ทลายกำแพง reading skill: แชร์ประสบการณ์การฝึกภาษาด้วยมังงะ หรือนิยาย

ใครหลาย ๆ คน ที่ต้องรอรวมเล่ม หรือไม่ก็รอทีม scanlation แปลให้อ่าน ไม่รู้จะแปลมั่วมั้ย ไม่มีอะไรอ่านก็ต้องทนไปก่อน แต่พอถึงจุดหนึ่ง

อ้าวไม่มีใครแปลต่อ ...

ผมก็เป็นหนึ่งในนั้นครับ ช่วงนั้น Hunter X Hunter ค้างเติ่งที่เล่ม 32 
Boom ก็เลิกพิมพ์ไปแล้ว พอไปดูงานแปลไทย แปลกากมาก ยังกะไม่ใช่ภาษาคน
ลองไปหาเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษมาอ่าน ศัพท์ไม่ไหวจริงครับ ไม่รู้มันจะยากไปไหน รูปประโยคก็ชวนปวดหัวสุด ๆ
ก็เลยกลั้นใจ เอาวะ "อยากอ่านทวีปมืดว่ะ" แพสชั่นง่าย ๆ ครับ

"Dark Continent"
กลั้นใจอ่าน HxH เวอร์ชั่น Eng ตั้งแต่เล่ม 1 ครับ
ด้วยพื้นฐานที่ไม่ดีนัก พอรู้แกรมม่า และพูดได้บ้าง แต่ทักษะพวกนี้คนละเรื่องกับทักษะการอ่านเลยครับ
แค่ตอนแรกก็เปิดดิคไป 100+ ครั้ง มีคนแนะนำให้ใช้ eng to eng ผมก็บ้าจี้ครับ อยากฝึกภาษาด้วย เอ้า ก็ได้
ช่วงนั้นก็ว่างทั้งวัน อยู่ระหว่างปิดโปรเจ็ค เกรดยังไม่ออก ซัดเต็มเหนี่ยวเลยครับ วันนึง ได้ 3 ตอน .......
เน้นถึกเน้นทน ขยันหมั่นเปิดดิค ศัพท์ไม่ท่อง เจอบ่อย ๆ เดี๋ยวมันก็หงุดหงิดจนจำได้เอง
พอผ่านเล่ม 10 ไปได้ ทุกอย่างเริ่มดีขึ้นครับ เริ่มลื่นละ เปิดดิคน้อยลง 

ละมันดันไปเพิ่มทักษะการพูดกับการเขียนด้วยซะงั้น

เกริ่นนำเสร็จละ เข้าสู่เนื้อหาจริง ๆ ดีกว่า
ที่จะบอกเล่า คือประสบการณ์ครับ ขอ list ประเด็นเป็นข้อ ๆ ละ กันเนอะ ว่าเจออะไรมาบ้าง แต่ละจุดรับมือยังไง

1. เปิดดิคทั้งประโยคแต่ยังแปลไม่ออก เบสิกสุดครับ มือใหม่ใคร ๆ ก็เจอ ปัญหามันเกิดจาก สามปัจจัยหลักครับ
     1.1 พื้นฐานแกรมม่าไม่ดี คำศัพท์ก็ไม่แม่น
     1.2 เลือกอ่านหนังสือที่ยากเกินความสามารถตัวเองเกินไป
     1.3 คนเขียน เขียนห่วย 

     มาแตกทีละประเด็นกันว่าผมรับมือกับมันยังไง

     ผมจะอ่านฮันเตอร์เป็นเรื่องแรก เรื่องอื่นไม่สน ความยากก็ก้าวกระโดดจากปกติมาพอสมควร วิธีที่ทำให้ประหยัดเวลาสุดคือ
     1.1 พื้นฐานแกรมม่าไม่ดี คำศัพท์ก็ไม่แม่น
           เปิดดิคทุกคำก็ยังไม่รู้เรื่องก็เปิดเล่มภาษาไทยครับ ง่ายสุด อ่านเทียบควบคู่ไปเลย 
     ละเริ่มเดาว่าศัพท์ eng แต่ละตัว มันคือส่วนไหนในประโยคของภาษาไทย จากนั้นไปไล่เก็บแกรมม่าในรูปประโยคที่เราไม่คุ้นครับ
     ตอนแรกผมใช้ดิค eng2eng แต่ตอนหลังเลิกแล้วครับ eng2th ก็พอ เหตุผลหลักคือ เน้นปริมาณมากกว่า เน้นจบเล่มครับ เปิดดิค eng อีกเปลือง
     สมองครับ ไว้อาการหนักจริง ๆ เปิดดิคไทยไม่เจอแล้วค่อยเปิดดิค eng ครับ

     ทน ๆ ไปครับ จบตอนแรกได้ก็กู่ร้องให้กับชัยชนะของตัวเองซะ ทำสิ่งที่ไม่เคยทำในชีวิตสำเร็จไปหนึ่งอย่างแล้ว 555

