การเปลี่ยนแปลงการเข้าสู่ตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 (ฉบับที่ 1-11)
การเข้าสู่ตำแหน่งและการดำรงตำแหน่ง ตาม พ.ร.บ.ฉบับที่ 1-4 กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในตำบลเลือกกันเอง ดำรงตำแหน่งจนหมดอายุ
ผู้ใหญ่บ้าน เลือกตั้งโดยราษฎรในหมู่บ้าน ดำรงตำแหน่งจนหมดอายุ
ตามประกาศคณะปฏิวัติ ปี 2515 – พ.ร.บ.ฉบับที่ 8 กำนัน เลือกตั้งโดยราษฎรในตำบล ดำรงตำแหน่งจนอายุ 60 ปี
ผู้ใหญ่บ้าน เลือกตั้งโดยราษฎรในหมู่บ้าน ดำรงตำแหน่งจนอายุ 60 ปี
ตาม พ.ร.บ.ฉบับที่ 9-10 กำนัน เลือกตั้งโดยราษฎรในตำบล วาระตำแหน่ง 5 ปี
ผู้ใหญ่บ้าน เลือกตั้งโดยราษฎรในหมู่บ้าน วาระตำแหน่ง 5 ปี
ตาม พ.ร.บ.ฉบับที่ 11 กำนัน เลือกโดยผู้ใหญ่บ้านในตำบล ดำรงตำแหน่งจนอายุ 60 ปี รับการประเมินอย่างน้อย ทุก 5 ปี
ผู้ใหญ่บ้าน เลือกตั้งโดยราษฎรในหมู่บ้าน ดำรงตำแหน่งจนอายุ 60 ปี รับการประเมินอย่าง น้อยทุก 5 ปี
ที่มา: พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 (ฉบับที่ 1-11) ปรับปรุงมาจาก พิบูลย์ศักดิ์ ราชจันทร์ (2554) และ สรียา วิไลพงศ์ (2551)
ภารกิจที่ไม่ (อาจ) บรรลุ
การแก้ไข “พ.ร.บ.การปกครองท้องที่ ฉบับที่ … พ.ศ… ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการกฎหมายดังกล่าว ที่เสนอโดย ส.ส.ฝ่ายค้านและรัฐบาลจำนวนรวม 5 ฉบับ ด้วยคะแนน 370 เสียง แถลงว่า กมธ.ได้พิจารณากฎหมายประเด็นการดำรงวาระตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้านและการเลือกกำนัน ที่ออกในสมัยสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) ปี 2551 โดยได้แก้ไขใน 4 ประเด็น คือ
1. จากเดิมที่ไม่กำหนดวาระและเกษียณอายุใน 60 ปี เป็นกำหนดวาระให้เหลือ 5 ปี ทั้งนี้ในชั้น กมธ.มีมติเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบแล้ว
2. การเปลี่ยนแปลงกำหนดวิธีเลือกกำนัน จากเดิมที่ให้แต่ผู้ใหญ่บ้านเลือกตัวแทนกันเอง แต่จะเปลี่ยนเป็นให้ประชาชนเลือกกำนันจากผู้ใหญ่ที่มีอยู่
3. โดยไม่กำหนดเกณฑ์อายุ 60 ปี ซึ่งผู้ที่อายุ 60 ปีไปแล้ว ก็สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่ได้
4. เสนอบทเฉพาะกาล ภายหลังการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวจะไม่มีผลย้อนหลัง ซึ่งผู้ที่เป็นกำนันผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบัน จะสามารถดำรงตำแหน่งจนครบวาระ 60 ปีได้
ขณะนี้มีกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ที่จะอยู่จนครบวาระ 60 ปี โดยเหลืออีก 5 ปี พ้นจากตำแหน่งจำนวน 1.2 หมื่นคน เหลือ 10 ปี จำนวน 1.6 หมื่นคน เหลือ 15 ปี จำนวน 1.5 หมื่นคน และเหลือ 20 ปี จำนวน 1 หมื่นคน ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นการวางโครงสร้างระยะยาว เพื่อให้ประชาชนไม่ผูกขาดอำนาจจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน” (มติชนออนไลน์ 9 ตุลาคม 2555)
เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ทั้งที่พรรครัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และมักอ้างว่า “เป็นพรรคที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย” “มวลชน” ฯลฯ กลับไม่กล้าแก้ไข พ.ร.บ. 11 นี้ ทั้งที่ประชาชน “...กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 85.3 เห็นว่า ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ควรให้ดำรงตำแหน่งคราวละ 4-5 ปี รองลงมาอีกร้อยละ 13.0 เห็นว่าให้ดำรงตำแหน่งจนถึงอายุ 60 ปี ส่วนอีกร้อยละ 1.7 ไม่มีความเห็น สำหรับตำแหน่งกำนันตำบล ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างเป็นไปในทิศทางเดียวกับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน คือส่วนใหญ่ร้อยละ 85.8 เห็นว่าควรดำรงตำแหน่งคราวละ 4-5 ปี รองลงมา ร้อยละ 13 ให้ดำรงตำแหน่งจนถึงอายุ 60 ปี ส่วนอีกร้อยละ 1.2 มีความเห็นอื่นๆ เช่น ดำรงตำแหน่ง 2-7 ปี บางความเห็นระบุว่า ไม่ควรมีตำแหน่งกำนันตำบลแล้ว สำหรับการได้มาซึ่งตำแหน่งกำนันตำบลนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 90.3 เห็นว่าควรจะมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน อีกร้อยละ 9.7 เห็นว่าให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นตัวแทนในการเลือกกำนันตำบล และเมื่อถามต่อว่า ตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ยังควรให้คงมีอยู่ต่อไปหรือไม่ ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 88.5 เห็นว่า ยังควรให้มีอยู่ โดยเฉพาะในชนบท อีกร้อยละ 11.5 เห็นว่าควรยกเลิกตำแหน่งนี้ เนื่องจากมีองค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล ทำหน้าที่อยู่แล้ว” (ASTV ผู้จัดการรายวัน 2555)
วาทกรรมอำพรางของการปกครองท้องที่ไทย: แขนขาอำนาจรัฐหรือรับใช้ประชาชน
การเข้าสู่ตำแหน่งและการดำรงตำแหน่ง ตาม พ.ร.บ.ฉบับที่ 1-4 กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในตำบลเลือกกันเอง ดำรงตำแหน่งจนหมดอายุ
ผู้ใหญ่บ้าน เลือกตั้งโดยราษฎรในหมู่บ้าน ดำรงตำแหน่งจนหมดอายุ
ตามประกาศคณะปฏิวัติ ปี 2515 – พ.ร.บ.ฉบับที่ 8 กำนัน เลือกตั้งโดยราษฎรในตำบล ดำรงตำแหน่งจนอายุ 60 ปี
ผู้ใหญ่บ้าน เลือกตั้งโดยราษฎรในหมู่บ้าน ดำรงตำแหน่งจนอายุ 60 ปี
ตาม พ.ร.บ.ฉบับที่ 9-10 กำนัน เลือกตั้งโดยราษฎรในตำบล วาระตำแหน่ง 5 ปี
ผู้ใหญ่บ้าน เลือกตั้งโดยราษฎรในหมู่บ้าน วาระตำแหน่ง 5 ปี
ตาม พ.ร.บ.ฉบับที่ 11 กำนัน เลือกโดยผู้ใหญ่บ้านในตำบล ดำรงตำแหน่งจนอายุ 60 ปี รับการประเมินอย่างน้อย ทุก 5 ปี
ผู้ใหญ่บ้าน เลือกตั้งโดยราษฎรในหมู่บ้าน ดำรงตำแหน่งจนอายุ 60 ปี รับการประเมินอย่าง น้อยทุก 5 ปี
ที่มา: พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 (ฉบับที่ 1-11) ปรับปรุงมาจาก พิบูลย์ศักดิ์ ราชจันทร์ (2554) และ สรียา วิไลพงศ์ (2551)
ภารกิจที่ไม่ (อาจ) บรรลุ
การแก้ไข “พ.ร.บ.การปกครองท้องที่ ฉบับที่ … พ.ศ… ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการกฎหมายดังกล่าว ที่เสนอโดย ส.ส.ฝ่ายค้านและรัฐบาลจำนวนรวม 5 ฉบับ ด้วยคะแนน 370 เสียง แถลงว่า กมธ.ได้พิจารณากฎหมายประเด็นการดำรงวาระตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้านและการเลือกกำนัน ที่ออกในสมัยสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) ปี 2551 โดยได้แก้ไขใน 4 ประเด็น คือ
