“... เสียง Guitar blues เคล้ากับภาพมุมมอง Bird eye view ฉายให้เห็นภูมิทัศน์ชวนอ้างว้างสุดลูกหูลูกตาของที่ราบกลางทะเลทราย Texas, ชายเคราครึ้มในชุดสูทมอซอสีเข้มทับด้วยหมวกแก๊ปสีแดงไม่เข้ารูป กำลังย่ำไปข้างหน้าราวกับก้าวที่ผ่านมาไม่เคยมีความหมาย
เขาหยุด และชายตาไปทางขวา แลไปเห็นเหยี่ยวตัวหนึ่งที่กำลังจ้องมองกลับมา ภายในนัยน์ตาที่อิดโรย และล่องลอยคู่นั้น ไม่ได้บ่งบอกถึงอาการแยแส ในเหยี่ยว ในภูเขา หรือแม้แต่ในสิ่งใดทั้งสิ้น เขาได้แต่เพียงดื่มน้ำหยดสุดท้ายจากขวดพลาสติกเก่าที่ถือติดมือมา, ทิ้งขวดเปล่าใบนั้น แล้วจึงสะเปะสะปะไปข้างหน้าต่อไป...”
เพียงแค่ฉากเปิดไม่กี่นาทีแรก เราเหล่าผู้ชมก็สามารถที่จะสัมผัสได้ถึงลักษณะอัน”แตกต่าง”จากคนสามัญปกติของตัวเอก สามารถรู้สึกได้เลยว่านี่เป็นตัวละครที่ได้ผ่าน”เหตุการณ์”และมี”ประสบการณ์”ที่กระทบจิตใจอย่างรุนแรง
ชายประหลาดผู้นั้น (ซึ่งเราจะได้มารู้ทีหลังว่าเขามีชื่อว่า Travis) ถูกพบที่คลีนิคอันห่างไกลกลางทะเลทราย หมอที่นั่นจึงโทรศัพท์หาญาติ (ซึ่งก็คือ Walt น้องชาย)ให้ช่วยมารับเขาไปหน่อย ตลอดเวลาทั้งช่วงแรกของเรื่องนั้น Travis ไม่แม้แต่จะส่งเสียงใดๆออกมา เขาปฏิเสธการปฏิสัมพันธ์ใดๆทั้งสิ้นกับสภาวะภายนอก กว่าที่ Walt จะสามารถง้างปากให้พูดได้นั้น มันก็ปาเข้าไปเกือบครึ่งเรื่องเสียแล้ว ซึ่งหนังก็ไม่ได้รีบร้อนที่จะเผยให้เห็นพัฒนาการการเยียวยาความสามารถในการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างของ Travis มันค่อยๆบรรจงเล่าอย่างค่อยเป็นค่อยไป และพาเราเข้าไปนั่งรถกลับ LA ร่วมกับ Walt และ Travis ให้เราได้พบกับ Anne ภรรยาแสนโอบอ้อมอารีของ Walt และได้รู้ว่า Travis เคยมีลูกชื่อ Hunter ซึ่งตอนนี้ Walt กับ Anne กำลังทำหน้าที่”พ่อแม่”แทนหลังจากเขาทิ้งลูกไป 4 ปี
“ฉันหายไปนานแค่ไหน จำได้ไหม”
“4 ปี ?”
“4 ปีนี่มันนานแค่ไหน ?”
“ก็ยาวสำหรับเด็กนะ นั่นครึ่งชีวิตเค้าได้เลย”
การปรับตัวเข้าหาชีวิตปกติของ Travis เป็นไปอย่างใจเย็นแต่น่าสนใจ หนังแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ขันในบรรยากาศ และความเป็นธรรมชาติของตัวละครแต่ละตัวมาก Hunter ในตอนนี้อายุย่าง 8 ขวบแล้ว เขามีพ่อและแม่อย่างละ 2 คน คนหนึ่งจริงๆแล้วก็คืออาเสียมากกว่า ซึ่ง Travis กำลังพยายามที่จะเรียนรู้ความเป็น”พ่อ”แก่ Hunter หลังจากห่างหายไปนาน
“คนๆนั้นใครน่ะ รู้จักไหม ?”
