สุดยอดกบนักพรางตัว
Vietnamese Mossy Frog หรือ Mossy Frog หรือ Vietnamese mossy frog หรือ Tonkin bug-eyed frog มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Theloderma corticale เป็นกบที่พบได้ทางภาคเหนือของประเทศเวียดนาม และทางตอนใต้ของประเทศจีน พวกมันจะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำที่สะอาด ตัวโตเต็มที่มีขนาดความยาวประมาณ 7-8 เซนติเมตร
ลักษณะผิวมีสีเขียว จุดดำและสีน้ำตาล มองดูคล้ายตะไคร่น้ำ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่จะช่วยให้มันพรางตัวได้ดี ปัจจุบันพวกมันถูกคุกคามเรื่องที่อยู่อาศัยเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า
ขอขอบคุณข้อมูล :สำรวจโลก
Cr.
https://www.newtv.co.th/news/14684
Cr.
http://www.nextsteptv.com/vietnamese-mossy-frog-สุดยอดกบนักพรางตัว/ By Admin
การพรางตัวอันน่าทึ่งของหมึกกระดอง
นี้คือลูกหมึกกระดองลายเสือ จากอควาเรียม Den Bla Planet ในกรุงโคเปนเฮเนกน เมืองหลวงของเดนมาร์ก แต่อย่าประมาทว่าพวกมันเป็นแค่เพียงตัวอ่อน เพราะหมึกกระดองเหล่านี้มีทักษะการพรางตัวและลอกเลียนแบบอันน่าทึ่งอยู่ในสายเลือด และที่เห็นอยู่นี้พวกมันกำลังแปลงกายเป็นปูเสฉวน
ด้วยปุ่มเล็กๆ บนผิวหนังที่มีชื่อเรียกว่า Papille และกล้ามเนื้อสองประเภทของหมึกทำหน้าที่สำคัญที่ช่วยให้การลอกเลียนแบบเป็นไปอย่างแนบแนียน หนึ่งคือกล้ามเนื้อลายที่มีลักษณะเหมือนกล้ามเนื้อของเรา ช่วยให้หมึกกระดองยกปุ่มบนผิวของมันขึ้นอย่างรวดเร็ว สองคือกล้ามเรียบซึ่งช่วยให้ร่างกายของมันคงรูปร่างเช่นนั้นไว้ได้นานนับชั่วโมง โดยใช้พลังงานเพียงน้อยนิดเท่านั้น ซึ่งช่วยให้การพรางตัวหรือลอกเลียนแบบสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Cr.
https://ngthai.com/animals/8413/cuttlefish-look-like-squid/ By NG THAI
ทำไมสัตว์น้ำใต้ทะเลลึกจึงมักมีสีดำ
Dragonfish นักล่าแห่งใต้ทะเลลึกที่อาศัยอยู่ในความลึกมากกว่า 3 กิโลเมตร ทางตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติก
ภาพถ่ายโดย Sonke Johnsen
ในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาล สัตว์น้ำใต้ทะเลลึก หลากหลายชนิดจำเป็นต้องพรางตัวให้รอดจากผู้ล่าและเพื่อการล่า แต่สำหรับใต้ทะเลลึกที่ไม่มีสิ่งแวดล้อมรอบๆ ให้กลมกลืนด้วยแล้ว พวกมันมีทางออกก็คือการมีสีดำ ปลาไวเปอร์และสัตว์อีกหลายชนิดวิวัฒนาการให้ร่างกายของมันมีสีดำ สีดำที่ว่านั้นดำสนิทจนมันสามารถแฝงกายซ่อนตัวอยู่ได้ แม้รอบตัวจะมีแต่น้ำก็ตาม
นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบว่า อะไรคือสิ่งที่ช่วยให้ “ปลาสีดำ” เหล่านี้ดูราวกับกลืนหายไปกับความมืด ในผลการศึกษาใหม่ Johnsen และทีมวิจัยของเขา Karen Osborn พบโครงสร้างขนาดเล็กละเอียดในผิวของปลาที่ทำหน้าที่ดักจับโฟตอน หรืออนุภาคของแสงเอาไว้ ซึ่งช่วยให้มันดูดซับแสงเกือบทั้งหมดที่สัมผัสได้ รายงานการค้นพบล่าสุดนี้ถูกเผยแพร่ในงานประชุมทางชีววิทยา
