Portrait of a Lady on Fire (Céline Sciamma)
9.5/10
...
"หนังสวยงามราวกับภาพวาดชั้นดี ...เนื้อหาลึก ดื่มด่ำ อิ่มเอมและกินใจมาก"
...
เคยไหม ตอนที่เราได้ดูภาพวาด Portrait ของคนๆ หนึ่ง ...ถ้ามองแบบผิวเผิน ก็ดูเป็นภาพวาดปกติธรรมดาที่อาจดูสวยงามดี ทั้งในแง่ของการวด การใช้สีสันในภาพ การวาดที่ดูเหมือนคนต้นแบบจริงๆ ....แต่ถ้าลองนึก ลองจินตนาการ ลองมองไปให้ลึกๆ ในภาพวาดนั้น ...อาจจะมีความหมายอะไรบางอย่างซ่อนอยู่ ...ภาพวาดนั้นอาจจะซ่อนความรู้สึก ซ่อนความทรงจำอะไรบางอย่างทั้งของจิตรกรผู้วาด และ ตัวแบบของการวาด ...ภาพวาด Portrait ที่ดูธรรมดา แต่อาจมีคุณค่า มีความหมาย มีความทรงจำดีๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง ทั้งต่อตัวจิตรกร และ ตัวแบบที่วาด
...
Portrait of a Lady on Fire คือหนังที่ให้นิยามคำว่าภาพวาด Portrait ที่ไม่ใช่เพียงแค่เป็นภาพวาด แต่ภาพนั้นได้ซ่อนความทรงจำบางอย่าง ซ่อนความสุข ความรัก ความเศร้า ความเจ็บปวด ผ่านตัวละครสำคัญคือ มารียาน (โนมี เมอร์ลัง ที่ดูผิวเผินหน้าเธอคล้าย คริสเท็น สจ๊วต หรือบางมุมกลับละม้ายคล้ายเอ็มมา วัตสัน) จิตรกรสาวที่ได้รับการว่าจ้างและเดินทางข้ามน้ำ ข้ามทะเลมาที่คฤหาสน์บนเกาะแห่งหนึ่งเพื่อวาดภาพของเอลูอิส (อเดล เอเนล) ลูกสาวคนเล็กของบ้าน เพื่อส่งภาพวาดนั้นแทนการนัดดูตัวที่มิลาน หากฝ่ายชายพึงใจในภาพวาดเหมือน Portrait นั้น เธอจะได้แต่งงานเข้าตระกูลใหญ่ ซึ่งตัวเอลูอิสเอง ไม่ต้องการแต่งงาน เธอจึงไม่ให้ความร่วมมือกับจิตรกรคนก่อนหน้าที่มาวาดภาพให้
...
แม่ของเอลูอีส จึงออกอุบายหลอกลูกสาวว่า มารียาน คือคนที่จ้างมาเดินเล่น มาอยู่เป็นเพื่อน เพื่อให้ตัวมารียาได้จดจำใบหน้า ท่าทางของเอลูอิส แล้วนำมาวาดภาพให้เหมือน แทนการใช้เธอเป็นแบบวาด ...จากบทบาทของจิตรกรที่ผันตัวมาเป็นเพื่อนคุย เพื่อนเดินเล่น คือจุดเริ่มต้นการก่อตัวของความสัมพันธ์ที่ค่อยๆ พัฒนา จากความเป็นเพื่อน จนก่อตัวขึ้นมาเป็นความรักที่บริสุทธิ์ รักแท้ที่งดงามราวกับภาพวาดที่เลอค่า สวยงาม ภาพวาดที่เมื่อวาดเสร็จสิ้นลง ก็ต้องส่งมอบให้กับคนอื่น เหมือนกับตัวเอลูอิส ก็ต้องยกให้เป็นของคนอื่น เหลือไว้แค่ความเจ็บปวด ความทรงจำที่ดีที่งดงาม ที่ซ่อนไว้อยู่ในภาพวาดนั้น
...
เซลีน เซียมมา ผู้กำกับหญิงเคยพาเราไปสัมผัสกับชีวิตของสาวน้อยทอมบอยในหนังเล็กๆ อย่าง Tomboy ก่อนจะมากรีดหัวใจคนดูอีกครั้งในหนังย้อนยุคเรื่องนี้ ที่เธอพาไปคว้ารางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งล่าสุดได้สำเร็จ ....หนังค่อยๆ พาคนดูค่อยๆ เข้าไปสัมผัส ไปดื่มด่ำกับความสัมพันธ์นี้ของทั้งมารียาน และ เอลูอิส อย่างช้าๆ ค่อยๆ ซึมซับในสถานะความสัมพันธ์นั้น ราวกับจิตรกร ที่ค่อยๆ บรรจงวาดภาพหนึ่งภาพ ที่ต้องใช้อารมณ์ ความสุนทรีย์ ช่วงเวลา ทั้งการบรรจงลงลายเส้น ลากดินสอ ค่อยๆ ร่างโครงรูปที่จะวาด ก่อนจะบรรจงลงสีสัน จนเสร็จเป็นภาพวาดที่สมบูรณ์ เช่นเดียวกับหนังเรื่องนี้
....
