~ข่าวเศร้า~ยีราฟขาวพร้อมกับลูก 2 ตัวในเคนย่าถูกฆ่าตายแล้ว

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Rare white giraffes killed by poachers in kenya / Entertainment studio plus

ยีราฟขาวแทะเล็มพืชที่เขตอนุรักษ์ธรรมชาติ Ishaqbini Hirola ในเขต  Garissa  
| COURTESY | ISHQBINI HIROLA CONSERVANCY  
.
ยีราฟ ขาวน่าจะเป็นสัตว์ชนิดเดียวในโลก
ที่เป็นสัตว์ชื่นชอบของชุมชนท้องถิ่น
นักวิทยาศาสตร์และผู้ที่ชื่นชอบสัตว์ป่าทั่วโลก
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ยีราฟขาวได้รับผลกระทบจาก
ภาวะทางพันธุกรรมที่เรียกว่า leucism   
ภาวะกลไกร่างกายยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิว
ซึ่งแตกต่างจากสัตว์เผือก คือ การไม่มีการสร้างเม็ดสีเมลานินเลย
สัตว์ที่มี leucism อาจมีเม็ดสีเข้มในเนื้อเยื่ออ่อนของพวกมัน
ยีราฟขาวที่มี leucism จะมีดวงตาสีเข้ม
ขณะที่สัตว์เผือกจะมีดวงตาสีชมพู เช่น
นก สิงโต ปลา นกยูง นกเพนกวิน นกอินทรี ฮิปโป กวางมูสและงู
ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติที่แสดงให้เห็นถึงการเป็นสัตว์เผือก

นักลักลอบล่าสัตว์ได้ฆ่ายีราฟขาวเพศเมียเพียงตัวเดียว
และลูกของเธอที่เขตอนุรักษ์ชุมชนท้องถิ่น Ishaqbini Hirola Conservancy
ใน Ijara เขต Garissa ทางตะวันออกของเคนยา
Mohammed Ahmednoor  ผู้จัดการเขตอนุรักษ์  
ได้ให้สัมภาษณ์วันอังคารที่ผ่านมานี้(10 มีนาคม 2020) ว่า
" พวกเราพบเพียงแต่โครงกระดูกของสัตว์หายาก หลังจากค้นหามานานแล้ว
นี่เป็นวันที่น่าเศร้ามากสำหรับชุมชน Ijara และคนเคนยาทั้งประเทศ
การฆ่าเธอคือ การกระตุ้นจิตสำนึกให้กับชุมชน
ในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากและไม่ซ้ำแบบใคร
มีการเรียกร้องให้การสนับสนุนอย่างท่วมท้น
กับความพยายามอนุรักษ์สัตว์ป่า ” 

ในปี 2016  ยีราฟขาวที่หายากถูกพบว่า
อยู่ในเขตอนุรักษ์ชุมชน Ijara เขต Garissa ที่ห่างไกลมาก
ทำให้มีการบันทึกเรื่องนี้บนแผนที่โลกหลังจากการค้นพบยีราฟขาว

“ นี่คือ การสูญเสียระยะยาวกับเป้าหมายสำคัญ
เรื่องที่ว่า  จะทำการศึกษาด้านทางพันธุกรรม
และการวิจัยที่มีการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญในพื้นที่
ตอนนี้กลายเป็นลอยเล (โยนทิ้งในทะเลที่เป็นเรื่องสูญเปล่า) 
เพราะยีราฟขาวทำให้มีสีสันในเขตพื้นที่แห่งนี้
และเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจำนวนมากในพื้นที่

เมื่อเดือนสิงหาคม ปีที่แล้ว
Northern Rangelands Trust ได้ประกาศว่า
ยีราฟขาวได้ให้กำเนิดลูกยีราฟขาว
ให้กับเขตอนุรักษ์ชุมชน Ishaqbini Hirola ชุมชนอนุรักษ์
โดยให้กำเนิดลูกยีราฟขาวเพศผู้จำนวน 2 ตัว
ที่รู้จักกันดีและเป็นข่าวโด่งดังทั่วประเทศเคนยา
หลังจากเหตุร้ายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้
เหลือลูกยีราฟขาวเพศผู้เพียงตัวเดียว ” 
Mohammed Ahmednoor กล่าวสรุป

ทั้งนี้ ทางการเคนยายังไม่สามารถระบุได้ว่า
ใครคือพวกลักลอบล่ายีราฟขาวในครั้งนี้
และแรงจุงใจในการฆ่ายีราฟขาวคืออะไร
(คาดว่าหนังขาวเอาไปขายได้ราคาแพง เนื้อบางส่วนเอาไปกิน
ศพที่หลงเหลือเป็นอาหารแร้ง นก หมาป่า หมาไน หนู มดแมลง
ชนเผ่าในแอฟริกาบางกลุ่มนิยมนำสัตว์เผือก/สัตว์ขาว
ไปทำยาผีบอก แก้เคล็ด แก้คุณไสย กินกันภูติผีปีศาจ
ถึงกับมีการฆ่าเด็กเผือกนำศพไปทำยา ฆ่าแก้ซวยก็มี)
ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวนของทางการ
Kenya Wildlife Society รายงาน