เมื่ออาหารเป็นสิ่งหายากในโลกใต้ทะเลลึก ดังนั้นทุกชีวิตจึงสามารถตกเป็นอาหารได้ด้วยเช่นกัน สัตว์น้ำใต้ทะเลลึกอย่าง ปลาแองเกลอร์วิวัฒนาการให้ตนมีไฟล่อเหยื่อ ในขณะที่ปลาสายพันธุ์อื่นๆ มีอวัยวะผลิตแสงเป็นพิเศษที่เรียกว่า photophores
“ลองจินตนาการถึงโลกที่คุณฉายไฟไปแล้วไม่มีอะไรสะท้อนกลับมาดูสิ” Johnsen กล่าว ดังนั้นแล้ววิธีที่ดีที่สุดคือการเลียนแบบผืนน้ำขนาดใหญ่ที่ไม่มีที่สิ้นสุด รวมทั้งดูดกลืนแสงเพื่อความแนบเนียนของการพรางตัว ซึ่งกลยุทธ์นี้แค่ลำพังเม็ดสีเข้มนั้นไม่เพียงพอ Johnsen กล่าวว่ากุญแจสำคัญคือผิวหนังแบบพิเศษ
Dragon fish สายพันธุ์ Eustomias pacificus อาศัยอยู่บริเวณหมู่เกาะฮาวาย
ภาพถ่ายโดย Sonke Johnsen
หากปลาใต้ทะเลลึกมีผิวหนังเรียบลื่นเป็นมัน แสงที่ตกกระทบจะสะท้อนเข้าไปยังดวงตาของผู้ล่าที่กำลังรอคอยอย่างหิวกระหาย แต่ด้วยผิวหนังพิเศษที่มีโครงสร้างเล็กละเอียดเหล่านี้สามารถช่วยกักเก็บอนุภาคของแสงเอาไว้ ซึ่งในผลการทดลองล่าสุด Osborn ทำการทดลองกับโครงสร้างผิวหนังของปลาสีดำจำนวน 7 ชนิด
เธอพบโครงสร้างของเม็ดสีขนาดเล็กเช่นเดียวกับที่พบในมนุษย์ เรียงตัวในรูปแบบที่ซับซ้อนเพื่อกักเก็บแสงไม่ให้สะท้อนออกไป
จากรายงานของ Johnsen และ Osborne ในปลาทะเลสีดำบางชนิด ผิวหนังของมันสามารถดูดกลืนแสงได้ถึง 99.99% นั่นแปลว่าจะมีเพียงอนุภาคแสงเพียงอนุภาคเดียวเท่านั้นที่สามารถสะท้อนออกไปได้ จากทั้งหมดพันอนุภาคที่ตกกระทบ
เรื่องโดย Elizabeh Anne Brown
Cr.
https://ngthai.com/animals/9821/deep-sea-fish-are-so-black/ By NG THAI
การพรางตัวของหมึกยักษ์ " มิมิก " ที่ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนสี
Mimic Octopus หรือ หมึกสายเลียนแบบ พบได้ที่บริเวณช่องแคบเลมเบห์ ทางตอนเหนือของเกาะสุลาเวสี ในอินโดนีเซีย เจ้าตัวนี้พิเศษกว่าหมึกยักษ์อื่นๆที่นอกจากทำร่างกายให้กลมกลืนไปกับพื้นผิวและสิ่งของที่มันเกาะแล้ว คือมันสามารถแปลงร่างกายของตัวเองให้เหมือนสัตว์ทะเลตัวอื่นเพื่อหลอกคู่ต่อสู้ได้มากถึง 15 แบบตั้งแต่ ปลาตาเดียว ปลาสิงโต หรือแม้กระทั่งงูทะเล ร้ายกาจมากๆ
มันจะไม่แค่เลียนแบบลักษณะรูปร่างภายนอกเท่านั้น แต่ยังที่จะปรับเปลี่ยนท่าทางการเคลื่อนไหวไปตามสัตว์ที่เลียนแบบด้วย เช่น เมื่อเลียนแบบไครนอยด์ ก็จะปล่อยตัวเองล่องลอยไปกับกระแสน้ำ หรือเลียนแบบปลาลิ้นหมา ก็จะห่อตัวลู่ไปกับพื้นทราย ในลักษณะการว่ายน้ำแบบเดียวกับปลาลิ้นหมา
หมึกสายเลียนแบบ ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1998 โดย มาร์ก นอร์แมน ช่างภาพใต้น้ำขณะที่กำลังดำน้ำอยู่
ที่มา สำรวจโลก
Cr.
