เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่าดอกเบี้ยคือส่วนที่เราเสียให้กับ ธนาคาร หรือบริษัทสินเชื่อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยนั้น มีสิทธิประโยชน์อะไรซ่อนอยู่บ้างพูดถึงดอกเบี้ย ดอกเบี้ย คืออะไร ทางด้านอสังหาริมทรัพย์ดอกเบี้ยที่จะพูดถึง คือดอกเบี้ยกู้ยืม เพื่อชำระหนี้เงินกู้เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย หรือห้องชุด ซึ่งผมจะใช้เรียกสั้นๆว่า “ดอกเบี้ย” คำตอบก็คือสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนและยกเว้นภาษีตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท (ปีภาษี 2556) นี่คือสิ่งเดียวที่ดอกเบี้ยกู้ยืมจะสร้างประโยชน์ให้แก่เราได้นอกจากเสียเงินไปเปล่าๆทุกเดือน มาดูเงื่อนไขของผู้ที่ให้สิทธิประโยชน์นี้แก่เราก็คือ กรมสรรพากรนั้นเอง หลักเกณฑ์มีดังนี้
1. เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสำหรับกู้ยืมจาก ธนาคาร, บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ,บริษัทประกันชีวิต, สหกรณ์ ,นายจ้างซึ่งมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรรไว้เพื่อสวัสดิการแก่ลูกจ้าง, บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ,
♥ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการแก้ไขปัญหาในระบบการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
♥ กองทุนรวมเพื่อการแก้ไขปัญหาในระบบสถานบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
♥ กองทุนบำเหน็จ บำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการ
2. เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด หรือเพื่อสร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเองหรือบนที่ดินที่ตนเองมีสิทธิครอบครอง
3. ต้องจำนองอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด หรืออาคารพร้อมที่ดินเป็นประกันการกู้ยืมเงินนั้นโดยมีระยะเวลาการจำนองตามระยะเวลาการกู้ยืม
4. ต้องใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดเป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ขอหักลดหย่อนและยกเว้นภาษี แต่ไม่รวมถึงกรณีลูกจ้างซึ่งถูกนายจ้างสั่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ณ ต่างถิ่นเป็นประจำ หรือกรณีอาคารหรือห้องชุดดังกล่าวเกิดอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ หรือภัยอันเกิดจากเหตุอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดของผู้มีเงินได้จนไม่อาจใช้ อาคาร หรือห้องชุดนั้นอยู่อาศัยได้
5. กรณีผู้มีเงินได้มีอาคารหรือห้องชุดในอาคารเป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ขอลดหย่อนภาษีเกินกว่า 1 แห่ง ให้หักลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ทุกแห่งสำหรับอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด
6. .ให้หักลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่
7. กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืม ให้หักลดหย่อนและยกเว้นได้ทุกคนโดยเฉลี่ยค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริง และไม่เกิน 100,000 บาท
8. กรณีสามีภรรยาร่วมกันกู้ยืมโดยสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวให้หักลดหย่อนภาษีและยกเว้นภาษี สำหรับผู้มีเงินได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
9. กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีอยู่ก่อนแล้วต่อมาได้สมรสกัน ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนภาษีและยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของตนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาททั้งนี้ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
10. กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างฝ่ายต่างกู้ยืมในระหว่างสมรส ให้ต่างฝ่ายหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนของตนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000บาททั้งนี้ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
11. กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย และร่วมกันกู้ยืมให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้กึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
12. กรณีมีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เงินกู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้ ให้ยังคงหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ทั้งหมดนี้คือเงื่อนไขและหลักเกณฑ์จากเอกสารกรมสรรพากร วิธีการกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2556 ที่ผู้มีเงินได้ทุกคน ได้รับกันนะครับ ฝากอีกนิดนะครับว่าผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองตามแบบที่อธิบดีกำหนดจากผู้ให้กู้ยืมเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมเงิน นั้นเป็นสิ่งที่บอกว่าหลวงเค้าให้ความสำคัญเรื่องที่อยู่อาศัยของประชาชนจริงๆ ผู้ที่มองเห็นข้อยกเว้นภาษีนี้จึงไม่พลาดที่จะต้องใช้สิทธิประโยชน์จากดอกเบี้ยกู้ยืม เป็นการย้ำว่าการออมในอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ประโยชน์หลายด้าน เพื่อนๆที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์นี้รีบๆหาทางหรือหาบ้านที่ชอบให้ได้เร็วๆนะครับโดยอาจจะอ่านจากรีวิวบ้าน และรีวิวคอนโดของทาง Top of living ก็ได้นะครับเป็นกำลังใจให้ ฝากติดตามรีวิวต่างๆของทาง Top of living ด้วยนะครับ
