พอดีจขกท.อ่านบทความเรื่องนี้มา ขอนำมาแบ่งปันค่ะ ขอบคุณ เพจวัน
ชั้นติ่งอะไร มาในที่นี้ด้วยค่ะ
ขณะนี้การระบาดของ COVID-19 เรียก
ได้ว่าเป็นระดับ "Pandemic" หรือข้าม
ทวีปเป็นวงกว้างเรียบร้อยแล้ว ทั้งยัง
ส่อแววจะน่ากลัวขึ้นเรื่อย ๆ
ปัญหาคือ แล้วเมื่อไหร่กันที่เราจะ
ควบคุมมันได้
เรื่องราวต่าง ๆ จะจบลงอย่างไร
อนาคตของพวกเราจะเป็นเช่นไรกันแน่
เราคงต้องย้อนกลับไป ค้นหาข้อเท็จจริง
จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
อันที่จริงมนุษยชาติเผชิญหน้าการ
ระบาดของโรคติดเชื้อต่าง ๆ มาโดย
ตลอด มีบันทึกแต่โบราณถึงการป่วยที่ี
เชื่อว่าเป็นจากอากาศ แท้จริงแล้วกลับ
เกิดจากเชื้อมาลาเรีย หรือการป่วยท้อง
เสียที่เรียกกันว่าห่าลง ซึ่งเกิดจากเชื้อ
อหิวาต์ที่มากับน้ำ ทั้งหมดติดต่อเป็นวง
กว้างและคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมหาศาล
การระบาดของเชื้อต่าง ๆ จึงมิได้เพิ่ง
เกิดเป็นครั้งแรกในยุคของพวกเรา หาก
แต่วิทยาการที่ทันสมัยทำให้ทุกอย่าง
เปลี่ยนไป
การเดินทางยุคใหม่ทำให้โรคระบาดไป
ไกลและเร็วกว่าเดิมมาก วิทยาการ
ทำให้เราทราบสถานการณ์ และ
สามารถต่อสู้กับมันได้
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 อันเป็นยุคที่
มนุษย์เริ่มก้าวสู่ยุคสมัยใหม่ ได้เกิดการ
ระบาดของไข้หวัดชนิดหนึ่ง เรียกกันว่า
"ไข้หวัดสเปน" ไปทั่วโลก
ไข้หวัดชนิดนี้แท้จริงเป็นไข้หวัดใหญ่
สายพันธุ์หนึ่ง หากแต่อาจเกิดกลาย
พันธุ์ อานุภาพการระบาดจึงเพิ่มจากตัว
ดั้งเดิมมาก บวกกับปัจจัยด้านสังคม
ขณะนั้น ที่เต็มไปด้วยสงครามและความ
อคอยาก ทำให้เกิดการแพร่ระบาดเป็น
วงกว้างอย่างง่ายดาย จากเมืองสู่เมือง
จากประเทศสู่ประเทศ จากทวีปสู่ทวีป
อย่างไม่หยุดยั้ง
ประมาณการว่า มีผู้ติดเชื้อกว่า 500
ล้านคน คร่าชีวิตผู้คน 30-50 ล้าน ถือ
เป็นการระบาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง
ของประวัติศาสตร์ที่มนุษยชาติพานพบ
มา และคือบทเรียนสำคัญที่นักวิชาการ
รุ่นหลังทำการศึกษา เพื่อรู้เท่าทันให้ได้
ว่า ครั้งต่อไปที่ไวรัสเหล่านี้ระบาด จะ
เกิดอะไรขึ้นกันแน่
ในยุคใกล้เคียงกันนั้น ได้มีการศึกษา
การระบาดของโรคต่าง ๆ รวมถึงไข้หวัด
สเปน โดยมีหลักคิดพื้นฐานดังนี้
สมมติว่าในชุมชนหนึ่ง ผู้คนอยู่กันอย่าง
ผาสุขปกติดี วันหนึ่งมีผู้ป่วยติดเชื้อโรค
ใหม่หลุดเข้าไปในชุมชน เนื่องจากเป็น
โรคใหม่ ผู้คนในชุมชนไม่มีใครเคยเป็น
หรือสัมผัส จึงไม่มีภูมิคุ้มกัน ทุกคนจึง
สามารถติดโรคได้
ณจุดนี้ ผู้คนจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
ได้แก่ กลุ่มคนทั่วไป ชืงสามารถติดโรค
ได้ (S), กลุ่มคนติดเชื้อ ซึ่งเป็นตัวแพร่
