โลกมีหวัง! นักวิจัยจีนพบยา 3 ชนิดยับยั้งไวรัสโคโรน่าได้
สำนักข่าวซินหัวของทางการจีน รายงานโดยอ้างหนังสือพิมพ์หูเป่ย์เดลี ที่ตีพิมพ์ข่าวนี้เมื่อวันพุธ (29 ม.ค.) ว่า นักวิจัยจากประเทศจีน พบตัวยา 3 ชนิดที่มีใช้ในปัจจุบัน สามารถยับยั้งไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (2019-nCrV) ในระดับเซลส์ ได้โดยตัวยาทั้ง 3 ตัวประกอบด้วย เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) คลอโรควิน (Chloroquine) และริโทนาเวียร์ (Ritonavir) ซึ่งปัจจุบันยาทั้ง3 ตัวอยู่ในขั้นตอนรออนุมัติเพื่อนำมาใช้ในการรักษาพยาบาล
ยาเรมเดซิเวียร์ เป็นยาต้านการรวมตัวของสารพันธุกรรมอาร์เอ็นเอ (RNA) ที่เคยใช้รักษาโรคอีโบลา ส่วนยาคลอโรควิน เป็นยารักษาโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ซึ่งมักใช้รักษาโรคมาลาเรีย โรคติดเชื้ออะมีบา และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ส่วน ยาริโทนาเวียร์ เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวี
ทั้งนี้ ทีมวิจัยจีนจากสถาบันมาเทเรีย เมดิกาแห่งนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสถาบันบัณฑิตฯ และมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เทค ได้คัดเลือกยา ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และยาตามแพทย์แผนจีน จำนวน 30 รายการ ซึ่งอาจมีฤทธิ์ทางการรักษาโรคจากไวรัสโคโรนา ตัวยาที่ผ่านการคัดเลือกประกอบด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี 12 รายการ อาทิ อินดินาเวียร์ (Indinavir) ซาควินาเวียร์ (Saquinavir) โลพินาเวียร์ (Lopinavir) คาร์ฟิลโซมิบ (Carfizomib)
ยาต้านไวรัสอาร์เอสวี (Respiratory Syncytial Virus-RSV) หรือไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ จำนวน 2 รายการ ยาต้านโรคจิตเภท (Schizophrenia) ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย (Immunosuppressant) และยาตามแพทย์จีน อาทิ ดอกพิทูเนีย (Polygonum Cuspidatum)
นับตั้งแต่ไวรัสโคโรน่าเริ่มแพร่ระบาด คณะนักวิจัยหลายกลุ่ม ซึ่งนำโดยสถาบันไวรัสวิทยาฯ ทำการวิจัยด้านต่าง ๆ 5 ด้านได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจโรคได้อย่างรวดเร็ว ยาหรือวัคซีนต้านไวรัส การวิจัยสอบทวนแหล่งที่มาจากสัตว์ สมุฏฐานวิทยาหรือการศึกษาสาเหตุและต้นกำเนิดของโรค และการวิจัยด้านระบาดวิทยา
เมื่อวันที่ 2 ม.ค. คณะวิจัยจากสถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น ยืนยันลำดับจีโนมทั้งหมดของไวรัสโคโรนา และสามารถแยกสายของไวรัสได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 5 ม.ค. ต่อมาวันที่ 11 ม.ค. สถาบันฯได้มอบข้อมูลลำดับจีโนมของไวรัสโคโรนา ให้แก่องค์การอนามัยโลก (ดับบลิวเอชโอ) เพื่อแบ่งปันข้อมูลดังกล่าวไปทั่วโลก
นอกจากนี้ คณะวิจัยของสถาบันฯ ยังพัฒนางานวิจัยการทดสอบแอนติบอดี หรือโปรตีนภูมิคุ้มกันสำหรับการวิจัยในอนาคต เพื่อต่อสู้กับไวรัสร้ายแรงที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 170 ราย และส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อถึง 7,711 ราย เมื่อนับถึงสิ้นวันพุธ (29ม.ค.) ที่ผ่านมา
ที่มา -
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/864363