“อื้อ นั่นน้องชายพ่อเราเอง ...ไม่...พวกเขาเป็นน้องชายทั้งคู่ เอ่อ...ไม่สิ..เป็นพ่อทั้งคู่”
“พ่อของใครนะ ?”
“พ่อเรานี่แหละ”
“นายมีพ่อ 2 คนได้ไงอะ”
“แค่โชคดีมั้ง”
ว่าแล้วก็เดินกลับบ้านพร้อมกับ “พ่อ” คนนั้น
มันเป็นเพียงบทสนทนาเล็กๆ ของฉากธรรมดาฉากหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงมุมมองความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกอันบริสุทธิ์ของเด็กชายได้เป็นอย่างดี สำหรับ Travis แล้วเขาดีใจเป็นอย่างยิ่งที่อย่างน้อยลูกชายก็ยังมองตัวเองว่าเป็น พ่อ จิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายแห่งความสัมพันธ์ก็คงเหลือแต่ Jane ภรรยาที่ได้ทิ้งเขาไปเมื่อ 4 ปีก่อน
Travis จะสามารถหาจิ๊กซอว์ชิ้นนั้น และต่อมันเข้ากับรูปครอบครัวตัวเองที่เว้าแหว่งได้หรือไม่ คงต้องไปดูกันต่อเองแล้วล่ะครับ
(ที่ผมเขียนมาก่อนหน้าเป็นเพียงฉากที่ออกมาจาก Trailer official หนังเท่านั้นล่ะครับ ไม่ได้สปอยล์เนื้อหาหลักใดๆ)
ภาพยนตร์เรื่องนี้ กำกับโดย Wim Wenders ผู้กำกับคนดังชาวเยอรมัน ที่บางท่านอาจจะคุ้นเคยกันจากเรื่อง Wings of Desire ในปี 1987 นอกจากนั้นเขายังทำหนัง ไตรภาค Road Movie ระดับ Masterpiece มาแล้ว ในปี 1974 - 1976 จึงไม่แปลกที่ Paris, Texas นี้จะสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายความเป็น Road Movie อยู่บ้างเหมือนกัน ซึ่งในเรื่องนี้ได้นักแสดงรุ่นเก๋า Harry dean Stanton มารับบทเป็น Travis เรียกได้ว่าแสดงสีหน้าอารมณ์ตัวละครที่รวดร้าวเช่น Travis ได้อย่างหมดจดเลยทีเดียว (ถือเป็นเรื่องแจ้งเกิดบทพระเอกเฮียแกเลย แม้จะเล่นเป็นตัวประกอบมาเป็นร้อยเรื่องแล้วก็เหอะ) นางเอกสาว Jane นั้นรับบทโดยนักแสดงทรงเสน่ห์ชาวเยอรมัน Nastassja Kinski (ลูกสาว Klaus Kinski ดาราเจ้าอารมณ์ผู้โด่งดัง) ที่จริงๆแล้วมีซีนอยู่เพียงไม่กี่ฉาก แต่ก็เพียงพอให้ทุกฉากนั้นเป็นที่น่าจดจำ ส่วนตัวประกอบคนอื่นๆนั้นก็สามารถเล่นได้อย่างธรรมชาติทำให้รู้สึกราวกับพวกเขาเหล่านั้นเป็นมนุษย์ธรรมดาจริงๆ ไม่ใช่มนุษย์จากนิยาย หรือจากละครที่มีคนอื่นใส่บทเข้าไปให้