กระจาย (), และกลุ่มคนหายดี ซึ่งมี
ภูมิคุ้มกันจึงไม่ติดโรคอีก
หากชุมชนนี้เป็นสังคมปิด (ไม่มีใครผ่าน
เข้าออก) เมื่อการระบาดเริ่มขึ้น กลุ่ม
ทั่วไปก็จะกลายเป็นกลุ่มติดเชื้อ จากนั้น
กลุ่มติดเชื้อหากไม่ตายก็จะกลายเป็นก
ลุ่มหาย เมื่อถึงจุดหนึ่งกลุ่มหายดีมี
จำนวนมาก กลุ่มติดเชื้อมีจำนวนน้อย
การระบาดก็จะไปต่อไม่ได้ บาง โรคอาจ
หยุดลงและหายไป บางโรคจะเข้าสู่
ภาวะสมดุล มีคนติดเชื้อบ้างแต่ไม่
ระบาดใหญ่อีก โดยรวมชุมชนจะกลับสู่
ความสงบ
เรื่องนี้ดูเป็นหลักคิดธรรมดาทั่วไป แต่
นักวิชาการใช้หลักนี้สร้างเป็นสูตร
คณิตศาสตร์ คำนวณหาอำนาจการ
ระบาดของโรคต่าง ๆ ได้ออกมาเป็น
ค่าที่เรียกว่า "RO"
ค RO นี้ อธิบายภาษาชาวบ้านว่า "คน
ติดเชื้อ 1 คน แพร่กระจายโรคให้คนได้
กี่คน" เช่น ไข้หวัดสเปนที่กล่าวถึงไป
ตอนต้น มีค่า RO = 2-3 นั่นคือคนติด
เชื้อ 1 คนกระจายให้คนได้ 2-3 คน
ซึ่งฟังดูน้อย แต่ความจริงแล้วค่า RO ไม
ได้หมายความตรงไปตรงมาเช่นนั้น
เพราะค่า RO คำนวณจากโมเดลของ
"ชุมชนปิด" ไม่มีคนติดเชื้อคนใหม่หลุด
เข้าไป ไม่มีคนทั่วไปที่อาจติดโรคได้เข้า
ชุมชนไปเพิ่ม ซึ่งแตกต่างจากโลกแห่ง
ความจริง
ปี 1918-1919 ไข้หวัดสเปนเริ่มระบาด
ขณะนั้นเป็นช่วงสงคราม ทหารที่ป่วย
หนักถูกส่งกลับแนวหลัง ไปอยู่ร่วมกับผู้
บาดเจ็บทุพพลภาพ ที่ป่วยน้อยถูกส่งไป
แนวหน้า เดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ
โดยรวมจึงเกิดการโยกย้ายประชากร
จำนวนมาก นำไปสู่การระบาดที่รุนแรง
เกินคาดเดาได้
ค่า RO ของไข้หวัดสเปนที่ดูเหมือนไม่
มาก (คือเพียง 2-3 เท่านั้น) เมื่ออยู่ใน
สภาพดังกล่าว กลับแพร่ระบาดไปไกล
ถึง 500 ล้านคนเลยทีเดียว
ในขณะที่ค่า RO ของ COVID-19 อยู่ที่
3.5 มากยิ่งกว่าไข้หวัดสเปน
แต่มนุษย์ไม่เคยยอมแพ้..
หลังได้บทเรียนจากไข้หวัดสเปน ระบาด
วิทยาก็ค่อย ๆ ก้าวหน้า หวังใจว่าเมื่อ
โรคร้ายกลับมา ครั้งนี้เราจะไม่แพ้มันอีก
สงครามไวรัสเริ่มอีกครั้งในปี 2009
เมื่อเกิดการระบาดของ "ไข้หวัดหมู"
หรือ Swine flu H1N1 2009 ครั้งนี้
มนุษย์พร้อมที่จะต่อสู้มากขึ้นแล้ว
เมื่อมองกลับมาที่หลักคิดพื้นฐานของ
การระบาด การระบาดเริ่มขึ้นเมื่อกลุ่ม
คนทั่วไป (S) กลายเป็นกลุ่มติดเชื้อ (I)
และจะหยุด(ควบคุมได้) เมื่อกลุ่มติดเชื้อ
(I)กลายเป็นกลุ่มหาย (R)
นั่นจึงหมายความว่า หากเรายับยั้งหรือ
ชะลอการเปลี่ยนจาก S เป็น I และเร่งรัด
ให้ I เปลี่ยนเป็น R ได้ดังใจ เมื่อนั้นการ
ระบาดจะอยู่ในมือเราทันที
หลักคิดนี้นำไปสู่วิธีการต่าง ๆ
ทั้งการกักกันผู้ต้องสงสัยติดโรค มิให้
เข้าสู่ชุมชนเพื่อแพร่เชื้อได้ หรือการ
คิดค้นวัดนป้องกัน ทั้งหมดก็เพื่อยับยั้ง
มิให้ S เปลี่ยนเป็น I