http://realmetro.com/mimic-octopus/
ตำแหน่งแชมป์ของการพรางตัว
นกปากกบลายดำ … ชื่อในภาษาอังกฤษว่า Hodgson’s Frogmouth ชื่อวิทยาศาสตร์ Batrachostomus hodgsoni (G. R. Gray, 1859) วงศ์ (Family) Podargidae (วงศ์นกปากกบ) อันดับ (Order) Caprimulgiformes (อันดับปากกบ นกตบยุง และนกแอ่น)
หากจัดอันดับนกที่มีสีกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมจนมองเห็นตัวได้ยากที่สุด ในบรรดานกกลางคืนทั้งหมดของไทย … ตำแหน่งแชมป์ของการพรางตัวคือ นกปากกบลายดำ
แทบทุกชนิดวิวัฒนาการมาให้มีลำตัวสีน้ำตาลหรือเทา อาจมีลวดลายสีขาวหรือดำแต่งแต้มให้กลมกลืนกับสีของเปลือกไม้และใบไม้แห้งมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้พวกมันปลอดภัยจากสัตว์ผู้ล่ายามหลับนอนเวลากลางวัน
ในประเทศไทยพบนกปากกบ (frogmouths) ได้ทั้งหมด 4 ชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามป่าต่ำทางภาคใต้ มีเพียงนกปากกบลายดำชนิดเดียวที่อาศัยอยู่บนภูเขาสูงทางภาคเหนือ ด้วยจะงอยปากที่กว้างละม้ายคล้ายกบ ช่วยในการล่าเหยื่อซึ่งมักเป็นแมลงขนาดใหญ่ ปากของมันหนาและแข็งแรงกว่าญาติๆ ที่จับแมลงกลางอากาศอย่างนกตบยุง (nightjars) และนกแอ่น (swifts)
โดยลำตัวมันเต็มไปด้วยลายขีดสีดำๆ ยุ่งเหยิงกว่าชนิดอื่น หัวมีขนยาวๆ ชี้ฟูไปคนละทิศละทางไม่เป็นระเบียบ คล้ายไม้ยืนต้นในป่าดิบเขาที่มีพืชอิงอาศัยขึ้นรุงรัง แต้มสีขาวบนตัวก็ดูเหมือนไลเคนที่เป็นดวงๆ เกาะติดอยู่กับเปลือกไม้ด้วย แม้ส่วนใหญ่จะพบบนภูเขา แต่บางแห่งก็เจอได้
ข้อมูลทางชีววิทยาและพฤติกรรมของนกปากกบในเอเชียยังคงเป็นปริศนาอยู่มาก แต่ในออสเตรเลียพบว่านกปากกบเพศผู้จะทำหน้าที่กกไข่ในตอนกลางวันเป็นหลัก ส่วนเพศเมียจะมาช่วยสลับกันกกไข่ในเวลากลางคืน เสียงร้องพยางค์เดียวที่มักได้ยินบ่อยๆ บนดอยยามค่ำคืนนั้น คาดว่าเป็นเสียงร้องประกาศอาณาเขตของเพศเมียนั่นเอง
Source :
http://www.msn.com/th-th/travel/other/%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%9a%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%94%e0%b8%b3/ar-BBj54ye?ocid=iehp
Cr.
