อ่านเจอในกระทู้ อยากรู้ความโดดเด่นของยุทธวิธี Blitzkrieg กับ Shock และอื่นๆครับ
https://ppantip.com/topic/37817868 ถูกตั้งโดย สมาชิกหมายเลข 1649519
ความคิดเห็นที่ 6 HotChoc 29 มิถุนายน 2561 เวลา 20:37 น.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ความคิดเห็นที่ 5 HotChoc 29 มิถุนายน 2561 เวลา 20:19 น.
คงต้องอธิบายแผนการรบแบบธรรมดาก่อนครับถึงจะอธิบายแบบ Blitzkrieg ได้ รูปแบบการรบยุคใหม่(ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17)จะเป็นรูปแบบเชิงเส้นคือให้ทหาร/หน่วยรบเรียงตัวกันเป็นเส้นยาว เอาด้านยาวเข้าปะทะศัตรู เพราะจะใช้อำนาจการยิงได้สูงสุด ช่วงศตวรรษที่ 20 นั้นแนวรบนี่แทบจะเรียงต่อกันยาวหลายสิบกิโลเมตรได้เลยครับเพราะใช้ทหารมากขึ้นและทหารกระจายตัวกันอยู่หลวมมากกว่าการรบในศตวรรษที่ 18-19
ทีนี้ถ้าเรารบตรงๆ คือเอาแนวเส้นเราเข้าปะทะแนวเส้นของศัตรูมันก็จะกลายเป็นเอาทหารมาบดกัน ใครทนความสูญเสียไม่ไหวก็แพ้ไป ซึ่งเปลืองทหารมาก วิธีที่ดีกว่าก็คือเปิดแนวปะทะของศัตรูเพิ่ม หน่วยรบที่โดนโจมตีจากสองทิศทางหรือมากกว่าจะโดนกดดันและสูญเสียหนักกว่าตั้งรับการปะทะจากด้านเดียว และอาจต้องถอยหรือโดนสลายกำลังรบไป ดังนั้นเราก็จะพยายามโจมตีศัตรูจากทั้งด้านหน้าและด้านหลังหรือด้านหน้าและด้านข้าง
การโจมตีจากด้านข้างเรียกว่า Flanking นะครับ อาจทำได้โดยให้กองทหารเราเดินอ้อมจากแนวรบหลักไปแล้วเข้าตีแนวรบศัตรูจากด้านข้างด้วย ทหารม้ามักจะได้รับหน้าที่นี้เพราะเคลื่อนที่ได้เร็ว พอปีกหนึ่งของศัตรูแตกแล้วเราก็ค่อยตีแนวรบของข้าศึกเข้ามาเรื่อยๆ (roll-up) ข้าศึกต้องถอยไม่ถอยก็โดนละลายทัพได้ วิธีนี้รู้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณครับดังนั้นแม่ทัพศัตรูก็จะป้องกันไม่ให้เรา flank เขาได้ง่ายๆ เช่นอิงปีกของกองทัพเขาเข้ากับสภาพภูมิประเทศเช่นเขาสูงชันหรือแม่น้ำหรือบึง ทำให้เรา flank ทางนั้นไม่ได้เพราะติดภูมิประเทศ ถ้าเป็นแบบนี้เราก็ยังพอตีปีกให้แตกได้โดยทุ่มกำลังเข้าตีไปที่ปีกใดปีกหนึ่ง พอปีกนั้นแตกก็ flank แนวรับตรงกลางได้ครับ
อีกวิธีที่สร้างแนวปะทะที่สองได้ก็คือเจาะทะลวงแนวรับของศัตรูซักจุดนึงเพื่อให้กองทัพศัตรูขาดเป็นสองส่วน แนวคิดนี้เรียกว่า break-through พอศัตรูขาดออกเป็นสองแล้วเราใช้กำลังส่วนหนึ่งยันปีกหนึ่งของศัตรูไว้ แล้วก็ flank อีกปีกหนึ่งของกองทัพศัตรูให้แตก ตามรูปในคคห.ที่ 3 ปกติแล้วถ้ากองทัพใดโดน break-through ก็ต้องรีบนำกำลังเสริมมาทำลายหรือผลักดันหน่วยรบศัตรูที่ทะลวงมาได้ (counter attack) แล้วอุดรอยแตกทันที ไม่อย่างนั้นก็ต้องถอยแนวรบทั้งแนวก่อนจะโดนปิดล้อมครับ