ถัดมามนุษย์ก็พยายามคิดค้นยาใหม่ ๆ
เพื่อเร่งรัดให้กลุ่มติดเชื้อหยุดแพร่
กระจาย ให้หายและกลายเป็นกลุ่มมีภูมี
ซึ่งก็คือเร่งให้ I เปลี่ยนเป็น R นั่นเอง
ในการแพร่ระบาดปี 2009 แต่ละ
ประเทศริเริ่มการกักกันอย่างจริงจัง จึง
พอจะประวิงเวลาระบาดออกไปได้
ระหว่างนั้นก็เสาะหายาฆ่าไวรัส ที่ม
ประสิทธิภาพพอจะเร่งให้คนติดเชื้อหาย
ไปพร้อม ๆ กับการคิดค้นวัดชีนออกมา
ที่สุดยา Oseltamivir ก็ถูกนำมาใช้ แ
ไม่ใช่ทุกคนที่กินปุบจะหายปั้บทันใจ แต่
ก็ช่วยร่นเวลา เร่งให้กลุ่มติดเชื้อกลาย
เป็นกลุ่มหาย เพิ่มจำนวนผู้มีภูมิให้มาก
ขึ้นอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี เมื่องานวิจัยออกมา ยา
Oseltamivir ก็เริ่มถูกประเทศที่ร่ำรวย
กว่ากักตุนจนขาดตลาด ขณะประเทศที่
ยากจน ซึ่งมีปัญหาสาธารณสุขมาก
จนถึงระดับที่ไม่อาจควบคุมการระบาด
ได้ ก็ยิ่งพบกับหายนะมากกว่าเดิม
ที่สุดวัดชีนไข้หวัดหมูก็ถูกผลิตออกมา
จนได้ แม้เกิดปัญหาผลิตได้ช้ากว่าที่
คาดไว้ แต่ไม่สายเกินไป การระบาดถูก
ควบคุมได้ในที่สุด
แม้ประมาณการว่า อาจมีผู้ติดเชื้อมาก
ถึง 1,400 ล้านคน ขณะที่จำนวนผู้ตาย
อาจมากถึงครึ่งล้านก็ตามที (ตัวเลขไม่
แน่นอน เพราะปัจจุบันหลายประเทศยัง
ไม่อาจยืนยันจำนวนผู้เสียชีวิตได้)
โชคดีที่เรายังไม่สูญพันธุ์ไป
จากนั้นเป็นต้นมา Swine Flu ก็ถูก
ควบคุม แม้ยังคงมีการระบาดของไข้
หวัดในวงศ์วานมันอีกหลายครั้ง แต่
เป็นการระบาดที่เข้าสู่สมดุล และกลาย
ร่างเป็นโรคประจำฤดูกาลเช่นหวัด
ธรรมดาทั่วไปในที่สุด
นี่คือชัยชนะที่นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ
ตัดกลับมาที่ปัจจุบัน COVID-19
สถานการณ์ขณะนี้ เราได้เรียนรู้อะไร
บ้าง
ช่วงแรกเราใช้โมเดลเดียวกันกับตอน
รับ Swine Flu กักกันผู้มาจากแหล่ง
ระบาด แยกผู้ติดเชื้อออกจากชุมชน เร่ง
รักษาให้หายขาด เพิ่มผู้ป่วยที่มี
ภูมิคุ้มกันกลับสู่สังคม ประวิงเวลาการ
ระบาดใหญ่ ขณะพยายามทดลองใช้ยา
สูตรต่าง ๆ พร้อมกับคิดค้นวัดชีนไป
พร้อมกัน
ทว่ากลับเกิดเรื่องไม่คาดฝัน
มาตรการกักกัน 14 วัน กำหนดขึ้นด้วย
หลักฐานเท่าที่มีในช่วงต้น ถึงระยะ
ฟักตัวโดยประมาณ ทว่าเมื่อเวลาผ่าน
ไป เรากลับพบบางเคสที่มีระยะฟักตัว
นานกว่านั้น นั่นหมายความว่าผู้ต้อง
สงสัยที่ถูกกักตัว 14 วันแล้วปล่อยกลับ
แท้จริงยังมีโอกาสเป็นผู้ติดเชื้อและแพร่
เชื้อนั่นเอง
ไม่เพียงเท่านั้น ความพยายามที่จะแยก
ผู้ติดเชื้อออกจากชุมชนกลับยากขึ้น ใน
สภาพสังคมที่ชับซ้อน และการคมนาคม
ที่สะดวกรวดเร็วเช่นปัจจุบัน เป็นการ
ยากมากที่จะกีดกันมิให้ประชาชนเดิน
ทาง ชายแคนบก-น้ำ กลับมีการเดินทาง
เข้าออก ที่บางครั้งถึงขั้นไร้การควบคุม
เหล่านั้นกลับส่งเสริมให้การแพร่ระบาด