นักวิจัยจีนพบยา 3 ชนิดยับยั้งไวรัสโคโรน่าได้
สำนักข่าวซินหัวของทางการจีน รายงานโดยอ้างหนังสือพิมพ์หูเป่ย์เดลี ที่ตีพิมพ์ข่าวนี้เมื่อวันพุธ (29 ม.ค.) ว่า นักวิจัยจากประเทศจีน พบตัวยา 3 ชนิดที่มีใช้ในปัจจุบัน สามารถยับยั้งไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (2019-nCrV) ในระดับเซลส์ ได้โดยตัวยาทั้ง 3 ตัวประกอบด้วย เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) คลอโรควิน (Chloroquine) และริโทนาเวียร์ (Ritonavir) ซึ่งปัจจุบันยาทั้ง3 ตัวอยู่ในขั้นตอนรออนุมัติเพื่อนำมาใช้ในการรักษาพยาบาล
ยาเรมเดซิเวียร์ เป็นยาต้านการรวมตัวของสารพันธุกรรมอาร์เอ็นเอ (RNA) ที่เคยใช้รักษาโรคอีโบลา ส่วนยาคลอโรควิน เป็นยารักษาโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ซึ่งมักใช้รักษาโรคมาลาเรีย โรคติดเชื้ออะมีบา และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ส่วน ยาริโทนาเวียร์ เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวี
ทั้งนี้ ทีมวิจัยจีนจากสถาบันมาเทเรีย เมดิกาแห่งนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสถาบันบัณฑิตฯ และมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เทค ได้คัดเลือกยา ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และยาตามแพทย์แผนจีน จำนวน 30 รายการ ซึ่งอาจมีฤทธิ์ทางการรักษาโรคจากไวรัสโคโรนา ตัวยาที่ผ่านการคัดเลือกประกอบด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี 12 รายการ อาทิ อินดินาเวียร์ (Indinavir) ซาควินาเวียร์ (Saquinavir) โลพินาเวียร์ (Lopinavir) คาร์ฟิลโซมิบ (Carfizomib)
ยาต้านไวรัสอาร์เอสวี (Respiratory Syncytial Virus-RSV) หรือไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ จำนวน 2 รายการ ยาต้านโรคจิตเภท (Schizophrenia) ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย (Immunosuppressant) และยาตามแพทย์จีน อาทิ ดอกพิทูเนีย (Polygonum Cuspidatum)
นับตั้งแต่ไวรัสโคโรน่าเริ่มแพร่ระบาด คณะนักวิจัยหลายกลุ่ม ซึ่งนำโดยสถาบันไวรัสวิทยาฯ ทำการวิจัยด้านต่าง ๆ 5 ด้านได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจโรคได้อย่างรวดเร็ว ยาหรือวัคซีนต้านไวรัส การวิจัยสอบทวนแหล่งที่มาจากสัตว์ สมุฏฐานวิทยาหรือการศึกษาสาเหตุและต้นกำเนิดของโรค และการวิจัยด้านระบาดวิทยา
เมื่อวันที่ 2 ม.ค. คณะวิจัยจากสถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น ยืนยันลำดับจีโนมทั้งหมดของไวรัสโคโรนา และสามารถแยกสายของไวรัสได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 5 ม.ค. ต่อมาวันที่ 11 ม.ค. สถาบันฯได้มอบข้อมูลลำดับจีโนมของไวรัสโคโรนา ให้แก่องค์การอนามัยโลก (ดับบลิวเอชโอ) เพื่อแบ่งปันข้อมูลดังกล่าวไปทั่วโลก
นอกจากนี้ คณะวิจัยของสถาบันฯ ยังพัฒนางานวิจัยการทดสอบแอนติบอดี หรือโปรตีนภูมิคุ้มกันสำหรับการวิจัยในอนาคต เพื่อต่อสู้กับไวรัสร้ายแรงที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 170 ราย และส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อถึง 7,711 ราย เมื่อนับถึงสิ้นวันพุธ (29ม.ค.) ที่ผ่านมา
ที่มา - https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/864363