ตำแหน่ง Buyer Officer / Material Control officer /Planner officer

จขกท.มีนัดสัมภาษณ์งานตำแหน่ง Buyer Officer / Material Control officer /Planner officer ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม
แต่เราเคยมีประสบการณ์ทำงานจัดซื้อมาบ้างเป็นบริษัทเล็กๆ ในโปรแกรมMicrosoft office ทั่วไป ภาษาอังกฤษพอฟัง พูด อ่าน เขียน รู้เรื่อง
 
อยากรู้ว่าตำแหน่งนี้ ควรเรียกเงินเดือนที่เท่าไหร่
แล้วต้องเตรียมความพร้อมความรู้ด้านอะไรบ้าง ใครทำงานสายนี้แบ่งปันสิ่งที่ต้องเจอ หรือแนะนำวิธีแก้ไขให้ทีค่ะ
 
ไม่อยากให้งานนี้หลุดไปเลย
 
ถ้าได้งานที่นี่ จะขวนขวายกอบโกยความรู้ให้ได้มากที่สุดเลย
 
เนื่องจากปีที่แล้วตกงานไปทำร้านสะดวกซื้อเงินเดือนพอประมาณ แต่ความรู้ที่เรามีไม่ได้ใช้เลย
 
เจองานตำแหน่งนี้ไปแล้วเขาติดต่อมาเรียกสัมภาษณ์ อึ้งงงงงง ทำไรไม่ถูกแล้วค่ะ
 
เข้ามาอ่านแล้วช่วยตอบหน่อยนะคะ อย่าปล่อยผ่านเลย
 
สงสารเราเถอะ ถือว่าช่วยลูกหมู ลูกหมา

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
โรงงานอาหาร หรืออิเล็กทรอนิกส์ครับ
ผมตอบในสายงานอาหารแปรรูป/เครื่องดื่มนะครับ

ตำแหน่งที่จะสัมภาษณ์ ใช้ทักษะ ความรู้ใกล้ๆกัน แต่คนละเนื้องาน แล้วแต่ว่าแต่ละองค์กร จัดสรรหน้าที่กันอย่างไร แต่ภาพรวมก็ตามนี้
Buyer Officer (จัดซื้อ/จัดหา) : จัดหาวัตถุดิบ ซัพพลายเออร์รายใหม่ ต่อรองราคา เปรียบเทียบราคา ประสานงานสั่งซื้อวัตถุดิบเข้าโรงงาน (PR/PO) อื่นๆ
Material Control officer (วางแผนซื้อวัตถุดิบ) : มีความรู้เรื่อง MRP (Material Resource Planning), Inventory control , BOM (Bill of material)
Planner officer (วางแผนผลิต) : มีความรู้เรื่อง MRP, MPS (Master Production Schedule), Inventory control , BOM (Bill of material)

สิ่งสำคัญคือ
1. วางแผนการผลิต หรือการเรียกเข้าวัตถุดิบให้สอดคล้องกับความต้องการสินค้าของลูกค้า (ส่งสินค้าได้ทันเวลา ได้คุณภาพ และครบจำนวนที่ต้องการ)
2. โรงงานต้องมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม เช่น
2.1 วางแผนพนง.เข้าผลิตกี่กะ
2.2 จะเปิด OT หรือไม่ ช่วงไหนควรผลิตทำสต็อค
2.3 หยุดไลน์เพื่อ maintanance ช่วงไหนที่ไม่กระทบการผลิต
2.4 สั่งซื้อวัตถุดิบมาเยอะเกินไปหรือไม่ ซึ่งกระทบกับพื้นที่จัดเก็บ และเงินทุนที่นำไปซื้อวัตถุดิบแต่แต่ไม่ถูกนำมาผลิต
2.5 ผลิตสินค้าตัวไหนก่อน/หลัง จำนวนที่ผลิตสอดคล้องกับออเดอร์ลูกค้าหรือไม่
2.6 อายุสินค้าสำเร็จรูปต้องจัดเก็บที่โรงงานไม่เกินกี่วัน
2.7 เมื่อได้สินค้าสำเร็จรูปแล้ว ต้องผลักดันสินค้าออกจากโรงงานภายในกี่วัน
2.8 วัตถุดิบที่เคลื่อนไหวช้า หรือไม่เคลื่อนไหวเลย (Slow movement stock, dead stock) จะทำอย่างไร

สำหรับการเตรียมตัวสัมภาษณ์
1. ศึกษาเรื่อง ERP, MRP, MPS, Inventory control, Slow movement stock, dead stock,
2. Excel จำเป็นในการทำงาน เช่นการทำรายงาน กราฟ ตาราง การใช้ Pivot table, Vlookup เป็นพื้นฐานสำหรับสายงานนี้
3. ระบบมาตรฐานโรงงาน เช่น ISO ต่างๆ โรงงานที่จะสัมภาษณ์มีระบบมาตรฐานอะไรบ้าง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่