สีสันที่ใช้ในเรื่องนี้เลือกใช้ได้สด และฉูดฉาด ชวนให้นึกถึงภาพของ Edward Hopper จิตรกรชาวอเมริกันชื่อดัง
จะไม่พูดถึงงานภาพนั้น เป็นไปไม่ได้เลย เพียงแค่ฉากไม่กี่วินาทีบางฉากก็สามารถบรรยายทั้งบรรยากาศ และความรู้สึกไว้ได้หมด เป็นงานภาพระดับพิเศษที่หาได้ยากยิ่งในโลกภาพยนตร์ และหลายๆฉากก็ดูสวยงามราวกับรูปวาดของ Edward Hopper อย่างไรอย่างนั้น ประกอบกับเสียงเพลง Blues ของ Ry Cooder คลออยู่ไกลๆช่วงขับเน้นอารมณ์และโทนของหนังไม่ว่าจะเป็น ความเปลี่ยวเหงา ความเศร้าสร้อย หรือบางช่วงของความสุขได้อย่างพอเหมาะพอเจาะไม่มากไม่น้อยจนเกินไป
สำหรับตัวผมแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่อาจจะบรรยายออกมาเป็นตัวหนังสือได้หมดหรอกครับ (และตัวผมเองก็คงไม่มีความสามารถที่จะบรรยายมันออกมาได้ดีเท่ากับตัวหนังเองอยู่แล้ว) ถ้าจะให้พยายามสรุปก็คือ มันเป็นหนังที่ฉายให้เห็นเรื่องความสัมพันธ์ปัญหาของครอบครัวที่จริงๆแล้วทั้งหนังสือ และภาพยนตร์เคยทำออกมาเสียดาษดื่น แต่สำหรับเรื่องนี้แล้ว ช่างเป็นเรื่องที่เล่าออกมาได้เอกลักษณ์ และ”งดงาม”เป็นที่สุด
ช่วงนี้ดูเหมือนว่ายังคงฉายอยู่ที่ House Samyan นะครับ (ไม่ได้โฆษณา House นะ) หากท่านใดมีโอกาส ก็สามารถไปรับชมกันได้ครับ เป็นภาพยนตร์ที่สมควรสัมผัสด้วยจอใหญ่จริงๆ
Paris, Texas (1984) - A REVIEW
“... เสียง Guitar blues เคล้ากับภาพมุมมอง Bird eye view ฉายให้เห็นภูมิทัศน์ชวนอ้างว้างสุดลูกหูลูกตาของที่ราบกลางทะเลทราย Texas, ชายเคราครึ้มในชุดสูทมอซอสีเข้มทับด้วยหมวกแก๊ปสีแดงไม่เข้ารูป กำลังย่ำไปข้างหน้าราวกับก้าวที่ผ่านมาไม่เคยมีความหมาย
เขาหยุด และชายตาไปทางขวา แลไปเห็นเหยี่ยวตัวหนึ่งที่กำลังจ้องมองกลับมา ภายในนัยน์ตาที่อิดโรย และล่องลอยคู่นั้น ไม่ได้บ่งบอกถึงอาการแยแส ในเหยี่ยว ในภูเขา หรือแม้แต่ในสิ่งใดทั้งสิ้น เขาได้แต่เพียงดื่มน้ำหยดสุดท้ายจากขวดพลาสติกเก่าที่ถือติดมือมา, ทิ้งขวดเปล่าใบนั้น แล้วจึงสะเปะสะปะไปข้างหน้าต่อไป...”
