วันนี้ (7 มีนาคม) ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ THE STANDARD ถึงการเข้าซื้อกิจการเทสโก้ โลตัสในประเทศไทยและมาเลเซีย โดยเป็นการประกาศชัดเป็นครั้งแรกว่าต้องซื้อ เพราะเป็นประโยชน์กับคนไทย มั่นใจว่าจะทำได้ดีกว่าเดิมเท่าตัว เปรียบธุรกิจเหมือนลูกที่เคยให้คนอื่นไปช่วยเลี้ยง ยืนยันไม่ผูกขาดแน่นอน
ความคืบหน้าดีลขายกิจการ ‘เทสโก้ โลตัส’ ในประเทศไทยและมาเลเซีย หลังจากผ่านกำหนดการยื่นวันสุดท้ายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งมี 3 กลุ่มบริษัทใหญ่จาก 3 ตระกูลที่สนใจ ได้แก่ กลุ่ม ซีพี ของตระกูลเจียรวนนท์, เซ็นทรัล กรุ๊ป ของตระกูลจิราธิวัฒน์ และทีซีซี กรุ๊ป ของตระกูลสิริวัฒนภักดี
ก่อนหน้านี้ ทีซีซี กรุ๊ป ได้แสดงความสนใจชัดเจนในดีลนี้แล้ว โดยสำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้เตรียมเงินกู้กว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3.14 แสนล้านบาท แต่สำหรับกลุ่มซีพีนั้นเคยมีการอ้างจากแหล่งข่าวภายในว่าราคาดีลนี้ ‘แพงเกินไป’ จนกระทั่งในครั้งนี้ที่ ธนินท์ เจียรวนนท์ เปิดเผยกับ THE STANDARD เป็นครั้งแรก
ธนินท์กล่าวว่า “ความจริงเทสโก้ โลตัสเป็นลูกของผม ตอนวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ผมขายไป ฝากให้คนอื่นเลี้ยง ในครั้งนี้เจ้าของที่เคยเลี้ยงลูกผมจะขายลูกกลับคืนมา ผมก็ต้องซื้อ แต่ผมจะซื้อต่อเมื่อต้องเป็นประโยชน์ ถ้าซื้อแล้วไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่ซื้อ ผมตั้งใจให้เทสโก้ โลตัสเป็นที่กระจายสินค้าของสดของซีพี ทำให้ของดีราคาถูกกระจายไปทั่วประเทศไทยได้ดีขึ้น ผมเชื่อว่าผมมีความสามารถซื้อกลับมาแล้วเลี้ยงลูกให้ดีกว่าเดิม เอาเทคนิคใหม่ๆ เข้ามา แล้วก็พัฒนาให้เข้ากับยุค 4.0”
ธนินท์แสดงความเชื่อมั่นว่าตนมีประสบการณ์การทำโลตัสที่ประเทศจีน ซึ่งแข่งขันสูงกว่าประเทศไทยมาก เพราะต้องแข่งขันกับทั้งอาลีบาบาและอีกหลายยักษ์ใหญ่ที่มีทุนหนากว่า แต่ยอดขายของตนยังคงโตต่อเนื่อง
“ผมจะทำให้รายได้มากกว่าเก่าเป็นเท่าตัว เราต้องทำตัวให้เบา บริหารจัดการให้ดีเยี่ยมกว่าเดิม ใช้เทคโนโลยีใหม่ ซอฟต์แวร์ใหม่เข้ามาให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น เร็วขึ้น พัฒนาระบบออนไลน์ส่งถึงบ้าน ซึ่งจะสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาทำงาน ไม่ใช่ทำแบบเก่า ต้องทำแบบใหม่ให้เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่ โลกกำลังเปลี่ยน ต้องทำให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง”
ธนินท์ยังกล่าวอีกว่า ซีพีเป็นผู้สร้างโลตัสในเมืองไทย แต่ต้องจำใจขายกิจการในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 เพื่อรักษาธุรกิจหลักซึ่งก็คือเกษตรเอาไว้ แต่มั่นใจว่าด้วยประสบการณ์ที่เคยใช้ปรมาจารย์ระดับโลกจาก Walmart มาช่วยบริหารตั้งแต่ยุคเริ่มต้นนั้น ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในรากฐานของธุรกิจ เปรียบเสมือนตึกสูงที่มีเสาเข็มที่แข็งแรง
“ข้อแม้มีแค่ว่าราคาอย่าโอเวอร์เกินไป ต้องเหมาะสม ราคาสูงหน่อยผมไม่กลัว ผมเชื่อมั่นว่ามีความสามารถทำให้ดีกว่าเดิมได้ แต่ถ้าราคาสูงโอเวอร์ไป ผมซื้อแล้วไม่คุ้ม ก็คงไม่สู้”
ผู้สื่อข่าว THE STANDARD ถามว่า การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้เข้าข่ายกรณีการผูกขาดทางการค้าหรือไม่ เนื่องจากซีพีมีแม็คโครและ 7-Eleven อยู่ในมืออยู่แล้ว