http://oknation.nationtv.tv/blog/supawan/2015/05/22/entry-1/comment / Posted by Supawan
นกชนิดนี้เลียนแบบงู เมื่อเผชิญอันตราย
เมื่อเผชิญกับภัยคุกคาม นกคอพัน (Eurasian wryneck) จะเงยหน้าและหมุนคอของมันไปด้านหลัง 180 องศา ความสามารถพิเศษนี้มีขึ้นเพื่อจำแลงร่างกายของมันให้เปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ล่าสุดอันตราย มันคือการเลียนแบบรูปลักษณ์ของ “งู” นั่นเอง
ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ไม่เข้าใจพฤติกรรมของพวกมัน แต่ ณ พวกเขาทราบแล้วว่านี่คือวิธีป้องกันตัวจากอันตราย ผู้ล่าที่ตั้งใจจัดการมันจะเผชิญความ
สับสนว่ามันกำลังจะล่านกหรืองูกันแน่ อีกทั้งยังสามารถตวัดลิ้นยาวออกมาเพื่อการแสดงที่แนบเนียนได้อีกด้วย
นกคอพันอยู่ในวงศ์ของนกหัวขวาน แต่พวกมันไม่มีพฤติกรรมเจาะต้นไม้เพื่อสร้างรัง นกคอพันสร้างรังในหลุมอื่นๆ ที่สัตว์ทำไว้แทน มีถิ่นอาศัยในยุโรปไปจนถึงเอเชียกลาง และเอเชียตะวันออก ในประเทศไทยเองพบนกคอพันช่วงที่มันอพยพหนีฤดูหนาว และปัจจุบันถือเป็นสัตว์คุ้มครองตามกฎหมาย
นกคอพัน (Eurasian Wryneck) นกอพยพที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองไทยช่วงฤดูหนาว พบได้ตามพื้นที่โล่งและพื้นที่เกษตรกรรม กินมดเป็นอาหารหลักโดยใช้ลิ้นที่ยาวมากตวัดจับมากิน เมื่อถูกคุกคามจะยืดและบิดคอไปมาคล้ายงู เป็นที่มาของชื่อ "คอพัน"
ที่มา Bird Conservation Society of Thailand (BCST) / จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Cr.
https://ngthai.com/animals/14239/woodpecker-mimics-a-snake/
แมนติส สิ่งมีชีวิตที่พรางตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
สิ่งมีชีวิตในภาพนี้ไม่ใช่มนุษย์ต่างดาว มันเป็นเพียงแค่ตั๊กแตนตำข้าว โดยเป็นฝีมือถ่ายภาพของช่างภาพชื่อ อีกอร์ ซิวาโนวิช เป็นภาพระยะใกล้ของตั๊กแตนตำข้าวหลายชนิด ที่แสดงท่าทางแตกต่างกันไป
ดร.มะ แลงวรรณ กล่าวว่าตั๊กแตนตำข้าว (praying mantis) เป็นแมลงในอันดับ แมนโทเดีย (Mantodia) ที่พบได้ทั่วโลก มีขนาดประมาณ 2-15 ซม. ไม่ได้ตัวใหญ่พอที่จะทำอันตรายคนได้ แต่ถ้าเทียบกับแมลงด้วยกัน มันก็นับว่าเป็นผู้ล่าที่น่ากลัวมาก
ตั๊กแตนตำข้าวเป็นสุดยอดนักพรางตัวเพื่อซุ่มล่าเหยื่อ โดยจะพรางตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมทั้งใบไม้ ดอกไม้ กิ่งไม้ แตกต่างกันไปในแต่ละชนิด เรียกว่ามีการพรางทั้งรูปร่าง สี และลวดลาย ตามอวัยวะอย่างปีก ขา อก ท้อง ฯลฯ สำหรับตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ หรือตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้ อวัยวะบางส่วนของมันอาจมีรูปร่างคล้ายส่วนประกอบต่างๆ ของดอกไม้อีกด้วย
เวลาล่าเหยื่อ ตั๊กแตนตำข้าวจะรอเหยื่ออยู่นิ่งๆ ทำให้เหยื่อไม่สังเกตเห็น แล้วก็ใช้ขาคู่แรกที่ยื่นยาวคล้ายเคียว จับเหยื่อด้วยความเร็วสูง
นอกจากพรางเพื่อซุ่มล่าเหยื่อแล้ว ตั๊กแตนตำข้าวยังพรางตัวเพื่อหลบจากผู้ล่าด้วย และเมื่อถูกคุกคาม มันจะใช้วิธีขู่ศัตรู โดยการกางแขนออก และอาจกางปีกออกด้วยเพื่อให้ดูตัวใหญ่ นอกจากนี้บางชนิดยังมีลายรูปดวงตาอยู่บนปีก เพื่อให้ดูน่ากลัวขึ้นด้วย
ดร. มะ แลงวรรณ ยังให้ความเห็นว่าภาพถ่ายของนายอีกอร์นั้นยอดเยี่ยมมากๆ สามารถแสดงถึงส่วนต่างๆ ของตั๊กแตนตำข้าวได้อย่างละเอียดและชัดเจน โดยภาพบางส่วนนายอีกอร์ได้ถ่ายในสตูดิโอ ทำให้ได้ภาพที่มีแสงและสีสวยแบบนี้
ตั๊กแตนตำข้าวบางชนิดที่ตัวใหญ่ๆ สามารถล่ากบ กิ้งก่า และนกตัวเล็กๆ กินเป็นอาหารได้
ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้บางชนิดมีหูพิเศษอยู่ที่อกสำหรับรับคลื่นอัลตราโซนิก คลื่นอัลตราโซนิกเป็นคลื่นที่ค้างคาวใช้ปล่อยออกมาเพื่อหาตำแหน่งเหยื่อ ตั๊กแตนจึงมีหูพิเศษไว้รับคลื่นที่ค้างคาวปล่อยมา จะได้หลบค้างคาวที่เป็นผู้ล่าได้ทัน
เรื่งโดย นาฬิกาลืมเวลา
Cr.
