สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
Power bank สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า แบบนี้พอเป็นไปได้ไหมครับ
ถ้าเราเผื่อที่ว่างในรถสักนิดนึง เอาเครื่องยนต์รถมอเตอร์ไซค์น้ำมัน 1 สูบ 125 ซีซี ดัดแปลงให้ใช้น้ำมัน
เพื่อปั่นไฟให้รถยนต์ไฟฟ้าวิ่งได้ต่อ ต้นทุนจะเพิ่มอีกแค่ไม่กี่หมื่น
จะพอเป็นไปได้ไหมครับ หรือว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้ไม่พอจะขับเคลื่อนรถไฟฟ้าทั้งคันได้?
ได้ครับ .... แต่ต้องดูด้วยว่าเครื่องยนต์ 125 cc ตัวนั้นจะมี power ที่จะสามารถชาร์จแบตรถไฟฟ้าคันนั้น
ให้เต็มได้กี่ % ภายในเวลาเท่าใด ? ลองมาประมาณการ/คำนวณคร่าว ๆ ดูนะครับ .....
เครื่องยนต์ 125 cc จะมีแรงม้าที่รอบทำการปกติประมาณ 10 แรงม้า ก็คือ 7.45 kW
และ power 7.45 kW จากเครื่องยนต์ นี้ เมื่อนำไปปั่น Generator ก็จะมีการ loss อะไรต่าง ๆ บ้าง
สมมุติ loss ทุกอย่างไปอีก 20% ก็จะคงเหลือ power เข้าชาร์จแบตรถไฟฟ้าได้ 7.45 - 20% = 6 kW
สมมุติรถไฟฟ้าคันหนึ่งใช้ไฟจนเกลี้ยงแบต และเหลือระยะทางอีก 40 กิโลเมตรจะถึงสถานีชาร์จ
ปกติรถไฟฟ้าทั่วไปจะสิ้นเปลืองพลังงานเฉลี่ย 8 กิโลเมตร ต่อ 1kWh ..... ดังนั้น 40 km จะต้องใช้
พลังงานแบตเตอรี่ 40/8 = 5 kWh ..... แต่ power จากเครื่อง 125 cc มี 6kW ดังนั้นจะต้องใช้
เวลาชาร์จแบตประมาณ 5/6 ชั่วโมง หรือ 50 นาที ครับ
สรุป ..... หลักการนี้ทำได้ครับ เพียงแค่เราจะต้องวางแผนดี ๆ ว่าหากจะเดินทางไกลมาก ๆ
โดยไม่มีสถานี fast charge ระหว่างทางเลย เราจะต้องเสียเวลาจอดรถชาร์จแบตนานเท่าใด
แต่การขับไป-ชาร์จไปด้วยเครื่อง 125 cc อันนี้ผมว่าจะคำนวณได้ยาก เพราะระบบลึก ๆ ของ
การชาร์จแบจรถไฟฟ้าน่าจะมีรายละเอียดอะไรอีกเยอะเลย
และที่ จขกท.ถามว่า ถ้าตั้งใจให้เป็นโหมดฉุกเฉิน คือใช้เฉพาะไฟฟ้าในแบตหมด
วิ่งได้ซัก 40 กม/ชม. ขณะเครื่องยนต์น้ำมันทำงาน แบบสร้างไฟฟ้าส่งไปมอเตอร์ทันทีจะพอไหมครับ
อันนี้เห็นชัดเจนว่าไม่พอแน่นอนครับ เพราะ power แค่ 6 - 7 kW จากเครื่อง 125 cc
ไม่พอสำหรับรถหนักขนาด 1 ตันให้วิ่งได้เร็วแน่นอน ..... ลองคำนวณแบบคร่าว ๆ ได้ดังนี้ครับ (ยาวนิดนึงนะ)
ขั้นแรก
จะต้องหา "แรงต้าน" ของรถก่อน แรงต้านนี้ก็มาจากการคำนวณหลาย ๆ อย่างรวมกัน
เช่น แรงต้านอากาศ , แรงต้านจาก rolling resistance (แรงต้านจากล้อ) แรงต้านอากาศ
ของรถยนต์ที่วิ่งประมาณ 40 km/h จะมีค่าประมาณ 1,000 - 1,200 นิวตัน