เพียงแค่ฉากเปิดไม่กี่นาทีแรก เราเหล่าผู้ชมก็สามารถที่จะสัมผัสได้ถึงลักษณะอัน”แตกต่าง”จากคนสามัญปกติของตัวเอก สามารถรู้สึกได้เลยว่านี่เป็นตัวละครที่ได้ผ่าน”เหตุการณ์”และมี”ประสบการณ์”ที่กระทบจิตใจอย่างรุนแรง
ชายประหลาดผู้นั้น (ซึ่งเราจะได้มารู้ทีหลังว่าเขามีชื่อว่า Travis) ถูกพบที่คลีนิคอันห่างไกลกลางทะเลทราย หมอที่นั่นจึงโทรศัพท์หาญาติ (ซึ่งก็คือ Walt น้องชาย)ให้ช่วยมารับเขาไปหน่อย ตลอดเวลาทั้งช่วงแรกของเรื่องนั้น Travis ไม่แม้แต่จะส่งเสียงใดๆออกมา เขาปฏิเสธการปฏิสัมพันธ์ใดๆทั้งสิ้นกับสภาวะภายนอก กว่าที่ Walt จะสามารถง้างปากให้พูดได้นั้น มันก็ปาเข้าไปเกือบครึ่งเรื่องเสียแล้ว ซึ่งหนังก็ไม่ได้รีบร้อนที่จะเผยให้เห็นพัฒนาการการเยียวยาความสามารถในการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างของ Travis มันค่อยๆบรรจงเล่าอย่างค่อยเป็นค่อยไป และพาเราเข้าไปนั่งรถกลับ LA ร่วมกับ Walt และ Travis ให้เราได้พบกับ Anne ภรรยาแสนโอบอ้อมอารีของ Walt และได้รู้ว่า Travis เคยมีลูกชื่อ Hunter ซึ่งตอนนี้ Walt กับ Anne กำลังทำหน้าที่”พ่อแม่”แทนหลังจากเขาทิ้งลูกไป 4 ปี
“ฉันหายไปนานแค่ไหน จำได้ไหม”
“4 ปี ?”
“4 ปีนี่มันนานแค่ไหน ?”
“ก็ยาวสำหรับเด็กนะ นั่นครึ่งชีวิตเค้าได้เลย”
การปรับตัวเข้าหาชีวิตปกติของ Travis เป็นไปอย่างใจเย็นแต่น่าสนใจ หนังแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ขันในบรรยากาศ และความเป็นธรรมชาติของตัวละครแต่ละตัวมาก Hunter ในตอนนี้อายุย่าง 8 ขวบแล้ว เขามีพ่อและแม่อย่างละ 2 คน คนหนึ่งจริงๆแล้วก็คืออาเสียมากกว่า ซึ่ง Travis กำลังพยายามที่จะเรียนรู้ความเป็น”พ่อ”แก่ Hunter หลังจากห่างหายไปนาน
“คนๆนั้นใครน่ะ รู้จักไหม ?”
“อื้อ นั่นน้องชายพ่อเราเอง ...ไม่...พวกเขาเป็นน้องชายทั้งคู่ เอ่อ...ไม่สิ..เป็นพ่อทั้งคู่”
“พ่อของใครนะ ?”
“พ่อเรานี่แหละ”
“นายมีพ่อ 2 คนได้ไงอะ”
“แค่โชคดีมั้ง”
ว่าแล้วก็เดินกลับบ้านพร้อมกับ “พ่อ” คนนั้น
มันเป็นเพียงบทสนทนาเล็กๆ ของฉากธรรมดาฉากหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงมุมมองความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกอันบริสุทธิ์ของเด็กชายได้เป็นอย่างดี สำหรับ Travis แล้วเขาดีใจเป็นอย่างยิ่งที่อย่างน้อยลูกชายก็ยังมองตัวเองว่าเป็น พ่อ จิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายแห่งความสัมพันธ์ก็คงเหลือแต่ Jane ภรรยาที่ได้ทิ้งเขาไปเมื่อ 4 ปีก่อน
Travis จะสามารถหาจิ๊กซอว์ชิ้นนั้น และต่อมันเข้ากับรูปครอบครัวตัวเองที่เว้าแหว่งได้หรือไม่ คงต้องไปดูกันต่อเองแล้วล่ะครับ
