[CR] ผาชัน ชวนไปแค้มป์ริมหน้าผาหิน ติดแม่น้ำโขง ตกเรือไม่ตกปลา#2 แวะเที่ยวเสาเฉลียงใหญ่(ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย) ถ้ำโลง

ผาชัน ชวนไปแค้มป์ริมหน้าผาหิน ติดแม่น้ำโขง ตกเรือไม่ตกปลา#2 แวะเที่ยวเสาเฉลียงใหญ่(ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย) ถ้ำโลง ดูโลงศพไม้ มนุษย์โบราณ 

ผาชัน ชวนไปแค้มป์ริมหน้าผาหิน ติดแม่น้ำโขง ตกเรือไม่ตกปลา#1 แวะหาดทรายสูง ต้นหว้าน้ำคู่รัก อักษรโบราณในแก่งหิน
https://ppantip.com/topic/39707767

ผาชัน ชวนไปแค้มป์ริมหน้าผาหิน ติดแม่น้ำโขง ตกเรือไม่ตกปลา#3 ผาชัน ผาหมาว้อ แค้มป์ริมผาแม่น้ำโขง
https://ppantip.com/topic/39711485


บริเวณบ้านผาชัน ที่พวกเราจะไปตั้งแค้มป์นั้นตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี เป็น “อุทยานธรณีประเทศไทย ลำดับที่ 3”

อุทยานธรณี หมายถึงพื้นที่ซึ่งประกอบไปด้วย แหล่งอันมีความโดดเด่นอย่างสำคัญทางด้านธรณีวิทยา รวมถึงแหล่งที่มีคุณค่าทางด้านโบราณคดี นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม ที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ ทั้งที่อยู่บนบกและในทะเล ซึ่งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโกได้กำหนดขึ้น ปัจจุบัน มีอุทยานธรณีของโลกกระจายอยู่ 90 แห่งใน 27 ประเทศทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่นทั่วประเทศ สำรวจ ศึกษาวิจัย และประเมินคุณค่าแหล่งธรณีวิทยาที่มีความโดดเด่นในแต่ละท้องถิ่น โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ตามที่ยูเนสโกกำหนด เสนอต่อคณะกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ และศิลปกรรม เพื่อคัดเลือกเป็นพื้นที่จัดตั้งอุทยานธรณี เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติกำหนดให้เป็นอุทยานธรณีระดับจังหวัดหรือระดับประเทศต่อไป

ข้อมูลจาก
https://www.guideubon.com/2.0/go2ubon/1067/
---------------------
อุทยานธรณีในประเทศไทยตอนนี้มี 3 ที่ คือ
1. อุทยานธรณีสตูล
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
 อุทยานธรณีสูตล ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของไทย ครอบคลุมทั้งหมด 4 อำเภอของจังหวัดสตูล คือ ทุ่งหว้า มะนัง ละงู และอำเภอเมือง มีความโดดเด่นอยู่ที่ลักษณะภูมิประเทศและธรรมชาติ มีลักษณะเป็นเทือกเขาหินปูน มีเกาะน้อยใหญ่ และชายหาดที่สวยงาม ก่อเกิดกิจกรรมท่องเที่ยวหลากหลาย เช่น ล่องแก่ง ดำน้ำ เที่ยวถ้ำ และการสัมผัสวิถีชีวิตวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นต้น
          อีกทั้งพื้นดินแห่งนี้ ยังปรากฏหลักฐานพื้นทะเล ที่ย้อนกลับไปเมื่อ 500 ล้านปีก่อน พบซากฟอสซิล ที่บ่งชี้อายุทางธรณีวิทยาได้อย่างสมบูรณ์ อุทยานธรณีสูตล จึงเป็นพื้นที่แหล่งอารยธรรมที่อุดมด้วยสิ่งมีชีวิตยุคเก่า ผ่านการสั่งสมของวันและเวลา ก่อเกิดเป็นเทือกเขา และถ้ำ และทำให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยท้องถิ่นมาจนถึงปัจจุบัน
อุทยานธรณีสตูล ในฐานะอุทยานธรณีโลก
          อุทยานธรณีสตูล ได้รับการประกาศเป็นอุทยานธรณีระดับประเทศในเดือนพฤศจิกายน ปี 2559 และทางยูเนสโกได้ส่งคณะเจ้าหน้าที่มาทำการประเมินในปี 2560 ล่าสุดทางยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานธรณีสตูล เป็นอุทยานธรณีโลก หรือ Satun UNESCO Global Geopark แห่งแรกของประเทศไทย ทั้งยังเป็นอุทยานธรณีโลกประเทศที่ 36 ของโลก เป็นแหล่งที่ 5 ของอาเซียนอีกด้วย