ควบคุมได้ยากและกระจายเร็วยิ่งขึ้น
แต่เรื่องที่น่ากลัวที่สุดกลับเป็นอีกเรื่อง
หลังเกิดการระบาด นักวิชาการเชื่อว่า
หากมีผู้ป่วยหายขาด มีภูมิคุ้มกันกลับสู่
สังคมมากถึงจุดหนึ่ง การระบาดก็จะจบ
ลง ทว่า COVID-19 กลับส่อลักษณะบาง
อย่างที่เป็นปัญหา
รัฐบาลจีนพบว่า มีผู้ป่วยที่หายดีแล้ว
ส่วนหนึ่ง กลับติดเชื้อซ้ำอีก นั่นมิใช่
เพียงเรื่องบังเอิญ แต่บ่งถึงความ
สามารถในการสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับ
ร่างกายเราแล้วนั้น อาจสร้างภูมิคุ้มกัน
ต่อ COVID-19 ได้เชื่องช้ากว่าโรคอื่นที่
พวกเราเคยเจอมา
หมายความว่า หลักพื้นฐานที่สุดในการ
ระบาด อาจไม่สามารถใช้กับโรคอย่าง
ตรงไปตรงมาได้อีก
อย่างไรก็ดี "การระบาดกับการตาย"
กลับเป็นคนละเรื่องกัน
COVID-19 แม้อานุภาพสูงด้านการ
ระบาด แต่อัตราตายของโรคกลับต่ำ
และมีลักษณะตรงไปตรงมา โดยมัก
รุนแรงจนเสียชีวิตเฉพาะในกลุ่มที่แก่
ชรา มีโรคร่วม หรือมีปัญหาภูมิคุ้มกัน
กล่าวอย่างง่ายว่า หากคุณเป็นคนแข็ง
แรงนั้น แม้ติดโรคมา แต่ก็มักหายดีและ
ใช้ชีวิตได้เช่นเดิม
สำหรับยารักษา แท้จริงแล้วแม้ไม่ได้ยา
คนส่วนมากก็หายได้เอง เพราะฉะนั้น
ความสำคัญของยาจึงอยู่ที่ว่า มันลด
เวลาป่วยได้รวดเร็วเพียงใด เพราะยิ่ง
เร็วเท่าไหร่ โอกาสที่เราจะแพร่กระจายก็
ลดลง โอกาสการรอดชีวิตของทั้งสังคม
โดยรวมก็มากขึ้น
แต่ขณะนี้ยาที่อาจมีฤทธิ์ฆ่า COVID-19
ยังได้ผลไม่เป็นที่พอใจนัก จึงไม่อาจพูด
ได้เต็มปากว่าประสบความสำเร็จ หรือ
วางใจได้
มองย้อนกลับมายังสถานการณ์ปัจจุบัน
แม้ขณะนี้อัตราตายจะต่ำ แต่นี่คือชั่ว
ขณะที่การระบาดเพิ่งเริ่มขึ้น หากการ
ระบาดมากไปถึงจุดหนึ่ง ที่ประชากรที่
ติดโรคมากกว่าทรัพยากรการแพทย์จะ
รองรับไหว เมื่อนั้นการตายย่อมมากขึ้น
เป็นเงาตามตัว
ยุทธศาสตร์ที่หลาย ๆ ประเทศรวมถึงจีน
ทำขณะนี้ นอกจากชะลอการระบาดแล้ว
ยังมุ่งเน้นเสริมสร้างทรัพยากร เพื่อรอที่
วันหนึ่งเมื่อการระบาดลุกลาม เราจะยัง
สามารถช่วยเหลือประชาชนของเราให้
รอดชีวิตได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
และสำหรับตัวเรา สิ่งที่เราทำได้
คือลดการเคลื่อนย้ายประชากร รักษา
สุขภาพ และชื่อสัตย์กับการให้ประวัติ
อย่าปล่อยให้ความมักง่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ
ของเรานั้น เป็นเหตุให้สังคมประเทศ
ชาติเกิดความเสียหาย
ทำสิ่งที่เราพอทำได้ เพื่อหยุดการระบาด
ให้เร็วที่สุด ดังที่มนุษยชาติเคยทำได้
และร่วมกันผ่านมาอย่างเข้มแข็งนั่นเอง
อ้างอิง
Coburn BJ, Wagner BG, Blower S.
Modeling influenza epidemics and
pandemics: insights into the future
of swine flu (H1N1). BMC medicine.
