ขอรบกวนสอบถามเกี่ยวกับกฎหมายครับ ผมพยายามหาข้อมูลจากกูเกิ้ลแล้วแต่ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ตรง จึงต้องมาตั้งกระทู้ เผื่อว่าพอจะมีใครให้ความรู้และให้คำตอบให้คลายสงสัยได้
ขอเริ่มเรื่องเลยนะครับ ขอสมมุติชื่อเพื่อความสะดวกในการอ้างอิงนะครับ
ที่บ้านทำกิจการโดยจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด แรกเริ่มตั้งบริษัท คุณป้าของผม (สมมุติชื่อว่า นางสาวทิพย์) เป็นผู้เริ่มต้นในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด โดยใส่ชื่อผู้ถือหุ้นอีก 3คน (คือ นางพรเพ็ญ, นายวรุฒ, นายกิจจา) โดยมีนางสาวทิพย์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และเป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจลงนามเพียงผู้เดียว
นางสาวทิพย์ ได้ซื้อที่ดินเพื่อสร้างเป็นสำนักงาน ทำสัญญาซื้อขายในนามของบริษัท โดยที่นางสาวทิพย์ เป็นกรรมการผู้ลงนามในเอกสารต่างๆทั้งหมด (ลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท)
กิจการดำเนินเรื่อยมาเป็นเวลาสิบกว่าปี เนื่องด้วยนางสาวทิพย์ ไม่ได้แต่งงานและไม่มีทายาท และมีอายุมากแล้ว ต้องการจะปลดเกษียณ จึงตัดสินใจโอนหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นอีกสามคน และได้ทำเรื่องออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัท โดยที่เปลี่ยนกรรมการผู้มีอำนาจลงนามเป็น นายวรุฒ แต่เพียงผู้เดียว (โดยปัจจุบันจะเหลือผู้ถือหุ้นเพียง 3คน คือ นายวรุฒ, นางพรเพ็ญ, นายกิจจา เรียงตามลำดับจำนวนหุ้นที่ถือมากที่สุด) (ได้นำส่งแบบ บอจ.5 และทำเรื่องเข้า,ออกของกรรมการบริษัท เป็นที่เรียบร้อยแล้ว)
คำถามของผมคือ
1. นายวรุฒ รับช่วงบริหารงานต่อจากนางสาวทิพย์ โดยดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการบริษัทผู้มีอำนาจลงนามแต่เพียงผู้เดียว เอกสารต่างๆที่นางสาวทิพย์เคยลงนามเอาไว้ เช่น การลงนามซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างสำนักงาน, เอกสารต่างๆที่เคยลงนามไว้กับหน่วยงานราชการ เช่นภาษีโรงเรือน, กรมสรรพากร จำเป็นต้องไปแจ้งเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลหรือไม่ หรือสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้เลย เพราะว่าแก้ไขข้อมูลกับทาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2. เรื่องที่ดินที่ที่จัดซื้อเพื่อก่อสร้างสำนักงานในนามของบริษัท เมื่อนางสาวทิพย์ ได้โอนหุ้นทั้งหมดให้กับผู้ถือหุ้นอีกสามคน และออกจากการเป็นกรรมการบริษัทแล้ว ที่ดินดังกล่าวถือเป็นทรัพย์สินของบริษัทและเป็นของผู้ถือหุ้นอีกสามคนโดยสมบูรณ์ใช่หรือไม่ จำเป็นต้องไปยื่นเรื่องแก้ไขชื่อผู้ซื้อที่กรมที่ดินอีกหรือไม่ครับ
3. โดยปกติแล้วการโอนหุ้นให้กันระหว่างผู้ถือหุ้นในบริษัท จำเป็นต้องทำหนังสือทะเบียนหุ้นด้วยหรือไม่ หรือไม่มีความจำเป็น เพียงแค่ยืนยันและให้บริษัทบัญชีดำเนินเรื่องยื่นขอเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นกับทางกรมพัฒนาธุรกิจเท่านั้น
