ต้นไม้ประดิษฐ์ที่ผลิตกระแสไฟฟ้า

 "The Wind Tree" ต้นไม้กังหันลมที่ช่วยผลิตไฟฟ้าให้กับเมือง



บริษัทสตาร์ทอัพของชาวฝรั่งเศส New World Wind ได้คิดค้นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานลมมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในเมืองได้ โดยอุปกรณ์นี้มีรูปร่างเหมือนโครงการเหล็กที่เป็นรูปทรงต้นไม้ในชื่อ "The Wind Tree" หรือ “ต้นไม้กังหันลม”  โดยแต่ละกิ่งของต้นไม้จะมีกังหันลมแนวตั้งขนาดเล็กที่เรียกว่า "Aeroleaf" ที่จะเป็นตัวรับลมและผลิตไฟฟ้าเพื่อไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่และนำเข้าระบบไฟฟ้าต่อไป   Wind Tree ต้นหนึ่งผลิตไฟฟ้าได้ 3.1 kW 

Jérôme Michaud-Larivière ตำแหน่ง CEO และ cofounder ของ New World Wind คิดค้นสิ่งนี้ได้หลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะที่เกิดขึ้นในปี 2011 จากวิกฤตปัญหาดังกล่าว นาย Jérôme Michaud-Larivière เลยอยากจะคิดค้นการสร้างพลังงานทางเลือกที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานที่อาจจะเกิดขึ้น โดยไอเดียการคิดค้นกังหันลมจึงเกิดขึ้นจากการที่เขาไปนั่งในสวน Luxembourg Garden และได้สังเกตเห็นใบไม้บนต้นไม้กำลังสั่นไหวอยู่ แล้วจึงทดลองนำไปออกแบบเป็น The Wind Tree ขึ้นมานั่นเอง

The Wind Tree เป็นโครงเหล็กที่สูง 9.8 เมตร และกว้าง 7.0 เมตร ส่วน Aeroleaf มีความสูง 3 ฟุต แต่ละต้นสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 5,400 วัตต์ หรือ 163 วัตต์ต่อ 1 Aeroleaf ซึ่งมีทั้งหมด 36 อัน
โดย Aeroleaf ถูกออกแบบมาให้ใช้ได้แม้จะมีแรงลมเบา และมีตัวควบคุมที่สามารถหยุดการทำงานเมื่อแรงลมมีความเร็วมากกว่า 18  เมตร/วินาที (m/s) หรือประมาณ 700 รอบต่อนาที (rpm) และไม่ส่งเสียงดังเวลาทำงาน   



ทำให้สามารถติดตั้งใกล้ชุมชนได้เลยและสามารถผลิตพลังงานสะอาดเพื่อนำไปใช้ได้หลายๆ แบบ เช่น ให้พลังงานไฟฟ้ากับแสงไฟถนน เป็นจุดชาร์จมือถือ รถยนต์ หรือจักรยานไฟฟ้า นอกจากนี้ด้วยรูปทรงของมันเองก็ยังเป็นเหมือนแลนด์มาร์กที่ให้คนมานัดพบและถ่ายรูปได้อีกด้วย

The Wind Tree ถูกทดลองติดตั้งในหลายๆ เมืองในหลายประเทศ ได้แก่ Switzerland, Sweden, Dubai, Tokyo, New Delhi, The Netherlands และ U.S. State of Arizona โดยเริ่มผลิตและขายในสหรัฐอเมริกาในเดือนกุมภาพันธ์ 2019 ที่ผ่านมา  
ที่มาและรูปประกอบ:
http://newworldwind.com
https://www.forbes.com
https://www.youtube.com
Cr.https://www.baania.com/th/article/ต้นไม้กังหันลมที่ช่วยผลิตไฟฟ้าให้กับเมือง-article_4740
Cr.https://www.takieng.com/stories/2182

ต้นไม้ biomimetic ดึงพลังงานจากใบไม้ที่ถูกลมพัด 


(ใบของต้นไม้ biomimetic จำลองหลังใบฝ้ายอาศัยกระบวนการ piezoelectrical เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า) (Christopher Gannon)