ธนินท์ตอบว่า “แม็คโครคือค้าส่ง โลตัสคือค้าปลีก 7-Eleven คือร้านสะดวกซื้อ มันคือสามธุรกิจ ทั่วโลกจะไม่เอามารวมกัน ธุรกิจคนละแบบ ถ้าผมซื้อมาจะผูกขาดได้อย่างไร เพราะว่าตอนเทสโก้ซื้อจากผมไป ก็มีคู่แข่งอย่างบิ๊กซีอยู่ ถ้าผมไม่ซื้อตอนนี้ เขาก็แข่งกันอยู่ ถ้าผมซื้อก็คือคู่แข่งเดิม แทนที่จะอยู่มือในคนอังกฤษ ก็มาอยู่ในมือของคนไทย”
“การแข่งขันเหมือนเดิม เพราะว่าก็ยังมีคู่แข่งอยู่เหมือนเดิม แล้ววันนี้ที่แข่งกันอยู่มีใครเสียเปรียบไหม เราซื้อมาก็แข่งอยู่ บิ๊กซีก็ยังอยู่ ผมไม่ได้ซื้อบิ๊กซี ผมซื้อเฉพาะเทสโก้ โลตัส แล้วก็ไม่เกี่ยวกับสะดวกซื้อ มันคนละเรื่อง ร้านสะดวกซื้อคนเดินมาซื้อเพราะสะดวกใกล้บ้าน แม็คโครก็ขายส่ง ขายถูก เพราะฉะนั้นผมคิดว่ามันแข่งกันอยู่แล้ว แต่ถ้าผมซื้อมาแล้วไม่มีใครแข่ง อันนี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง”
สำหรับธุรกิจของเทสโก้มีทั้งสิ้น 2,000 สาขาในไทย และอีก 74 สาขาในมาเลเซีย ผลประกอบการครึ่งปีแรกจนถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2019 ทั้งสองประเทศมียอดขาย 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.03 แสนล้านบาท และกำไรจากการดำเนินงาน 6.9 พันล้านบาท
Inside Retail Asia รายงานว่า ผู้บริหารและที่ปรึกษาของเทสโก้เริ่มประเมินข้อเสนอสำหรับการขายธุรกิจในไทยและมาเลเซียแล้ว ซึ่งคาดว่าราคาที่ถูกเคาะออกมาอาจอยู่ที่ราว 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.17 แสนล้านบาท และจะมีการประกาศผลอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคมนี้
ที่มา
https://thestandard.co/
เจ้าสัวธนินท์ประกาศชัดครั้งแรก ซื้อเทสโก้ โลตัสคืน มั่นใจไม่ผูกขาด
วันนี้ (7 มีนาคม) ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ THE STANDARD ถึงการเข้าซื้อกิจการเทสโก้ โลตัสในประเทศไทยและมาเลเซีย โดยเป็นการประกาศชัดเป็นครั้งแรกว่าต้องซื้อ เพราะเป็นประโยชน์กับคนไทย มั่นใจว่าจะทำได้ดีกว่าเดิมเท่าตัว เปรียบธุรกิจเหมือนลูกที่เคยให้คนอื่นไปช่วยเลี้ยง ยืนยันไม่ผูกขาดแน่นอน
ความคืบหน้าดีลขายกิจการ ‘เทสโก้ โลตัส’ ในประเทศไทยและมาเลเซีย หลังจากผ่านกำหนดการยื่นวันสุดท้ายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งมี 3 กลุ่มบริษัทใหญ่จาก 3 ตระกูลที่สนใจ ได้แก่ กลุ่ม ซีพี ของตระกูลเจียรวนนท์, เซ็นทรัล กรุ๊ป ของตระกูลจิราธิวัฒน์ และทีซีซี กรุ๊ป ของตระกูลสิริวัฒนภักดี
ก่อนหน้านี้ ทีซีซี กรุ๊ป ได้แสดงความสนใจชัดเจนในดีลนี้แล้ว โดยสำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้เตรียมเงินกู้กว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3.14 แสนล้านบาท แต่สำหรับกลุ่มซีพีนั้นเคยมีการอ้างจากแหล่งข่าวภายในว่าราคาดีลนี้ ‘แพงเกินไป’ จนกระทั่งในครั้งนี้ที่ ธนินท์ เจียรวนนท์ เปิดเผยกับ THE STANDARD เป็นครั้งแรก
ธนินท์กล่าวว่า “ความจริงเทสโก้ โลตัสเป็นลูกของผม ตอนวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ผมขายไป ฝากให้คนอื่นเลี้ยง ในครั้งนี้เจ้าของที่เคยเลี้ยงลูกผมจะขายลูกกลับคืนมา ผมก็ต้องซื้อ แต่ผมจะซื้อต่อเมื่อต้องเป็นประโยชน์ ถ้าซื้อแล้วไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่ซื้อ ผมตั้งใจให้เทสโก้ โลตัสเป็นที่กระจายสินค้าของสดของซีพี ทำให้ของดีราคาถูกกระจายไปทั่วประเทศไทยได้ดีขึ้น ผมเชื่อว่าผมมีความสามารถซื้อกลับมาแล้วเลี้ยงลูกให้ดีกว่าเดิม เอาเทคนิคใหม่ๆ เข้ามา แล้วก็พัฒนาให้เข้ากับยุค 4.0”