2009 Dec;7(1):30.
อดีตของโรคระบาด และอนาคตของ COVID-19 - เพจวัน ชั้นติ่งอะไร
ชั้นติ่งอะไร มาในที่นี้ด้วยค่ะ
ขณะนี้การระบาดของ COVID-19 เรียก
ได้ว่าเป็นระดับ "Pandemic" หรือข้าม
ทวีปเป็นวงกว้างเรียบร้อยแล้ว ทั้งยัง
ส่อแววจะน่ากลัวขึ้นเรื่อย ๆ
ปัญหาคือ แล้วเมื่อไหร่กันที่เราจะ
ควบคุมมันได้
เรื่องราวต่าง ๆ จะจบลงอย่างไร
อนาคตของพวกเราจะเป็นเช่นไรกันแน่
เราคงต้องย้อนกลับไป ค้นหาข้อเท็จจริง
จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
อันที่จริงมนุษยชาติเผชิญหน้าการ
ระบาดของโรคติดเชื้อต่าง ๆ มาโดย
ตลอด มีบันทึกแต่โบราณถึงการป่วยที่ี
เชื่อว่าเป็นจากอากาศ แท้จริงแล้วกลับ
เกิดจากเชื้อมาลาเรีย หรือการป่วยท้อง
เสียที่เรียกกันว่าห่าลง ซึ่งเกิดจากเชื้อ
อหิวาต์ที่มากับน้ำ ทั้งหมดติดต่อเป็นวง
กว้างและคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมหาศาล
การระบาดของเชื้อต่าง ๆ จึงมิได้เพิ่ง
เกิดเป็นครั้งแรกในยุคของพวกเรา หาก
แต่วิทยาการที่ทันสมัยทำให้ทุกอย่าง
เปลี่ยนไป
การเดินทางยุคใหม่ทำให้โรคระบาดไป
ไกลและเร็วกว่าเดิมมาก วิทยาการ
ทำให้เราทราบสถานการณ์ และ
สามารถต่อสู้กับมันได้
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 อันเป็นยุคที่
มนุษย์เริ่มก้าวสู่ยุคสมัยใหม่ ได้เกิดการ
ระบาดของไข้หวัดชนิดหนึ่ง เรียกกันว่า
"ไข้หวัดสเปน" ไปทั่วโลก
ไข้หวัดชนิดนี้แท้จริงเป็นไข้หวัดใหญ่
สายพันธุ์หนึ่ง หากแต่อาจเกิดกลาย
พันธุ์ อานุภาพการระบาดจึงเพิ่มจากตัว
ดั้งเดิมมาก บวกกับปัจจัยด้านสังคม
ขณะนั้น ที่เต็มไปด้วยสงครามและความ
อคอยาก ทำให้เกิดการแพร่ระบาดเป็น
วงกว้างอย่างง่ายดาย จากเมืองสู่เมือง
จากประเทศสู่ประเทศ จากทวีปสู่ทวีป
อย่างไม่หยุดยั้ง
ประมาณการว่า มีผู้ติดเชื้อกว่า 500
ล้านคน คร่าชีวิตผู้คน 30-50 ล้าน ถือ
เป็นการระบาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง
ของประวัติศาสตร์ที่มนุษยชาติพานพบ
มา และคือบทเรียนสำคัญที่นักวิชาการ
รุ่นหลังทำการศึกษา เพื่อรู้เท่าทันให้ได้
ว่า ครั้งต่อไปที่ไวรัสเหล่านี้ระบาด จะ
เกิดอะไรขึ้นกันแน่
ในยุคใกล้เคียงกันนั้น ได้มีการศึกษา
การระบาดของโรคต่าง ๆ รวมถึงไข้หวัด
สเปน โดยมีหลักคิดพื้นฐานดังนี้
สมมติว่าในชุมชนหนึ่ง ผู้คนอยู่กันอย่าง
ผาสุขปกติดี วันหนึ่งมีผู้ป่วยติดเชื้อโรค
ใหม่หลุดเข้าไปในชุมชน เนื่องจากเป็น
โรคใหม่ ผู้คนในชุมชนไม่มีใครเคยเป็น
หรือสัมผัส จึงไม่มีภูมิคุ้มกัน ทุกคนจึง
สามารถติดโรคได้
ณจุดนี้ ผู้คนจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
ได้แก่ กลุ่มคนทั่วไป ชืงสามารถติดโรค
ได้ (S), กลุ่มคนติดเชื้อ ซึ่งเป็นตัวแพร่