ตอนนี้ก็มีพลังงานแบบหนึ่งที่เรายังเอามาใช้กันได้ไม่เต็มที่นั้นก็คือพลังงานลม ซึ่งในที่นี้หมายถึงลมแบบที่พัดแรงขึ้นมาเป็นช่วงสั้นๆ (gust) พอที่จะทำให้ต้นไม้สั่นไหวได้ แต่หมุนใบพัดไม่ได้
.
ลมแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ และ Eric Henderson นักชีวโมเลกุลจาก Iowa State University ก็ได้ไอเดียจากการเห็นลมพัดใบไม้ ทำให้คิดขึ้นมาได้ว่า ถ้าจะเปลี่ยนลมพวกนี้ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ก็น่าจะทำเครื่องปั่นไฟในลักษณะของต้นไม้ประดิษฐ์ขึ้นมา โดยสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารูปต้นไม้ด้วยใบพลาสติกที่มีก้านทำจากโพลีไวนิลดีนฟลูออไรด์ (PVDF) ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง ทิ้งต้นไม้ไว้ข้างนอกในทุกภูมิภาคด้วยลมและเก็บเกี่ยวพลังงานเมื่อใบไม้ปลอมแกว่งไปมา
.
การออกแบบให้ใบไม้เป็นตัวรับแรงจากลมเพื่อหมุนแกนที่จะทำหน้าที่ปั่นไฟอันเป็นกระบวนการแบบที่เรียกว่า piezoelectrics ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันมานานเป็นร้อยปีแล้ว   แต่แม้ว่า ในทางทฤษฎีสิ่งที่ Henderson และคณะร่วมกันคิดขึ้นจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แต่พอจะทำขึ้นมาให้เป็นรูปเป็นร่างมันก็ไม่ง่ายอย่างที่คิดเหมือนกัน
.
ปัญหาก็คือ การปั่นไฟให้ได้พลังงานระดับที่จะใช้ประโยชน์ได้นั้น ต้องอาศัยลมที่มีความถี่สูง และสม่ำเสมอ ซึ่งมันก็ไม่ค่อยจะมีในธรรมชาติ และการที่พลังงานตั้งต้นมักจะสูญเสียไปจากภาวะแวดล้อมอื่นๆ ก็ทำให้พลังงานสุดท้ายที่ได้มาก็มักจะน้อยจนทำประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้
.
แต่ตอนนี้พวกเขาได้พัฒนาวัสดุสังเคราะห์ชนิดใหม่ขึ้นมา โดยเลียนแบบโปรตีนที่พบในหูของมนุษย์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการช่วยขยายเสียง และแม้ตอนนี้พวกเขายังเปิดเผยรายละเอียดของมันมากไม่ได้ แต่ว่ากันว่าเจ้าวัสดุชนิดนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ piezoelectrics ได้เป็นแสนเท่า ซึ่งนั่นก็น่าจะทำให้ทฤษฎีของพวกเขาเห็นเป็นจริงได้ในเร็ววันนี้
ที่มา: http://www.smithsonianmag.com/…/are-artificial-trees-futur…/
Cr.https://www.facebook.com/kxkmutt/posts/1467834526582228/ By  KX - Ecosystem for Innovation Driven

Treepods: การดูดซับ CO2 พลังงานแสงอาทิตย์และแสง


Lenfest Center for Sustainable Energy แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ออกแบบ "ต้นไม้ประดิษฐ์" ที่จะมาทำหน้าที่เป็นเครื่องจักรเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กลายเป็นก๊าซออกซิเจน เหมือนกับที่ต้นไม้จริงๆทำได้ด้วยการสังเคราะห์แสง 

ต้นไม้นี้มีชื่อว่า "Boston Treepod" โครงร่างต้นแบบออกแบบโดย Klaus Lackner แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ร่วมกับ Mario Caceres และ Christian Canonico แห่ง Influx_Studio   มันทำจากพลาสติกรีไซเคิลหรือสามารถรีไซเคิลได้จากขวดน้ำดื่มพลาสติก มีลักษณะคล้ายทั้งต้นไม้และปอดของคน โดยจะมีกิ่งก้านและใบสำหรับกรองอากาศ
รูปร่างของลำต้นเลียนแบบมาจากต้นเลือดมังกร (dragon blood tree) เนื่องจากมีการแตกแขนงและแผ่กระจายให้ร่มเงาได้ดี เหมาะแก่การเพิ่มพื้นที่ในการดูดจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พลังงานที่ใช้ในการเปลี่ยนก๊าซจะได้มาจาก 2 แหล่ง คือ พลังงานแสงอาทิตย์จากแผงสุริยะที่ติดตั้งไว้บนเรือนยอด และ พลังงานจากการเคลื่อนไหวของมนุษย์โดยโคนต้นจะมีเปลญวณกับกระดานไม้หกให้คนมาแกว่งเล่นได้ (เหมาะกับการตั้งไว้ในสวนสาธารณะใจกลางเมืองที่มีคนพลุกพล่าน)
การออกแบบนี้เป็นผลงานหนึ่งที่ส่งเข้าประกวดในงานของ SHIFTboston มีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมและสนับสนุนผลงานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้คนเมือง
ที่มา - PhysOrg
ขอบคุณภาพจาก http://www.shiftboston.org/competitions/2011_treepods.php
Cr.https://jusci.net/node/1640 / By: terminus
Cr.http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=705218 / โดย ThelastKGB
Cr.https://th.ergonengineering.com/faux-trees-convert-co2-o2-907162

