บังเอิญอ่านเจอในเฟสบุ๊ค เห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจดี ไม่แน่ใจมีใครเคยโพสต์ในนี้หรือยัง ไม่รู้เจ้าของเป็นสมาชิก pantip ไหม ไงก็ขออนุญาตถือวิสาสะเอาข้อความมาแปะละกันนะครับ
....
เจ้ามหาวงศ์ หรือมหาอำมาตย์
เจ้ามหาวงศ์เป็นบุตรชายของเจ้าเมืองเพชรบูรณ์ มีพี่น้องท้องเดียวกัน ๓ คน เจ้ามหาวงศ์เป็นพี่คนโต มีน้องชายและน้องสาวอีก ๒ คน ครั้นปี พ.ศ. ๒๑๐๖ พระเจ้าบุเรงนองเสด็จยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา (สงครามช้างเผือก) เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ได้ทรงนำบุตรชายเพื่อถวายการรับใช้พระเจ้าบุเรงนอง พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องประดับต่างๆ รวมถึงทหาร ๑,๐๐๐ นาย ม้าศึก ๑๐๐ ตัว และช้างศึก ๑๐ เชือก และภายหลังยังได้ส่งทรัพย์สินและทหารบางส่วนไปช่วยอีกด้วย
หลังจากปี พ.ศ. ๒๑๐๖ เป็นต้นมา ทุกครั้งที่พระเจ้าบุเรงนองทรงทำศึกกับอาณาจักรต่างๆ เจ้ามหาวงศ์กับกองทัพจะร่วมรบกับพระเจ้าบุเรงนองมาโดยตลอด จนถึงสงครามที่พระเจ้าบุเรงนองมาโดยตลอด จนถึงสงครามที่พระเจ้าบุเรงนองทรงยึดนครเวียงจันทน์ไว้ได้เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๑๓ พระเจ้าบุเรงนองทรงพอพระทัยผลงานของเจ้ามหาวงศ์เป็นอย่างยิ่งและได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นอำมาตย์คนหนึ่งในคณะรัฐมนตรี หลังจากสงครามสงบลง อำมาตย์เจ้ามหาวงศ์ทูลขอพระราชทานราชานุญาตพระเจ้าบุเรงนองลางานสักระยะหนึ่ง เพื่อกลับไปเยี่ยมพระบิดาและมารดา
เมื่อพระเจ้าบุเรงนองทรงอนุญาต เจ้ามหาวงศ์จึงเดินทางกลับเพชรบูรณ์พร้อมด้วยกองทัพส่วนตัว เมื่อมาถึงจึงได้ทราบว่าพระบิดาซึ่งเป็นเจ้าเมืองเพชรบูรณ์กับพระมารดาได้สิ้นชีพไปแล้ว และน้องชายกับน้องสาวต่างก็แบ่งมรดกกันเรียบร้อยแล้ว โดยไม่ได้ส่งข่าวให้เจ้ามหาวงศ์ซึ่งเป็นพี่คนโตทราบแต่อย่างใด เพราะน้องทั้ง ๒ คน คิดว่าพี่ชายได้สมบัติส่วนหนึ่งไปก่อนแล้วตั้งแต่บิ
ับมารดายังมีชีวิตอยู่ จึงไม่ได้แบ่งส่วนของพี่ไว้ ฉะนั้น ตำแหน่งเจ้าเมืองคนใหม่ก็ตกเป้นของน้องชายไปเสียแล้ว (ตามการบันทึกในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา มีความเป็นไปได้ว่าเจ้าเมืองเพชรบูรณ์คนใหม่นี้คือพระเพชรรัตน)