กระจาย (), และกลุ่มคนหายดี ซึ่งมี
ภูมิคุ้มกันจึงไม่ติดโรคอีก
หากชุมชนนี้เป็นสังคมปิด (ไม่มีใครผ่าน
เข้าออก) เมื่อการระบาดเริ่มขึ้น กลุ่ม
ทั่วไปก็จะกลายเป็นกลุ่มติดเชื้อ จากนั้น
กลุ่มติดเชื้อหากไม่ตายก็จะกลายเป็นก
ลุ่มหาย เมื่อถึงจุดหนึ่งกลุ่มหายดีมี
จำนวนมาก กลุ่มติดเชื้อมีจำนวนน้อย
การระบาดก็จะไปต่อไม่ได้ บาง โรคอาจ
หยุดลงและหายไป บางโรคจะเข้าสู่
ภาวะสมดุล มีคนติดเชื้อบ้างแต่ไม่
ระบาดใหญ่อีก โดยรวมชุมชนจะกลับสู่
ความสงบ
เรื่องนี้ดูเป็นหลักคิดธรรมดาทั่วไป แต่
นักวิชาการใช้หลักนี้สร้างเป็นสูตร
คณิตศาสตร์ คำนวณหาอำนาจการ
ระบาดของโรคต่าง ๆ ได้ออกมาเป็น
ค่าที่เรียกว่า "RO"
ค RO นี้ อธิบายภาษาชาวบ้านว่า "คน
ติดเชื้อ 1 คน แพร่กระจายโรคให้คนได้
กี่คน" เช่น ไข้หวัดสเปนที่กล่าวถึงไป
ตอนต้น มีค่า RO = 2-3 นั่นคือคนติด
เชื้อ 1 คนกระจายให้คนได้ 2-3 คน
ซึ่งฟังดูน้อย แต่ความจริงแล้วค่า RO ไม
ได้หมายความตรงไปตรงมาเช่นนั้น
เพราะค่า RO คำนวณจากโมเดลของ
"ชุมชนปิด" ไม่มีคนติดเชื้อคนใหม่หลุด
เข้าไป ไม่มีคนทั่วไปที่อาจติดโรคได้เข้า
ชุมชนไปเพิ่ม ซึ่งแตกต่างจากโลกแห่ง
ความจริง
ปี 1918-1919 ไข้หวัดสเปนเริ่มระบาด
ขณะนั้นเป็นช่วงสงคราม ทหารที่ป่วย
หนักถูกส่งกลับแนวหลัง ไปอยู่ร่วมกับผู้
บาดเจ็บทุพพลภาพ ที่ป่วยน้อยถูกส่งไป
แนวหน้า เดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ
โดยรวมจึงเกิดการโยกย้ายประชากร
จำนวนมาก นำไปสู่การระบาดที่รุนแรง
เกินคาดเดาได้
ค่า RO ของไข้หวัดสเปนที่ดูเหมือนไม่
มาก (คือเพียง 2-3 เท่านั้น) เมื่ออยู่ใน
สภาพดังกล่าว กลับแพร่ระบาดไปไกล
ถึง 500 ล้านคนเลยทีเดียว
ในขณะที่ค่า RO ของ COVID-19 อยู่ที่
3.5 มากยิ่งกว่าไข้หวัดสเปน
แต่มนุษย์ไม่เคยยอมแพ้..
หลังได้บทเรียนจากไข้หวัดสเปน ระบาด
วิทยาก็ค่อย ๆ ก้าวหน้า หวังใจว่าเมื่อ
โรคร้ายกลับมา ครั้งนี้เราจะไม่แพ้มันอีก
สงครามไวรัสเริ่มอีกครั้งในปี 2009
เมื่อเกิดการระบาดของ "ไข้หวัดหมู"
หรือ Swine flu H1N1 2009 ครั้งนี้
มนุษย์พร้อมที่จะต่อสู้มากขึ้นแล้ว
เมื่อมองกลับมาที่หลักคิดพื้นฐานของ
การระบาด การระบาดเริ่มขึ้นเมื่อกลุ่ม
คนทั่วไป (S) กลายเป็นกลุ่มติดเชื้อ (I)
และจะหยุด(ควบคุมได้) เมื่อกลุ่มติดเชื้อ
(I)กลายเป็นกลุ่มหาย (R)
นั่นจึงหมายความว่า หากเรายับยั้งหรือ
ชะลอการเปลี่ยนจาก S เป็น I และเร่งรัด
ให้ I เปลี่ยนเป็น R ได้ดังใจ เมื่อนั้นการ
ระบาดจะอยู่ในมือเราทันที
หลักคิดนี้นำไปสู่วิธีการต่าง ๆ
ทั้งการกักกันผู้ต้องสงสัยติดโรค มิให้
เข้าสู่ชุมชนเพื่อแพร่เชื้อได้ หรือการ
คิดค้นวัดนป้องกัน ทั้งหมดก็เพื่อยับยั้ง
มิให้ S เปลี่ยนเป็น I
