เมืองไทยใช้น้ำมันแพง หรือเพียงแค่ความรู้สึก?

ยุคนี้จะบอกว่าคนไทยใช้น้ำมันแพงหรือเปล่า? หลายคนก็น่าจะสงสัยเหมือนผมสินะ ว่าน้ำมันรถยนต์ที่เติมกันอยู่ทุกวันนี้ เราโอเคพร้อมจ่ายกับราคาน้ำมันที่มีการขึ้นๆลงๆ หรือเราจะไม่โอเคเลย เพราะน้ำมันยังถูกได้อีก เราอาจมาลองดูกันก่อนว่าระบบโครงสร้างที่เกี่ยวข้องเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิงตัวนี้ มีอะไรบ้าง 
เริ่มแรกโครงสร้างราคาน้ำมันคือตัวที่จะบ่งบอกได้ว่า น้ำมัน 1 ลิตรเท่ากับกี่บาท จำง่ายๆแค่ 3 องค์ประกอบหลักคือ 

1. ราคา ณ โรงกลั่น (ต้นทุนน้ำมันสำเร็จรูป)
2. ค่าภาษีและกองทุน 
3. ค่าการตลาด 
ซึ่งแต่ละส่วนจะมีหน่วยงานภาครัฐจะเป็นผู้กำกับดูแล  ส่วนราคาหน้าปั้มแต่ละแบรนด์จะกำหนดตามค่าการตลาดที่เหมาะสม 

น้ำมันจะแพงจะถูก ดูจากไหนใน 3 ข้อข้างต้น? 

ราคา ณ โรงกลั่น
จากโครงสร้าง ราคา ณ โรงกลั่นคิดเป็นสัดส่วนราว 65% ของราคาหน้าปั้มกันเลย ตามข้อมูลราคาส่วนนี้จะเปลี่ยนแปลงตามราคาน้ำมันโลก โดยประเทศไทยเราอ้างอิงจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ที่ต้องอ้างอิงราคาตลาดเพราะราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปเป็น “สินค้าโภคภัณฑ์” เช่นเดียวกัน “ทองคำ’’ นั้นแหละ ปัจจุบันเมืองไทยมีอัตราการใช้น้ำมันถือว่าสูงมาก ถ้าเทียบการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศถึง 90% ขุดได้เอง 10% ถือว่าเมืองไทยต้องเจอกับความผันผวนของราคาตามตลาดโลกได้ทุกเมื่อเลยครับ นึกภาพไม่ออกผมขอยกตัวอย่าง สถานการณ์ที่กระทบต่อราคาน้ำมันทั่วโลก 
1. เริ่มตั้งแต่ ทรัมป์สั่งปลิดชีพ นายพลสูงสุดของอิหร่าน เกิดความวุ่นวายน้ำมันดิบพุ่งขึ้นติดต่อกัน 4 วันรวด  
2. สงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ การเจรจาไหนแต่ละครั้งและท่าทีของทั้ง 2 ฝ่ายทำให้ทุกๆ ครั้งตลาดนักลงทุนมีความกังวล จนส่งผลต่อราคาทั้งขึ้นและลงอยู่ตลอดเวลา
3. การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือ โรคโควิด-19 ที่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจซบเซาลง การผลิตและการใช้น้ำมันลดน้อยลง จนทางกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตร หารือหามาตรการรับมือลดกำลังการผลิตเพิ่มเติม เพราะไม่ต้องการให้ราคาน้ำมันโลกต่ำไปกว่านี้ 

ความผันผวนที่ไม่อาจควบคุมได้มักเกิดขึ้นอยู่เสมอไม่ว่าจะ ราคาจะขึ้นสูงหรือจะดิ่งลง แต่ทั้งนี้ราคาน้ำมันในประเทศจะปรับในทิศทางเดียวกับตลาดโลกไม่ว่าจะ เบนซินหรือดีเซลครับ