ที่มาบทความ
http://www.topofliving.com/2050.html
สิทธิประโยชน์จาก “ดอกเบี้ย” กู้ซื้อบ้าน
1. เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสำหรับกู้ยืมจาก ธนาคาร, บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ,บริษัทประกันชีวิต, สหกรณ์ ,นายจ้างซึ่งมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรรไว้เพื่อสวัสดิการแก่ลูกจ้าง, บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ,
♥ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการแก้ไขปัญหาในระบบการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
♥ กองทุนรวมเพื่อการแก้ไขปัญหาในระบบสถานบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
♥ กองทุนบำเหน็จ บำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการ
2. เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด หรือเพื่อสร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเองหรือบนที่ดินที่ตนเองมีสิทธิครอบครอง
3. ต้องจำนองอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด หรืออาคารพร้อมที่ดินเป็นประกันการกู้ยืมเงินนั้นโดยมีระยะเวลาการจำนองตามระยะเวลาการกู้ยืม
4. ต้องใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดเป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ขอหักลดหย่อนและยกเว้นภาษี แต่ไม่รวมถึงกรณีลูกจ้างซึ่งถูกนายจ้างสั่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ณ ต่างถิ่นเป็นประจำ หรือกรณีอาคารหรือห้องชุดดังกล่าวเกิดอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ หรือภัยอันเกิดจากเหตุอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดของผู้มีเงินได้จนไม่อาจใช้ อาคาร หรือห้องชุดนั้นอยู่อาศัยได้
5. กรณีผู้มีเงินได้มีอาคารหรือห้องชุดในอาคารเป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ขอลดหย่อนภาษีเกินกว่า 1 แห่ง ให้หักลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ทุกแห่งสำหรับอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด
6. .ให้หักลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่
7. กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืม ให้หักลดหย่อนและยกเว้นได้ทุกคนโดยเฉลี่ยค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริง และไม่เกิน 100,000 บาท
8. กรณีสามีภรรยาร่วมกันกู้ยืมโดยสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวให้หักลดหย่อนภาษีและยกเว้นภาษี สำหรับผู้มีเงินได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
9. กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีอยู่ก่อนแล้วต่อมาได้สมรสกัน ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนภาษีและยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของตนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาททั้งนี้ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
10. กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างฝ่ายต่างกู้ยืมในระหว่างสมรส ให้ต่างฝ่ายหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนของตนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000บาททั้งนี้ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
11. กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย และร่วมกันกู้ยืมให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้กึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
12. กรณีมีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เงินกู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้ ให้ยังคงหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ทั้งหมดนี้คือเงื่อนไขและหลักเกณฑ์จากเอกสารกรมสรรพากร วิธีการกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2556 ที่ผู้มีเงินได้ทุกคน ได้รับกันนะครับ ฝากอีกนิดนะครับว่าผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองตามแบบที่อธิบดีกำหนดจากผู้ให้กู้ยืมเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมเงิน นั้นเป็นสิ่งที่บอกว่าหลวงเค้าให้ความสำคัญเรื่องที่อยู่อาศัยของประชาชนจริงๆ ผู้ที่มองเห็นข้อยกเว้นภาษีนี้จึงไม่พลาดที่จะต้องใช้สิทธิประโยชน์จากดอกเบี้ยกู้ยืม เป็นการย้ำว่าการออมในอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ประโยชน์หลายด้าน เพื่อนๆที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์นี้รีบๆหาทางหรือหาบ้านที่ชอบให้ได้เร็วๆนะครับโดยอาจจะอ่านจากรีวิวบ้าน และรีวิวคอนโดของทาง Top of living ก็ได้นะครับเป็นกำลังใจให้ ฝากติดตามรีวิวต่างๆของทาง Top of living ด้วยนะครับ
ที่มาบทความ http://www.topofliving.com/2050.html