E-Tree ต้นไม้พลังงานแสงอาทิตย์


การใช้พลังงานธรรมชาติก็ถือเป็นหนึ่งทางเลือก ที่นอกจากช่วยประหยัดพลังงานแล้ว ยังเป็นการนำทรัพยากรมาใช้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด เพียงแต่ต้องนำเทคโนโลยีมาผสมผสานเท่านั้นเอง ซึ่ง ณ เวลานี้ก็สามารถพบเห็นได้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานลม, พลังงานนั้า เป็นต้น และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ได้นำพลังงานธรรมชาติ, เทคโนโลยี, ความสะดวกสบายมาผสมผสานกัน จึงเกิดเป็นโครงการที่มีชื่อว่า "E-Tree"

สำหรับโครงการดังเกิดขึ้นโดยบริษัท Sologic จากอิสราเอล ซึ่งเป็นผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานธรรมชาติได้คิดค้นโครงการดังกล่าวมา เพื่อจะตอบสนองความต้องการของผู้คนยุคไอทีในปัจจุบัน โดย E-Tree ถือเป็นสิ่งประดิษฐิ์ที่เป็นประโยชน์อย่างมาก ซึ่งสามารถให้ทั้งความร่มรื่น และการบริการ 

ต้นไม้นี้จะใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาผันแปรเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีแผงโซล่าเซลล์ตรงบริเวณใบ ทำหน้าที่กักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ แล้วส่วนก้านนั้นจะทำหน้าที่ผันแปรมาเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยสามารถนำอุปกรณ์อิเล็กทริกนิกส์ต่างๆ ที่มีพอร์ต USB มาชาร์จแบตฯ ได้เช่นสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต อีกทั้งยังมีจอ LCD อยู่ด้านล่างคอยให้บริการด้านข้อมูลต่างๆ เช่นสถานที่ท่องเที่ยว, เบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นอย่างการให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต Wi-Fi, นํ้าดื่มเย็นๆ ทั้งของคน และสัตว์เลี้ยง อีกทั้งยังให้แสงไฟยามคํ่าคืน โดยที่ไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าแต่อย่างใด แน่นอนว่าคงมีคำถามเกิดขึ้นว่าถ้าหากเจอฝน หรือหิมะ แดดร้อนไม่พังเหรอ ซึ่งทางบริษัทกล่าวว่า E-Tree นั้นได้ออกแบบมาเพื่อทนกับทุกสภาพอากาศ และสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องหากไม่มีแสงแดดได้สูงสุด 4 วัน
ที่มา : inventorspot.com
Cr.https://news.siamphone.com/news-20847.html

“ซุปเปอร์ทรี” ต้นกำเนิดพลังงานแสงอาทิตย์กลางเมืองสิงคโปร์


สิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ ที่มีลักษณะคล้ายลำต้นของต้นไม้ สำหรับรองรับ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ตั้งอยู่ในสวนมารีนา เบย์ โดย ซุปเปอร์ทรีนับเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติสิงคโปร์ 

โดยโครงสร้างของซุปเปอร์ทรีจะเป็นคอนกรีตและเหล็กที่ทำเป็นรูปต้นไม้ ตกแต่งเป็นสวนแนวตั้ง (Vertical Gardens) มีทั้งหมด 18 ต้น แต่ละต้นมีความสูงตั้งแต่ 25 เมตร ถึง 50 เมตร ที่ด้านบนของซุปเปอร์ทรีจะมีแผ่นโซลาร์เซลล์ติดอยู่เพื่อเก็บพลังงานแสงอาทิตย์แล้วนำมาใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าในสวน รวมถึงเปิดไฟที่ประดับต้นซุปเปอร์ทรีในยามค่ำคืน

ซุปเปอร์ทรี  ปกคลุมด้วยดอกไม้เขตร้อน และเฟิร์นนาๆชนิดที่เลื่อยไปตามโครงสร้างเหล็ก เรือนยอดทรงพุ่มขนาดใหญ่ยังทำหน้าที่ตรวจจับอุณหภูมิ ดูดกลืนและกระจายความร้อน ตลอดจนเป็นที่กำบังอุณหภูมิความร้อนแก่นักท่องเที่ยวที่เดินอยู่ข้างล่าง
ที่มา        
 http://variety.thaiza.com/%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5/245281/
Cr.https://sites.google.com/site/harit81343/home/bthkhwam-thekhnoloyi / สวัสดีครับ ผม PI-R‎ > ‎

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่