ถัดมามนุษย์ก็พยายามคิดค้นยาใหม่ ๆ
เพื่อเร่งรัดให้กลุ่มติดเชื้อหยุดแพร่
กระจาย ให้หายและกลายเป็นกลุ่มมีภูมี
ซึ่งก็คือเร่งให้ I เปลี่ยนเป็น R นั่นเอง
ในการแพร่ระบาดปี 2009 แต่ละ
ประเทศริเริ่มการกักกันอย่างจริงจัง จึง
พอจะประวิงเวลาระบาดออกไปได้
ระหว่างนั้นก็เสาะหายาฆ่าไวรัส ที่ม
ประสิทธิภาพพอจะเร่งให้คนติดเชื้อหาย
ไปพร้อม ๆ กับการคิดค้นวัดชีนออกมา
ที่สุดยา Oseltamivir ก็ถูกนำมาใช้ แ
ไม่ใช่ทุกคนที่กินปุบจะหายปั้บทันใจ แต่
ก็ช่วยร่นเวลา เร่งให้กลุ่มติดเชื้อกลาย
เป็นกลุ่มหาย เพิ่มจำนวนผู้มีภูมิให้มาก
ขึ้นอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี เมื่องานวิจัยออกมา ยา
Oseltamivir ก็เริ่มถูกประเทศที่ร่ำรวย
กว่ากักตุนจนขาดตลาด ขณะประเทศที่
ยากจน ซึ่งมีปัญหาสาธารณสุขมาก
จนถึงระดับที่ไม่อาจควบคุมการระบาด
ได้ ก็ยิ่งพบกับหายนะมากกว่าเดิม
ที่สุดวัดชีนไข้หวัดหมูก็ถูกผลิตออกมา
จนได้ แม้เกิดปัญหาผลิตได้ช้ากว่าที่
คาดไว้ แต่ไม่สายเกินไป การระบาดถูก
ควบคุมได้ในที่สุด
แม้ประมาณการว่า อาจมีผู้ติดเชื้อมาก
ถึง 1,400 ล้านคน ขณะที่จำนวนผู้ตาย
อาจมากถึงครึ่งล้านก็ตามที (ตัวเลขไม่
แน่นอน เพราะปัจจุบันหลายประเทศยัง
ไม่อาจยืนยันจำนวนผู้เสียชีวิตได้)
โชคดีที่เรายังไม่สูญพันธุ์ไป
จากนั้นเป็นต้นมา Swine Flu ก็ถูก
ควบคุม แม้ยังคงมีการระบาดของไข้
หวัดในวงศ์วานมันอีกหลายครั้ง แต่
เป็นการระบาดที่เข้าสู่สมดุล และกลาย
ร่างเป็นโรคประจำฤดูกาลเช่นหวัด
ธรรมดาทั่วไปในที่สุด
นี่คือชัยชนะที่นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ
ตัดกลับมาที่ปัจจุบัน COVID-19
สถานการณ์ขณะนี้ เราได้เรียนรู้อะไร
บ้าง
ช่วงแรกเราใช้โมเดลเดียวกันกับตอน
รับ Swine Flu กักกันผู้มาจากแหล่ง
ระบาด แยกผู้ติดเชื้อออกจากชุมชน เร่ง
รักษาให้หายขาด เพิ่มผู้ป่วยที่มี
ภูมิคุ้มกันกลับสู่สังคม ประวิงเวลาการ
ระบาดใหญ่ ขณะพยายามทดลองใช้ยา
สูตรต่าง ๆ พร้อมกับคิดค้นวัดชีนไป
พร้อมกัน
ทว่ากลับเกิดเรื่องไม่คาดฝัน
มาตรการกักกัน 14 วัน กำหนดขึ้นด้วย
หลักฐานเท่าที่มีในช่วงต้น ถึงระยะ
ฟักตัวโดยประมาณ ทว่าเมื่อเวลาผ่าน
ไป เรากลับพบบางเคสที่มีระยะฟักตัว
นานกว่านั้น นั่นหมายความว่าผู้ต้อง
สงสัยที่ถูกกักตัว 14 วันแล้วปล่อยกลับ
แท้จริงยังมีโอกาสเป็นผู้ติดเชื้อและแพร่
เชื้อนั่นเอง
ไม่เพียงเท่านั้น ความพยายามที่จะแยก
ผู้ติดเชื้อออกจากชุมชนกลับยากขึ้น ใน
สภาพสังคมที่ชับซ้อน และการคมนาคม
ที่สะดวกรวดเร็วเช่นปัจจุบัน เป็นการ
ยากมากที่จะกีดกันมิให้ประชาชนเดิน
ทาง ชายแคนบก-น้ำ กลับมีการเดินทาง
เข้าออก ที่บางครั้งถึงขั้นไร้การควบคุม
เหล่านั้นกลับส่งเสริมให้การแพร่ระบาด