การรบแบบ Blitzkrieg จะต่างไปจากการ break-through ธรรมดา เพราะเป้าหมายไม่ใช่การทำลายแนวรบข้าศึก แต่เป็นการส่งหน่วยรบเคลื่อนที่เร็วของเราเข้าไปก่อกวนแนวหลังของข้าศึกเลย เพราะการรบนั้นเป็นเชิงเส้นมีแนวรบที่ชัดเจน ถ้าเรารบเสียเปรียบโดน flank หรือ break-through ก็ถอยแนวรบเราเข้ามาซัก 5-10 กิโลเมตรแล้วก็ตั้งมั่นรบกันต่อ ดังนั้นแนวหลังของเราที่ระยะซัก 30-50 กม. จากสนามรบก็จะเป็นพื้นที่"ปลอดภัย"ระดับหนึ่ง ปกติแล้วก็จะเป็นพื้นที่เตรียมความพร้อมในการรบให้กับทหารใหม่ เป็นจุดระดมพล เป็นแหล่งสะสมเสบียง ที่จอดพักยานพาหนะที่ต้องซ่อม โรงพยาบาลสนาม หรือเป็นจุดที่กำลังเสริมแนวป้องกันเผื่อกองทัพเราต้องถอยมาถึงตรงนี้
การรบแบบ Blitzkrieg นั้นคือพอเรา break-through แนวรับข้าศึกได้แล้ว เราจะส่งหน่วยยานเกราะและทหารราบยานเกราะเข้าไปทางช่องนั้น (หน่วยที่ส่งเข้าไปจะไม่ใช่หน่วยเดียวกับที่เจาะทะลวงตอนแรก) แล้วก็ควบตะบึงเข้าแนวหลังข้าศึกเลยโดยไม่มาช่วยรบปะทะศัตรูจากด้านข้างหรือด้านหลังครับ หน่วยรบของเราจะเข้าไปก่อกวนพื้นที่เตรียมตัวของข้าศึก ป้องกันไม่ให้ข้าศึกระดมพลเพื่อไปช่วยแนวหน้าได้ ขัดขวางการสร้างที่มั่นใหม่สำหรับกองทัพข้าศึกที่จะถอยกลับมา สกัดเส้นทางเสบียง หรือก่อกวนสร้างความสับสนวุ่นวายให้กองทัพข้าศึก พอแนวรบของข้าศึกถอยร่นมา (ก็น่าจะต้องถอยเพราะโดน break-through ไปแล้ว) ก็จะไม่มีแนวรับที่สองให้ตั้งมั่น ไม่มีกำลังเสริม ไม่มีเสบียง และถ้ามาเจอหน่วยรบเคลื่อนที่เร็วของเราดักรอไว้ก็อาจเสียขวัญกำลังใจจนยอมแพ้ได้
ทีนี้หน่วยเคลื่อนที่เร็วของเราจะมีทหารม้า(เหล็ก) ทหารราบ(นั่งรถ) ก็จะขาดแต่ทหารปืนใหญ่ครับ ซึ่งถ้าไม่มีทหารปืนใหญ่นั้นอำนาจการรบจะถดถอยลงอย่างมากเพราะจะเข้าตีที่มั่นของข้าศึกลำบาก วิธีแก้ของเยอรมันก็คือจุดไหนในแนวหลังที่มีการตั้งมั่นแล้วก็จะข้ามจุดนั้นไป หรือไม่ก็วิทยุเรียกเครื่องบินทิ้งระเบิดมาบอมบ์ที่มั่นนั้น ก็คือใช้เครื่องบินแทนปืนใหญ่ไปก่อนนั่นเอง
และในปัจจุบันสามารถแก้ปัญหาเรื่องทหารปืนใหญ่ยังไงครับ หมายถึงในช่วง WW2 มีปัญหาเรื่องทหารปืนใหญ่เลยแก้ด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิด ไม่ก็ข้ามจุดนั้นไป