เจ้ามหาวงศ์ไม่พอใจน้องทั้งสองอย่างยิ่ง และกล่าวกับน้องชายและน้องสาวว่าหากไม่สะดวกส่งข่าวทันทีเพราะติดพันสงครามอยู่นั้น ก็พอให้อภัยกันได้ แต่หลังสงครามสงบลงแล้วน่าจะส่งข่าวไปบอกบ้าง จะจัดการทุกอย่างกันเองตามใจชอบเหมือนไม่ให้เกียรติพี่คนโตนั้นไม่ดีเลย เจ้ามหาวงศ์จึงขอเข้าเฝ้าพระมหาธรรมราชาซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาในเวลานั้น โดยทูลขอให้ทรงเมตตาไต่ส่วนคดีนี้ พระมหาธรรมราชาจึงทรงแต่งตั้งพระนรากับพระนราชให้เป็นผู้พิพากษารับหน้าที่ไต่ส่วนคดีนี้ ผู้พิพากษาทั้งสองจึงสั่งเจ้ามหาวงศ์ ผู้ร้องทุกข์ กับน้องชายและน้องสาว ผู้เป็นจำเลย ให้มาขึ้นศาลที่กรุงศรีอยุธยา
คดีนี้เป็นคดีมรดกซึ่งเจ้าทรัพย์เป็นบิดามารดา คือเจ้าเมืองเพชรบูรณ์กับภรรยา มี บุตร ๓ คน เมื่อบิ
ับมารดาเสียชีวิตลง บุตรชายคนโตไม่ได้อยู่ด้วยในเวลานั้นเพราะได้ไปปฏิบัติหน้าที่การงานแทนบิดาที่อื่น และไม่ได้ดูแลบิ
ับมารดาในวาระสุดท้าย มารดานั้นตายไปก่อนบิดา เมื่อบิดาใกล้จะตาย ได้ทำพินัยกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยลายมือของตนเอง โดยแบ่งมรดกให้ลูกสองคนที่อยู่ด้วยและดูแลพ่อกับแม่มาตลอด โดยพินัยกรรมนี้ได้กระทำต่อหน้าพระสงฆ์และผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองไว้เรียบร้อยแล้ว ส่วนบุตรชายคนโตที่ไปทำงานอยู่ไกลนั้น ได้รับมรดกไปก่อนหน้าที่จะเดินทางไปทำงานแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องแบ่งให้อีก ผู้พิพากษาทั้งสองได้วินิจฉัยข้อกฎหมายและชี้ขาดดังนี้
๑. ถ้าคนตายให้ คนเป็นต้องได้ และบุตรต้องรับคำสั่งของบิ
ับมารดา หมายความว่าบิดาทำพินัยกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนตายเรียบร้อยแล้ว บุตรทั้งหลายจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของบิ
ับมารดา
๒. แบ่งมรดกกันเป็นสัดส่วนเรียบร้อย ถูกต้องตามพินัยกรรมทุกประการ
๓. ผู้ที่ได้รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสอง มีสิทธิ์ใช้สอยได้ตามใจชอบ เพราะตนเองเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนนั้นไปแล้ว
ฉะนั้น จะกลับมาเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมที่คนตายทำไว้ไม่ได้แล้ว
อำมาตย์มหาวงศ์ยอมรับคำพิพากษานี้ไม่ได้ เพราะตนเองรับราชการในพระราชวังมานาน ก็พอจะรู้ข้อกฎหมายอยู่พอสมควร อำมาตย์มหาวงศ์มองว่าการพิพากษาคดีลักษณะนี้ยังไม่สมบูรณ์ จึงเดินทางกลับไปหงสาวดี ขอเข้าเฝ้าพระเจ้าบุเรงนอง อุทธรณ์ขอไต่สวนคดีนี้อีกครั้ง พระเจ้าบุเรงนองจึงมีรับสั่งให้นันทจอเทงกับมหามนตรีไต่สวนคดีนี้อีกครั้ง ผู้พิพากษาทั้งสอง จึงได้ศึกษาความเป็นมาของคดี และลงความเห็นว่า
๑. ถ้าคนตายให้ คนเป้นต้องได้
๒. บุตรชายคนโตไม่ได้อยู่ด้วยกัน คนที่อยู่ด้วยกันและคอยดูแลรับใช้บิดามารดาเป็นบุตรชายคนที่สองกับบุตรี
๓. การทำพินัยกรรมยกมรดกให้แก่บุตรทั้งสอง กระทำต่อหน้าพระสงฆ์ ผู้ใหญ่ผู้มีเกียรติในบ้านเมือง
