คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ทำความรู้จัก "หลักสูตรต่อเนื่องและหลักสูตรเทียบโอน"
หลักสูตรต่อเนื่องและหลักสูตรเทียบโอนเกิดขึ้นจากความต้องการสร้างโอกาสให้แก่น้องๆที่เรียนจบหลักสูตรอาชีวะระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือ ปวส. ได้มีทางเลือกในการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมากขึ้น
ความก้าวหน้าและความได้เปรียบทางประสบการณ์ความรู้จากการลงมือฝึกปฏิบัติงานจริงและร่ำเรียนมาอย่างชำนิชำนาญ นับเป็นข้อพิสูจน์ที่ตอบโจทย์ได้ว่าเมื่อจบจากสายอาชีพแล้วน้องๆสามารถนำความรู้มาต่อยอดการเรียนเฉพาะทางในระดับมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
"หลักสูตรต่อเนื่อง" คืออะไร?
หลักสูตรต่อเนื่อง คือการเรียนต่อเนื่องจากหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือ ปวส. สู่ระดับปริญญาตรี โดยไม่มีการเทียบโอนรายวิชา เมื่อน้องๆจบการศึกษาจากระดับ ปวส. ก็สามารถศึกษาหลักสูตรต่อเนื่องในระดับปริญญาตรีได้เลย โดยใช้ระยะเวลาการศึกษาเพียง 2 ปีเท่านั้นค่ะ
ปัจจุบันมีเพียงบางสถานศึกษาเท่านั้นที่ยังคงเปิดหลักสูตรต่อเนื่องเพื่อรองรับน้องๆที่เรียนจบจาก ปวส. เช่น สถาบันการอาชีวศึกษา หลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยรัฐบางแห่ง มหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่ง เป็นต้น
ยกตัวอย่าง
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2
วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล-วิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล-วิศวกรรมอุตสาหการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการงานก่อสร้าง
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรม หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยสยาม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์
คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
"หลักสูตรเทียบโอน" คืออะไร?
หลักสูตรเทียบโอน คือการนำผลการเรียนในระดับ ปวส. จากรายวิชาที่น้องๆศึกษามาแล้วบางส่วนเทียบโอนเข้ากับรายวิชาในระดับปริญญาตรี เพื่อศึกษาต่อให้ได้รับวุฒิปริญญาตรีนั่นเองค่ะ ระยะเวลาการศึกษาในหลักสูตรเทียบโอนจะแตกต่างจากหลักสูตรต่อเนื่องตรงที่ไม่สามารถกำหนดตายตัวได้นะคะว่าน้องๆต้องใช้เวลาเรียนกี่ปีจึงจะสำเร็จการศึกษา
ทั้งนี้เพราะขึ้นอยู่กับการเทียบโอนรายวิชาในสาขานั้นล้วนๆเลยค่ะว่าสามารถเทียบโอนมาได้มากเท่าไหร่ และน้องๆมีความขยันรวมถึงเอาใจใส่ต่อการเรียนมากแค่ไหน ส่วนใหญ่แล้วการเรียนในหลักสูตรนี้มักใช้เวลาเรียนโดยประมาณอยู่ที่ 2 ปีครึ่งถึง 3 ปีค่ะ
ก่อนที่น้องๆจะสมัครจึงควรศึกษาคุณสมบัติเฉพาะที่ทางคณะระบุไว้ในประกาศหรือระเบียบการให้ดีค่ะว่า สาขาวิชาที่เรียนมาตรงกับกลุ่มวิชาที่เปิดรับสมัครรึเปล่า เพราะถ้าเกิดไม่ตรงกันน้องๆอาจไม่สามารถจบการศึกษาได้ภายใน 2-3 ปี และบางมหาวิทยาลัยก็อาจตัดสิทธิ์ไม่รับเข้าศึกษาเลยก็มีค่ะ
ปัจจุบันหลายสถาบันเปิดกว้างให้น้องๆที่สำเร็จการศึกษาจากระดับ ปวส. สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ โดยใช้ระบบเทียบโอนผลการเรียนนี่แหละค่ะ มีทั้งหลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษเลย
ยกตัวอย่าง
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ภาคพิเศษ) สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม เทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีเคมี เทคโนโลยีอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เทคโนโลยีการจัดการพลังงาน เทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีการก่อสร้างและงานโยธา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตร 3 ปี)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-ไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์
ตอนนี้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนพยายามให้การสนับสนุนโอกาสทางการเรียนรู้และส่งเสริมความสามารถของน้องๆสายอาชีพมากเลยนะคะ พี่เมก้าก็ขอเอาใจช่วยน้องๆ ปวส. ที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยทุกคนประสบความสำเร็จในการเรียน จบออกมาเป็นบุคลากรที่ดีมีคุณภาพของประเทศชาติต่อไปค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หลักสูตรต่อเนื่องและหลักสูตรเทียบโอนเกิดขึ้นจากความต้องการสร้างโอกาสให้แก่น้องๆที่เรียนจบหลักสูตรอาชีวะระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือ ปวส. ได้มีทางเลือกในการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมากขึ้น
ความก้าวหน้าและความได้เปรียบทางประสบการณ์ความรู้จากการลงมือฝึกปฏิบัติงานจริงและร่ำเรียนมาอย่างชำนิชำนาญ นับเป็นข้อพิสูจน์ที่ตอบโจทย์ได้ว่าเมื่อจบจากสายอาชีพแล้วน้องๆสามารถนำความรู้มาต่อยอดการเรียนเฉพาะทางในระดับมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
"หลักสูตรต่อเนื่อง" คืออะไร?
