ถ้าผู้มีเงินได้มากกว่า 1 คนร่วมกันกู้ซื้ออาคารหรือห้องชุดในอาคารเพื่ออยู่อาศัย ให้ผู้กู้ร่วมทั้งหมดหักลดหย่อนภาษีได้ทุกคนโดยเฉลี่ยค่าลดหย่อนตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินจำนวนเงินที่จ่ายจริง และไม่เกิน 100,000 บาท เช่น ถ้ามีผู้กู้ร่วมทั้งหมด 4 คน จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ไปทั้งหมด 120,000 บาท แต่กำหนดให้ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ดังนั้นรวมกันแล้วลดหย่อนได้เต็มที่ 100,000 บาท เฉลี่ยแล้วแต่ละคนลดหย่อนภาษีได้คนละ 25,000 บาท
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่จดทะเบียนสมรสกัน ซึ่งก็มีเงื่อนไขการลดหย่อนภาษี และสิ่งที่จะต้องพิจารณา ได้แก่ ผู้มีเงินได้และได้รับการยกเว้นภาษีเป็นฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่าย การยื่นแบบแสดงภาษีนั้นยื่นร่วมกันหรือแยกกันยื่น การกู้เป็นการต่างคนต่างกู้หรือการกู้ร่วมกัน ซึ่งแยกอธิบายได้เป็นรายกรณี ดังนี้
1.
กรณีที่สามีหรือภรรยาเป็นผู้มีเงินได้เพียงฝ่ายเดียว (ยื่นแบบแสดงรายได้และเสียภาษีร่วมกัน) และร่วมกันกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ให้หักลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับฝ่ายผู้มีเงินได้เต็มจำนวน ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
2.
กรณีที่ทั้งสามีและภรรยาต่างเป็นผู้มีเงินได้ทั้งสองฝ่ายและร่วมกันกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ในกรณีนี้จะคล้ายกับการกู้ร่วมคือ ไม่ว่าทั้งสามีและภรรยาจะยื่นแบบแสดงรายได้และเสียภาษีร่วมกันก็จะได้ยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
3.
กรณีที่ทั้งสามีและภรรยาต่างเป็นผู้มีเงินได้ทั้งสองฝ่ายและร่วมกันกู้เพื่อที่อยู่อาศัย แต่แยกกันยื่นแบบแสดงรายได้และเสียภาษีแยกกันก็จะได้ยกเว้นภาษีเพียงคนละครึ่งตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยรวมกันแล้วทั้งสองคนจะได้รับยกเว้นภาษีไม่เกิน 100,000 บาท
4.
กรณีที่ทั้งสามีและภรรยาต่างเป็นผู้มีเงินได้ และยื่นแบบแสดงรายได้และเสียภาษีร่วมกัน โดยต่างฝ่ายต่างแยกกันกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ฝ่ายที่ยื่นแบบแสดงรายได้และเสียภาษีสามารถหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท นอกจากนี้ยังได้รับยกเว้นภาษีส่วนของสามีหรือภรรยา จากจำนวนเงินที่จ่ายไปเพื่อชำระดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยอีกตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
5.
กรณีที่ทั้งสามีและภรรยาต่างเป็นผู้มีเงินได้ แต่แยกยื่นแบบแสดงรายได้และเสียภาษี และต่างคนต่างกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ในกรณีนี้ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ที่มา :
เทคนิคลดหย่อนภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยกู้บ้าน
ลดหย่อนภาษีกรณีกู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกัน ผู้กู้ร่วมแต่ละคนจะหักลดหย่อนภาษีได้คนละเท่าไร?
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่จดทะเบียนสมรสกัน ซึ่งก็มีเงื่อนไขการลดหย่อนภาษี และสิ่งที่จะต้องพิจารณา ได้แก่ ผู้มีเงินได้และได้รับการยกเว้นภาษีเป็นฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่าย การยื่นแบบแสดงภาษีนั้นยื่นร่วมกันหรือแยกกันยื่น การกู้เป็นการต่างคนต่างกู้หรือการกู้ร่วมกัน ซึ่งแยกอธิบายได้เป็นรายกรณี ดังนี้
1. กรณีที่สามีหรือภรรยาเป็นผู้มีเงินได้เพียงฝ่ายเดียว (ยื่นแบบแสดงรายได้และเสียภาษีร่วมกัน) และร่วมกันกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ให้หักลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับฝ่ายผู้มีเงินได้เต็มจำนวน ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
2. กรณีที่ทั้งสามีและภรรยาต่างเป็นผู้มีเงินได้ทั้งสองฝ่ายและร่วมกันกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ในกรณีนี้จะคล้ายกับการกู้ร่วมคือ ไม่ว่าทั้งสามีและภรรยาจะยื่นแบบแสดงรายได้และเสียภาษีร่วมกันก็จะได้ยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
3. กรณีที่ทั้งสามีและภรรยาต่างเป็นผู้มีเงินได้ทั้งสองฝ่ายและร่วมกันกู้เพื่อที่อยู่อาศัย แต่แยกกันยื่นแบบแสดงรายได้และเสียภาษีแยกกันก็จะได้ยกเว้นภาษีเพียงคนละครึ่งตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยรวมกันแล้วทั้งสองคนจะได้รับยกเว้นภาษีไม่เกิน 100,000 บาท
4. กรณีที่ทั้งสามีและภรรยาต่างเป็นผู้มีเงินได้ และยื่นแบบแสดงรายได้และเสียภาษีร่วมกัน โดยต่างฝ่ายต่างแยกกันกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ฝ่ายที่ยื่นแบบแสดงรายได้และเสียภาษีสามารถหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท นอกจากนี้ยังได้รับยกเว้นภาษีส่วนของสามีหรือภรรยา จากจำนวนเงินที่จ่ายไปเพื่อชำระดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยอีกตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
5. กรณีที่ทั้งสามีและภรรยาต่างเป็นผู้มีเงินได้ แต่แยกยื่นแบบแสดงรายได้และเสียภาษี และต่างคนต่างกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ในกรณีนี้ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ที่มา : เทคนิคลดหย่อนภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยกู้บ้าน