การหาแรงต้านจาก rolling resistance ก็คือต้องหาแรงต้านจากล้อครับ ซึ่งมีสูตรการคำนวณดังนี้
FR = cW
โดย FR คือแรงต้านของล้อ
c คือ rolling resistance coefficient
W คือ mg (แรงจากน้ำหนัก)
ค่าของ rolling resistance coefficient จะมีตารางมาตรฐานของมันอยู่ครับ
กรณีของเราคือล้อรถยนต์บนพื้นคอนกรีต จะค่า rolling resistance coefficient นี้ ก็จะประมาณ 0.05
รถหนักประมาณ 1,200 kg ดังนั้น rolling resistance ของเราก็จะคำนวณได้ว่า FR = cW = 0.05 X 1,200 kg X 9.81 = 588 นิวตัน
ขั้นที่สอง
เราก็เอา แรงต้านของ(รถ) ที่เราหาได้จากข้อแรกมาเข้าสูตร P = FDV
โดย FD คือแรงต้านทั้งหมด (กรณีของเราคือแรงต้านจากล้อ 588 นิวตัน + แรงต้านอากาศ 1,000 นิวตัน)
และ V คือ ความเร็ว
สมมุติเราต้องการให้(รถ)เราเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 40 กม./ชม. (12 m/s)
เราก็คำนวณ Power ที่ต้องใช้ขั้นต่ำได้ว่า P = FDV = (588+1,000)⨯12 = 19,055 วัตต์
สรุป จะต้องใช้ power ประมาณ 19.1 kW ในการขับเคลื่อนรถหนัก 1,200 kg ให้มีความเร็ว 40 กม./ชม. ได้ครับ
ถ้าเราเผื่อที่ว่างในรถสักนิดนึง เอาเครื่องยนต์รถมอเตอร์ไซค์น้ำมัน 1 สูบ 125 ซีซี ดัดแปลงให้ใช้น้ำมัน
เพื่อปั่นไฟให้รถยนต์ไฟฟ้าวิ่งได้ต่อ ต้นทุนจะเพิ่มอีกแค่ไม่กี่หมื่น
จะพอเป็นไปได้ไหมครับ หรือว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้ไม่พอจะขับเคลื่อนรถไฟฟ้าทั้งคันได้?
ได้ครับ .... แต่ต้องดูด้วยว่าเครื่องยนต์ 125 cc ตัวนั้นจะมี power ที่จะสามารถชาร์จแบตรถไฟฟ้าคันนั้น
ให้เต็มได้กี่ % ภายในเวลาเท่าใด ? ลองมาประมาณการ/คำนวณคร่าว ๆ ดูนะครับ .....
เครื่องยนต์ 125 cc จะมีแรงม้าที่รอบทำการปกติประมาณ 10 แรงม้า ก็คือ 7.45 kW
และ power 7.45 kW จากเครื่องยนต์ นี้ เมื่อนำไปปั่น Generator ก็จะมีการ loss อะไรต่าง ๆ บ้าง
สมมุติ loss ทุกอย่างไปอีก 20% ก็จะคงเหลือ power เข้าชาร์จแบตรถไฟฟ้าได้ 7.45 - 20% = 6 kW
สมมุติรถไฟฟ้าคันหนึ่งใช้ไฟจนเกลี้ยงแบต และเหลือระยะทางอีก 40 กิโลเมตรจะถึงสถานีชาร์จ
ปกติรถไฟฟ้าทั่วไปจะสิ้นเปลืองพลังงานเฉลี่ย 8 กิโลเมตร ต่อ 1kWh ..... ดังนั้น 40 km จะต้องใช้
พลังงานแบตเตอรี่ 40/8 = 5 kWh ..... แต่ power จากเครื่อง 125 cc มี 6kW ดังนั้นจะต้องใช้
เวลาชาร์จแบตประมาณ 5/6 ชั่วโมง หรือ 50 นาที ครับ
สรุป ..... หลักการนี้ทำได้ครับ เพียงแค่เราจะต้องวางแผนดี ๆ ว่าหากจะเดินทางไกลมาก ๆ
โดยไม่มีสถานี fast charge ระหว่างทางเลย เราจะต้องเสียเวลาจอดรถชาร์จแบตนานเท่าใด