เซียมมา ถ่ายทอดภาพแต่ละภาพในหนัง ค่อยๆ ร้อยเรียงภาพต่างๆ ร้อยเรียงความสัมพันธ์ของตัวละคร ได้อย่างวิจิตร บรรจง ราวกับเธอคือจิตรกรที่สร้างสรรค์ภาพวาดอันทรงคุณค่า ...แน่นอนว่าภาพหนังเรื่องนี้ อาจจะไม่โดนใจคนที่ชอบเสพอะไรที่หวือหวา รวดเร็ว ทันอกทันใจ เพราะเซียมมา ค่อยๆ เล่า ค่อยๆ พาคนดู สร้างความสัมพันธ์ไปพร้อมๆ กับตัวละครในหนัง กว่าจะรู้ตัว เราได้ติดกับดักในความสัมพันธ์นั้น ได้ดื่ม่ดำในความรักของคนทั้งคู่ โดยมองข้ามเรื่องเพศสภาพนั้นไปได้ ...คนดูอย่างผมไม่ได้มองความรักในเรื่องเป็นเรื่องผิดแผกแปลกไปแต่อย่างใด แต่กลับมองเห็นแง่มุมที่งดงาม บริสุทธิ์ ในความรักของมารียาน และ เอลูอีส ที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นอย่างช้า พอรู้ตัวอีกที เราก็ตกหลุมรักในตัวละคร เอาใจช่วยตัวละคร เรามีความสุขที่เห็นตัวละครสองคนส่งยิ้มให้กัน มองตากัน สัมผัสกัน ก่อนจะรู้ว่ามันจะจบลงเช่นไร คนดูอย่างผมกลับร้องไห้ได้อย่างสนิทใจ แล้วนั่งนิ่งๆ ดูเครดิตพร้อมกับปาดน้ำตาด้วยความสุข ความทรงจำดีๆ ที่มีต่อตัวหนัง ...บอกตรงๆ หนังจบ คนดูอย่างผมไม่จบ หนังมันวนเวียน ครุกรุ่นในความรู้สึกตลอด (แม้แต่ตอนที่เขียนถึง) หนังมันมีพลังบางอย่างทำงานกับความรู้สึกของเราได้ดีมาก
....
อาจเป็นเพราะนี่เป็นหนังผู้หญิง ถ่ายทอดความเป็นผู้หญิง โดยผู้กำกับผู้หญิง (เซลีน เซียมมา) ตากล้องก็เป็นผู้หญิง (แคลร์ แมธง) มันเลยทำให้เราเข้าใจในความเป็นผู้หญิง เข้าใจในความรู้สึกของผู้หญิง ทุกซีน ทุกฉากด้วยสวยงาม หมดจด แม้แต่ซีนความสัมพันธ์ก็ดูงดงาม (ซึ่งมันต่างจากผู้กำกับชายที่ทำหนังหญิงรักหญิงนะ) ...หนังมันเลยพิเศษมากๆ ในความรู้สึกของผมที่ได้ดู ...เราเข้าใจในความเป็นผู้หญิง เข้าใจในรักของคนทั้งคู่ ...ภาพในหนังทุกภาพมันถ่ายทอดความเป็นผู้หญิงทั้งโครงสร้าง รูปร่าง มุมมอง หน้าตา ความรู้สึก ได้อย่างงดงาม หมดจด ราวกับว่าคนดูอย่างเราได้ดูภาพวาดในงานศิลปะชั้นดี ที่ถ่ายทอดผ่านจิตรกรสตรีที่เข้าใจผู้หญิง เข้าใจโลก เข้าใจมนุษย์อย่างถ่องแท้
....