     1.2 เลือกอ่านหนังสือที่ยากเกินความสามารถตัวเองเกินไป
            อันนี้เรื่องจริงครับ ขอแบ่งหนังสือออกเป็น 3 ระดับละกัน (ตามวิธีคิดของหนังสือ "อ่านยังไงไม่ให้ลืม")
            1. หนังสือระดับง่าย ไม่ต้องรู้อะไรเยอะก็อ่านรู้เรื่อง 
            2 .หนังสือปกติ คนเขียนจะเริ่มละอะไรบางอย่างในฐานที่เข้าใจแล้ว การ์ตูน นิยายทั่วไป หนังสือเรียนทั่วไป จะเป็นลักษณะนี้ครับ
            3. หนังสือสำหรับมือโปร เค้าเขียนไว้ให้คนที่มีประสบการณ์ด้วยกันมาอ่าน เพราะจะไม่เน้นพวกพื้นฐานละ จะคุยและแบ่งไอเดียกันว่าความรู้ที่มี
      เอาไปประยุกต์ต่อยังไง ถ้าเป็นวรรณกรรม ก็จะมีรูปประโยคล้ำหน่อย สลาดสลวยจนงง

      เลือกเลเวลให้เหมาะครับ ยิ่งระดับง่าย ยิ่งเปิดดิคน้อย จะได้ไม่โดนบั่นทอนกำลังใจครับ 555

     1.3 คนเขียน เขียนห่วย
         เหมือนโทษคนอื่น แต่ก็มีจริงนะครับ ใช้คำฟุ่มเฟือย รูปประโยคซับซ้อนเกินเหตุ ลองไปดูใน webbord reddit ดูครับ สปอยฮันเตอร์แต่ละตอน
     ฝรั่งยังบ่นกันเลย เอ็งแปลอะไรของเอ็ง งงชิบเป๋ง

ส่วนคำแนะนำ เทคนิคต่าง ๆ มันยังไม่มีผลกับเราครับ แนะนำให้เมินไปก่อน

2. แปลออกบางประโยค บางประโยคไม่ไหวจริง
     ยินดีด้วยครับ คุณอยู่ในจุดเดียวกับผมเรียบร้อยแล้ว วิธีง่าย ๆ คือ เปิดดิคกันต่อไปครับ 555+
     ถ้ามาถึงจุดนี้ได้ คุณจะเริ่มมีสกิลแถมติดตัวมา 2 สกิลละ มันมาเองโดยอัตโนมัติโดยที่ไม่รู้ตัว
          1. เดาคำศัพท์ บางทีเปิดมันทุกประโยค ก็มีขี้เกียจ แอบอู้บ้าง อันไหนเดาแล้ว เออเค้าเข้า พออ่านรู้เรื่อง จัดไปครับเดาเลย
          2. อ่านข้าม ๆ ด้วยความถึกทนที่เจอมาเยอะ ซักพักก็เริ่มรู้ครับ ว่ารูปประโยคแบบไหน แปลยากเกิน เมิน ๆ ไปก็ได้
          พอมาถึงจุดนี้กันได้ แนะนำให้ใช้ etymology ครับ 

          etymology มันคืออะไร ?
               ผมขอเรียกว่าตัวแกะรากศัพท์ครับ คำศัพท์หลายคำในภาษาอังกฤษ มันก็คล้าย ๆ ภาษาไทยนั่นแหละครับ สมาสชน สนธิเชื่อม เอามาชนกัน                ก็ได้เป็นคำใหม่ ผมยกตัวอย่างซักคำละกัน
               Chronological
                    มันจะมีสองคำแฝงอยู่ครับ
                    คำแรก Chrono = อะไรที่เกียวกับเวลา
                    คำที่ 2 logic = ตรรกกะ การใช้เหตุผล หรืออะไรที่มันเป็นระบบชัดเจน มีที่มาที่ไป ทำนองนั้นครับ
                    พอเอาสองคำนี้มารวมกัน ก็เดา ๆ เหมา ๆ ได้ว่า มันเกี่ยวกับเวลา และเป็นระบบ
 
 โป๊ะ!
 
                    Chronological = ลำดับเวลานั่นเอง
                    ส่วน logic ที่กลายเป็น logical อันนี้เป็นการเปลี่ยนรูปจาก noun เป็น adjective ครับ (จริง ๆ วรรคนี้ไม่ต้องสนใจก็ได้ ช่างหัวมัน แต่
                    อ่านไปเรื่อย ๆ ก็จะซึมซับเอง)

3. เลเวลสุดท้ายครับ Speed Reading
          อันนี้จะมีกลไกทางสมองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเปินการฝึกใช้สมองให้เต็มประสิทธิภาพที่สุด ฝึกความจำ จากนั้นฝึกสายตา ผมก็ยังทำได้ไม่ดี
     นัก ยังฝึกอยู่ฝึกถูกวิธีจะลดเวลาการอ่านไปได้เยอะ แต่มันจะผิดธรรมชาติในช่วงแรกครับ เพราะเป็นเรื่องของทักษะและการฝึกฝน
     ผ่านข้อสองมาได้ ลองฝึกทักษะนี้กันครับ ช่วยชีวิตได้เยอะเลยทีเดียว

ไว้วันหลังค่อยเขียนถึงครับ ใครสนใจหลังไมค์มาได้ เทคนิคนี้เจ๋งจริงครับ

คำแนะนำสุดท้าย แกรมม่า อย่าอ่านเรียงบทครับ prefix suffix adverb adjective noun ช่างมันครับ ไปลุยดาบหน้าเอา งงตรงไหนค่อยเปิดตามเก็บ ยึดหนังสือที่เราอ่านอยู่เป็นหลัก
ย้ำคำเดิม "อ่านจบก็บุญแล้ว"

ใครมีอะไรดี ๆ มาแชร์กันได้นะครับ ถ้าเกิดมีไอเดียที่ดีกว่าผม แบ่งปันเลยครับ ผมก็อยากรู้เหมือนกัน โลกแห่งภาษาสิ่งที่สนุกจริง ๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่