http://oknation.nationtv.tv/blog/dreamline/2008/07/13/entry-1
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
ทักษะการพรางตัวของสิ่งมีชีวิต
Vietnamese Mossy Frog หรือ Mossy Frog หรือ Vietnamese mossy frog หรือ Tonkin bug-eyed frog มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Theloderma corticale เป็นกบที่พบได้ทางภาคเหนือของประเทศเวียดนาม และทางตอนใต้ของประเทศจีน พวกมันจะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำที่สะอาด ตัวโตเต็มที่มีขนาดความยาวประมาณ 7-8 เซนติเมตร
ลักษณะผิวมีสีเขียว จุดดำและสีน้ำตาล มองดูคล้ายตะไคร่น้ำ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่จะช่วยให้มันพรางตัวได้ดี ปัจจุบันพวกมันถูกคุกคามเรื่องที่อยู่อาศัยเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า
ขอขอบคุณข้อมูล :สำรวจโลก
Cr. https://www.newtv.co.th/news/14684
Cr.http://www.nextsteptv.com/vietnamese-mossy-frog-สุดยอดกบนักพรางตัว/ By Admin
การพรางตัวอันน่าทึ่งของหมึกกระดอง
นี้คือลูกหมึกกระดองลายเสือ จากอควาเรียม Den Bla Planet ในกรุงโคเปนเฮเนกน เมืองหลวงของเดนมาร์ก แต่อย่าประมาทว่าพวกมันเป็นแค่เพียงตัวอ่อน เพราะหมึกกระดองเหล่านี้มีทักษะการพรางตัวและลอกเลียนแบบอันน่าทึ่งอยู่ในสายเลือด และที่เห็นอยู่นี้พวกมันกำลังแปลงกายเป็นปูเสฉวน
ด้วยปุ่มเล็กๆ บนผิวหนังที่มีชื่อเรียกว่า Papille และกล้ามเนื้อสองประเภทของหมึกทำหน้าที่สำคัญที่ช่วยให้การลอกเลียนแบบเป็นไปอย่างแนบแนียน หนึ่งคือกล้ามเนื้อลายที่มีลักษณะเหมือนกล้ามเนื้อของเรา ช่วยให้หมึกกระดองยกปุ่มบนผิวของมันขึ้นอย่างรวดเร็ว สองคือกล้ามเรียบซึ่งช่วยให้ร่างกายของมันคงรูปร่างเช่นนั้นไว้ได้นานนับชั่วโมง โดยใช้พลังงานเพียงน้อยนิดเท่านั้น ซึ่งช่วยให้การพรางตัวหรือลอกเลียนแบบสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Cr.https://ngthai.com/animals/8413/cuttlefish-look-like-squid/ By NG THAI
ทำไมสัตว์น้ำใต้ทะเลลึกจึงมักมีสีดำ
ภาพถ่ายโดย Sonke Johnsen
นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบว่า อะไรคือสิ่งที่ช่วยให้ “ปลาสีดำ” เหล่านี้ดูราวกับกลืนหายไปกับความมืด ในผลการศึกษาใหม่ Johnsen และทีมวิจัยของเขา Karen Osborn พบโครงสร้างขนาดเล็กละเอียดในผิวของปลาที่ทำหน้าที่ดักจับโฟตอน หรืออนุภาคของแสงเอาไว้ ซึ่งช่วยให้มันดูดซับแสงเกือบทั้งหมดที่สัมผัสได้ รายงานการค้นพบล่าสุดนี้ถูกเผยแพร่ในงานประชุมทางชีววิทยา