ณ เวลานี้ก็มีคำถามเพียงเท่านี้ แต่หากมีข้อสงสัย จะรบกวนขอความรู้เพิ่มเติมนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
สอบถามเกี่ยวกับกฎหมายผู้ถือหุ้นและที่ดินของบริษัท
ขอเริ่มเรื่องเลยนะครับ ขอสมมุติชื่อเพื่อความสะดวกในการอ้างอิงนะครับ
ที่บ้านทำกิจการโดยจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด แรกเริ่มตั้งบริษัท คุณป้าของผม (สมมุติชื่อว่า นางสาวทิพย์) เป็นผู้เริ่มต้นในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด โดยใส่ชื่อผู้ถือหุ้นอีก 3คน (คือ นางพรเพ็ญ, นายวรุฒ, นายกิจจา) โดยมีนางสาวทิพย์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และเป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจลงนามเพียงผู้เดียว
นางสาวทิพย์ ได้ซื้อที่ดินเพื่อสร้างเป็นสำนักงาน ทำสัญญาซื้อขายในนามของบริษัท โดยที่นางสาวทิพย์ เป็นกรรมการผู้ลงนามในเอกสารต่างๆทั้งหมด (ลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท)
กิจการดำเนินเรื่อยมาเป็นเวลาสิบกว่าปี เนื่องด้วยนางสาวทิพย์ ไม่ได้แต่งงานและไม่มีทายาท และมีอายุมากแล้ว ต้องการจะปลดเกษียณ จึงตัดสินใจโอนหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นอีกสามคน และได้ทำเรื่องออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัท โดยที่เปลี่ยนกรรมการผู้มีอำนาจลงนามเป็น นายวรุฒ แต่เพียงผู้เดียว (โดยปัจจุบันจะเหลือผู้ถือหุ้นเพียง 3คน คือ นายวรุฒ, นางพรเพ็ญ, นายกิจจา เรียงตามลำดับจำนวนหุ้นที่ถือมากที่สุด) (ได้นำส่งแบบ บอจ.5 และทำเรื่องเข้า,ออกของกรรมการบริษัท เป็นที่เรียบร้อยแล้ว)
คำถามของผมคือ
1. นายวรุฒ รับช่วงบริหารงานต่อจากนางสาวทิพย์ โดยดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการบริษัทผู้มีอำนาจลงนามแต่เพียงผู้เดียว เอกสารต่างๆที่นางสาวทิพย์เคยลงนามเอาไว้ เช่น การลงนามซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างสำนักงาน, เอกสารต่างๆที่เคยลงนามไว้กับหน่วยงานราชการ เช่นภาษีโรงเรือน, กรมสรรพากร จำเป็นต้องไปแจ้งเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลหรือไม่ หรือสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้เลย เพราะว่าแก้ไขข้อมูลกับทาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2. เรื่องที่ดินที่ที่จัดซื้อเพื่อก่อสร้างสำนักงานในนามของบริษัท เมื่อนางสาวทิพย์ ได้โอนหุ้นทั้งหมดให้กับผู้ถือหุ้นอีกสามคน และออกจากการเป็นกรรมการบริษัทแล้ว ที่ดินดังกล่าวถือเป็นทรัพย์สินของบริษัทและเป็นของผู้ถือหุ้นอีกสามคนโดยสมบูรณ์ใช่หรือไม่ จำเป็นต้องไปยื่นเรื่องแก้ไขชื่อผู้ซื้อที่กรมที่ดินอีกหรือไม่ครับ
3. โดยปกติแล้วการโอนหุ้นให้กันระหว่างผู้ถือหุ้นในบริษัท จำเป็นต้องทำหนังสือทะเบียนหุ้นด้วยหรือไม่ หรือไม่มีความจำเป็น เพียงแค่ยืนยันและให้บริษัทบัญชีดำเนินเรื่องยื่นขอเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นกับทางกรมพัฒนาธุรกิจเท่านั้น
ณ เวลานี้ก็มีคำถามเพียงเท่านี้ แต่หากมีข้อสงสัย จะรบกวนขอความรู้เพิ่มเติมนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