ในหนังมีการซ่อนอีกหนึ่งนัยยะ ถึงตำนานเทพปกีรณัมกรีก อย่าง ออร์ฟีลัส และ ยูรีดีส ผ่านการอ่านวรรณกรรม ผ่านภาพวาดในหนัง (ตามตำนาน ออร์ฟีลัสและยูไรดีส คือเรื่องราวความรักที่พลักพรากจากกันด้วยความตายของยูไรดีสที่ถูกงูกัดตาย ก่อนที่ออร์ฟีลัส คนเล่นพิณที่เก่งกาจจนเทพสยบ จะดั้นด้นไปของให้เธอฟื้นจากความตายจากเทพเฮเดสในปรโลก จนเทพเฮเดส ใจอ่อนยอมให้เพราะหลงใหลในเสียงพิณของออร์ฟีลัส แต่มีเงื่อนไขคือ ระหว่างทางที่ขึ้นไปจากปรโลกออร์ฟีลัสต้องห้ามเหลียวหลังกลับไปมองยูไรดีสคนรัก จนกว่าจะถึงพื้นโลก ....สุดท้าย ออร์ฟีลัสก็หันกลับมองนาง เพียงแค่ไม่กี่ก้าวก็จะจะถึงทางออก แล้วทำให้ร่างของนางสลายไป) ...ความสัมพันธ์ของมารียานและเอลูอิส ก็ไม่ต่างจากตำนานในนิยายกรีกเรื่องนี้ แล้วก็มีนัยยะที่ซ่อนประเด็นนี้ในหนังตามการตีความของแต่ละคน
....
Portrait of a Lady on Fire คือหนังเล็กๆ ที่อิ่มเอม งดงาม อยากขอบคุณค่าย HAL ที่นำเข้าหนังดีๆ เรื่องนี้มาให้คนไทยได้ดูกัน (จริงๆ ค่าย HAL เอาหนังดีเข้ามาฉายตลอดนะ) แม้โรงจะน้อย รอบจะหายากมาก (ผมเองต้องถ่อไปดูในเมือง...แต่ก็โคตรคุ้มค่า คุ้มเวลาที่เสียไปมากๆ) แต่อยากให้หลายคนได้ดูกันจริงๆ นะ ...นี่คือหนังที่น่าจะติดหนังดีในตอนปลายปีของผมแน่ๆ ...บอกตรงๆ ในตอนนี้ ผมยังสลัดภาพความรู้สึกจากหนังเรื่องนี้ยังไม่ออกจริงๆ ครับ
Facebook :
https://www.facebook.com/eattravelmoviecritic
[CR] รีวิว : "Portrait of a Lady on Fire" ....หนังดีมาก สวยงาม ราวกับภาพวาดงานศิลปะชั้นดี
9.5/10
...
"หนังสวยงามราวกับภาพวาดชั้นดี ...เนื้อหาลึก ดื่มด่ำ อิ่มเอมและกินใจมาก"
...
เคยไหม ตอนที่เราได้ดูภาพวาด Portrait ของคนๆ หนึ่ง ...ถ้ามองแบบผิวเผิน ก็ดูเป็นภาพวาดปกติธรรมดาที่อาจดูสวยงามดี ทั้งในแง่ของการวด การใช้สีสันในภาพ การวาดที่ดูเหมือนคนต้นแบบจริงๆ ....แต่ถ้าลองนึก ลองจินตนาการ ลองมองไปให้ลึกๆ ในภาพวาดนั้น ...อาจจะมีความหมายอะไรบางอย่างซ่อนอยู่ ...ภาพวาดนั้นอาจจะซ่อนความรู้สึก ซ่อนความทรงจำอะไรบางอย่างทั้งของจิตรกรผู้วาด และ ตัวแบบของการวาด ...ภาพวาด Portrait ที่ดูธรรมดา แต่อาจมีคุณค่า มีความหมาย มีความทรงจำดีๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง ทั้งต่อตัวจิตรกร และ ตัวแบบที่วาด
...
Portrait of a Lady on Fire คือหนังที่ให้นิยามคำว่าภาพวาด Portrait ที่ไม่ใช่เพียงแค่เป็นภาพวาด แต่ภาพนั้นได้ซ่อนความทรงจำบางอย่าง ซ่อนความสุข ความรัก ความเศร้า ความเจ็บปวด ผ่านตัวละครสำคัญคือ มารียาน (โนมี เมอร์ลัง ที่ดูผิวเผินหน้าเธอคล้าย คริสเท็น สจ๊วต หรือบางมุมกลับละม้ายคล้ายเอ็มมา วัตสัน) จิตรกรสาวที่ได้รับการว่าจ้างและเดินทางข้ามน้ำ ข้ามทะเลมาที่คฤหาสน์บนเกาะแห่งหนึ่งเพื่อวาดภาพของเอลูอิส (อเดล เอเนล) ลูกสาวคนเล็กของบ้าน เพื่อส่งภาพวาดนั้นแทนการนัดดูตัวที่มิลาน หากฝ่ายชายพึงใจในภาพวาดเหมือน Portrait นั้น เธอจะได้แต่งงานเข้าตระกูลใหญ่ ซึ่งตัวเอลูอิสเอง ไม่ต้องการแต่งงาน เธอจึงไม่ให้ความร่วมมือกับจิตรกรคนก่อนหน้าที่มาวาดภาพให้
...