การประกาศอนุรักษ์พื้นที่สัตว์ป่าแห่งนี้
ทำให้อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้เตรียมการมาก่อน 
จึงต้องประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ชุมชนแทน
เพราะยังมีหมู่บ้าน/ผู้คนอยู่ในเขตอนุรักษ์
ยังไม่มีการย้ายผู้คนออกมาจากพื้นที่ป่า

ยีราฟขาวถูกพบครั้งแรกในเคนยาในเดือนมีนาคม 2016
ประมาณ 2  เดือนหลังจากการพบเห็นยีราฟขาวที่แทนซาเนียประเทศใกล้เคียง
มีการระบุว่า 40% ของประชากรยีราฟหายไปในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
จากจำนวนประชากรประมาณ 155,000 ตัวในปี 1985
เหลือเพียง  97,000 ตัวในปี  2015
ตามข้อมูลของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)
International Union for the Conservation of Nature (IUCN)

หมายเหตุ

Ishaqbini Hirola Conservancy คือ ชุมชนที่ร่วมกันอนุรักษ์
แบบคนอยู่ร่วมกับป่าไม้และสัตว์ป่าอาศัยเกื้อกูลกัน
ตั้งอยู่ที่เขตชุมชน  Garissa County ประเทศ Kenya
พื้นที่อนุรักษ์รวม 72 ตารางกิโลเมตร(45,000 ไร่)
ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของชายฝั่งแม่น้ำ Tana River
และเป็นเขตอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เก่าแก่
Tana River Primate Reserve (1976−2007)

แม้ว่าจะมีพื้นที่ขนาดที่เล็ก
แต่พื้นที่ดังกล่าวก็เป็นที่หลบภัยหลัก
และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของละมั่ง Hirola
ประจำถิ่นและใกล้สูญพันธุ์
เมื่อรวมกับเขตสงวนแห่งชาติ Arawale
แล้วเขตอนุรักษ์นี้ก็เป็นส่วนสำคัญ
ของที่อยู่อาศัยของละมั่ง Hirola 

ประชากรละมั่ง Hirola ประจำถิ่นของเคนยาภาคอีสาน
กลายเป็นศูนย์กลางของการอนุรักษ์
ในปี 1963 ความหวาดกลัวว่าละมั่งที่น่ี่จะสูญพันธุ์
ทำให้องค์การอุทยานแห่งชาติและกรมการกีฬา
ได้พยายามโยกย้ายละมั่ง Hirola จำนวนราว 50 ตัว
ไปยังยังอุทยานแห่งชาติ Tsavo East
แม้ว่าทางการจะมีเจตนาดี
แต่ก็ประสบความล้มเหลวในโยกย้าย
เพราะถูกต่อต้านอย่างรุนแรงโดยชุมชนท้องถิ่น

ความขัดแย้ง/สงครามกลางเมืองในโซมาเลีย
ที่ทวีความแหลมคมในปี 1990 (ใกล้ชิดกับเคนยา)
มีผลส่วนหนึ่งทำให้จำนวนละมั่ง Hirola ลดลงอย่างต่อเนื่อง
จีงมีความพยายามโยกย้ายครั้งที่ 2
โดย Kenyan Wildlife Service ในปี 1996
แต่ก็มีการคัดค้านแผนใหม่ครั้งนี้
มีผลทำให้เกิดกลุ่มอนุรักษ์ตามชุมชน
หนึ่งในกลุ่มอนุรักษ์ประสบความสำเร็จ
ในการยื่นเรื่องในศาลสูงเคนยา
ห้ามการโยกย้ายละมั่ง Hirola อีกในอนาคต

อย่างไรก็ตามผลสำเร็จของการโยกย้ายถิ่นฐานละมั่ง Hirola
ส่งผลให้จำนวนละมั่ง Hirola เพิ่มขึ้นราว 120 ตัว
ในอุทยานแห่งชาติ Tsavo East

ในปี 2005 จุดประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ละมั่ง Hirola
เพราะเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางธรรมชาติ
และวัฒนธรรมของชนเผ่าชุมชนท้องถิ่น 4 แห่ง
(Kotile Korisa Hara และ Abaratilo)
ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Northern Rangelands Trust
กลุ่ม NGO ที่ได้มาพัฒนาชุมชนเหล่านี้และได้ยื่นข้อเสนอต่อ
รัฐบาลเคนยาเพื่อจัดตั้ง Ishaqbini Hirola Conservancy
ที่มีคนอยู่ร่วมกับป่า/สัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน
 
 
เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/336SdXe
https://bbc.in/2vVSrV7
https://cnn.it/2vZyKvs





สถาบันโรคผิวหนัง


ของ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้




 






 


แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่