คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
ทางการแพทย์เรียกว่า เกิดกระบวนการ fibrogenesis (การสร้างพังผืด) ซึ่งเป็นกระบวนการปกติของร่างกาย ในการซ่อมแซมอวัยวะที่เสียหาย นึกภาพเราหกล้ม เกิดแผลถลอก แผลมีการสมาน เกิดเป็นสะเก็ดแผล แต่พังผืดจะเกิดกับอวัยวะภายใน
ทีนี้ลองนึกภาพปอดเหมือนฟองน้ำล้างจาน โดนไวรัสแทรกเข้าไปทำให้เนื้อฟองน้ำแหว่งเป็นรูๆเหมือนเอามีดทิ่ม ภายในหลังจากนั้น 1 สัปดาห์จะเป็นเวลาที่ร่างกายเริ่มกระบวนการซ่อมแซม คิดภาพว่าเอาเข็มด้ายมาเย็บฟองน้ำเพื่อซ่อมปิดรู ยิ่งมีรูเยอะเท่าไหร่ ร่างกายยิ่งสร้างด้ายร้อยไปร้อยมาทั่วทั้งเนื้อปอดมากเท่านั้น ทีนี้ลองนึกภาพว่าเอาฟองน้ำอันนี้ไปใช้งาน มันจะใช้ได้มั้ย?
จากข่าว ก่อนเสียชีวิตเคสนี้ได้ใช้เครื่อง ECMO (เครื่องปอดและหัวใจเทียม) นั่นแปลว่า ปอดฟองน้ำของเขาไม่สามารถใช้การได้อีกต่อไปแล้ว นี่คือความน่ากลัวของเชื้อตัวนี้
คำถามต่อมาคือ แล้วเราจะหยุดร่างกาย ไม่ให้สร้างพังผืดได้อย่างไร มีงานวิจัยมาก่อนหน้านี้ (ไม่ใช่กับไวรัสโคโรน่า) ว่าการใช้ high dose steroid ช่วยยับยั้งพังผืดในปอดได้ แต่ผลเสียของสเตียรอยด์ก็อย่างที่หลายๆท่านทราบกัน...
ทีนี้ลองนึกภาพปอดเหมือนฟองน้ำล้างจาน โดนไวรัสแทรกเข้าไปทำให้เนื้อฟองน้ำแหว่งเป็นรูๆเหมือนเอามีดทิ่ม ภายในหลังจากนั้น 1 สัปดาห์จะเป็นเวลาที่ร่างกายเริ่มกระบวนการซ่อมแซม คิดภาพว่าเอาเข็มด้ายมาเย็บฟองน้ำเพื่อซ่อมปิดรู ยิ่งมีรูเยอะเท่าไหร่ ร่างกายยิ่งสร้างด้ายร้อยไปร้อยมาทั่วทั้งเนื้อปอดมากเท่านั้น ทีนี้ลองนึกภาพว่าเอาฟองน้ำอันนี้ไปใช้งาน มันจะใช้ได้มั้ย?
จากข่าว ก่อนเสียชีวิตเคสนี้ได้ใช้เครื่อง ECMO (เครื่องปอดและหัวใจเทียม) นั่นแปลว่า ปอดฟองน้ำของเขาไม่สามารถใช้การได้อีกต่อไปแล้ว นี่คือความน่ากลัวของเชื้อตัวนี้
คำถามต่อมาคือ แล้วเราจะหยุดร่างกาย ไม่ให้สร้างพังผืดได้อย่างไร มีงานวิจัยมาก่อนหน้านี้ (ไม่ใช่กับไวรัสโคโรน่า) ว่าการใช้ high dose steroid ช่วยยับยั้งพังผืดในปอดได้ แต่ผลเสียของสเตียรอยด์ก็อย่างที่หลายๆท่านทราบกัน...
แสดงความคิดเห็น
Covid-19 นี่..ติดแล้วรักษาหายแล้ว ..แต่เนื้อปอดที่ถูกทำลายแล้ว ก็เสียหายถาวรเลยใช่ไหม?
แล้วเกิดความสงสัยคือ ถ้ารักษาหายแล้ว เนื้อปอดที่ถูกทำลาย ผู้ป่วยจะสูญเสียเนื้อปวดส่วนนั้นถาวร เลยหรือ รักษากลับมาหายปกติได้ครับ?