แม่ของเอลูอีส จึงออกอุบายหลอกลูกสาวว่า มารียาน คือคนที่จ้างมาเดินเล่น มาอยู่เป็นเพื่อน เพื่อให้ตัวมารียาได้จดจำใบหน้า ท่าทางของเอลูอิส แล้วนำมาวาดภาพให้เหมือน แทนการใช้เธอเป็นแบบวาด ...จากบทบาทของจิตรกรที่ผันตัวมาเป็นเพื่อนคุย เพื่อนเดินเล่น คือจุดเริ่มต้นการก่อตัวของความสัมพันธ์ที่ค่อยๆ พัฒนา จากความเป็นเพื่อน จนก่อตัวขึ้นมาเป็นความรักที่บริสุทธิ์ รักแท้ที่งดงามราวกับภาพวาดที่เลอค่า สวยงาม ภาพวาดที่เมื่อวาดเสร็จสิ้นลง ก็ต้องส่งมอบให้กับคนอื่น เหมือนกับตัวเอลูอิส ก็ต้องยกให้เป็นของคนอื่น เหลือไว้แค่ความเจ็บปวด ความทรงจำที่ดีที่งดงาม ที่ซ่อนไว้อยู่ในภาพวาดนั้น
...
เซลีน เซียมมา ผู้กำกับหญิงเคยพาเราไปสัมผัสกับชีวิตของสาวน้อยทอมบอยในหนังเล็กๆ อย่าง Tomboy ก่อนจะมากรีดหัวใจคนดูอีกครั้งในหนังย้อนยุคเรื่องนี้ ที่เธอพาไปคว้ารางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งล่าสุดได้สำเร็จ ....หนังค่อยๆ พาคนดูค่อยๆ เข้าไปสัมผัส ไปดื่มด่ำกับความสัมพันธ์นี้ของทั้งมารียาน และ เอลูอิส อย่างช้าๆ ค่อยๆ ซึมซับในสถานะความสัมพันธ์นั้น ราวกับจิตรกร ที่ค่อยๆ บรรจงวาดภาพหนึ่งภาพ ที่ต้องใช้อารมณ์ ความสุนทรีย์ ช่วงเวลา ทั้งการบรรจงลงลายเส้น ลากดินสอ ค่อยๆ ร่างโครงรูปที่จะวาด ก่อนจะบรรจงลงสีสัน จนเสร็จเป็นภาพวาดที่สมบูรณ์ เช่นเดียวกับหนังเรื่องนี้
....
เซียมมา ถ่ายทอดภาพแต่ละภาพในหนัง ค่อยๆ ร้อยเรียงภาพต่างๆ ร้อยเรียงความสัมพันธ์ของตัวละคร ได้อย่างวิจิตร บรรจง ราวกับเธอคือจิตรกรที่สร้างสรรค์ภาพวาดอันทรงคุณค่า ...แน่นอนว่าภาพหนังเรื่องนี้ อาจจะไม่โดนใจคนที่ชอบเสพอะไรที่หวือหวา รวดเร็ว ทันอกทันใจ เพราะเซียมมา ค่อยๆ เล่า ค่อยๆ พาคนดู สร้างความสัมพันธ์ไปพร้อมๆ กับตัวละครในหนัง กว่าจะรู้ตัว เราได้ติดกับดักในความสัมพันธ์นั้น ได้ดื่ม่ดำในความรักของคนทั้งคู่ โดยมองข้ามเรื่องเพศสภาพนั้นไปได้ ...คนดูอย่างผมไม่ได้มองความรักในเรื่องเป็นเรื่องผิดแผกแปลกไปแต่อย่างใด แต่กลับมองเห็นแง่มุมที่งดงาม บริสุทธิ์ ในความรักของมารียาน และ เอลูอีส ที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นอย่างช้า พอรู้ตัวอีกที เราก็ตกหลุมรักในตัวละคร เอาใจช่วยตัวละคร เรามีความสุขที่เห็นตัวละครสองคนส่งยิ้มให้กัน มองตากัน สัมผัสกัน ก่อนจะรู้ว่ามันจะจบลงเช่นไร คนดูอย่างผมกลับร้องไห้ได้อย่างสนิทใจ แล้วนั่งนิ่งๆ ดูเครดิตพร้อมกับปาดน้ำตาด้วยความสุข ความทรงจำดีๆ ที่มีต่อตัวหนัง ...บอกตรงๆ หนังจบ คนดูอย่างผมไม่จบ หนังมันวนเวียน ครุกรุ่นในความรู้สึกตลอด (แม้แต่ตอนที่เขียนถึง) หนังมันมีพลังบางอย่างทำงานกับความรู้สึกของเราได้ดีมาก
....