ค่าภาษีและกองทุน
ตัวที่ 2 ค่อนข้างตกใจหน่อยที่ค่าน้ำมันจะมีโครงสร้างของ ภาษี 3ตัว + กองทุน 2 ตัว ที่ต้องจ่ายให้กับกระทรวงสรรพสามิตและกองทุนน้ำมันฯ ง่ายๆก็คือ จ่ายภาษีบำรุงชาติกับจ่ายกองทุนรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน ช่วงที่ผ่านมามีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ประเด็นราคาน้ำมันเป็นอีกเรื่องที่ ลุงมิ่งขวัญ ขวัญใจสายเศรษฐกิจออกมาเรียกร้องว่า ราคาน้ำมันควรลดลงอีก 5 บาท แต่คำชี้แจงของ รัฐมนตรีพลังงานอย่างสนธิรัตน์พูดชัดว่าอาจลดราคาไม่ได้ เหตุผลเพราะ?
1. ประเทศไทยคงต้องพึงพาการนำเข้าน้ำดิบจำนวนมาก ประเทศใช้น้ำมันมากกว่าผลิตเอง
2. การมีอยู่ของกองทุนน้ำมันป้องกันความผันผวน ทำให้ราคาน้ำมันเกิดการแข่งขันได้ 
3. เกรดน้ำมันไทยไม่เท่าเพื่อนบ้าน ไทยจะไปยูโร 6 แล้ว เพื่อนบ้านยังอยู่ยูโร 4 เพราะค่ายูโรมีผลต่อการปล่อยมลพิษในอากาศด้วย

หน่วยรัฐอาจปรับเพิ่มลดภาษี/กองทุน ตามเหตุการสถานการณ์ต่างๆ และรักษาระดับราคาขายปลีกได้อีกด้วย
ค่าการตลาด
ถ้าเห็นคำนี้อาจมีใครหลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นกำไรของเจ้าของปั้ม อันที่จริงคือ กำไรขึ้นต้นก่อนหักค่าใช้จ่ายนะครับ ตามกลไกจะต้องแบ่งกันระหว่าง บริษัทผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของปั้ม หลังหักค่าใช้จ่ายของทั้ง 2 ฝ่ายแล้วก็จะเหลือเป็นกำไรสุทธิ ที่น่าสนใจผมพอลองมาหาค่าการตลาดโดยเฉลี่ยในช่วง มิ.ย.-ธ.ค. 2562 ขอยกมา 2 ชนิดแล้วกันครับ 
1. แก๊สโซฮอล์95 ค่าการตลาดเฉลี่ยอยู่ที่ 2.02บาท กำไรอยู่ที่ 7.43% ของราคาขายปลีก 
2. ดีเซล B7 ค่าการตลาดเฉลี่ย 1.70 กำไรอยู่ที่ 6.55% ของราคาขายปลีก 
พอดูไปดูมาก็ได้กำไรบาทสองบาทต่อลิตรเองครับ แต่ปั้มก็อยู่ได้ 
 
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
 
มาถึงตรงนี้อาจพูดได้เลยว่า พระเอกในการตัดสินว่า ''น้ำมันบ้านราคาแพง'' หนีไม่พ้นเรื่อง ค่าภาษีและกองทุน ผมเองก็เจอในโลกออนไลน์บ่อยมาก ที่ชอบนำราคาน้ำมันไทยเทียบกับราคาในมาเลเซีย หรือราคาในพม่า และบอกว่าเพื่อนบ้านขายถูกกว่าบ้านเราเยอะ ที่จริงแล้วต้องเข้าใจว่าแต่ละประเทศมีการจัดเก็บค่าภาษีและกองทุนแตกต่างกัน โครงสร้างราคาของประเทศเพื่อนบ้านก็ต่างออกไปด้วย เราลองกางแผนภูมิราคาน้ำมันในโซนอาเซียนดูว่า ราคาน้ำมันไทย ถือว่าอยู่กลางๆของตารางด้วยซ้ำไปครับ บ่อยครั้งที่เรามักคิดว่า น้ำมันแพงอาจจะเป็นแค่ความรู้สึก ก็ได้ครับ 
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่