แหล่งท่องเที่ยวอุทยานธรณีสตูล มีอะไรบ้าง ?
          อุทยานธรณีสตูล มากมายด้วยแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายประเภท เช่น
1. แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล-หมู่เกาะ

          - เกาะหลีเป๊ะ บริเวณรอบเกาะหลีเป๊ะเต็มไปด้วยปะการังอันสมบูรณ์ มีเวิ้งอ่าวที่สวยงาม หาดทรายละเอียด มากมายทั้งที่พัก ที่กิน ที่เที่ยวยามค่ำคืนครบครัน
          - หมู่เกาะอาดัง เกาะที่มีหาดทรายละเอียดสวยงาม รอบเกาะมีเกาะเล็ก ๆ หลายเกาะ เช่น เกาะหลีเป๊ะ เกาะดง เกาะหินงาม และเกาะยาง เป็นเกาะที่เหมาะสำหรับการดำน้ำสำรวจโลกใต้ทะเล

         - ปราสาทหินพันยอด ชายหาดและน้ำทะเลสีเขียวมรกตที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางหินหน้าตาประหลาดมองดูคล้ายปราสาทที่มียอดแหลม นักท่องเที่ยวจะต้องพายเรือคายักลอดผ่านช่องแคบเข้าไปจะพบกับความอลังการของหิน ชวนให้ตื่นเต้นดีไม่น้อย
          - หมู่เกาะดง ประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ซึ่งมีสภาพภูมิประเทศอันงดงามแปลกตา มีจุดดำน้ำลึกและตื้นอยู่หลายแห่ง และยังจะได้เจอลิงแสม ที่ออกมาให้นักท่องเที่ยวได้ยลโฉม

          - หาดปากบารา เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการความเป็นส่วนตัวและความสงบ มีจุดชมวิวให้นักเที่ยวเที่ยวได้มาพักผ่อน รวมทั้งยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกทะเลที่สวยงามอีกแหล่งหนึ่งของอุทยานธรณีสตูล
2. แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย

          - ถ้ำเลสเตโกดอน สิ่งที่โดดเด่นของถ้ำแห่งนี้ที่สำคัญคือการพบซากดึกดำบรรพ์ของช้าง และแรดสมัยไพลสโตซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช้าง สกุลสเตโกดอน
          - น้ำตกธารปลิว แหล่งต้นน้ำนี้เป็นโพรงถ้ำในเทือกเขาหินปูนที่ทอดยาวและเป็นหน้าผาสูงชัน ไหลลาดไปตามพื้นหินลาดเอียง แล้วตกลงเป็นน้ำตกสูง มีถนนเข้าถึงจุดน้ำตก มีร้านค้าสะดวกสบาย
          - ล่องแก่งวังสายทอง สามารถล่องได้ตลอดทั้งปี ลำธารมีสีเหลืองสวยงามเมื่อกระทบกับแสงแดด บางช่วงเป็นแก่งเล็ก ๆ เตี้ย ๆ ภายใต้ร่มไม้หลากหลายสายพันธุ์
3. แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
          - พิพิธภัณฑ์อุทยานธรณีสตูล ศูนย์ข้อมูลแหล่งอนุรักษ์ทางธรณีวิทยา ทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสตูล
          - พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า ภายในนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับช้างไทย ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดสตูล และซากดึกดำบรรพ์ช้างที่พบใน ถ้ำเลสเตโกดอนและซากดึกดำบรรพ์อื่น ๆ
          รวมถึงยังมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต ที่นักท่องเที่ยวจะได้ร่วมสัมผัสและเรียนรู้วัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวสตูล เช่น ชาวมานิ (เงาะป่า) ประเพณีลอยเรือ ประเพณีไหว้ผีโบ๋ และบ่อเจ็ดลูก เป็นต้น
ข้อมูลจาก
https://travel.kapook.com/view191902.html
-------------------------------------------------------------------------------
2.อุทยานธรณีโคราช
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
อุทยานธรณีโคราชนี้ จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในภาคอีสาน! ที่เน้นการอนุรักษ์ร่วมกับการท่องเที่ยวเชิงธรณีแบบยั่งยืน อีกทั้งจะขอเสนอต่อยูเนสโกเพื่อรับรองว่าเป็น “The UNESCO triple crowns” ไทยจะเป็น 1 ใน 3 ประเทศของโลกที่ภายใน 1 จังหวัดมีรูปแบบอนุรักษ์ของยูเนสโกครบทั้ง 3 โปรแกรม และสิ่งนี้ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์เรื่องการท่องเที่ยวได้อีกด้วย
ดาวน์โหลด
อุทยานธรณีโคราชหรือโคราชจีโอพาร์ค (Khorat Geopark) เป็นรูปแบบการอนุรักษ์ทรัพยากรธรณี นิเวศวิทยาและวัฒนธรรม รูปแบบหนึ่งของยูเนสโก อีก 2 รูปแบบ คือ มรดกโลกป่าดงพญาเย็นและเขาใหญ่ กับพื้นที่สงวนชีวมณฑล เช่น ป่าสะแกราช ขณะนี้มีอุทยานธรณีระดับโลกแล้ว 120 แห่งจาก 33 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยยังไม่มีรูปแบบนี้ แต่ขณะนี้มี 5 จังหวัดที่เริ่มมีการจัดตั้งอุทยานธรณี โดยจังหวัดที่มีการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีระดับจังหวัดแล้วรวมทั้งมีองค์กรบริหาร ได้แก่ จังหวัดสตูล และอุบลราชธานี ส่วนจังหวัดนครราชสีมาเป็นลำดับที่ 3 โดยจังหวัดตากและขอนแก่น อาจจะเป็นลำดับต่อไป