แต่การขับไป-ชาร์จไปด้วยเครื่อง 125 cc อันนี้ผมว่าจะคำนวณได้ยาก เพราะระบบลึก ๆ ของ
การชาร์จแบจรถไฟฟ้าน่าจะมีรายละเอียดอะไรอีกเยอะเลย
และที่ จขกท.ถามว่า ถ้าตั้งใจให้เป็นโหมดฉุกเฉิน คือใช้เฉพาะไฟฟ้าในแบตหมด
วิ่งได้ซัก 40 กม/ชม. ขณะเครื่องยนต์น้ำมันทำงาน แบบสร้างไฟฟ้าส่งไปมอเตอร์ทันทีจะพอไหมครับ
อันนี้เห็นชัดเจนว่าไม่พอแน่นอนครับ เพราะ power แค่ 6 - 7 kW จากเครื่อง 125 cc
ไม่พอสำหรับรถหนักขนาด 1 ตันให้วิ่งได้เร็วแน่นอน ..... ลองคำนวณแบบคร่าว ๆ ได้ดังนี้ครับ (ยาวนิดนึงนะ)
ขั้นแรก
จะต้องหา "แรงต้าน" ของรถก่อน แรงต้านนี้ก็มาจากการคำนวณหลาย ๆ อย่างรวมกัน
เช่น แรงต้านอากาศ , แรงต้านจาก rolling resistance (แรงต้านจากล้อ) แรงต้านอากาศ
ของรถยนต์ที่วิ่งประมาณ 40 km/h จะมีค่าประมาณ 1,000 - 1,200 นิวตัน
การหาแรงต้านจาก rolling resistance ก็คือต้องหาแรงต้านจากล้อครับ ซึ่งมีสูตรการคำนวณดังนี้
FR = cW
โดย FR คือแรงต้านของล้อ
c คือ rolling resistance coefficient
W คือ mg (แรงจากน้ำหนัก)
ค่าของ rolling resistance coefficient จะมีตารางมาตรฐานของมันอยู่ครับ
กรณีของเราคือล้อรถยนต์บนพื้นคอนกรีต จะค่า rolling resistance coefficient นี้ ก็จะประมาณ 0.05
รถหนักประมาณ 1,200 kg ดังนั้น rolling resistance ของเราก็จะคำนวณได้ว่า FR = cW = 0.05 X 1,200 kg X 9.81 = 588 นิวตัน
ขั้นที่สอง
เราก็เอา แรงต้านของ(รถ) ที่เราหาได้จากข้อแรกมาเข้าสูตร P = FDV
โดย FD คือแรงต้านทั้งหมด (กรณีของเราคือแรงต้านจากล้อ 588 นิวตัน + แรงต้านอากาศ 1,000 นิวตัน)
และ V คือ ความเร็ว
สมมุติเราต้องการให้(รถ)เราเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 40 กม./ชม. (12 m/s)
เราก็คำนวณ Power ที่ต้องใช้ขั้นต่ำได้ว่า P = FDV = (588+1,000)⨯12 = 19,055 วัตต์
สรุป จะต้องใช้ power ประมาณ 19.1 kW ในการขับเคลื่อนรถหนัก 1,200 kg ให้มีความเร็ว 40 กม./ชม. ได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
Power bank สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า แบบนี้พอเป็นไปได้ไหมครับ
ถ้าเราเผื่อที่ว่างในรถสักนิดนึง เอาเครื่องยนต์รถมอเตอร์ไซค์น้ำมัน 1 สูบ 125 ซีซี ดัดแปลงให้ใช้น้ำมัน เพื่อปั่นไฟให้รถยนต์ไฟฟ้าวิ่งได้ต่อ
ต้นทุนจะเพิ่มอีกแค่ไม่กี่หมื่น
จะพอเป็นไปได้ไหมครับ หรือว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้ไม่พอจะขับเคลื่อนรถไฟฟ้าทั้งคันได้?