ควบคุมได้ยากและกระจายเร็วยิ่งขึ้น
แต่เรื่องที่น่ากลัวที่สุดกลับเป็นอีกเรื่อง
หลังเกิดการระบาด นักวิชาการเชื่อว่า
หากมีผู้ป่วยหายขาด มีภูมิคุ้มกันกลับสู่
สังคมมากถึงจุดหนึ่ง การระบาดก็จะจบ
ลง ทว่า COVID-19 กลับส่อลักษณะบาง
อย่างที่เป็นปัญหา
รัฐบาลจีนพบว่า มีผู้ป่วยที่หายดีแล้ว
ส่วนหนึ่ง กลับติดเชื้อซ้ำอีก นั่นมิใช่
เพียงเรื่องบังเอิญ แต่บ่งถึงความ
สามารถในการสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับ
ร่างกายเราแล้วนั้น อาจสร้างภูมิคุ้มกัน
ต่อ COVID-19 ได้เชื่องช้ากว่าโรคอื่นที่
พวกเราเคยเจอมา
หมายความว่า หลักพื้นฐานที่สุดในการ
ระบาด อาจไม่สามารถใช้กับโรคอย่าง
ตรงไปตรงมาได้อีก
อย่างไรก็ดี "การระบาดกับการตาย"
กลับเป็นคนละเรื่องกัน
COVID-19 แม้อานุภาพสูงด้านการ
ระบาด แต่อัตราตายของโรคกลับต่ำ
และมีลักษณะตรงไปตรงมา โดยมัก
รุนแรงจนเสียชีวิตเฉพาะในกลุ่มที่แก่
ชรา มีโรคร่วม หรือมีปัญหาภูมิคุ้มกัน
กล่าวอย่างง่ายว่า หากคุณเป็นคนแข็ง
แรงนั้น แม้ติดโรคมา แต่ก็มักหายดีและ
ใช้ชีวิตได้เช่นเดิม
สำหรับยารักษา แท้จริงแล้วแม้ไม่ได้ยา
คนส่วนมากก็หายได้เอง เพราะฉะนั้น
ความสำคัญของยาจึงอยู่ที่ว่า มันลด
เวลาป่วยได้รวดเร็วเพียงใด เพราะยิ่ง
เร็วเท่าไหร่ โอกาสที่เราจะแพร่กระจายก็
ลดลง โอกาสการรอดชีวิตของทั้งสังคม
โดยรวมก็มากขึ้น
แต่ขณะนี้ยาที่อาจมีฤทธิ์ฆ่า COVID-19
ยังได้ผลไม่เป็นที่พอใจนัก จึงไม่อาจพูด
ได้เต็มปากว่าประสบความสำเร็จ หรือ
วางใจได้
มองย้อนกลับมายังสถานการณ์ปัจจุบัน
แม้ขณะนี้อัตราตายจะต่ำ แต่นี่คือชั่ว
ขณะที่การระบาดเพิ่งเริ่มขึ้น หากการ
ระบาดมากไปถึงจุดหนึ่ง ที่ประชากรที่
ติดโรคมากกว่าทรัพยากรการแพทย์จะ
รองรับไหว เมื่อนั้นการตายย่อมมากขึ้น
เป็นเงาตามตัว
ยุทธศาสตร์ที่หลาย ๆ ประเทศรวมถึงจีน
ทำขณะนี้ นอกจากชะลอการระบาดแล้ว
ยังมุ่งเน้นเสริมสร้างทรัพยากร เพื่อรอที่
วันหนึ่งเมื่อการระบาดลุกลาม เราจะยัง
สามารถช่วยเหลือประชาชนของเราให้
รอดชีวิตได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
และสำหรับตัวเรา สิ่งที่เราทำได้
คือลดการเคลื่อนย้ายประชากร รักษา
สุขภาพ และชื่อสัตย์กับการให้ประวัติ
อย่าปล่อยให้ความมักง่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ
ของเรานั้น เป็นเหตุให้สังคมประเทศ
ชาติเกิดความเสียหาย
ทำสิ่งที่เราพอทำได้ เพื่อหยุดการระบาด
ให้เร็วที่สุด ดังที่มนุษยชาติเคยทำได้
และร่วมกันผ่านมาอย่างเข้มแข็งนั่นเอง
อ้างอิง
Coburn BJ, Wagner BG, Blower S.
Modeling influenza epidemics and
pandemics: insights into the future
of swine flu (H1N1). BMC medicine.
2009 Dec;7(1):30.