อุทยานธรณีโคราช จะอาศัยความโดดเด่นด้านทรัพยากรฟอสซิลในพื้นที่ ทั้งซากช้างดึกดำบรรพ์ ไดโนเสาร์ ไม้กลายเป็นหินและสัตว์ร่วมยุคอื่นๆ ซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในระดับนานาชาติจำนวนมาก ตั้งแต่พบอุรังอุตังโคราช เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๕ ไปถึงไดโนเสาร์โคราชพันธุ์ใหม่ของโลกล่าสุด
ซึ่งอุทยานธรณีโคราชแตกต่างจากพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ตรงที่อุทยานธรณีโคราช มีอาณาบริเวณอยู่ในพื้นที่ 5 อำเภอ คือ อำเภอสีคิ้ว สูงเนิน ขามทะเลสอ เมืองฯ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณี 31 แห่ง นิเวศ 3 แห่ง และแหล่งวัฒนธรรม 15 แห่ง โดยพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินเป็นเพียง 1 ใน 31 แหล่งธรณีดังกล่าว แต่ความสำคัญของพิพิธภัณฑ์หรือสถานที่แห่งนี้ คือ เป็นสำนักงานใหญ่ของอุทยานธรณีโคราชด้วย
ดาวน์โหลด (1)
อุทยานธรณี เป็นพื้นที่ที่ประกอบไปด้วยแหล่งที่มีความสำคัญอย่างโดดเด่นทางด้านธรณีวิทยา (geology) รวมถึงคุณค่าทางด้านโบราณคดี (archaeology) นิเวศวิทยา (ecology) และวัฒนธรรม (culture) ที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ อุทยานธรณีโคราช หรือ Khorat Geopark  เป็นโปรแกรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โปรแกรมหนึ่งของยูเนสโก คล้ายกับมรดกโลก (World Heritage) และพื้นที่สงวนชีวมณฑล (Biosphere Reserve Area)
แต่ 2 โปรแกรมหลังนี้เน้นการอนุรักษ์หรือการวิจัย ขณะที่อุทยานธรณี (Geopark) เน้นการอนุรักษ์ร่วมกับการท่องเที่ยวเชิงธรณีแบบยั่งยืน ซึ่งทำให้ชุมชนท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการอนุรักษ์มรดกทางธรณีในท้องถิ่นด้วย ทั้งในรูปงานอาชีพบริการต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น การผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรและหัตกรรมของท้องถิ่น ที่เป็นอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์ รวมทั้งงานอาชีพใหม่ที่เกิดจากการลงทุนในโครงการต่างๆ จากภาครัฐและเอกชนในด้านที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
ข้อมูลจาก
https://travel.mthai.com/news/141863.html
---------------------------------------------------------------
ชื่อสินค้า:   เสาเฉลียงใหญ่
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่