เมื่ออาหารเป็นสิ่งหายากในโลกใต้ทะเลลึก ดังนั้นทุกชีวิตจึงสามารถตกเป็นอาหารได้ด้วยเช่นกัน สัตว์น้ำใต้ทะเลลึกอย่าง ปลาแองเกลอร์วิวัฒนาการให้ตนมีไฟล่อเหยื่อ ในขณะที่ปลาสายพันธุ์อื่นๆ มีอวัยวะผลิตแสงเป็นพิเศษที่เรียกว่า photophores
“ลองจินตนาการถึงโลกที่คุณฉายไฟไปแล้วไม่มีอะไรสะท้อนกลับมาดูสิ” Johnsen กล่าว ดังนั้นแล้ววิธีที่ดีที่สุดคือการเลียนแบบผืนน้ำขนาดใหญ่ที่ไม่มีที่สิ้นสุด รวมทั้งดูดกลืนแสงเพื่อความแนบเนียนของการพรางตัว ซึ่งกลยุทธ์นี้แค่ลำพังเม็ดสีเข้มนั้นไม่เพียงพอ Johnsen กล่าวว่ากุญแจสำคัญคือผิวหนังแบบพิเศษ
ภาพถ่ายโดย Sonke Johnsen
เธอพบโครงสร้างของเม็ดสีขนาดเล็กเช่นเดียวกับที่พบในมนุษย์ เรียงตัวในรูปแบบที่ซับซ้อนเพื่อกักเก็บแสงไม่ให้สะท้อนออกไป
จากรายงานของ Johnsen และ Osborne ในปลาทะเลสีดำบางชนิด ผิวหนังของมันสามารถดูดกลืนแสงได้ถึง 99.99% นั่นแปลว่าจะมีเพียงอนุภาคแสงเพียงอนุภาคเดียวเท่านั้นที่สามารถสะท้อนออกไปได้ จากทั้งหมดพันอนุภาคที่ตกกระทบ
เรื่องโดย Elizabeh Anne Brown
Cr.https://ngthai.com/animals/9821/deep-sea-fish-are-so-black/ By NG THAI
การพรางตัวของหมึกยักษ์ " มิมิก " ที่ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนสี
Mimic Octopus หรือ หมึกสายเลียนแบบ พบได้ที่บริเวณช่องแคบเลมเบห์ ทางตอนเหนือของเกาะสุลาเวสี ในอินโดนีเซีย เจ้าตัวนี้พิเศษกว่าหมึกยักษ์อื่นๆที่นอกจากทำร่างกายให้กลมกลืนไปกับพื้นผิวและสิ่งของที่มันเกาะแล้ว คือมันสามารถแปลงร่างกายของตัวเองให้เหมือนสัตว์ทะเลตัวอื่นเพื่อหลอกคู่ต่อสู้ได้มากถึง 15 แบบตั้งแต่ ปลาตาเดียว ปลาสิงโต หรือแม้กระทั่งงูทะเล ร้ายกาจมากๆ
มันจะไม่แค่เลียนแบบลักษณะรูปร่างภายนอกเท่านั้น แต่ยังที่จะปรับเปลี่ยนท่าทางการเคลื่อนไหวไปตามสัตว์ที่เลียนแบบด้วย เช่น เมื่อเลียนแบบไครนอยด์ ก็จะปล่อยตัวเองล่องลอยไปกับกระแสน้ำ หรือเลียนแบบปลาลิ้นหมา ก็จะห่อตัวลู่ไปกับพื้นทราย ในลักษณะการว่ายน้ำแบบเดียวกับปลาลิ้นหมา
หมึกสายเลียนแบบ ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1998 โดย มาร์ก นอร์แมน ช่างภาพใต้น้ำขณะที่กำลังดำน้ำอยู่
ที่มา สำรวจโลก
Cr.http://realmetro.com/mimic-octopus/
ตำแหน่งแชมป์ของการพรางตัว
นกปากกบลายดำ … ชื่อในภาษาอังกฤษว่า Hodgson’s Frogmouth ชื่อวิทยาศาสตร์ Batrachostomus hodgsoni (G. R. Gray, 1859) วงศ์ (Family) Podargidae (วงศ์นกปากกบ) อันดับ (Order) Caprimulgiformes (อันดับปากกบ นกตบยุง และนกแอ่น)
หากจัดอันดับนกที่มีสีกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมจนมองเห็นตัวได้ยากที่สุด ในบรรดานกกลางคืนทั้งหมดของไทย … ตำแหน่งแชมป์ของการพรางตัวคือ นกปากกบลายดำ