ฉะนั้น คำพิพากษาทางกรุงศรีอยุธยานั้นถูกต้องสมบูรณ์แล้ว
เมื่ออำมาตย์มหาวงศ์ทราบดังนั้น จึงกราบทูลอ้อนวอนพระเจ้าบุเรงนองว่า “หากข้อกฎหมายเป็นแบบนี้จริง ข้าพระพุทธเจ้าคงจะยอมรับคำพิพากษาจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่ข้าพระพุทธเจ้ากลับมาขอพึ่งพระองค์ ทูลขอให้มีพระราชานุญาตไต่สวนอีกครั้ง เพราะข้าพระพุทธเจ้าเชื่อว่า สิ่งที่พิพากษาไปนั้นไม่ยุติธรรม จึงทูลขอให้ไต่สวนอีกครั้ง” พระเจ้าบุเรงนองจึงมีรับสั่งให้ธรรมราชากับมหาสามารถไต่สวนคดีนี้อีกครั้ง เป็นครั้งที่ ๓ ซึ่งท่านทั้งสองก็มีคำพิพากษาดังนี้
๑. บุตรชายคนโตได้รับมรดกจากบิดามารดาไปก่อนหน้าที่บิ
ับมารดาจะตายแล้ว
๒. การแบ่งมรดกให้น้องชายกับน้องสาวนั้น เป็นไปตามพินัยกรรมซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรถูกต้องและทำขึ้นต่อหน้าพระสงฆ์และพวกผู้ใหญ่ในบ้านเมืองแล้ว
๓. ผู้พิพากษาสยามจากกรุงศรีอยุธยาและผู้พิพากษาพม่าได้ตัดสินคดีถูกต้องสมบูรณ์ดีแล้ว
แต่อำมาตย์มหาวงศ์ก็ไม่ยอมรับเหมือนเดิม จึงมีรับสั่งให้อำมาตย์ราชธรรมกับมหาราชมนุไต่สวนอีก แต่ผลก็ออกมาเหมือนเดิม อำมาตย์มหาวงศ์ก็ยังดื้อแพ่งไม่ยอมรับอีกเช่นเคย
พระเจ้าบุเรงนองทรงอ่อนพระทัยจึงมีรับสั่งว่า “เจ้ามหาวงศ์ เราทราบดีว่าเจ้าเป็นคนที่ซื่อสัตย์และรับใช้เรามานาน จึงให้มีการไต่สวนหลายครั้ง ผลก็ออกมาดังที่เจ้าเห็นทุกครั้ง และเจ้าก็ไม่พอใจทุกครั้งเช่นกัน เราก็เห็นใจเจ้า แต่ผู้พิพากษาอาวุโสในวังนี้ก็ไต่สวนคดีเจ้ากันหมดแล้ว เหลือเพียงแต่เจ้าชิงจอสูคนเดียว แต่เจ้าชิงจอสูนี้ก็ยังอายุไม่มากนัก ไม่ได้อยู่ในระดับอาวุโส เราจะให้ชิงจอสูตัดสินพิพากษาคดีเจ้าเป็นครั้งสุดท้าย และนี่จะเป็นโอกาสสุดท้ายสำหรับเจ้า เจ้าจะต้องยอมรับการวินิจฉัยของชิงจอสู ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ตกลงไหม”
อำมาตย์มหาวงศ์ยอมรับ พระเจ้าบุเรงนองจึงตรัสแก่เจ้าชิงจอสูว่า “เจ้าจงวินิจฉัยด้วยเหตุผล มรดกนั้นจะมากน้อยแค่ไหนไม่สำคัญ สำคัญที่บุตรคนใดมีสิทธิ์ได้ครอบครองมรดก รวมถึงจำนวนสัดส่วนของมรดกนั้นด้วย นอกจากนั้นเจ้าจะต้องศึกษาข้อกฎหมายธรรมศาสตร์ซึ่งมีข้อต่างกันระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงหงสาวดีให้ชำนาญลึกซึ้ง และจะต้องวินิจฉัยโดยธรรม ผู้พิพากษาไม่จำเป็นต้องเป็นผู้อาวุโส อยู่ที่ความเฉลียวฉลาดและชำนาญ ยกตัวอย่างเช่น พระมโหสถ พิพากษาคดีอาทาสมุข กับสัมภวะตั้งแต่วัยเยาว์ เป็นต้น และการวินิจฉัยของเจ้า จะถือเป็นการชี้ขาด”
การวินิจฉัยของชิงจอสู มีดังนี้...
