรก็ดี ดาร์บี้ อ้างว่าพวกเขาจ่ายเงินช้าแค่หนเดียวเท่านั้น แต่อีกหลายทีมมีสภาพเลวร้ายสุดๆ หากต้องเล่นแบบไม่มีแฟนบอลมาชมเกมในสนาม หรือไม่มีเกมให้เล่นไปจนถึงซีซั่นหน้า อาจจะทำให้พวกเขาแทบตายทั้งเป็น
ตัวอย่างคือ เซาธ์เอนด์ ทีมจาก ลีกวัน เชื่อว่าหากพวกเขาไม่ได้เล่นเกมในบ้านที่เหลืออีก 5 นัด ซึ่งมี 2 เกมที่จะรับมือทีมใหญ่อย่าง ปอร์ทสมัธ และ ซันเดอร์แลนด์ ความสูญเสียรายได้จากตั๋วเข้าชมแตะตัวเลขถึง 450,000 ปอนด์
นอกจากนี้ ความเป็นไปได้ที่พวกเขาต้องคืนเงินให้กับคนที่ถือตั๋วปี และคนที่ซื้อแพ็คเกจพิเศษ ซึ่งทีมจากย่าน เอสเซ็กซ์ ที่มีปัญหาเรื่องเงินอยู่แล้วจากการที่ค้างการจ่ายภาษีจนอาจโดนฟ้องร้องด้านกฎหมาย ก็น่าจะต้องเสียเงินถึง 750,000 ปอนด์ด้วยกัน ส่วนสโมสรอื่นๆ ในลีก วัน กับ ลีก ทู ตัวเลขด้านนี้อยู่ที่ประมาณ 250,000 ปอนด์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่