แทบทุกชนิดวิวัฒนาการมาให้มีลำตัวสีน้ำตาลหรือเทา อาจมีลวดลายสีขาวหรือดำแต่งแต้มให้กลมกลืนกับสีของเปลือกไม้และใบไม้แห้งมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้พวกมันปลอดภัยจากสัตว์ผู้ล่ายามหลับนอนเวลากลางวัน
ในประเทศไทยพบนกปากกบ (frogmouths) ได้ทั้งหมด 4 ชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามป่าต่ำทางภาคใต้ มีเพียงนกปากกบลายดำชนิดเดียวที่อาศัยอยู่บนภูเขาสูงทางภาคเหนือ ด้วยจะงอยปากที่กว้างละม้ายคล้ายกบ ช่วยในการล่าเหยื่อซึ่งมักเป็นแมลงขนาดใหญ่ ปากของมันหนาและแข็งแรงกว่าญาติๆ ที่จับแมลงกลางอากาศอย่างนกตบยุง (nightjars) และนกแอ่น (swifts)
โดยลำตัวมันเต็มไปด้วยลายขีดสีดำๆ ยุ่งเหยิงกว่าชนิดอื่น หัวมีขนยาวๆ ชี้ฟูไปคนละทิศละทางไม่เป็นระเบียบ คล้ายไม้ยืนต้นในป่าดิบเขาที่มีพืชอิงอาศัยขึ้นรุงรัง แต้มสีขาวบนตัวก็ดูเหมือนไลเคนที่เป็นดวงๆ เกาะติดอยู่กับเปลือกไม้ด้วย แม้ส่วนใหญ่จะพบบนภูเขา แต่บางแห่งก็เจอได้
ข้อมูลทางชีววิทยาและพฤติกรรมของนกปากกบในเอเชียยังคงเป็นปริศนาอยู่มาก แต่ในออสเตรเลียพบว่านกปากกบเพศผู้จะทำหน้าที่กกไข่ในตอนกลางวันเป็นหลัก ส่วนเพศเมียจะมาช่วยสลับกันกกไข่ในเวลากลางคืน เสียงร้องพยางค์เดียวที่มักได้ยินบ่อยๆ บนดอยยามค่ำคืนนั้น คาดว่าเป็นเสียงร้องประกาศอาณาเขตของเพศเมียนั่นเอง
Source : http://www.msn.com/th-th/travel/other/%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%9a%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%94%e0%b8%b3/ar-BBj54ye?ocid=iehp
Cr.http://oknation.nationtv.tv/blog/supawan/2015/05/22/entry-1/comment / Posted by Supawan
นกชนิดนี้เลียนแบบงู เมื่อเผชิญอันตราย
เมื่อเผชิญกับภัยคุกคาม นกคอพัน (Eurasian wryneck) จะเงยหน้าและหมุนคอของมันไปด้านหลัง 180 องศา ความสามารถพิเศษนี้มีขึ้นเพื่อจำแลงร่างกายของมันให้เปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ล่าสุดอันตราย มันคือการเลียนแบบรูปลักษณ์ของ “งู” นั่นเอง
ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ไม่เข้าใจพฤติกรรมของพวกมัน แต่ ณ พวกเขาทราบแล้วว่านี่คือวิธีป้องกันตัวจากอันตราย ผู้ล่าที่ตั้งใจจัดการมันจะเผชิญความ
สับสนว่ามันกำลังจะล่านกหรืองูกันแน่ อีกทั้งยังสามารถตวัดลิ้นยาวออกมาเพื่อการแสดงที่แนบเนียนได้อีกด้วย
นกคอพันอยู่ในวงศ์ของนกหัวขวาน แต่พวกมันไม่มีพฤติกรรมเจาะต้นไม้เพื่อสร้างรัง นกคอพันสร้างรังในหลุมอื่นๆ ที่สัตว์ทำไว้แทน มีถิ่นอาศัยในยุโรปไปจนถึงเอเชียกลาง และเอเชียตะวันออก ในประเทศไทยเองพบนกคอพันช่วงที่มันอพยพหนีฤดูหนาว และปัจจุบันถือเป็นสัตว์คุ้มครองตามกฎหมาย