ในอดีตอยุธยาและพม่าเคยใช้กฎหมายร่วมกัน
....
เจ้ามหาวงศ์ หรือมหาอำมาตย์
เจ้ามหาวงศ์เป็นบุตรชายของเจ้าเมืองเพชรบูรณ์ มีพี่น้องท้องเดียวกัน ๓ คน เจ้ามหาวงศ์เป็นพี่คนโต มีน้องชายและน้องสาวอีก ๒ คน ครั้นปี พ.ศ. ๒๑๐๖ พระเจ้าบุเรงนองเสด็จยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา (สงครามช้างเผือก) เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ได้ทรงนำบุตรชายเพื่อถวายการรับใช้พระเจ้าบุเรงนอง พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องประดับต่างๆ รวมถึงทหาร ๑,๐๐๐ นาย ม้าศึก ๑๐๐ ตัว และช้างศึก ๑๐ เชือก และภายหลังยังได้ส่งทรัพย์สินและทหารบางส่วนไปช่วยอีกด้วย
หลังจากปี พ.ศ. ๒๑๐๖ เป็นต้นมา ทุกครั้งที่พระเจ้าบุเรงนองทรงทำศึกกับอาณาจักรต่างๆ เจ้ามหาวงศ์กับกองทัพจะร่วมรบกับพระเจ้าบุเรงนองมาโดยตลอด จนถึงสงครามที่พระเจ้าบุเรงนองมาโดยตลอด จนถึงสงครามที่พระเจ้าบุเรงนองทรงยึดนครเวียงจันทน์ไว้ได้เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๑๓ พระเจ้าบุเรงนองทรงพอพระทัยผลงานของเจ้ามหาวงศ์เป็นอย่างยิ่งและได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นอำมาตย์คนหนึ่งในคณะรัฐมนตรี หลังจากสงครามสงบลง อำมาตย์เจ้ามหาวงศ์ทูลขอพระราชทานราชานุญาตพระเจ้าบุเรงนองลางานสักระยะหนึ่ง เพื่อกลับไปเยี่ยมพระบิดาและมารดา
เมื่อพระเจ้าบุเรงนองทรงอนุญาต เจ้ามหาวงศ์จึงเดินทางกลับเพชรบูรณ์พร้อมด้วยกองทัพส่วนตัว เมื่อมาถึงจึงได้ทราบว่าพระบิดาซึ่งเป็นเจ้าเมืองเพชรบูรณ์กับพระมารดาได้สิ้นชีพไปแล้ว และน้องชายกับน้องสาวต่างก็แบ่งมรดกกันเรียบร้อยแล้ว โดยไม่ได้ส่งข่าวให้เจ้ามหาวงศ์ซึ่งเป็นพี่คนโตทราบแต่อย่างใด เพราะน้องทั้ง ๒ คน คิดว่าพี่ชายได้สมบัติส่วนหนึ่งไปก่อนแล้วตั้งแต่บิับมารดายังมีชีวิตอยู่ จึงไม่ได้แบ่งส่วนของพี่ไว้ ฉะนั้น ตำแหน่งเจ้าเมืองคนใหม่ก็ตกเป้นของน้องชายไปเสียแล้ว (ตามการบันทึกในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา มีความเป็นไปได้ว่าเจ้าเมืองเพชรบูรณ์คนใหม่นี้คือพระเพชรรัตน)
เจ้ามหาวงศ์ไม่พอใจน้องทั้งสองอย่างยิ่ง และกล่าวกับน้องชายและน้องสาวว่าหากไม่สะดวกส่งข่าวทันทีเพราะติดพันสงครามอยู่นั้น ก็พอให้อภัยกันได้ แต่หลังสงครามสงบลงแล้วน่าจะส่งข่าวไปบอกบ้าง จะจัดการทุกอย่างกันเองตามใจชอบเหมือนไม่ให้เกียรติพี่คนโตนั้นไม่ดีเลย เจ้ามหาวงศ์จึงขอเข้าเฝ้าพระมหาธรรมราชาซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาในเวลานั้น โดยทูลขอให้ทรงเมตตาไต่ส่วนคดีนี้ พระมหาธรรมราชาจึงทรงแต่งตั้งพระนรากับพระนราชให้เป็นผู้พิพากษารับหน้าที่ไต่ส่วนคดีนี้ ผู้พิพากษาทั้งสองจึงสั่งเจ้ามหาวงศ์ ผู้ร้องทุกข์ กับน้องชายและน้องสาว ผู้เป็นจำเลย ให้มาขึ้นศาลที่กรุงศรีอยุธยา