1. จากเดิมที่ไม่กำหนดวาระและเกษียณอายุใน 60 ปี เป็นกำหนดวาระให้เหลือ 5 ปี ทั้งนี้ในชั้น กมธ.มีมติเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบแล้ว
2. การเปลี่ยนแปลงกำหนดวิธีเลือกกำนัน จากเดิมที่ให้แต่ผู้ใหญ่บ้านเลือกตัวแทนกันเอง แต่จะเปลี่ยนเป็นให้ประชาชนเลือกกำนันจากผู้ใหญ่ที่มีอยู่
3. โดยไม่กำหนดเกณฑ์อายุ 60 ปี ซึ่งผู้ที่อายุ 60 ปีไปแล้ว ก็สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่ได้
4. เสนอบทเฉพาะกาล ภายหลังการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวจะไม่มีผลย้อนหลัง ซึ่งผู้ที่เป็นกำนันผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบัน จะสามารถดำรงตำแหน่งจนครบวาระ 60 ปีได้
ขณะนี้มีกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ที่จะอยู่จนครบวาระ 60 ปี โดยเหลืออีก 5 ปี พ้นจากตำแหน่งจำนวน 1.2 หมื่นคน เหลือ 10 ปี จำนวน 1.6 หมื่นคน เหลือ 15 ปี จำนวน 1.5 หมื่นคน และเหลือ 20 ปี จำนวน 1 หมื่นคน ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นการวางโครงสร้างระยะยาว เพื่อให้ประชาชนไม่ผูกขาดอำนาจจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน” (มติชนออนไลน์ 9 ตุลาคม 2555)
เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ทั้งที่พรรครัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และมักอ้างว่า “เป็นพรรคที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย” “มวลชน” ฯลฯ กลับไม่กล้าแก้ไข พ.ร.บ. 11 นี้ ทั้งที่ประชาชน “...กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 85.3 เห็นว่า ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ควรให้ดำรงตำแหน่งคราวละ 4-5 ปี รองลงมาอีกร้อยละ 13.0 เห็นว่าให้ดำรงตำแหน่งจนถึงอายุ 60 ปี ส่วนอีกร้อยละ 1.7 ไม่มีความเห็น สำหรับตำแหน่งกำนันตำบล ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างเป็นไปในทิศทางเดียวกับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน คือส่วนใหญ่ร้อยละ 85.8 เห็นว่าควรดำรงตำแหน่งคราวละ 4-5 ปี รองลงมา ร้อยละ 13 ให้ดำรงตำแหน่งจนถึงอายุ 60 ปี ส่วนอีกร้อยละ 1.2 มีความเห็นอื่นๆ เช่น ดำรงตำแหน่ง 2-7 ปี บางความเห็นระบุว่า ไม่ควรมีตำแหน่งกำนันตำบลแล้ว สำหรับการได้มาซึ่งตำแหน่งกำนันตำบลนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 90.3 เห็นว่าควรจะมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน อีกร้อยละ 9.7 เห็นว่าให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นตัวแทนในการเลือกกำนันตำบล และเมื่อถามต่อว่า ตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ยังควรให้คงมีอยู่ต่อไปหรือไม่ ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 88.5 เห็นว่า ยังควรให้มีอยู่ โดยเฉพาะในชนบท อีกร้อยละ 11.5 เห็นว่าควรยกเลิกตำแหน่งนี้ เนื่องจากมีองค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล ทำหน้าที่อยู่แล้ว” (ASTV ผู้จัดการรายวัน 2555)