นกคอพัน (Eurasian Wryneck) นกอพยพที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองไทยช่วงฤดูหนาว พบได้ตามพื้นที่โล่งและพื้นที่เกษตรกรรม กินมดเป็นอาหารหลักโดยใช้ลิ้นที่ยาวมากตวัดจับมากิน เมื่อถูกคุกคามจะยืดและบิดคอไปมาคล้ายงู เป็นที่มาของชื่อ "คอพัน"
ที่มา Bird Conservation Society of Thailand (BCST) / จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Cr.https://ngthai.com/animals/14239/woodpecker-mimics-a-snake/
แมนติส สิ่งมีชีวิตที่พรางตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
ดร.มะ แลงวรรณ กล่าวว่าตั๊กแตนตำข้าว (praying mantis) เป็นแมลงในอันดับ แมนโทเดีย (Mantodia) ที่พบได้ทั่วโลก มีขนาดประมาณ 2-15 ซม. ไม่ได้ตัวใหญ่พอที่จะทำอันตรายคนได้ แต่ถ้าเทียบกับแมลงด้วยกัน มันก็นับว่าเป็นผู้ล่าที่น่ากลัวมาก
ตั๊กแตนตำข้าวเป็นสุดยอดนักพรางตัวเพื่อซุ่มล่าเหยื่อ โดยจะพรางตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมทั้งใบไม้ ดอกไม้ กิ่งไม้ แตกต่างกันไปในแต่ละชนิด เรียกว่ามีการพรางทั้งรูปร่าง สี และลวดลาย ตามอวัยวะอย่างปีก ขา อก ท้อง ฯลฯ สำหรับตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ หรือตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้ อวัยวะบางส่วนของมันอาจมีรูปร่างคล้ายส่วนประกอบต่างๆ ของดอกไม้อีกด้วย
เวลาล่าเหยื่อ ตั๊กแตนตำข้าวจะรอเหยื่ออยู่นิ่งๆ ทำให้เหยื่อไม่สังเกตเห็น แล้วก็ใช้ขาคู่แรกที่ยื่นยาวคล้ายเคียว จับเหยื่อด้วยความเร็วสูง
นอกจากพรางเพื่อซุ่มล่าเหยื่อแล้ว ตั๊กแตนตำข้าวยังพรางตัวเพื่อหลบจากผู้ล่าด้วย และเมื่อถูกคุกคาม มันจะใช้วิธีขู่ศัตรู โดยการกางแขนออก และอาจกางปีกออกด้วยเพื่อให้ดูตัวใหญ่ นอกจากนี้บางชนิดยังมีลายรูปดวงตาอยู่บนปีก เพื่อให้ดูน่ากลัวขึ้นด้วย
ดร. มะ แลงวรรณ ยังให้ความเห็นว่าภาพถ่ายของนายอีกอร์นั้นยอดเยี่ยมมากๆ สามารถแสดงถึงส่วนต่างๆ ของตั๊กแตนตำข้าวได้อย่างละเอียดและชัดเจน โดยภาพบางส่วนนายอีกอร์ได้ถ่ายในสตูดิโอ ทำให้ได้ภาพที่มีแสงและสีสวยแบบนี้
ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้บางชนิดมีหูพิเศษอยู่ที่อกสำหรับรับคลื่นอัลตราโซนิก คลื่นอัลตราโซนิกเป็นคลื่นที่ค้างคาวใช้ปล่อยออกมาเพื่อหาตำแหน่งเหยื่อ ตั๊กแตนจึงมีหูพิเศษไว้รับคลื่นที่ค้างคาวปล่อยมา จะได้หลบค้างคาวที่เป็นผู้ล่าได้ทัน
เรื่งโดย นาฬิกาลืมเวลา
Cr.http://oknation.nationtv.tv/blog/dreamline/2008/07/13/entry-1
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)