คดีนี้เป็นคดีมรดกซึ่งเจ้าทรัพย์เป็นบิดามารดา คือเจ้าเมืองเพชรบูรณ์กับภรรยา มี บุตร ๓ คน เมื่อบิับมารดาเสียชีวิตลง บุตรชายคนโตไม่ได้อยู่ด้วยในเวลานั้นเพราะได้ไปปฏิบัติหน้าที่การงานแทนบิดาที่อื่น และไม่ได้ดูแลบิับมารดาในวาระสุดท้าย มารดานั้นตายไปก่อนบิดา เมื่อบิดาใกล้จะตาย ได้ทำพินัยกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยลายมือของตนเอง โดยแบ่งมรดกให้ลูกสองคนที่อยู่ด้วยและดูแลพ่อกับแม่มาตลอด โดยพินัยกรรมนี้ได้กระทำต่อหน้าพระสงฆ์และผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองไว้เรียบร้อยแล้ว ส่วนบุตรชายคนโตที่ไปทำงานอยู่ไกลนั้น ได้รับมรดกไปก่อนหน้าที่จะเดินทางไปทำงานแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องแบ่งให้อีก ผู้พิพากษาทั้งสองได้วินิจฉัยข้อกฎหมายและชี้ขาดดังนี้
๑. ถ้าคนตายให้ คนเป็นต้องได้ และบุตรต้องรับคำสั่งของบิับมารดา หมายความว่าบิดาทำพินัยกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนตายเรียบร้อยแล้ว บุตรทั้งหลายจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของบิับมารดา
๒. แบ่งมรดกกันเป็นสัดส่วนเรียบร้อย ถูกต้องตามพินัยกรรมทุกประการ
๓. ผู้ที่ได้รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสอง มีสิทธิ์ใช้สอยได้ตามใจชอบ เพราะตนเองเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนนั้นไปแล้ว
ฉะนั้น จะกลับมาเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมที่คนตายทำไว้ไม่ได้แล้ว
อำมาตย์มหาวงศ์ยอมรับคำพิพากษานี้ไม่ได้ เพราะตนเองรับราชการในพระราชวังมานาน ก็พอจะรู้ข้อกฎหมายอยู่พอสมควร อำมาตย์มหาวงศ์มองว่าการพิพากษาคดีลักษณะนี้ยังไม่สมบูรณ์ จึงเดินทางกลับไปหงสาวดี ขอเข้าเฝ้าพระเจ้าบุเรงนอง อุทธรณ์ขอไต่สวนคดีนี้อีกครั้ง พระเจ้าบุเรงนองจึงมีรับสั่งให้นันทจอเทงกับมหามนตรีไต่สวนคดีนี้อีกครั้ง ผู้พิพากษาทั้งสอง จึงได้ศึกษาความเป็นมาของคดี และลงความเห็นว่า
๑. ถ้าคนตายให้ คนเป้นต้องได้
๒. บุตรชายคนโตไม่ได้อยู่ด้วยกัน คนที่อยู่ด้วยกันและคอยดูแลรับใช้บิดามารดาเป็นบุตรชายคนที่สองกับบุตรี
๓. การทำพินัยกรรมยกมรดกให้แก่บุตรทั้งสอง กระทำต่อหน้าพระสงฆ์ ผู้ใหญ่ผู้มีเกียรติในบ้านเมือง