อาจเป็นเพราะนี่เป็นหนังผู้หญิง ถ่ายทอดความเป็นผู้หญิง โดยผู้กำกับผู้หญิง (เซลีน เซียมมา) ตากล้องก็เป็นผู้หญิง (แคลร์ แมธง) มันเลยทำให้เราเข้าใจในความเป็นผู้หญิง เข้าใจในความรู้สึกของผู้หญิง ทุกซีน ทุกฉากด้วยสวยงาม หมดจด แม้แต่ซีนความสัมพันธ์ก็ดูงดงาม (ซึ่งมันต่างจากผู้กำกับชายที่ทำหนังหญิงรักหญิงนะ) ...หนังมันเลยพิเศษมากๆ ในความรู้สึกของผมที่ได้ดู ...เราเข้าใจในความเป็นผู้หญิง เข้าใจในรักของคนทั้งคู่ ...ภาพในหนังทุกภาพมันถ่ายทอดความเป็นผู้หญิงทั้งโครงสร้าง รูปร่าง มุมมอง หน้าตา ความรู้สึก ได้อย่างงดงาม หมดจด ราวกับว่าคนดูอย่างเราได้ดูภาพวาดในงานศิลปะชั้นดี ที่ถ่ายทอดผ่านจิตรกรสตรีที่เข้าใจผู้หญิง เข้าใจโลก เข้าใจมนุษย์อย่างถ่องแท้
....
ในหนังมีการซ่อนอีกหนึ่งนัยยะ ถึงตำนานเทพปกีรณัมกรีก อย่าง ออร์ฟีลัส และ ยูรีดีส ผ่านการอ่านวรรณกรรม ผ่านภาพวาดในหนัง (ตามตำนาน ออร์ฟีลัสและยูไรดีส คือเรื่องราวความรักที่พลักพรากจากกันด้วยความตายของยูไรดีสที่ถูกงูกัดตาย ก่อนที่ออร์ฟีลัส คนเล่นพิณที่เก่งกาจจนเทพสยบ จะดั้นด้นไปของให้เธอฟื้นจากความตายจากเทพเฮเดสในปรโลก จนเทพเฮเดส ใจอ่อนยอมให้เพราะหลงใหลในเสียงพิณของออร์ฟีลัส แต่มีเงื่อนไขคือ ระหว่างทางที่ขึ้นไปจากปรโลกออร์ฟีลัสต้องห้ามเหลียวหลังกลับไปมองยูไรดีสคนรัก จนกว่าจะถึงพื้นโลก ....สุดท้าย ออร์ฟีลัสก็หันกลับมองนาง เพียงแค่ไม่กี่ก้าวก็จะจะถึงทางออก แล้วทำให้ร่างของนางสลายไป) ...ความสัมพันธ์ของมารียานและเอลูอิส ก็ไม่ต่างจากตำนานในนิยายกรีกเรื่องนี้ แล้วก็มีนัยยะที่ซ่อนประเด็นนี้ในหนังตามการตีความของแต่ละคน
....
Portrait of a Lady on Fire คือหนังเล็กๆ ที่อิ่มเอม งดงาม อยากขอบคุณค่าย HAL ที่นำเข้าหนังดีๆ เรื่องนี้มาให้คนไทยได้ดูกัน (จริงๆ ค่าย HAL เอาหนังดีเข้ามาฉายตลอดนะ) แม้โรงจะน้อย รอบจะหายากมาก (ผมเองต้องถ่อไปดูในเมือง...แต่ก็โคตรคุ้มค่า คุ้มเวลาที่เสียไปมากๆ) แต่อยากให้หลายคนได้ดูกันจริงๆ นะ ...นี่คือหนังที่น่าจะติดหนังดีในตอนปลายปีของผมแน่ๆ ...บอกตรงๆ ในตอนนี้ ผมยังสลัดภาพความรู้สึกจากหนังเรื่องนี้ยังไม่ออกจริงๆ ครับ
Facebook : https://www.facebook.com/eattravelmoviecritic
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้