ปัจจุบันยุทธวิธีแบบยุทธวิธี Blitzkrieg (บลิทซ์ครีค) ยังใช่ได้ผลอยู่ไหมครับ
ความคิดเห็นที่ 6 HotChoc 29 มิถุนายน 2561 เวลา 20:37 น.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การรบแบบ Blitzkrieg จะต่างไปจากการ break-through ธรรมดา เพราะเป้าหมายไม่ใช่การทำลายแนวรบข้าศึก แต่เป็นการส่งหน่วยรบเคลื่อนที่เร็วของเราเข้าไปก่อกวนแนวหลังของข้าศึกเลย เพราะการรบนั้นเป็นเชิงเส้นมีแนวรบที่ชัดเจน ถ้าเรารบเสียเปรียบโดน flank หรือ break-through ก็ถอยแนวรบเราเข้ามาซัก 5-10 กิโลเมตรแล้วก็ตั้งมั่นรบกันต่อ ดังนั้นแนวหลังของเราที่ระยะซัก 30-50 กม. จากสนามรบก็จะเป็นพื้นที่"ปลอดภัย"ระดับหนึ่ง ปกติแล้วก็จะเป็นพื้นที่เตรียมความพร้อมในการรบให้กับทหารใหม่ เป็นจุดระดมพล เป็นแหล่งสะสมเสบียง ที่จอดพักยานพาหนะที่ต้องซ่อม โรงพยาบาลสนาม หรือเป็นจุดที่กำลังเสริมแนวป้องกันเผื่อกองทัพเราต้องถอยมาถึงตรงนี้
การรบแบบ Blitzkrieg นั้นคือพอเรา break-through แนวรับข้าศึกได้แล้ว เราจะส่งหน่วยยานเกราะและทหารราบยานเกราะเข้าไปทางช่องนั้น (หน่วยที่ส่งเข้าไปจะไม่ใช่หน่วยเดียวกับที่เจาะทะลวงตอนแรก) แล้วก็ควบตะบึงเข้าแนวหลังข้าศึกเลยโดยไม่มาช่วยรบปะทะศัตรูจากด้านข้างหรือด้านหลังครับ หน่วยรบของเราจะเข้าไปก่อกวนพื้นที่เตรียมตัวของข้าศึก ป้องกันไม่ให้ข้าศึกระดมพลเพื่อไปช่วยแนวหน้าได้ ขัดขวางการสร้างที่มั่นใหม่สำหรับกองทัพข้าศึกที่จะถอยกลับมา สกัดเส้นทางเสบียง หรือก่อกวนสร้างความสับสนวุ่นวายให้กองทัพข้าศึก พอแนวรบของข้าศึกถอยร่นมา (ก็น่าจะต้องถอยเพราะโดน break-through ไปแล้ว) ก็จะไม่มีแนวรับที่สองให้ตั้งมั่น ไม่มีกำลังเสริม ไม่มีเสบียง และถ้ามาเจอหน่วยรบเคลื่อนที่เร็วของเราดักรอไว้ก็อาจเสียขวัญกำลังใจจนยอมแพ้ได้
ทีนี้หน่วยเคลื่อนที่เร็วของเราจะมีทหารม้า(เหล็ก) ทหารราบ(นั่งรถ) ก็จะขาดแต่ทหารปืนใหญ่ครับ ซึ่งถ้าไม่มีทหารปืนใหญ่นั้นอำนาจการรบจะถดถอยลงอย่างมากเพราะจะเข้าตีที่มั่นของข้าศึกลำบาก วิธีแก้ของเยอรมันก็คือจุดไหนในแนวหลังที่มีการตั้งมั่นแล้วก็จะข้ามจุดนั้นไป หรือไม่ก็วิทยุเรียกเครื่องบินทิ้งระเบิดมาบอมบ์ที่มั่นนั้น ก็คือใช้เครื่องบินแทนปืนใหญ่ไปก่อนนั่นเอง
และในปัจจุบันสามารถแก้ปัญหาเรื่องทหารปืนใหญ่ยังไงครับ หมายถึงในช่วง WW2 มีปัญหาเรื่องทหารปืนใหญ่เลยแก้ด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิด ไม่ก็ข้ามจุดนั้นไป