ฉะนั้น คำพิพากษาทางกรุงศรีอยุธยานั้นถูกต้องสมบูรณ์แล้ว
เมื่ออำมาตย์มหาวงศ์ทราบดังนั้น จึงกราบทูลอ้อนวอนพระเจ้าบุเรงนองว่า “หากข้อกฎหมายเป็นแบบนี้จริง ข้าพระพุทธเจ้าคงจะยอมรับคำพิพากษาจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่ข้าพระพุทธเจ้ากลับมาขอพึ่งพระองค์ ทูลขอให้มีพระราชานุญาตไต่สวนอีกครั้ง เพราะข้าพระพุทธเจ้าเชื่อว่า สิ่งที่พิพากษาไปนั้นไม่ยุติธรรม จึงทูลขอให้ไต่สวนอีกครั้ง” พระเจ้าบุเรงนองจึงมีรับสั่งให้ธรรมราชากับมหาสามารถไต่สวนคดีนี้อีกครั้ง เป็นครั้งที่ ๓ ซึ่งท่านทั้งสองก็มีคำพิพากษาดังนี้
๑. บุตรชายคนโตได้รับมรดกจากบิดามารดาไปก่อนหน้าที่บิับมารดาจะตายแล้ว
๒. การแบ่งมรดกให้น้องชายกับน้องสาวนั้น เป็นไปตามพินัยกรรมซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรถูกต้องและทำขึ้นต่อหน้าพระสงฆ์และพวกผู้ใหญ่ในบ้านเมืองแล้ว
๓. ผู้พิพากษาสยามจากกรุงศรีอยุธยาและผู้พิพากษาพม่าได้ตัดสินคดีถูกต้องสมบูรณ์ดีแล้ว
แต่อำมาตย์มหาวงศ์ก็ไม่ยอมรับเหมือนเดิม จึงมีรับสั่งให้อำมาตย์ราชธรรมกับมหาราชมนุไต่สวนอีก แต่ผลก็ออกมาเหมือนเดิม อำมาตย์มหาวงศ์ก็ยังดื้อแพ่งไม่ยอมรับอีกเช่นเคย
พระเจ้าบุเรงนองทรงอ่อนพระทัยจึงมีรับสั่งว่า “เจ้ามหาวงศ์ เราทราบดีว่าเจ้าเป็นคนที่ซื่อสัตย์และรับใช้เรามานาน จึงให้มีการไต่สวนหลายครั้ง ผลก็ออกมาดังที่เจ้าเห็นทุกครั้ง และเจ้าก็ไม่พอใจทุกครั้งเช่นกัน เราก็เห็นใจเจ้า แต่ผู้พิพากษาอาวุโสในวังนี้ก็ไต่สวนคดีเจ้ากันหมดแล้ว เหลือเพียงแต่เจ้าชิงจอสูคนเดียว แต่เจ้าชิงจอสูนี้ก็ยังอายุไม่มากนัก ไม่ได้อยู่ในระดับอาวุโส เราจะให้ชิงจอสูตัดสินพิพากษาคดีเจ้าเป็นครั้งสุดท้าย และนี่จะเป็นโอกาสสุดท้ายสำหรับเจ้า เจ้าจะต้องยอมรับการวินิจฉัยของชิงจอสู ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ตกลงไหม”
อำมาตย์มหาวงศ์ยอมรับ พระเจ้าบุเรงนองจึงตรัสแก่เจ้าชิงจอสูว่า “เจ้าจงวินิจฉัยด้วยเหตุผล มรดกนั้นจะมากน้อยแค่ไหนไม่สำคัญ สำคัญที่บุตรคนใดมีสิทธิ์ได้ครอบครองมรดก รวมถึงจำนวนสัดส่วนของมรดกนั้นด้วย นอกจากนั้นเจ้าจะต้องศึกษาข้อกฎหมายธรรมศาสตร์ซึ่งมีข้อต่างกันระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงหงสาวดีให้ชำนาญลึกซึ้ง และจะต้องวินิจฉัยโดยธรรม ผู้พิพากษาไม่จำเป็นต้องเป็นผู้อาวุโส อยู่ที่ความเฉลียวฉลาดและชำนาญ ยกตัวอย่างเช่น พระมโหสถ พิพากษาคดีอาทาสมุข กับสัมภวะตั้งแต่วัยเยาว์ เป็นต้น และการวินิจฉัยของเจ้า จะถือเป็นการชี้ขาด”
การวินิจฉัยของชิงจอสู มีดังนี้...