หลักสูตรต่อเนื่อง คือการเรียนต่อเนื่องจากหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือ ปวส. สู่ระดับปริญญาตรี โดยไม่มีการเทียบโอนรายวิชา เมื่อน้องๆจบการศึกษาจากระดับ ปวส. ก็สามารถศึกษาหลักสูตรต่อเนื่องในระดับปริญญาตรีได้เลย โดยใช้ระยะเวลาการศึกษาเพียง 2 ปีเท่านั้นค่ะ
ปัจจุบันมีเพียงบางสถานศึกษาเท่านั้นที่ยังคงเปิดหลักสูตรต่อเนื่องเพื่อรองรับน้องๆที่เรียนจบจาก ปวส. เช่น สถาบันการอาชีวศึกษา หลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยรัฐบางแห่ง มหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่ง เป็นต้น
ยกตัวอย่าง
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2
วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล-วิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล-วิศวกรรมอุตสาหการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการงานก่อสร้าง
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรม หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยสยาม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์
คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
"หลักสูตรเทียบโอน" คืออะไร?
หลักสูตรเทียบโอน คือการนำผลการเรียนในระดับ ปวส. จากรายวิชาที่น้องๆศึกษามาแล้วบางส่วนเทียบโอนเข้ากับรายวิชาในระดับปริญญาตรี เพื่อศึกษาต่อให้ได้รับวุฒิปริญญาตรีนั่นเองค่ะ ระยะเวลาการศึกษาในหลักสูตรเทียบโอนจะแตกต่างจากหลักสูตรต่อเนื่องตรงที่ไม่สามารถกำหนดตายตัวได้นะคะว่าน้องๆต้องใช้เวลาเรียนกี่ปีจึงจะสำเร็จการศึกษา
ทั้งนี้เพราะขึ้นอยู่กับการเทียบโอนรายวิชาในสาขานั้นล้วนๆเลยค่ะว่าสามารถเทียบโอนมาได้มากเท่าไหร่ และน้องๆมีความขยันรวมถึงเอาใจใส่ต่อการเรียนมากแค่ไหน ส่วนใหญ่แล้วการเรียนในหลักสูตรนี้มักใช้เวลาเรียนโดยประมาณอยู่ที่ 2 ปีครึ่งถึง 3 ปีค่ะ
ก่อนที่น้องๆจะสมัครจึงควรศึกษาคุณสมบัติเฉพาะที่ทางคณะระบุไว้ในประกาศหรือระเบียบการให้ดีค่ะว่า สาขาวิชาที่เรียนมาตรงกับกลุ่มวิชาที่เปิดรับสมัครรึเปล่า เพราะถ้าเกิดไม่ตรงกันน้องๆอาจไม่สามารถจบการศึกษาได้ภายใน 2-3 ปี และบางมหาวิทยาลัยก็อาจตัดสิทธิ์ไม่รับเข้าศึกษาเลยก็มีค่ะ
ปัจจุบันหลายสถาบันเปิดกว้างให้น้องๆที่สำเร็จการศึกษาจากระดับ ปวส. สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ โดยใช้ระบบเทียบโอนผลการเรียนนี่แหละค่ะ มีทั้งหลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษเลย
ยกตัวอย่าง
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ภาคพิเศษ) สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม เทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีเคมี เทคโนโลยีอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เทคโนโลยีการจัดการพลังงาน เทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีการก่อสร้างและงานโยธา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตร 3 ปี)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-ไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์
ตอนนี้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนพยายามให้การสนับสนุนโอกาสทางการเรียนรู้และส่งเสริมความสามารถของน้องๆสายอาชีพมากเลยนะคะ พี่เมก้าก็ขอเอาใจช่วยน้องๆ ปวส. ที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยทุกคนประสบความสำเร็จในการเรียน จบออกมาเป็นบุคลากรที่ดีมีคุณภาพของประเทศชาติต่อไปค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
ต่อป.ตรี ต้องเรียนกี่ปี