ธนินท์แสดงความเชื่อมั่นว่าตนมีประสบการณ์การทำโลตัสที่ประเทศจีน ซึ่งแข่งขันสูงกว่าประเทศไทยมาก เพราะต้องแข่งขันกับทั้งอาลีบาบาและอีกหลายยักษ์ใหญ่ที่มีทุนหนากว่า แต่ยอดขายของตนยังคงโตต่อเนื่อง
“ผมจะทำให้รายได้มากกว่าเก่าเป็นเท่าตัว เราต้องทำตัวให้เบา บริหารจัดการให้ดีเยี่ยมกว่าเดิม ใช้เทคโนโลยีใหม่ ซอฟต์แวร์ใหม่เข้ามาให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น เร็วขึ้น พัฒนาระบบออนไลน์ส่งถึงบ้าน ซึ่งจะสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาทำงาน ไม่ใช่ทำแบบเก่า ต้องทำแบบใหม่ให้เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่ โลกกำลังเปลี่ยน ต้องทำให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง”
ธนินท์ยังกล่าวอีกว่า ซีพีเป็นผู้สร้างโลตัสในเมืองไทย แต่ต้องจำใจขายกิจการในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 เพื่อรักษาธุรกิจหลักซึ่งก็คือเกษตรเอาไว้ แต่มั่นใจว่าด้วยประสบการณ์ที่เคยใช้ปรมาจารย์ระดับโลกจาก Walmart มาช่วยบริหารตั้งแต่ยุคเริ่มต้นนั้น ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในรากฐานของธุรกิจ เปรียบเสมือนตึกสูงที่มีเสาเข็มที่แข็งแรง
“ข้อแม้มีแค่ว่าราคาอย่าโอเวอร์เกินไป ต้องเหมาะสม ราคาสูงหน่อยผมไม่กลัว ผมเชื่อมั่นว่ามีความสามารถทำให้ดีกว่าเดิมได้ แต่ถ้าราคาสูงโอเวอร์ไป ผมซื้อแล้วไม่คุ้ม ก็คงไม่สู้”
ผู้สื่อข่าว THE STANDARD ถามว่า การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้เข้าข่ายกรณีการผูกขาดทางการค้าหรือไม่ เนื่องจากซีพีมีแม็คโครและ 7-Eleven อยู่ในมืออยู่แล้ว
ธนินท์ตอบว่า “แม็คโครคือค้าส่ง โลตัสคือค้าปลีก 7-Eleven คือร้านสะดวกซื้อ มันคือสามธุรกิจ ทั่วโลกจะไม่เอามารวมกัน ธุรกิจคนละแบบ ถ้าผมซื้อมาจะผูกขาดได้อย่างไร เพราะว่าตอนเทสโก้ซื้อจากผมไป ก็มีคู่แข่งอย่างบิ๊กซีอยู่ ถ้าผมไม่ซื้อตอนนี้ เขาก็แข่งกันอยู่ ถ้าผมซื้อก็คือคู่แข่งเดิม แทนที่จะอยู่มือในคนอังกฤษ ก็มาอยู่ในมือของคนไทย”
“การแข่งขันเหมือนเดิม เพราะว่าก็ยังมีคู่แข่งอยู่เหมือนเดิม แล้ววันนี้ที่แข่งกันอยู่มีใครเสียเปรียบไหม เราซื้อมาก็แข่งอยู่ บิ๊กซีก็ยังอยู่ ผมไม่ได้ซื้อบิ๊กซี ผมซื้อเฉพาะเทสโก้ โลตัส แล้วก็ไม่เกี่ยวกับสะดวกซื้อ มันคนละเรื่อง ร้านสะดวกซื้อคนเดินมาซื้อเพราะสะดวกใกล้บ้าน แม็คโครก็ขายส่ง ขายถูก เพราะฉะนั้นผมคิดว่ามันแข่งกันอยู่แล้ว แต่ถ้าผมซื้อมาแล้วไม่มีใครแข่ง อันนี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง”
สำหรับธุรกิจของเทสโก้มีทั้งสิ้น 2,000 สาขาในไทย และอีก 74 สาขาในมาเลเซีย ผลประกอบการครึ่งปีแรกจนถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2019 ทั้งสองประเทศมียอดขาย 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.03 แสนล้านบาท และกำไรจากการดำเนินงาน 6.9 พันล้านบาท
Inside Retail Asia รายงานว่า ผู้บริหารและที่ปรึกษาของเทสโก้เริ่มประเมินข้อเสนอสำหรับการขายธุรกิจในไทยและมาเลเซียแล้ว ซึ่งคาดว่าราคาที่ถูกเคาะออกมาอาจอยู่ที่ราว 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.17 แสนล้านบาท และจะมีการประกาศผลอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคมนี้
ที่มา https://thestandard.co/