(ที่ผมเขียนมาก่อนหน้าเป็นเพียงฉากที่ออกมาจาก Trailer official หนังเท่านั้นล่ะครับ ไม่ได้สปอยล์เนื้อหาหลักใดๆ)
ภาพยนตร์เรื่องนี้ กำกับโดย Wim Wenders ผู้กำกับคนดังชาวเยอรมัน ที่บางท่านอาจจะคุ้นเคยกันจากเรื่อง Wings of Desire ในปี 1987 นอกจากนั้นเขายังทำหนัง ไตรภาค Road Movie ระดับ Masterpiece มาแล้ว ในปี 1974 - 1976 จึงไม่แปลกที่ Paris, Texas นี้จะสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายความเป็น Road Movie อยู่บ้างเหมือนกัน ซึ่งในเรื่องนี้ได้นักแสดงรุ่นเก๋า Harry dean Stanton มารับบทเป็น Travis เรียกได้ว่าแสดงสีหน้าอารมณ์ตัวละครที่รวดร้าวเช่น Travis ได้อย่างหมดจดเลยทีเดียว (ถือเป็นเรื่องแจ้งเกิดบทพระเอกเฮียแกเลย แม้จะเล่นเป็นตัวประกอบมาเป็นร้อยเรื่องแล้วก็เหอะ) นางเอกสาว Jane นั้นรับบทโดยนักแสดงทรงเสน่ห์ชาวเยอรมัน Nastassja Kinski (ลูกสาว Klaus Kinski ดาราเจ้าอารมณ์ผู้โด่งดัง) ที่จริงๆแล้วมีซีนอยู่เพียงไม่กี่ฉาก แต่ก็เพียงพอให้ทุกฉากนั้นเป็นที่น่าจดจำ ส่วนตัวประกอบคนอื่นๆนั้นก็สามารถเล่นได้อย่างธรรมชาติทำให้รู้สึกราวกับพวกเขาเหล่านั้นเป็นมนุษย์ธรรมดาจริงๆ ไม่ใช่มนุษย์จากนิยาย หรือจากละครที่มีคนอื่นใส่บทเข้าไปให้
สีสันที่ใช้ในเรื่องนี้เลือกใช้ได้สด และฉูดฉาด ชวนให้นึกถึงภาพของ Edward Hopper จิตรกรชาวอเมริกันชื่อดัง
จะไม่พูดถึงงานภาพนั้น เป็นไปไม่ได้เลย เพียงแค่ฉากไม่กี่วินาทีบางฉากก็สามารถบรรยายทั้งบรรยากาศ และความรู้สึกไว้ได้หมด เป็นงานภาพระดับพิเศษที่หาได้ยากยิ่งในโลกภาพยนตร์ และหลายๆฉากก็ดูสวยงามราวกับรูปวาดของ Edward Hopper อย่างไรอย่างนั้น ประกอบกับเสียงเพลง Blues ของ Ry Cooder คลออยู่ไกลๆช่วงขับเน้นอารมณ์และโทนของหนังไม่ว่าจะเป็น ความเปลี่ยวเหงา ความเศร้าสร้อย หรือบางช่วงของความสุขได้อย่างพอเหมาะพอเจาะไม่มากไม่น้อยจนเกินไป
สำหรับตัวผมแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่อาจจะบรรยายออกมาเป็นตัวหนังสือได้หมดหรอกครับ (และตัวผมเองก็คงไม่มีความสามารถที่จะบรรยายมันออกมาได้ดีเท่ากับตัวหนังเองอยู่แล้ว) ถ้าจะให้พยายามสรุปก็คือ มันเป็นหนังที่ฉายให้เห็นเรื่องความสัมพันธ์ปัญหาของครอบครัวที่จริงๆแล้วทั้งหนังสือ และภาพยนตร์เคยทำออกมาเสียดาษดื่น แต่สำหรับเรื่องนี้แล้ว ช่างเป็นเรื่องที่เล่าออกมาได้เอกลักษณ์ และ”งดงาม”เป็นที่สุด
ช่วงนี้ดูเหมือนว่ายังคงฉายอยู่ที่ House Samyan นะครับ (ไม่ได้โฆษณา House นะ) หากท่านใดมีโอกาส ก็สามารถไปรับชมกันได้ครับ เป็นภาพยนตร์ที่สมควรสัมผัสด้วยจอใหญ่จริงๆ